ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปลาหางนกยูงนั้นมีสีที่สวย มีความน่ารัก และยังดูแลง่ายด้วย แล้วมีอะไรที่อยากจะได้สำหรับปลาตัวหนึ่งอีกล่ะ? ถ้าหากว่าคุณอยากให้ตู้ปลาเต็มไปด้วยเจ้าปลาแสนสวยตัวน้อยเหล่านี้ ก็ต้องรู้วิธีเพาะพันธุ์พวกมัน และวิธีดูแลลูกปลาเหล่านี้ให้ดีด้วยล่ะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นึกจำนวนปลาที่อยากจะเพาะพันธุ์ออกมา นึกถึงสีของมัน และรูปร่างของหางมัน ถ้าเลือกปลาสองตัวที่มีสีเหมือนกัน ลูกปลาก็จะออกมาสีเดียวกับพ่อแม่ และสำหรับรูปร่างของครีบก็ใช้หลักการเดียวกัน
    • จำนวนของปลา: ปกติแล้ว ควรจะเลือกตัวผู้ 1 ตัวและตัวเมียอีก 2-3 ตัวในการช่วยผสมพันธุ์ปลาหางนกยูง เมื่ออัตราส่วนเป็นหนึ่งต่อหนึ่ง ตัวผู้มักจะเกรี้ยวกราดและไล่ตัวเมียไปทั่วตู้ แต่สำหรับอัตราส่วนหนึ่งต่อสาม ปลาตัวผู้จะสนใจตัวเมียทั้งสามตัว ทำให้ลดความตึงเครียดระหว่างการผสมพันธุ์เพื่อช่วยตัวเมียได้
    • รูปแบบสีของปลา: สีเหล่านี้เป็นรูปแบบสีพื้นฐานของปลาหางนกยูง ได้แก่ สายพันธุ์พื้นเมือง (สีเทา หรือเขียวมะกอก) สายพันธุ์เผือก (สีอ่อน หรือขาว มีดวงตาสีแดง) สายพันธุ์บลอนด์ (สีอ่อน มีสีดำประปราย) และสายพันธุ์สีฟ้า (สีฟ้าประกาย)
    • รูปร่างของหาง: หางปลาหางนกยูงนั้นนับตั้งแต่ครีบหลังกลมๆ ไปถึงส่วนที่รูปร่างคล้ายดาบ โดยมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย แต่ที่เห็นกันเยอะที่สุดคือสายพันธุ์เดลต้า (หางเป็นสามเหลี่ยมขนาดใหญ่) สายพันธุ์แฟนเทล (หางลักษณะคล้ายพัด) และสายพันธุ์หางกลม (หางจะมีลักษณะกลม เล็ก)
  2. ควรเลือกตู้ขนาด 10 ถึง 20 แกลลอนที่มีเครื่องทำความร้อนกับฟิลเตอร์กรองอ่อนๆ ที่ต้องใช้ฟิลเตอร์อ่อนๆ ก็เพราะลูกปลาหางนกยูงอาจถูกดูดเข้าไปแล้วตายได้ ถ้าคุณคิดว่าฟิลเตอร์ที่มีอยู่มันแรงเกินไป ให้ปิดเอาไว้ด้วยตาข่ายโปร่งๆ ซึ่งตาข่ายจะปล่อยให้น้ำถูกกรองได้ แต่ก็ปกป้องไม่ให้ลูกปลาถูกดูดเข้าไปได้เช่นกัน
  3. น่าเศร้าที่พ่อแม่ของปลาหางนกยูงอาจกินลูกตัวเองได้ ฉะนั้นคุณต้องเตรียมพื้นที่ให้ลูกปลาได้ซ่อนหลังจากที่มันเกิดมาแล้ว ลูกปลาหางนกยูงอาจจมดิ่งลงไปได้ ฉะนั้นให้ใส่พืชที่ลอยต่ำๆ ลงไปเพื่อเป็นที่กำบังของลูกปลา สำหรับที่กำบังสูงๆ บางชนิดนั้นอาจต้องใช้สำหรับลูกปลาที่แข็งแรงพอจะว่ายขึ้นข้างบนได้แล้ว [1]
    • อย่าใช้พวกของที่เอาไว้ปูพื้น อย่างหิน หรือหินปลอม ที่ใช้ปูพื้นตู้ปลา ตู้ปลาเปล่าๆ ที่ข้างล่างไม่ปูพื้นอะไรจะดีกับลูกปลามากกว่า เพราะทำความสะอาดได้ง่ายกว่า และสามารถบันทึกได้ว่ามีลูกปลากี่ตัวที่ยังรอดชีวิต และลูกปลาเหล่านั้นกินอาหารไปมากเท่าไรแล้ว
    • มอสน้ำ หรือที่สำหรับให้ปลาวางไข่แบบแขวน (Spawning mops) ถือเป็นที่ซ่อนอย่างดีสำหรับลูกปลาหางนกยูงเลยล่ะ
  4. ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ประมาณ 25 ถึง 26 องศาเซลเซียส ขณะที่ปลาตัวผู้และตัวเมียอยู่ในตู้เดียวกัน ก่อนที่จะใส่ปลาหางนกยูงลงไปในตู้สำหรับใช้เพาะพันธุ์ ให้ซื้ออาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงๆ เพื่อช่วยในการเพาะพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ใส่ปลาหางนกยูงลงไปในตู้ที่ไว้ใช้เพาะพันธุ์. ในขั้นตอนนี้ คุณทำได้เพียงรอให้ปลาหางนกยูงผสมพันธุ์กัน แล้วนำปลาตัวผู้ใส่กลับไปยังตู้ปกติของมันเมื่อสังเกตเห็นว่าตัวเมียท้องแล้ว โดยสามารถดูได้ว่าตัวเมียท้องหรือไม่ จากการดูว่ามีจุดสีดำบนบริเวณท้องของมันหรือไม่ รอยสีดำนี้เรียกว่า จุดสีดำสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งปลาตัวเมียทุกตัวจะมีจุดนี้ขึ้นมาเมื่อมันตั้งท้อง แต่จะเป็นสีดำเข้มขึ้นอีก เมื่อไข่ฟักออกมา [2]
  6. ปกติแล้วปลาหางนกยูงจะใช้เวลาตั้งครรภ์ประมาณ 26 ถึง 31 วัน เมื่อปลาตัวเมียพร้อมที่จะออกลูกแล้ว ท้องของมันจะมีขนาดใหญ่มาก และจุดสีดำจะมีสีดำเข้ม (หรือเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม ถ้าหากคุณเพาะสายพันธุ์เผือกหรือสายพันธุ์บลอนด์) และยังจะเป็นเหลี่ยมคล้ายกล่องลัง แทนที่จะเป็นทรงกลม ควรรู้ไว้ว่าปลาหางนกยูงนั้นออกลูกเป็นตัว ไม่ได้เป็นไข่ คุณอาจใช้มอนิเตอร์ดูปลาตัวเมียอย่างใกล้ชิด จะได้รู้ทันท่วงทีหลังจากที่แม่ปลาให้กำเนิดแล้ว และรีบนำปลาออกทันทีหลังจากนั้น (ไม่เช่นนั้นมันอาจกินลูกของตัวเองแทน)
    • ปลาบางตัวจะมีสัญญาณในการออกลูกดังนี้: แยกตัวออกมาอยู่ตัวเดียวนิ่งๆ ตัวสั่น (เกิดการหดตัว) ว่ายวนเวียนอยู่แถวเครื่องทำความร้อน หรือเปลี่ยนการกินอาหาร (รวมถึงการไม่กินอาหาร หรือคายอาหารทิ้ง)
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การดูแลลูกปลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นำปลาตัวเมียออกจากตู้ที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาเมื่อมันคลอดลูกปลาออกมาแล้ว. ขณะที่มันอาจดูโหดร้าย แต่ลูกปลาหางนกยูงก็เกิดมาเพื่อเอาตัวรอดด้วยตัวเองได้อยู่แล้ว และอย่างที่ได้บอกไว้ข้างต้น แม่ปลาหางนกยูงอาจดุร้ายและกินลูกของพวกมันเองได้ [3]
    • ถ้าคุณไม่สามารถอยู่แถวๆ ตู้ตอนที่แม่ปลาออกลูกได้ ขอให้แน่ใจว่าได้ใส่ต้นไม้เอาไว้ในตู้พอที่จะให้ลูกปลาซ่อนได้
  2. คอยดูแลให้ตู้ปลาสะอาดและมีอุณหภูมิที่เหมาะสมตลอดเวลา. ลูกปลาต้องการอุณหภูมิประมาณ 25.5 องศาเซลเซียสเพื่อใช้ชีวิตอยู่ได้ โดยให้ควบคุมอุณหภูมิไว้จนกว่าลูกปลาจะโตเต็มวัย และต้องหมั่นทำความสะอาดตู้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วิธีลักน้ำในตู้อย่างระมัดระวังทุกครั้งเมื่อตู้เริ่มสกปรก และเปลี่ยนน้ำประมาณ 40% ทุกๆ สองสามวันเพื่อทำให้น้ำสะอาดตลอดเวลา
  3. ลูกปลาจะกินไรทะเล หนอนจิ๋ว หรืออาหารผงเล็กๆ โดยควรให้อาหารสองครั้งต่อวัน ปลาหางนกยูงชอบกินทั้งเนื้อและผัก คุณควรให้อาหารปลาหางนกยูงเป็นผงผัก พอๆ กับอาหารผงธรรมดา จำไว้ว่าลูกปลานั้น ตัวเล็กมาก และถ้าคุณให้อาหารมันมากเกินไป อาหารที่เหลือก็จะเน่าอยู่ในตู้ และทำให้ลูกปลาป่วย กระทั่งอาจตายได้ [4]
    • ลูกปลาที่เกิดใหม่ควรให้ตัวอ่อนไรทะเลที่เพิ่งฟักออกมา เพื่อที่ปลาหางนกยูงจะได้มีศักยภาพในการเติบโต ถ้าคุณอยากให้ของกินเล่นมัน ให้ใส่ผักโขมต้มปริมาณเล็กน้อยลงไปในตู้ก็ได้
  4. ทำตามขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าลูกปลาจะมีสุขภาพที่ดี. นั่นหมายถึงต้องกำจัดลูกปลาที่ตายออกไปด้วย ลูกปลาตายแล้วจะลอยขึ้นบนตู้ ง่ายต่อการตักออก และจดไว้ด้วยว่ามีลูกปลากี่ตัวที่ตาย ถ้าคุณรู้สึกว่าลูกปลาตายจำนวนมาก คุณอาจต้องหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้มันตาย เปลี่ยนน้ำและเปลี่ยนชนิดของอาหาร อาหารที่สะสมจนเสียในตู้นั้นไม่ดีต่อสุขภาพของปลาหางนกยูง
  5. เมื่อลูกปลามีขนาดที่พอดี หรือมีอายุประมาณเดือนครึ่งหรือสองเดือนแล้ว ถือว่าพร้อมที่จะส่งพวกมันออกจากตู้เพาะปลา คุณสามารถนำมันไปเลี้ยงต่อในตู้ที่ไม่มีปลาที่ดุร้าย ขายต่อในร้านขายสัตว์ใกล้บ้าน หรือเอาให้เพื่อนเป็นของขวัญก็ย่อมได้
    โฆษณา

วิธีทำอาหารจากอาหารปลาให้ลูกปลา

  • ใส่อาหารปลาเม็ดลงไปในถุงซิปล็อคแล้วปิดปากถุงให้แน่น
  • ทุบอาหารปลาจนกว่าจะแหลกเป็นผง
  • ให้อาหารเท่าที่จำเป็น
  • ผสมอาหารหลากหลายชนิดที่มีโปรตีนสูงลงไปด้วย
  • ถ้าขนาดของผงใหญ่เกินกว่าที่ลูกปลาจะกินได้ ในกรณีนี้ คุณควรซื้ออาหารที่มีไว้ให้ลูกปลาโดยเฉพาะ
  • ใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มน้ำ จากนั้นนำมาจิ้มลงในผงอาหารแล้วจิ้มกลับไปยังน้ำที่เลี้ยงปลา

เคล็ดลับ

  • ถ้าปลาตัวผู้ไม่ทำให้ตัวเมียท้อง ให้ลองใส่ปลาตัวผู้อีกตัวลงในโหลแยก แล้ววางไว้ข้างๆ ตู้ที่ไว้เพาะปลา มันจะช่วยกระตุ้นให้ปลาตัวผู้ทำให้ตัวเมียท้อง เมื่อมันรู้สึกว่ามีคู่แข่ง ถ้าหากว่าไม่ได้ผล คุณอาจต้องเลือกปลาตัวอื่นในการผสมพันธุ์แทน
  • พยายามจับคู่ปลาตัวเมียและตัวผู้ที่มีสีหรือรูปแบบของครีบที่ต้องการอย่างชัดเจน เพื่อจะได้มั่นใจว่าลูกปลาที่ได้ออกมาเป็นแบบที่คุณต้องการ
  • อย่าเลี้ยงปลาสายพันธุ์อื่นร่วมกับปลาหางนกยูง คู่ปลาหางนกยูงจะเกิดอาการเครียดและกินลูกปลาทุกตัวที่ขวางหน้า
  • ให้แน่นใจว่าไม่ใส่ปลามากเกินไปในตู้ปลา เพราะมันอาจเกิดอาการเครียด ก้าวร้าว และทำร้ายปลาตัวอื่นได้
  • ให้หรือขายลูกปลาหางนกยูง ถ้าหากว่าคุณมีมันในตู้มากเกินไป ไม่อย่างนั้นมันอาจไม่เจริญเติบโต และกัดกินหางของปลาตัวอื่นเอาได้
  • ใช้ตู้ปลาแยก 2 ตู้ ตู้หนึ่งเอาไว้ใส่ปลาปกติ อีกตู้ไว้ใส่ลูกปลา (รอจนกว่าลูกปลาจะโตขึ้นมีขนาดประมาณครึ่งนิ้ว ค่อยนำมันไปใส่ในอีกตู้)
  • ถ้าแม่ปลาออกลูกแล้ว ให้นำแม่ปลาออกจากตู้ ไม่อย่างนั้นมันอาจกินลูกตัวเอง
  • เตรียมตู้ขนาดที่เหมาะสมเพื่อเอาไว้ใส่ลูกปลาก่อนที่จะทำการผสมพันธุ์ปลา
  • อย่าไปตรวจดูมันบ่อยๆ ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ปลาเกิดความเครียดและไม่ยอมผสมพันธุ์กัน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าปลาตัวผู้มีอารมณ์ฉุนเฉียวกับตัวเมียเกินปกติ ให้ใส่ที่กำบังสำหรับปลาหางนกยูงตัวเมีย อย่างต้นไม้ปลอม หรือที่กำบังเล็กๆ ลงไป ถ้ามันยังดุร้ายอยู่ และไม่ยอมผสมพันธุ์กับตัวเมีย ให้นำมันออกมา เพราะมันมีลักษณะนิสัยที่ไม่ดีต่อการผสมพันธุ์ (นิสัยที่จะก้าวร้าว ซึ่งหาได้ยากในปลาหางนกยูง) และอาจทำให้ปลาตัวเมียบาดเจ็บได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ตู้ปลาสี่ตู้: ตู้หนึ่งใช้ใส่ปลาตัวผู้และปลาหางนกยูง (10 แกลลอน/ 30 ลิตร) ตู้หนึ่งใช้ใส่ปลาหางนกยูงตัวเมียโตเต็มวัย (10 แกลลอน/ 30 ลิตร) อีกตู้ไว้สำหรับผสมพันธุ์ (20 แกลลอน/ 60 ลิตร) และไว้เลี้ยงลูกปลา (15-20 แกลลอน/ 45-60 ลิตร)
  • ที่ทำความร้อน เทอร์โมมิเตอร์ และฟิลเตอร์กรองน้ำอ่อนๆ ในแต่ละตู้
  • ไรทะเล, หนอนจิ๋วแบบมีชีวิตหรือไม่ก็แช่แข็ง อาหารปลาบด อินฟิวโซเรีย (อาหารสำหรับลูกปลาเกิดใหม่) หรืออาหารผงสำหรับลูกปลาที่เหมาะสม
  • พืช (ของแท้ และ/หรือ ของปลอม)
  • ตาข่ายเล็กๆ
  • วัสดุทำความสะอาด
  • เปลือกหอยถือเป็นความคิดที่ดี ถ้าคุณไม่อยากเสียเงินไปกับที่กำบังของลูกปลา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 89,806 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา