ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Betta fish หรือปลากัด ฝรั่งเขาเรียกกันอีกชื่อว่า "fighting fish" ปกติเวลาขายแต่ละตัวจะแยกโหลกันมา ถ้าดูเผินๆ เวลาเดินผ่านหน้าร้านขาย คุณอาจเหมารวมว่าปลากัดก็หน้าตาท่าทางเหมือนๆ กันหมด แต่จริงๆ แล้วปลากัดตัวเมียกับตัวผู้นั้นต่างกันมากอยู่ จุดต่างเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในรูปร่างหน้าตาและลักษณะนิสัยนี่แหละที่จะบอกได้ว่าปลากัดของคุณเป็นเพศไหน ถ้าคุณคิดจะหาซื้อปลากัดสักคู่เอาไว้เพาะพันธุ์ขึ้นมา ก็สำคัญมากว่าต้องรู้จักแยกแยะเพศของปลากัดให้ได้ซะก่อน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ระบุเพศปลากัดจากรูปร่างหน้าตา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1] ปลากัดตัวผู้กับตัวเมียนั้นถ้ายังเด็กจะดูเหมือนกันมาก เพราะร่างกายยังไม่เจริญเติบโตพอที่จะแสดงจุดเด่นประจำเพศออกมา ให้คุณอดใจรอก่อนจนปลากัดมีลักษณะของปลาตัวผู้เด่นชัดออกมา หรือก็คือประมาณ 2 เดือนนั่นแหละ
  2. [2] ปกติปลากัดตัวผู้จะมีครีบ dorsal (ครีบหลัง), ventral (ครีบท้อง) และ caudal (ครีบหาง) ยาวกว่าความสูงของตัวเองประมาณ 2-3 เท่าขึ้นไป โดยครีบหลังกับครีบหางมักจะห้อยตกลงมาเพราะยาวมากนั่นเอง ส่วนตัวเมียมักจะมีครีบสั้นกว่า คือเท่าๆ ความสูงของตัวเองหรือสั้นกว่านั้น โดยที่ครีบท้องจะมีลักษณะเหมือน "หวี"
    • ถึงจะสังเกตได้ง่ายว่าตัวเมียครีบจะสั้น แต่ก็ยังต้องพิจารณาลักษณะอื่นๆ ร่วมด้วย ก่อนด่วนตัดสินเพศของปลากัด
  3. [3] ปลากัดตัวผู้มักสีสว่างสดใสกว่า ส่วนตัวเมียจะสีอ่อนหรือตุ่นกว่า โดยเฉพาะตรงลำตัว เพราะฉะนั้นถ้าเห็นตัวกับครีบเป็นสีฟ้า เขียว แดงสดๆ จัดๆ ก็สันนิษฐานไว้ก่อนได้เลยว่าเป็นตัวผู้
    • แต่สีก็เปลี่ยนได้เหมือนกันถ้าปลาเครียด รู้ไว้ใช่ว่า ปลากัดตัวเมียเครียดเมื่อไหร่ สีจะสวยสดขึ้นกว่าปกติทันที
  4. [4] ปลากัดตัวเมียจะมีเม็ดไข่นำเป็นจุดสีขาวเล็กๆ หรือก็คือท่อวางไข่ (ovipositor tube) อยู่ใต้ตัว คล้ายๆ กับมีเม็ดเกลือติดอยู่ ให้คุณลองสังเกตระหว่างขอบครีบท้อง ค่อนไปทางหัวปลา ถ้าเจอจุดนี้ก็เป็นตัวเมียไม่มีพลาด เพราะตัวผู้ไม่มีไข่แน่นอน
    • อาจจะหาจุดนี้ยากอยู่สักหน่อย ถ้าปลาตัวเมียยังเล็ก ไม่มีเครื่องเพศชัดเจน แต่พอปลาโตและตัวใหญ่ขึ้น ท่อวางไข่ก็จะใหญ่ตาม ทีนี้ก็หาง่ายแน่นอน
    • ถ้าคุณหาจุดนี้เท่าไหร่ก็ไม่เจอ ให้ลองให้อาหาร หรือทำท่าเหมือนจะให้อาหารดู เพราะปลาจะว่ายขึ้นข้างบน โชว์ท้องให้คุณเห็นพอดิบพอดี แบบนี้ก็หาง่ายหน่อย
  5. [5] ปลากัดตัวผู้กับตัวเมียจะมีรูปร่างที่แตกต่างกันนิดหน่อย โดยตัวผู้มักจะผอมยาวกว่า ในขณะที่ตัวเมียจะสั้นอวบ แต่ก็ใช่ว่าจะแตกต่างกันแบบเห็นได้ชัด คุณอาจต้องทำความคุ้นเคยกับรูปร่างหน้าตาของปลากัดที่รู้ว่าเป็นตัวผู้แน่ๆ ซะก่อน ถึงจะเริ่มเปรียบเทียบด้วยวิธีนี้ได้ พอเทียบกันแล้วปลากัดตัวเมียจะดูเหมือนตัวผู้ที่อ้วนล่ำหน่อยนั่นเอง
  6. เอากระจกไปวางข้างตู้ปลากัด หรือจะใส่เข้าไปในตู้ก็ได้. ถ้าเป็นปลากัดตัวผู้จะรำแพนครีบใส่ตัวผู้อีกตัว [6] ปลากัดไม่ว่าตัวผู้หรือตัวเมียก็โหดเอาเรื่องด้วยกันทั้งนั้น แต่ตัวผู้มักมีพฤติกรรมก้าวร้าวกว่า ถ้าคุณเอากระจกไปวางข้างตู้หรือในตู้ ปลากัดจะนึกว่าเป็นปลากัดอีกตัว ถ้าเป็นตัวผู้ก็จะแผ่หรือรำแพนครีบ (flare) เพื่อวางก้ามว่าเหนือกว่า หรืออาจจะอาการหนักถึงขั้นพุ่งชนกระจกก็ได้
    • บางทีปลากัดตัวเมียก็หวงถิ่น รำแพนหางกับเขาเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยจะรุนแรงเท่าไหร่ ถ้าเป็นตัวผู้จะหมกมุ่นกว่า ปลากัดตัวอื่นแหยมเข้ามานี่ไม่ได้เลย
    • ทดสอบแล้วก็รีบเอาออกไป อย่าทิ้งกระจกไว้ในตู้นานๆ ล่ะ เวลาได้เห็นปลากัดตัวผู้ออกท่าออกทางไล่เงาตัวเองอาจจะดูตลกดี แต่รู้เปล่าว่าทำมันเครียดได้ อาจถึงขั้นป่วยเลยนะ ถ้าปล่อยให้ปลากัดตัวผู้เครียดจัดเป็นเวลานาน ระวังครีบจะหดสั้นเอาได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ระบุเพศปลากัดจากลักษณะนิสัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ร้านเขาขายปลากัดให้คุณมาแบบไหน รู้ไหมว่านั่นน่ะบอกเพศได้เหมือนกัน ตาม "ร้านทั่วไป" มักขายแต่ปลากัดตัวผู้เพราะสีสันสดใสแถมครีบใหญ่สวย ในเมื่อตัวผู้สีสวยน่ามองน่าซื้อกว่า ร้านทั่วไปก็เลยเน้นขายแต่ตัวผู้ ส่วนปลากัดตัวเมียเขาขายกันเป็นเรื่องเป็นราวให้พวกเล่นปลากัดมืออาชีพ หรือมีขายแพงๆ ตามร้านแบบ high-end เท่านั้นแหละ
    • จริงอยู่ว่าพนักงานในร้านขายสัตว์เลี้ยงมักรู้เรื่องสัตว์เลี้ยงมากกว่าคุณ แต่บางทีเขาก็อาจจะรู้ลึกรู้จริงเฉพาะเรื่องสัตว์ที่เขาชอบ เพราะงั้นถ้าคุณไม่ได้ซื้อปลากัดจากฟาร์มหรือผู้เพาะพันธุ์โดยเฉพาะ แล้วอยากลองสอบถามเพศของปลากัดจากพนักงานดู ให้ถามเขาก่อนว่าเคยเลี้ยงหรือเพาะพันธุ์ปลากัดไหม ไม่ใช่ว่าต้องคอยอ่านป้ายตามตู้ว่าตกลงเป็นตัวผู้หรือตัวเมียกันแน่ แต่ยังไงก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจ ให้เหมารวมไปก่อนว่าปลากัดตัวที่ว่านั้นเป็นตัวผู้
  2. [7] เวลาปลากัดตัวผู้พร้อมผสมพันธุ์ มันมักจะ "ก่อหวอด" สร้างฟองฟอดออกมาที่ผิวน้ำ เป็นฟองอากาศเล็กๆ เป็นร้อยๆ ที่เกาะกลุ่มอยู่รวมกันเพื่อเตรียมไว้ใช้วางไข่ รู้ไว้ใช่ว่า พ่อปลากัดนี่แหละที่ต้องคอยดูแลลูกๆ ของตัวเอง
  3. [8] ปลากัดทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีเนื้อเยื่อใต้เหงือกที่สีแตกต่างออกไปจากลำตัว ปกติแล้ว "เครา (beard)" ของปลากัดจะสีออกน้ำตาลหรือดำ ถ้าเป็นตัวผู้ก็จะเคราใหญ่กว่าตัวเมีย ของตัวเมียจะสังเกตยากหน่อย ต้องรอดูตอนปิดเหงือก ถ้าเป็นของตัวผู้จะเห็นง่ายกว่า ทั้งๆ ที่เหงือกอ้าเปิดนี่แหละ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จะระบุเพศปลากัดได้แม่นๆ ต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝน ผู้เพาะพันธุ์เทพๆ บางคนสามารถบอกได้ว่าปลากัดเป็นตัวผู้ตั้งแต่มันยังเล็กแค่ ¾ นิ้วเท่านั้น!
  • ถ้าไม่แน่ใจ ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เพาะพันธุ์ที่น่าเชื่อถือทั้งตัวจริงและตามอินเทอร์เน็ตดูดีกว่า เลือกฟาร์มหรือร้านที่ดังเรื่องปลากัดหรือเป็นร้านที่คนเล่นปลากัดเขานิยมได้ยิ่งดี
  • ถ้าอยากรู้เพศปลากัดโตเต็มวัย แนะนำให้เริ่มสังเกตจากขนาดตัวก่อนเลย เพราะตัวเมียมักมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเลี้ยงดีๆ บางทีก็เลี้ยงปลากัดตัวเมียหลายตัวไว้ในตู้เดียวได้เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นตัวผู้นี่อย่าลองเลย ที่สำคัญกว่าคืออย่าเลี้ยงตัวผู้กับตัวเมียรวมกัน เว้นแต่ตอนผสมพันธุ์ (ช่วงสั้นๆ) เท่านั้นแหละ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 139,474 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา