ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีหลายต่อหลายเหตุผลที่เราควรอำพรางกลิ่นปาก (ภาวะมีกลิ่นปาก) แต่ถ้าคุณเบื่อพวกวิธีแบบเร็วทันใจและอยากกำจัดกลิ่นปากให้สิ้นซาก ให้ทำตามคำแนะนำเหล่านี้อย่างเคร่งครัด

  1. ทำความสะอาดช่องปากให้ทั่วถึงและทำเป็นประจำ. ใช้แปรงสีฟันทำความสะอาดระหว่างลิ้นและฟัน ไม่ใช่เพื่อให้ฟันดูสะอาดเท่านั้น แต่เพื่อสุขอนามัยของช่องปากและลมปากที่สะอาดขึ้นด้วย ต้นกำเนิดกลิ่นปากหลักๆ สองอย่างคือ “แบคทีเรียและเศษอาหารที่เน่าเปื่อย” ช่องปากของคุณเป็นแหล่งที่อยู่อันอุดมสมบูรณ์และมีซอกซอนเป็นร้อยๆ ที่เจ้าตัวเน่าพวกนี้จะเข้าไปอาศัยอยู่ แค่แปรงฟันอย่างเดียวนั้นไม่พอ
  2. ช่องปากแห้งคือปากเหม็น สาเหตุเดียวกับที่กลิ่นปากตอนเช้าของเราแรงที่สุดนั่นแหละ ปากเราจะผลิตน้ำลายน้อยลงตอนนอนหลับ น้ำลายเป็นศัตรูของกลิ่นปากเพราะนอกจากจะช่วยล้างแบคทีเรียและเศษอาหารออกแล้ว น้ำลายยังมีสารฆ่าเชื้อและมีน้ำย่อยที่ฆ่าแบคทีเรียด้วย [1]
    • การเคี้ยวหมากฝรั่งจะกระตุ้นการผลิตน้ำลาย (นอกเหนือจากที่กลิ่นหมากฝรั่งช่วยกลบกลิ่นปาก) ลูกอมรสมิ้นต์ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย [1]
    • ดื่มน้ำ กลั้วน้ำไปมาระหว่างฟัน น้ำไม่ได้ช่วยเพิ่มการผลิตน้ำลายแต่จะช่วยล้างช่องปากและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดูวิธีการดื่มน้ำทุกวันให้มากขึ้น
    • ช่องปากแห้งอาจมีสาเหตุจากยาหรือโรคบางชนิด ถามแพทย์เรื่องการเปลี่ยนยาหรือบอกแพทย์ให้ทราบเรื่องอาการช่องปากแห้ง
  3. อย่างที่บอกไว้ในขั้นตอนก่อนหน้าว่าหมากฝรั่งจะช่วยเรื่องกลิ่นปากเพราะการเคี้ยวทำให้เกิดการผลิตน้ำลายมากขึ้น แต่หมากฝรั่งบางชนิดสามารถสู้กับกลิ่นปากได้ดีกว่าชนิดอื่น
    • หมากฝรั่งรสอบเชยดูเหมือนจะใช้ลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปากได้ผลดีอย่างยิ่ง [1]
    • มองหาหมากฝรั่งที่ใช้ไซลิทอลเพื่อให้รสหวาน เหตุผลประการหนึ่งคือน้ำตาลไม่ดีกับช่องปากเรา ไซลิทอล คือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียแบ่งตัวเพิ่มในช่องปากอย่างได้ผล [1]
  4. คุณน่าจะรู้แล้วว่าต้องหลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นแรงอย่างหอมใหญ่ กระเทียม ชีส และกาแฟ (หรืออย่างน้อยก็แปรงฟันสุดแรงเกิดหลังกินเสร็จ) แต่รู้หรือเปล่าว่าถ้าทานอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำกลิ่นปากคุณอาจเหมือน “สารคีโตน” [1] พูดง่ายๆ คือเมื่อร่างการย่อยไขมันแทนที่จะเป็นคาร์โบไฮเดรตมาใช้เป็นพลังงาน ร่างกายจะสร้างสารคีโตนซึ่งจะมีบางส่วนที่ปล่อยออกมาในช่องปาก โชคร้ายหน่อยที่เจ้าสารคีโตนมีกลิ่นเหม็นซึ่งจะทำให้ปากคุณเหม็นไปด้วย ถ้าคุณทานแบบจำกัดคาร์โบไฮเดรตอย่างเคร่งครัดหรือทานแบบใดก็แล้วแต่ที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันแทนคาร์โบไฮเดรต ให้ทานอาหารว่างเพื่อสุขภาพที่มีคาร์โบไฮเดรตเยอะหน่อย เช่น แอปเปิ้ลหรือกล้วย
    • เพิ่มเติม ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยสู้กับแบคทีเรียร้ายที่อาจเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก
    • กลิ่นปากอาจเกิดได้กับคนที่อดอาหาร ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางศาสนาหรือเพราะเบื่ออาหาร ถ้าเป็นเพราะเบื่ออาหาร ปัญหากลิ่นปากเป็นเพียงเหตุผลเดียวจากหลายๆ เหตุผลที่คุณต้องเลิกทรมานตัวเอง อ่านวิธีรับมือเมื่อคุณรู้สึกอยากอดอาหาร
  5. ถ้าคุณทำตามทุกขั้นตอนอย่างเคร่งครัดแล้วแต่ปัญหากลิ่นปากยังไม่หาย คุณอาจมีปัญหาสุขภาพที่ต้องรับการรักษา ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่เป็นไปได้ เช่น
    • นิ่วทอนซิล (Tonsil stones) คือก้อนอาหาร เสมหะและแบคทีเรียที่มีหินปูนจับซึ่งดูเหมือนจุดสีขาวๆ ที่ต่อมทอนซิล เมื่อเห็นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการติดเชื้อในคอได้ แม้นิ่วอาจจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าก็ตาม คุณอาจจะได้รสโลหะอยู่ในปากและ/หรือมีอาการเจ็บตอนกลืน [2]
    • ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (Diabetic ketoacidosis) ถ้าคุณเป็นเบาหวาน เบาหวานอาจทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันแทนที่จะเป็นกลูโคสทำให้ลมหายใจมีกลิ่นคีโตนอย่างที่พูดถึงในขั้นตอนก่อนหน้า ภาวะนี้เป็นภาวะที่ร้ายแรงและต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด
    • โรคกลิ่นตัวเหม็น (Trimethylaminuria) ถ้าร่างกายไม่สามารถย่อยสลายสารเคมีที่ชื่อไตรเมทิลามีน (Trimethylamine) ได้ สารนี้จะปล่อยออกมาในน้ำลายทำให้เกิดกลิ่นปาก และปล่อยออกมากับเหงื่อดังนั้นการมีกลิ่นตัวเรื้อรังอาจเป็นอาการร่วมของโรคนี้
    โฆษณา

คำแนะนำ

  • ใช้น้ำยาบ้วนปากอย่างน้อนวันละครั้ง แปรงฟันวันละสองครั้ง ใช้ไหมขัดฟันสองครั้ง ดื่มน้ำ 6-8 ครั้งต่อวัน *น้ำยาบ้วนปากเป็นวิธีแก้ไขชั่วคราว เพราะแค่อำพรางกลิ่นปากเท่านั้น [1]
  • เปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อแปรงเริ่มเก่า
  • ใช้สเปรย์ดับกลิ่นปากหรือลูกอมมิ้นต์ก่อนเข้าประชุมหรือออกเดท เว้นเสียแต่จะอยากให้ทุกคนรู้ว่าคุณเพิ่งกินกระเทียมมา
  • กลั้วปากด้วยน้ำเกลือตอนเช้าและกลางคืนหลังแปรงฟัน
  • ใช้ลิปกลอสและเคี้ยวหมากฝรั่งรสเดิมจะช่วยให้กลิ่นนั้นในปากเด่นขึ้นและอยู่ได้นานขึ้น
  • พกไหมขัดฟันติดตัวไว้เสมอ
  • ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำหลังแปรงฟันและใช้น้ำยาบ้วนปากถ้าช่วยได้ (อ่านฉลากก่อนเสมอ)
  • แอปเปิ้ลช่วยได้ และจะช่วยเอาเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันออก
  • พยายามแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ
  • การใช้ไหมขัดฟันสำคัญเท่ากับการแรงฟัน เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีแปรงสีฟันให้ลองหาไหมขัดฟันใช้แทนชั่วคราว
    • เคี้ยวหมากฝรั่งหลังกินอาหารที่มีหอมใหญ่หรือกระเทียมเยอะ
  • เมื่อเกิดปฎิกิริยาขย้อนขณะขูดทำความสะอาดลิ้น ให้ลองป้ายเจลแก้ปวดฟันไว้ลึกๆ ในปาก จะได้ไม่รู้สึกอยากขย้อน
  • บ้วนปากด้วยน้ำมะนาวก่อนตามด้วยน้ำหรือน้ำยาบ้วนปาก
  • น้ำส้มสายชูหมักก็ช่วยเรื่องกลิ่นปากเช่นกัน ทานหนึ่งช้อนเต็มก่อนแปรงฟันแล้วใช้น้ำยาบ้วนปากตาม
  • หาสาเหตุปัญหากลิ่นปากเพิ่มเติม
  • พยายามรักษาให้น้ำลายเคลือบลิ้นเสมอ
  • ลมหายใจเหม็นอาจมาจากลมที่ค้างอยู่ในปอดแบบเดียวกับคนสูบบุหรี่ ลองหายใจหลายๆ วิธี
  • ไม่สูบบุหรี่หรือสูดควันบุหรี่หรือควันจากสารเสพย์ติดต่างๆ
  • ลองหายใจทางปาก
  • เมื่อหายใจออกในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของวันแล้วได้กลิ่นคาว ให้เน้นหายใจแบบนั้นเพราะอาจช่วยเอาอากาศที่ค้างอยู่ในปอดออกมา
  • ผลไม้และลูกอมรสมิ้นต์ช่วยได้
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ปากชุ่มชื้นอยู่เสมอ
  • ดื่มน้ำเยอะๆ
  • กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากหลังแปรงฟัน

ข้อควรระวัง

  • ป้องกันการสูญเสียฟัน ขูดหินปูนทุก 6 เดือน (หรืออย่างน้อยปีละครั้งหากค่าใช้จ่ายสูงเกินไป) จะช่วยป้องกันไม่ให้หินปูน (คราบแบคทีเรียบนผิวฟันที่จับตัวแข็ง) ก่อตัวและป้องกันแร่ธาตุต่างๆ จากน้ำลายสะสมแล้วทำให้แบคทีเรียบนผิวฟันจับตัวแข็ง คราบสะสมเหล่านี้จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้ฟันโยกขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เกิดฝีเบ้าฟันชวนสะอิดสะเอียน
  • ระวังเรื่องหมากฝรั่งไซลิทอลถ้ามีสัตว์เลี้ยง เพราะไซลิทอลอาจเป็นพิษต่อสุนัข
  • ข้อควรระวัง อย่าบ้วนปากด้วยสิ่งที่เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวเป็นอย่างสุดท้าย (และบ้วนปากหลังดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลทุกครั้ง) ทั้งกรดและน้ำตาลสามารถทำให้ฟันผุอย่างรุนแรงได้เมื่อทำเป็นเวลานาน ให้ถือเป็นกฏเหล็กเลยว่าต้องบ้วนปากหลังสองอย่างนี้ทุกครั้ง!
  • บางกรณี กลิ่นปากมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านสุขภาพ ไปพบแพทย์หากกังวลหรือหากมีปัญหากลิ่นปากเรื้อรัง
  • "ซอกซอนที่ยากจะเข้าถึง" อยู่รอบฐานฟันซึ่งไม่ได้ “ใช้ไหมขัดเป็นประจำ” ซอกซอนเหล่านี้เต็มไปด้วยเศษอาหารที่กำลังเน่าและเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก ซึ่งอาจนำไปสู่ฝีในช่องปากได้ (เหงือกอักเสบและเจ็บปวด)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,330 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา