ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่มีอะไรจะบ่งบอกถึงฤดูใบไม้ผลิได้เท่าแอปเปิลไซเดอร์สดๆ สักแก้วแล้วล่ะ กลิ่นหอมเตะจมูกของตัวมันเองและสัญลักษณ์อีกด้านหนึ่งของฤดูใบไม้ร่วง นี่ถือว่าเป็นหนึ่งในของที่ดีที่สุดในฤดูแล้วก็ว่าได้! แต่ถ้าคุณติดแหง็กอยู่ในหน้าหนาวและต้องการไซเดอร์สดๆ สักแก้วล่ะ? บทความนี้จะบอกวิธีทำแอปเปิลไซเดอร์สดให้คุณเอง แต่ถ้าอยากรู้วิธีทำแบบอุ่นๆ ก็ลองดูที่บทความการทำแอปเปิลไซเดอร์อุ่นของวิกิฮาวดูนะ

  • เวลาทั้งหมด (แบบไร้แอลกอฮอล์): 30-45 นาที
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ไซเดอร์แบบไร้แอลกอฮอล์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไซเดอร์ที่ดีที่สุดจะต้องมีความสมดุลกันระหว่างความหวานกับความฝาดเปรี้ยว บ่อยครั้งที่นักทำแอปเปิลไซเดอร์ (ผู้ที่ทำไซเดอร์เอง) มักจะผสมแอปเปิลหลายๆ ชนิดให้ได้ส่วนผสมที่ต้องการ ฉะนั้นการหาส่วนผสมของ"ตัวคุณเอง"ก็ถือเป็นการทดลองอย่างหนึ่ง และการทดลองก็นับว่าเป็นความพยายามรสเลิศอีกด้วย! และนี่คือตัวอย่างรสชาติของสายพันธุ์แอปเปิลทั่วไป:
    • เรดดิลิเชียส : แอปเปิลลูกใหญ่เนื้อแน่นสีแดง มีรสหวาน
    • เยลโล่ดิลิเชียส : แอปเปิลลูกใหญ่เนื้อแน่นสีเหลือง มีรสหวาน
    • โจนาธอน : แอปเปิลเนื้อกรอบ รสค่อนข้างเปรี้ยว ขนาดกลาง ด้านบนเป็นสีแดง ด้านล่างเป็นสีเขียว
    • แกรนนีสมิธ : แอปเปิลเนื้อกรอบ รสเปรี้ยว ขนาดกลาง/เล็ก สีเขียว
    • กาล่า : แอปเปิลเนื้อกรอบ รสค่อนข้างเปรี้ยว ขนาดกลาง สีเหลืองแต้มสีส้มหรือสีแดงเล็กน้อย
  2. โดยหาซื้อได้ที่ตามตลาดผลไม้ ร้านขายผลไม้แผงลอย หรือร้านขายของ ถ้าอยากได้รสชาติเอนไปทางหวานๆ ก็ให้ใช้อัตราส่วนสามต่อหนึ่งระหว่างแอปเปิลรสหวานต่อรสเปรี้ยว หรือถ้าอยากได้หวานแบบพอดีๆ ก็ใช้อัตราส่วน "สองหวานเปรี้ยวหนึ่ง" แต่ถ้าจะทำแบบผสมแอลกอฮอล์ ให้ใช้แบบหวานทั้งหมดเลย
  3. Watermark wikiHow to ทำแอปเปิลไซเดอร์
    ตัดส่วนที่ช้ำที่เสียออกไป และเอาก้านออก ปกติก็ไม่แนะนำให้นำผลไม้ชนิดใดมาทำไซเดอร์ถ้าคุณจะไม่กินมันหรือส่วนนั้นของมันอยู่แล้ว
  4. Watermark wikiHow to ทำแอปเปิลไซเดอร์
    ไม่ต้องปอกเปลือกออก เพื่อให้ได้สี รสชาติ และสารอาหาร
  5. ใช้เครื่องปั่นหรือเครื่องบดอาหารปั่นจนกว่าจะออกมาเป็นซอสแอปเปิลเหนียวๆ
  6. Watermark wikiHow to ทำแอปเปิลไซเดอร์
    คั้นแอปเปิลปั่นด้วยผ้ากรอง บีบเอาน้ำออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • ถ้าคุณมีตาข่ายละเอียดๆ หรือที่กรอง ก็ใช้หลังช้อนกดเนื้อแอปเปิลกับที่กรองให้น้ำไหลออกมาเพิ่มได้
  7. หลังจากที่ดื่มด่ำกับแอปเปิลไซเดอร์สดๆ แล้ว ก็สามารถเก็บที่เหลือเอาไว้ในภาชนะมีฝาปิด ในที่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5°C มากสุดสองสัปดาห์ หรือจะแช่แข็งให้เก็บได้นานขึ้นก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ไซเดอร์แบบผสมแอลกอฮอล์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูที่ขั้นตอนด้านบน แล้วเตรียมไซเดอร์รสหวานเอาไว้ [2] สักห้าแกลลอนกำลังดี
  2. ไปซื้อไซเดอร์ยีสต์ที่ร้านค้าหรือสั่งออนไลน์ก็ได้ ยีสต์ไวน์รสไม่หวานก็เป็นตัวเลือกที่ดี และยังหาได้ง่ายกว่า ราคาก็ไม่แพงเท่าด้วย
  3. Watermark wikiHow to ทำแอปเปิลไซเดอร์
    เตรียมยีสต์ตั้งต้นไว้ก่อนวันที่ตั้งใจจะทำไซเดอร์ผสมแอลกอฮอล์สักวันสองวัน เพื่อให้มั่นใจว่ายีสต์ยังคงมีชีวิตอยู่ และพร้อมใช้แล้วด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เราควบคุมรสชาติของไซเดอร์ได้อีกเช่นกัน
    • ใส่ยีสต์หนึ่งถุงลงผสมกับไซเดอร์สดครึ่งด้วยในโหลที่ปิดได้ จากนั้นก็ปิดโหล เขย่าแรงๆ สักห้าถึงสิบนาที จากนั้นก็ทิ้งเอาไว้ห้าถึงหกชั่วโมง หรือข้ามคืน
    • เมื่อคุณเห็นว่าเริ่มมีฟองผุดขึ้นมา ก็ให้ลดแรงดันด้วยการหมุนฝาออกสักหน่อย ก่อนจะเปิดโหล แล้วเก็บเอาไว้ในตู้เย็นจนกว่าจะถึงช่วงเวลาสองสามชั่วโมงก่อนจะใช้มัน
  4. Watermark wikiHow to ทำแอปเปิลไซเดอร์
    เทไซเดอร์สดลงในหม้อหรือหม้อกลั่น แล้วค่อยๆ ตุ๋นด้วยไฟกลาง ตุ๋นแบบนี้ไปเรื่อยๆ สัก 45 นาทีถึงหนึ่งชม. เพื่อฆ่าแบคทีเรียและยีสต์ป่าที่อาจทำให้รสชาติไซเดอร์เปลี่ยนไปได้
    • อย่าต้มจนเดือดล่ะ
    • เติมน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำผึ้งลงไปสักเก้าร้อยกรัม เพื่อกระตุ๋นน้ำตาล และทำให้ไซเดอร์ผสมแอลกอฮอล์เข้มข้นขึ้น!
  5. ฆ่าเชื้อโหลให้สะอาดและพร้อมในการใช้เสียก่อน ด้วยการเทสารฟอกลงไปหนึ่งฝา เทน้ำตาม แล้วทิ้งเอาไว้ขณะกำลังตุ๋นไซเดอร์ จากนั้นก็เทน้ำออก แล้วล้างให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า
  6. Watermark wikiHow to ทำแอปเปิลไซเดอร์
    ทิ้งให้เย็นจนกว่าจะอุ่นกว่าอุณหภูมิห้องหน่อยๆ จากนั้นก็ใส่สารตั้งต้นลงไป ใช้ช้อนที่ฆ่าเชื้อแล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นก็ปิดฝาให้แน่น และติดแอร์ล็อค
  7. เก็บโหลเอาไว้ที่ที่ที่เย็นและมืด อุณหภูมิประมาณ 15° ถึง 20°C หลังผ่านไปสักสองวัน ก็จะเริ่มมีฟองขึ้นในแอร์ล็อค เนื่องจากยีสต์ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมานั่นเอง และมันก็จะผุดฟองขึ้นมาแบบนี้อีกสักสองสัปดาห์ เมื่อฟองหยุดแล้ว ก็ทิ้งไซเดอร์เอาไว้อีกสักสัปดาห์ ยีสต์จะสงบลง
  8. ใช้กาลักน้ำสะอาดๆ ที่ใช้กับอาหาร ค่อยๆ ย้ายเอาไซเดอร์ลงไปในขวดที่ฆ่าเชื้อแล้ว จากนั้นก็ปิดฝา และเก็บเอาไว้ได้เลย อย่างน้อยต้องเก็บไว้สักสองสัปดาห์นะ และไซเดอร์ก็เหมือนไวน์นี่แหละ ยิ่งเก็บไว้นานรสชาติจะยิ่งดี
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำเอาไว้ว่า ไม่ว่าคุณจะใช้ภาชนะ/โหลขนาดเท่าใด คุณจะ ต้อง เติมน้ำแอปเปิลคั้นนี่ลงไปให้เกือบเต็มขวด ถ้าคุณ ไม่ ทำแบบนี้ ถ้าคุณเติมลงไปแค่ครึ่งหนึ่ง แทนที่จะได้ไซเดอร์ก็จะได้น้ำส้มสายชูมาแทนไงล่ะ
  • ถ้าคุณดูวีดีโอวิธีทำไซเดอร์ผสมแอลกอฮอล์ จะเห็นว่าเคล็ดลับในการทำให้ได้ไซเดอร์ไม่ใช่น้ำส้มสายชู คือการเทน้ำแอปเปิลให้เต็มภาชนะ ถ้าเติมแค่ครึ่งเดียว ก็จะได้น้ำส้มสายชูมา
  • ยีสต์จำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไร้ออกซิเจน ฉะนั้นยิ่งมีที่ว่าง มีอากาศอยู่ในภาชนะมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้รสชาติออกมาเป็นน้ำส้มสายชูเท่านั้น คาร์บอนไดออกไซด์มีน้ำหนักที่มากกว่าออกซิเจน และจะถูกกำจัดออกจากวาล์วด้านบนนั่นเอง
  • เลือกสายพันธุ์แอปเปิลมา แยกกันคั้นแล้วค่อยเอาน้ำที่รสชาติต่างกันมาผสมกัน จากนั้นก็ดูความแตกต่างกันระหว่างสีของน้ำแอปเปิลที่ได้มา ซึ่งอาจเป็นของแอปเปิลโกลเด้น แอปเปิลเขียว และแอปเปิลแดง
  • มีการโต้เถียงกันเรื่องความแตกต่างระหว่างไซเดอร์กับน้ำแอปเปิล แต่ความเห็นทั่วไปต่างพูดกันว่าไซเดอร์คือน้ำแอปเปิลดิบที่ไม่ได้นำไปกรองหรือผ่านกระบวนการอะไรมากนัก [3] ไซเดอร์จะค่อนข้างเน่าง่าย ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นตลอด ส่วนน้ำแอปเปิลได้ผ่านการฆ่าเชื้อและกรองมาเรียบร้อย และยังผสมสารกันบูดอีกด้วย ฉะนั้นวิธีข้างต้นคือการทำแอปเปิลไซเดอร์แน่นอน
  • ถ้าอยากทำไซเดอร์จำนวนมาก คุณอาจต้องซื้อเครื่องคั้นน้ำผลไม้มาเลยก็ได้
  • คั้นและบีบเอาน้ำแอปเปิลและสารอาหารในตัวมันออกมาผ่านผ้ากรองให้หมด ถ้ามีเนื้อหลุดรอดออกไป น้ำอาจออกมาขุ่นก็ได้
  • ข้อควรระวัง ฆ่าเชื้อด้วยการอุ่นในอุณหภูมิอย่างน้อย 71ºC แต่ไม่เกิน 85ºC เพื่อกำจัดแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดี อย่างเช่น เชื้ออีโคไล ทิ้งไปซะ โดยใช้ที่วัดอุณหภูมิอาหารในการวัดเอา นอกจากนี้ เด็กทารก ผู้สูงอายุ และใครก็ตามที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นเหล่าคนที่ไม่ควรดื่มน้ำแอปเปิลที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อทั้งสิ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • คอยคงอุปกรณ์ให้สะอาดและปลอดเชื้ออยู่เสมอ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • แอปเปิล
  • เครื่องปั่นน้ำผลไม้ เครื่องคั้นน้ำผลไม้ หรือเครื่องบดอาหาร
  • ผ้ากรองหรือที่กรอง
  • อุปกรณ์ในการกลั่น (ลองหาดูในร้านที่ขายของเกี่ยวกับการกลั่นน้ำผลไม้)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,108 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา