ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากจะซื้อหรือซื้ออะโวคาโดมาแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าสุกพร้อมกินหรือยัง วันนี้คุณมาถูกบทความแล้ว! เพราะบทความวิกิฮาวนี้จะมาแนะนำเคล็ดลับและเทคนิคง่ายๆ ในการสังเกตความสุกของอะโวคาโด หลังจากนี้จะเอาไปทำแซนวิช ดิปปิ้งซอสกัวคาโมเล หรือกินเปล่าๆ ก็อร่อยดี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

สำรวจรูปร่างหน้าตา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อะโวคาโดแต่ละพันธุ์ก็เก็บเกี่ยวต่างฤดูกันไป อะโวคาโดที่เก็บช่วงกันยายนกับพฤศจิกายน (ต้นกับปลายฤดูใบไม้ร่วง) ก็จะแตกต่างกันอีก ถ้าเก็บเกี่ยวช่วงเดือนกันยายนจะสุกกว่า [1]
    • อะโวคาโด Bacon จะมีตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วง ถึงฤดูใบไม้ผลิ จัดอยู่ในประเภทที่เก็บเกี่ยวช่วงกลางฤดูหนาว
    • อะโวคาโด Fuerte ก็เก็บเกี่ยวได้ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูใบไม้ผลิ
    • อะโวคาโด Gwen ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวระหว่างฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาว
    • อะโวคาโด Hass และ Lamb Hass จะเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี
    • อะโวคาโด Pinkerton จะมีตั้งแต่ต้นฤดูหนาวถึงฤดูใบไม้ผลิ
    • อะโวคาโด Reed จะมีตลอดฤดูร้อนไปจนถึงต้นฤดูใบไม้ร่วง
    • อะโวคาโด Zutano จะพร้อมเก็บเกี่ยวช่วงต้นกันยายนไปจนถึงต้นฤดูหนาว
  2. ก่อนอะโวคาโดจะสุก ก็ต้องแก่ซะก่อน อะโวคาโดแต่ละพันธุ์ถ้าแก่ได้ที่แล้วจะมีขนาดและรูปร่างที่สังเกตได้ชัด [2]
    • อะโวคาโด Bacon จะขนาดปานกลาง น้ำหนัก 6 - 12 ออนซ์ (170 - 340 กรัม) รูปร่างออกรี
    • อะโวคาโด Fuerte จะมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ตอนแก่ได้ที่ น้ำหนัก 5 - 14 ออนซ์ (142 - 397 กรัม) รูปร่างจะรีแต่ยาวกว่าอะโวคาโด bacon แต่ยังหน้าตาคล้ายลูกแพร์อยู่
    • อะโวคาโด Gwen มีตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่ น้ำหนัก 6 - 15 ออนซ์ (170 - 425 กรัม) รูปร่างออกรีแต่อวบอ้วนกว่า
    • อะโวคาโด Hass มีตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่ น้ำหนัก 5 - 12 ออนซ์ (142 - 340 กรัม) เป็นทรงรีเช่นกัน
    • อะโวคาโด Lamb Hass จะมีขนาดใหญ่ น้ำหนัก 11.75 - 18.75 ออนซ์ (333 - 532 กรัม) เป็นทรงลูกแพร์และสมมาตรกัน
    • อะโวคาโด Pinkerton จะรูปร่างเหมือนลูกแพร์ยาวๆ น้ำหนัก 8 - 18 ออนซ์ (227 - 510 กรัม)
    • อะโวคาโด Reed จะมีขนาดกลางถึงเล็ก น้ำหนัก 8 - 18 ออนซ์ (227 - 510 กรัม) เป็นอะโวคาโดพันธุ์ที่ลูกกลมที่สุด
    • อะโวคาโด Zutano ขนาดกลางถึงใหญ่ ปกติหนัก 6 - 14 ออนซ์ (170 - 397 กรัม) รูปร่างเหมือนลูกแพร์แต่เรียว
  3. ส่วนใหญ่เปลือกด้านนอกของอะโวคาโดจะสีเข้ม มีแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามสายพันธุ์ [3]
    • อะโวคาโด Bacon กับ Fuerte จะเปลือกบาง สีเขียว ผิวเรียบเนียน
    • อะโวคาโด Gwen พอสุกแล้วเปลือกจะสีเขียวตุ่นๆ ไม่แข็ง ผิวขรุขระ
    • อะโวคาโด Hass กับ Lamb Hass สีจะแปลกกว่าชาวบ้าน ถ้าสุกแล้วอะโวคาโด Hass จะสีเขียวเข้มไปจนถึงม่วง ถ้าสีดำแสดงว่างอมไปแล้ว ส่วนสีเขียวสดแสดงว่ายังไม่ได้ที่
    • อะโวคาโด Pinkerton จะเหมือนกับ Hass ตรงที่สีเข้มจัดตอนที่สุก อะโวคาโด Pinkerton ที่สุกแล้ว ปกติจะสีเขียวเข้ม
    • อะโวคาโด Reed จะยังสีเขียวสดอยู่แม้สุกแล้ว ปกติเปลือกจะหนา ขรุขระเล็กน้อย
    • อะโวคาโด Zutano พอสุกแล้วจะเปลือกบาง สีเขียวออกเหลือง
  4. จุดด่างดำบนเปลือกแสดงว่าอะโวคาโดช้ำหรือเริ่มเน่า [4]
    • สรุปแล้วควรเลือกอะโวคาโดที่สีและเปลือกเรียบเนียนเสมอกัน ถ้าไม่เข้าข่ายแปลว่าเน่าหรือช้ำ คุณภาพของเนื้ออะโวคาโดข้างในจะไม่สมบูรณ์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เช็คความแน่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ดูว่าอะโวคาโดสุกหรือยัง
    อย่าจับด้วยปลายนิ้ว ให้ถือไว้เต็มฝ่ามือเหมือนถือลูกบอล [5]
    • ถ้านิ้วหรือเล็บเผลอไปกดหรือจิกอะโวคาโด อาจทำให้ช้ำได้ ถ้าอะโวคาโดยังไม่สุก จะแข็งจนไม่ช้ำง่ายๆ แต่ถ้าสุกเมื่อไหร่ต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าวางไว้ในฝ่ามือ จะช่วยกระจายแรงกด ลดความเสี่ยงทำอะโวคาโดช้ำ
  2. โดยใช้ฝ่ามือกับข้อล่างสุดของนิ้วบีบเบาๆ ออกแรงสม่ำเสมอ [6]
    • เวลาบีบ ถ้าอะโวคาโดสุก จะยวบตามแรงกด ถึงจะออกแรงนิดเดียวก็เถอะ เปลือกจะ “บุ๋ม” เล็กน้อย แต่แป๊บเดียวก็หาย
    • ถ้าเปลือกอะโวคาโดนิ่มเละ แสดงว่างอมไปแล้ว
    • ถ้าเปลือกอะโวคาโดแน่นแข็ง แสดงว่ายังไม่สุก
  3. Watermark wikiHow to ดูว่าอะโวคาโดสุกหรือยัง
    หมุนอะโวคาโดไป 1/4 รอบแล้วลองบีบเบาๆ อีกครั้ง โดยออกแรงจากฝ่ามือและนิ้วข้อล่างสุดเหมือนเดิม [7]
    • ถ้าอะโวคาโดช้ำตั้งแต่ทดลองบีบครั้งแรก ก็เป็นไปได้ทั้งสุกแล้วหรืองอมเกินไป เลยต้องหมุนแล้วลองบีบเบาๆ ตรงจุดอื่น เพื่อเปรียบเทียบความแน่น ถ้าเป็นอะโวคาโดสุกที่ไม่มีรอยช้ำ แปลว่าเนื้อนิ่มเท่ากันทั้งลูก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ดูใต้ขั้ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ดูว่าอะโวคาโดสุกหรือยัง
    ถืออะโวคาโดข้างหูแล้วเขย่าเบาๆ สัก 2 - 3 ครั้ง ว่ามีเสียงอะไรกลิ้งขลุกๆ ข้างในไหม [8]
    • ถ้าจับแล้วนิ่ม แล้วกลัวอะโวคาโดจะงอมเกินไป ต้องลองเขย่าเบาๆ จะได้ไม่ต้องผ่าพิสูจน์
    • เมล็ดข้างในจะแยกออกจากเนื้อถ้าอะโวคาโดงอมเกินไป เขย่าแล้วจะมีเสียง ใช้แยกอะโวคาโดสุกกำลังดีกับงอมเกินไปได้เลย
  2. Watermark wikiHow to ดูว่าอะโวคาโดสุกหรือยัง
    เอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งเด็ดขั้วอะโวคาโดออก [9]
    • ถ้าอะโวคาโดยังไม่สุก จะเด็ดขั้วยากหรือไม่ได้เลย ต้องหั่นเอา ซึ่งก็ไม่ควรทำ เพราะถ้าต้องหั่นด้วยมีดหรืออุปกรณ์อะไรก็ตาม แปลว่าอะโวคาโดยังไม่สุกพร้อมกิน
  3. ถ้าเด็ดขั้วได้แล้ว ต้องเห็นเนื้ออะโวคาโดสีเขียวสดข้างใน [10]
    • ถ้าเนื้ออะโวคาโดข้างในเป็นสีน้ำตาลเข้ม แสดงว่าอะโวคาโดงอมไปแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

หั่นอะโวคาโดแล้วแต่ยังไม่สุก ต้องทำยังไง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ดูว่าอะโวคาโดสุกหรือยัง
    ใช้แปรงสำหรับทาไข่ขาวบนขนม มาจุ่มน้ำเลมอนหรือน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) แล้วใช้ทาอะโวคาโดที่หั่นแล้ว [11]
    • พอผ่าอะโวคาโดแล้ว เท่ากับทำลายเยื่อหุ้มเนื้ออะโวคาโด กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) วิธีชะลอปฏิกิริยานี้ได้ดีที่สุด คือทาสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดที่เนื้ออะโวคาโด
  2. Watermark wikiHow to ดูว่าอะโวคาโดสุกหรือยัง
    ประกบอะโวคาโด 2 ซีกที่ผ่าแล้วกลับเป็นลูกตามเดิม [12]
    • อีกวิธีที่ช่วยชะลอปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ก็คืออย่าให้เนื้ออะโวคาโดโดนอากาศ พอประกบ 2 ซีกกลับคืน เท่ากับปกป้องเนื้ออะโวคาโดได้ดีที่สุด
  3. Watermark wikiHow to ดูว่าอะโวคาโดสุกหรือยัง
    พันแรปห่ออาหารรอบอะโวคาโดที่ประกบแล้วหลายๆ ชั้น ไม่ให้อากาศเข้า [13]
    • แรปที่ห่อไว้หนาแน่นจะช่วยกันไม่ให้เนื้ออะโวคาโดเจอกับออกซิเจน และชะลอปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
  4. หั่นผลอะโวคาโดที่ยังไม่สุกเป็นแผ่นบางๆ ราว 1/4 นิ้ว กระจายมันบนแผ่นรองอบและอบราว 15 ถึง 20 นาทีที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ให้เย็นลงก็จะได้ของว่างที่จิ้มกับซอสมะเขือเทศได้อร่อยและถูกสุขภาพด้วย [14]
    • คุณยังสามารถนำมาชุบขนมปังป่นก่อนนำไปอบเพื่อเพิ่มความกรอบ
  5. ในเมื่อผ่าอะโวคาโดแล้ว ก็ต้องเก็บในตู้เย็นระหว่างรอสุก เพราะจะได้ไม่ชิงเน่าซะก่อน [15]
    • ถ้าเริ่มนิ่มเละหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่าเน่าแล้ว ทิ้งไปได้เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยากทำให้อะโวคาโดสุก ก็ลองวางทิ้งไว้บนเคาน์เตอร์ในอุณหภูมิห้องหลายๆ วัน ถ้าแช่ตู้เย็นจะชะลอหรือหยุดการสุกของอะโวคาโด เพราะงั้นอย่าเอาอะโวคาโดดิบแช่ตู้เย็น เว้นแต่ผ่าแล้วเท่านั้น
  • อะโวคาโดจะเริ่มสุกหลังเก็บเกี่ยว เวลาจะเลือกเก็บอะโวคาโดจากต้น ให้เลือกลูกใหญ่ที่สีเข้มเสมอกันทั้งลูก และบีบแล้วแน่นดี เก็บเสร็จให้วางทิ้งไว้บนเคาน์เตอร์ 2 - 7 วัน จนสุกพร้อมกิน
  • ถ้ายังไม่ได้จะกินอะโวคาโดในทันที ให้ซื้ออะโวคาโดที่ยังดิบอยู่ เพราะอะโวคาโดสุกถึงแช่เย็นไว้ ก็อยู่ได้แค่ 2 - 3 วัน
  • ถ้าอยากให้อะโวคาโดสุกเร็วๆ ให้เอาใส่ถุงกระดาษสีน้ำตาล พร้อมแอปเปิ้ลหรือกล้วย เพราะ 2 อย่างที่ว่าจะปล่อยแก๊สเอทิลีน (ethylene) หรือฮอร์โมนที่ทำให้ผลไม้สุก ทีนี้อะโวคาโดก็จะสุกเร็วขึ้นอีกเยอะ [16]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 147,743 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา