ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยเกิดความสงสัยในการตัดสินใจหรือไม่ คุณเคยได้ยินเสียงแว่วๆ วนไปวนมาในหัวของคุณหรือเปล่า คุณเคยรู้สึกแปลกๆ เมื่อคุณตัดสินใจอะไรผิดหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นสัญชาตญาณในตัวคุณ ซึ่งเป็นเสียงจากหัวใจของคุณเอง ทุกคนล้วนเคยมีความรู้สึกแบบนี้ ซึ่งวิธีในการหยั่งรู้ล่วงหน้านั้นก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของพวกเราและสถานการณ์ในปัจจุบัน เพราะจิตใต้สำนึกของพวกเราก็มีความอยากได้และความต้องการ สัญชาตญาณจะทำให้เรารู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไร "ดีไปกว่า" การตัดสินใจด้วยวิธีปกติ ในการตัดสินใจอะไรสักอย่างนั้น ความคิดและความรู้สึก เหตุผลและสัญชาตญาณ สิ่งเหล่านี้ควรจะเป็นไปทางเดียวกัน ซึ่งอาจจะต้องใช้ความพยายามและฝึกฝนเล็กน้อย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ประเมินความคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนทั่วไปมักจะพิจารณา “ความคิดที่มีเหตุผล” เป็นสิ่งที่ดีเสมอ เราคิดว่าสิ่งนี้เป็นเหมือนกับกระบวนการและการทำงานที่นำไปสู่การกระทำ เหตุและผล ซึ่งมักจะไม่มีอารมณ์หรืออคติเข้ามาเกี่ยวข้อง ความคิดจะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุผลนี้เอง นักปรัชญาจำนวนมากจึงคิดว่าการทำอะไรด้วยความคิดนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่าการใช้สัญชาตญาณ [1]
    • ความคิด (Mind) คืออะไร คำถามนี้เป็นคำถามเชิงปรัชญาที่กว้างมาก อย่างไรก็ตาม คุณต้องเข้าใจไว้เลยว่าเราไม่ได้พูดถึงสมองของคุณ ความคิดเป็นสิ่งที่ไกลกว่าแค่คำว่าสมอง ความคิดเป็นแหล่งของสติ เป็นสิ่งที่สร้างตัวตนที่คุณเป็นอยู่นั่นเอง
    • ความคิดยังเป็นตัวควบคุมแนวคิดที่สูงขึ้นมา ซึ่งรวมไปถึงการสัมผัส การคิด การตัดสิน และความทรงจำ ความคิดเป็นสิ่งที่ทำให้คุณชั่งน้ำหนักและมองเห็นผลประโยชน์เพื่อตัดสินใจที่จะทำอะไรด้วยเหตุผล [2]
  2. การคิดอย่างมีเหตุผลเป็นความสามารถในการคำนึงถึงตัวแปรต่างๆ นอกจากนี้ยังต้องเข้าถึง จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การสรุปผล ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงบประมาณ ชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียของอาชีพใหม่ หรือถกเถียงเรื่องการเมืองกับเพื่อนๆ คุณต้องใช้ความคิดที่มีเหตุผลในทุกๆ วัน
    • การคิดอย่างเป็นเหตุผลเป็นสิ่งที่มีความเป็นมนุษย์ค่อนข้างมาก ในความเป็นจริงนั้น การคิดด้วยเหตุผลเป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ และยังเป็นวิธีที่เราใช้เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ สร้างบ้านสร้างเมือง พัฒนาเทคโนโลยี และแยะแยกสิ่งมีชีวิตประเภทต่างๆ ดังนั้น การคิดอย่างมีเหตุผลเป็นสิ่งที่มีค่า และยังเป็นอุปนิสัยที่มีประโยชน์อย่างมาก [3]
  3. การคิดอย่างมีเหตุผลเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่าทำไมเราถึงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความคิดเพียงอย่างเดียมไม่ได้ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น แฟนภาพยนตร์เรื่อง “สตาร์ เทร็ก” คงจะรู้ว่าสิ่งมีชีวิตเรืองปัญญาเช่น “มิสเตอร์ สป็อก” หรือ “ดาต้า” นั้นไม่ใช่มนุษย์ เพราะมนุษย์ยังต้องการความรู้สึก พวกเราไม่ใช่จักรกลมีชีวิต
    • การคิดอย่างมีเหตุผลมีข้อดีในบางจุด เพราะเราจะสามารถดึงตัวเองออกจากอารมณ์รุนแรงที่นำพาเราไปสู่การตัดสินใจได้ ถ้าเราปล่อยให้อารมณ์นำทาง คนเราจะออกจากบ้านเพื่อไปเรียนที่มหาวิทยาลัยหรือไม่ แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ทำเช่นนั้น เพราะอารมณ์เครียดและการเหินห่างจากคนรักนั้นมีอำนาจรุนแรง แม้ว่าพวกเขาจะรู้อยู่แล้วว่าการไปมหาวิทยาลัยนั้นดีต่อพวกเขา
    • อย่างไรก็ตาม การคิดอย่างมีเหตุผลอาจจะทำให้เราล้มเหลวได้ เราอาจจะกลายเป็นคนตายด้านถ้าเราตัดสินใจอะไรด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว ทางเลือกทุกทางไม่ว่าจะยิ่งใหญ่หรือเล็กน้อยมักจะมีตัวแปรที่หลากหลายซึ่งจะทำให้การตัดสินใจนั้นเป็นไปไม่ได้เลยหากเราไม่ฟังเสียงจากหัวใจของตัวเองบ้าง เช่น คุณควรทานอะไรตอนเช้า ควรเป็นอาหารเพื่อสุขภาพหรือไม่ หรืออาหารราคาประหยัด หรือเป็นอาหารทานด่วน หากคุณไม่มีหัวใจ คุณก็อาจจะตัดสินใจไม่ได้ [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ประเมินความรู้สึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผู้คนมักจะพูดกันว่าจิตใจก็คือ “ความรู้สึก” หรือ “สัญชาตญาณ” ซึ่งจริงๆ แล้วนั้นจิตใจเป็นสิ่งที่นิยามได้ยากมาก ลองคิดถึงจิตใจในฐานะวิธีการรับรู้ที่ช่วยให้คุณคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าการคิดด้วยเหตุผล จิตใจอาจจะอยู่บนพื้นฐานของสิ่งอื่น เช่น อดีต (ประสบการณ์) ความชอบส่วนตัว (ความรู้สึกของคุณ) และปัจจุบัน (คนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว ตัวเลือก และอื่นๆ อีกมากมาย) สิ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การคิดที่แตกต่างกันไปมากกว่าการใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียว [5]
    • พยายามแยกความแตกต่างของสิ่งที่เข้ามาในหัวใจของคุณ ยกตัวอย่างเช่น มีความคิดผุดขึ้นมาในหัวของคุณ การใช้เหตุผลมักจะต้องพึ่งพาการวิเคราะห์ที่เกิดจากความคิดที่เป็นขั้นเป็นตอน เช่น “ถ้าฉันไม่ทำ ก ก็จะเกิด ข ขึ้นมา ดังนั้น ฉันควรจะทำ ก” แต่จิตใจไม่ได้เป็นไปตามรูปแบบนี้
    • แล้ว “ความรู้สึก” คืออะไร บางครั้งสัญชาตญาณก็แสดงออกมาในรูปแบบที่ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย แม้แต่การเข้าใจความหมายของความรู้สึกก็ยังเป็นเรื่องที่ยาก ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะรู้สึกไม่มั่นคงกับการเปลี่ยนงานและไม่รู้ว่าทำไมถึงรู้สึกแบบนั้น แต่ถ้ามองเผินๆ แล้วนั้น ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับงานใหม่นั้นดีมาก แต่คุณก็ยังรู้สึกพะวงว่าจะเกิดความผิดพลาด สิ่งนี้เองที่เรียกว่าสัญชาตญาณ
  2. เสียงภายในตัวคุณนั้นไม่ได้ชัดเจนตลอด แต่เสียงนั้นจะพยายามบอกอะไรคุณอยู่ เรียนรู้วิธีที่จะรับฟังเสียงนั้น ในการเริ่มต้น คุณอาจจะต้องนำความคิดที่มีเหตุผลออกไปจากหัวให้หมด และสนใจอยู่กับเสียงนั้น ซึ่งมีวิธีมากมายที่จะช่วยให้คุณฟังเสียงนั้นได้ [6]
    • พกสมุดบันทึกติดตัว การเขียนความคิดของคุณลงบนกระดาษอาจจะช่วยเปิดจิตใต้สำนึกของคุณได้ ให้เขียนสิ่งที่เข้ามาในหัวของคุณลงไปอย่างเป็นธรรมชาติ เริ่มต้นประโยคด้วยวลีที่ว่า “ฉันมีความรู้สึก …” หรือ “หัวใจบอกฉันว่า …” จุดสำคัญก็คือการติดตามการตอบสนองของอารมณ์มากกว่าเหตุผล
    • ปลดปล่อยตัววิจารณ์ภายในใจ (Inner critic) ออกไปชั่วคราว ซึ่งอาจจะต้องพยายามสักหน่อย แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าจับตามองมากกว่าความคิดด้วยเหตุผล การฟังเสียงของหัวใจนั้นทำได้ยากเพราะเราจะพยายามให้เหตุผลกับสิ่งนั้น พยายามปล่อยให้ตัวเองเขียนหรือคิดโดยไม่ให้มีเสียงแห่งความสงสัย เช่น “ความคิดแบบนี้มันงี่เง่า” เป็นต้น [7]
    • หาสถานที่ที่เงียบสงบ สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการเปิดใจตัวเองคือการทำความคิดให้เงียบ ซึ่งอาจจะเป็นการทำสมาธิ หรืออาจจะเป็นการเดินเล่นในสวนหรือในป่า ลองหาสถานที่ที่คุณสามารถปล่อยให้ความคิดไหลผ่านได้อย่างอิสระ
  3. สัญชาตญาณเป็นวิธีหยั่งรู้เพียงวิธีเดียวก็จริง แต่นั่นไม่ได้สำคัญไปกว่าการใช้เหตุผลหรือใช้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตัดสินใจ ในขณะที่คุณพยายามฟังเสียงหัวใจของตัวเองนั้น อย่าเชื่อโดยไม่คิดให้ดีก่อน เพราะบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ผิด [8]
    • ลองพูดถึงในกรณีที่คุณเป็นคณะลูกขุน ฝ่ายจำเลยอาจจะยืนกรานและพยายามโน้มน้าวว่าเขานั้นไม่มีความผิด เขาพยายามทำให้ความมั่นใจของคุณสั่นคลอน แต่หลักฐานชี้ชัดว่าจำเลยมีความผิด คุณจะใช้เหตุผลหรือใช้สัญชาตญาณล่ะ ในกรณี้ การใช้สัญชาตญาณอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดก็ได้
    • คิดถึงสถานการณ์ที่เป็นไปได้ที่จะอาศัยหัวใจของคุณเองด้วยเช่นกัน คุณจะพนันด้วยชีวิตตัวเองกับสัญชาตญาณหรือไม่ พูดถึงในกรณีวางแผนปรึกษาด้านการเงินเพื่อการลงทุนกับกองทุนรวม แต่คุณรู้สึกดีกับบริษัทที่ทำท่าจะรุ่งทีเรียกว่าเอ็นรอน (Enron) การฟังคำแนะนำด้วยเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญน่าจะดีกว่าการเชื่อมั่นในสัญชาตญาณของคุณเอง (ปัจจุบันบริษัทเอ็นรอนได้ล้มละลายไปแล้ว)
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ประสานความคิดและจิตใจเข้าด้วยกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความคิดและจิตใจนั้นไม่จำเป็นต้องแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้น คุณสามารถหาวิธีที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งนี้เป็นไปในทางเดียวกันได้ เริ่มต้นด้วยค่านิยมในตัวเอง จิตใจมักจะพูดออกมาในเชิงค่านิยมที่หยั่งรากลึกลงไปในใจ ซึ่งมักจะไม่ตรงกับกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล การประสานกันจะเริ่มขึ้นตรงนี้ คุณต้องหาค่านิยมที่อยู่ลึกที่สุดในใจและปล่อยให้สิ่งนั้นเป็นตัวนำไปสู่ความคิดอย่างมีเหตุผล [9]
    • พยายามลดค่านิยมลงมา ถ้าคุณไม่เคยมีความคิดถึงสิ่งนี้มาก่อน คุณโตมาได้อย่างไร ถามตัวเองว่าค่านิยมอะไรที่พ่อแม่ของคุณมุ้งเน้นยึดถือ ทรัพย์สิน การศึกษา สถานะ หรือรูปลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น คุณเคยได้รางวัลจากการประสบความสำเร็จโรงเรียนหรือไม่ เป็นต้น
    • คุณดำเนินชีวิตอย่างไร คุณควรที่จะรู้ว่าค่านิยมของคุณส่งผลต่อการพัฒนาชีวิตอย่างไร คุณอาศัยอยู่ในเมือง ชานเมือง หรือต่างจังหวัด อะไรที่ทำให้คุณอาศัยอยู่ที่นั่น คุณทำอาชีพอะไร คนที่มีหน้าที่สอนอาจจะมองเห็นคุณค่าของเงินน้อยกว่าคนที่เป็นนายธนาคาร ในทางกลับกัน นายธนาคารอาจจะให้ความสำคัญกับการศึกษาน้อยกว่าคุณครู [10]
    • คุณใช้เงินไปกับอะไร สิ่งนี้สำคัญกว่าสิ่งอื่นใดที่คอยบอกว่าค่านิยมอะไรที่ทำให้เกิดพฤติกรรมของคุณ คุณใช้เงินไปกับรถยนต์ ท่องเที่ยว เสื้อผ้า หรือศิลปะและการกุศล
  2. จุดมุ่งหมายของการคิดในเชิงค่านิยมนั้นไม่ใช่การลดทอนคุณค่าของการคิดอย่างมีเหตุผล แต่เป็นการทำให้ทั้งสองสิ่งไปในทางเดียวกันได้ เพราะค่านิยมมักจะอยู่เบื้องหลังของความรู้สึก คุณควรจะลองใช้ประโยชน์จากค่านิยมและใช้ร่วมกับกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล คุณควรจะแต่งงานกับใคร คุณควรทำงานที่ไหน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาด้วยเหตุผล แต่ก็ควรที่จะสอดคล้องกับค่านิยมที่คุณยึดถืออยู่ด้วยเช่นกัน
    • หาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลือกของคุณให้มากที่สุด อะไรที่เป็นผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการตัดสินใจนี้ มีอะไรที่คุณจะรู้สึกเสียใจหรือไม่ ความคิดอย่างมีเหตุผลและความรู้สึกของคุณจะทำให้เกิดความคิดเกี่ยวกับการตัดสินใจของคุณที่ขัดแย้งกัน และคุณจะต้องหารายละเอียดของสิ่งนั้นแล้วประเมินค่าดู
    • ค้นหาปัญหา อะไรที่อาจจะผิดพลาดได้ ลองพูดในกรณีที่คุณกำลังคิดถึงการแต่งงานและอยากจะมีลูก แต่แฟนของคุณบอกว่าเธอยังไม่สนใจที่จะมีครอบครัว ในขณะที่ความคิดของคุณบอกว่าคุณรักเธอ คุณควรจะรับฟังหัวใจและตระหนักได้ว่าสิ่งสำคัญเกี่ยวกับการมีครอบครัวนั้นไม่สอดคล้องกับค่านิยมของเธอ
    • สำรวจทางเลือก คิดให้รอบคอบว่าอะไรคือทางเลือกที่ดีที่สุด บางครั้งสัญชาตญาณแรกของคุณอาจจะถูกต้อง แต่บางครั้งหัวใจของคุณก็ต้องการความสมดุลด้วยการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
  3. พิจารณาค่านิยมที่สำคัญที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจ. วิธีที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีก็คือพิจารณาปัญหาในเชิงค่านิยมสูงสุดในตัวคุณ วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้นั้นสัมพันธ์กับค่านิยมของคุณอย่างไร คุณอาจจะต้องสร้างแผนภูมิค่านิยมของตัวเองขึ้นมา โดยไล่จากค่านิยมที่สำคัญที่สุดไปยังค่านิยมที่สำคัญน้อยสุด เพื่อให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้อยู่ตรงไหนในบรรทัดฐานของคุณ [11]
    • กลับมาที่ปัญหาการแต่งงาน ถ้าครอบครัวของคุณนั้นมีปัญหาบ้านแตกสาแหรกขาด การแต่งการกับใครสักคนที่ไม่ต้องการมีลูกก็อาจจะเป็นสิ่งที่แย่ แม้ว่าคุณจะรักเธอก็ตาม แต่ถ้าคุณให้คุณค่ากับความผูกพันที่มีต่อคู่รักของคุณมากกว่าการมีลูก ก็จะเกิดช่องว่างที่ต้องมานั่งพูดคุยกัน
  4. ตัดสินใจด้วยพื้นฐานด้านเหตุผลกับค่านิยมในสัญชาตญาณของคุณ. การคิดถึงความรู้สึกอย่างมีเหตุผลมันดูแปลกใช่ไหม แค่จำไว้ว่าทั้งสองสิ่งไม่ได้เป็นสิ่งที่ตรงข้ามซึ่งกันและกัน คุณแค่ต้องเรียนรู้ที่จะฟังหัวใจของคุณและค้นหาว่ามีอะไรที่อยู่เบื้องหลังความรู้สึกนั้น คิดให้รอบคอบและปล่อยให้ค่านิยมมีความสำคัญต่อการตัดสินใจ แต่ก็มีเหตุผลด้วยเช่นกัน สร้างตัวเลือกที่เหมาะสมกับค่านิยมของคุณที่สุดและทำสิ่งนั้นให้เป็นสิ่งที่สำคัญกับคุณที่สุด
    • ฝึกฝนเข้าไว้ คุณจะเริ่มค้นพบพลังในการตัดสินใจและสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างปัญญากับความรู้สึกได้ในที่สุด คุณสามารถฝึกฝนความคิดให้ทำงานร่วมกับความรู้สึกได้โดยการรับฟังหัวใจของคุณเอง
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,188 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา