ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง คนบางคนจึงมักคิดว่าการเป็นคนเงียบๆ และเก็บตัวนั้นเป็นคุณสมบัติที่ไม่ดี จริงๆ แล้วการมีบุคลิกแบบนี้นั้นอาจเป็นเรื่องดีก็ได้ หรืออย่างน้อยก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีแน่ ทั้งที่จริงแล้ว มีประโยชน์มากมายที่จะทำตัวเงียบและสงวนท่าที [1] มีหลายวิธีที่คุณจะสามารถยอมรับตัวเองว่าเป็นคนเงียบมีโลกส่วนตัวสูง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รู้ข้อดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในขณะที่สังคมมักชอบคนที่มีบุคลิกเฮฮาเปิดเผย นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ค่อยมีค่าหรืออะไร แจกแจงผลดีต่างๆ ของการเป็นคนเงียบๆ ไม่แสดงความรู้สึกออกมาเป็นข้อๆ [2]
    • คุณอาจจะเป็นผู้ฟังที่ดี
    • คุณอาจจะเน้นปลอดภัยและฉลาด [3]
    • คุณอาจเป็นผู้สังเกตการณ์เรื่องราวกับผู้คนได้ดี
    • คนอาจมองว่าคุณถ่อมตัว
    • คนอาจมองว่าคุณเป็นคนช่างคิด
    • อะไรอีกที่คุณคิดว่าเป็นข้อดีของการเงียบและสงวนท่าที?
  2. ถ้าคุณคิดหาข้อดีของการเป็นคนเงียบๆ ได้ยาก ให้เริ่มบันทึกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ระบุได้ว่าบุคลิกแบบนี้มีส่วนช่วยคุณ คุณอาจพบว่าความทรงจำของตัวเองมีอคติชอบจำแต่เรื่องแย่ๆ แต่วิธีนี้จะช่วยคุณหาข้อดีของบุคลิกภาพแบบนี้ได้ [4]
    • หากคุณมีสมาร์ทโฟน ให้จดบันทึกแล้วคัดลอกลงในเอกสารเวิร์ดหรือเขียนลงในสมุดบันทึก
    • ถ้าไม่มีโทรศัพท์ที่สามารถเขียนโน้ตตอนที่นึกขึ้นได้เวลาอยู่ข้างนอก ให้ลองพกกระดาษกับปากกาติดตัวเพื่อจะได้เขียนสิ่งที่คิดขึ้นมาได้ในตอนนั้นก่อนที่จะลืมว่าเกิดอะไรขึ้น
  3. คนเราได้สนใจศึกษาพลังของการมีบุคลิกเก็บตัวมานานแล้ว มีแหล่งข้อมูลมากมายที่จะให้มุมมองใหม่ๆ แก่คุณ พร้อมเสริมกำลังใจให้ตัวคุณเอง ยกตัวอย่างเช่น:
    • ลองอ่านหนังสือชื่อ Quiet โดยซูซาน เคน (Susan Cain): http://www.npr.org/books/titles/145928609/quiet-the-power-of-introverts-in-a-world-that-cant-stop-talking
    • ลองอ่านการพัฒนาตรรกะเบื้องหลังบุคลิกภาพเช่นนี้ ในบางสถานการณ์นั้น คนที่เก็บงำความรู้สึกถือว่าเติบโตหรือประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่เปิดเผยความรู้สึกเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะในเวลาที่การชอบออกไปสังคมพบปะผู้คนนั้นมีความเสี่ยง (อย่างเช่นการอาศัยอยู่ในสถานที่ซึ่งมีโรคระบาด เพราะการชอบพบปะผู้คนย่อมมีโอกาสเสี่ยงติดโรคสูงกว่า) [5]
    • พูดอีกอย่างก็คือ ไม่มีบุคลิกภาพแบบไหนที่จะ “ดีที่สุด” เมื่อมองในแง่มุมของความสำเร็จหรือการอยู่รอด แต่มันจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอันซับซ้อนของสิ่งต่างๆ อย่างเช่น สภาพแวดล้อมที่ตนอยู่: http://www.nytimes.com/2011/06/26/opinion/sunday/26shyness.html
  4. เมื่อคุณได้ตระหนักว่าการเป็นคนเก็บตัวก็มีข้อดีแล้วนั้น ให้พยายามยอมรับในตัวตนของคุณ การยอมรับในตัวเองนั้นเป็นนิสัยที่ดีในตัวของมันเองอยู่แล้ว และตราบเท่าที่คุณรู้สึกดีกับสิ่งที่ตัวเองเป็น นั่นแหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุดละ จริงๆ แล้วหลายคนแนะนำว่าการพอใจในสิ่งที่ตนเองเป็นนั้นมันสำคัญยิ่งกว่าการพยายามมี “บุคลิก” ดีๆ เสียด้วยซ้ำ มีเคล็ดลับมากมายที่คุณสามารถลองเพื่อจะพอใจกับสิ่งที่ตนเองเป็น [6] :
    • แจกแจงจุดแข็งของคุณ
    • ให้อภัยตัวเองสำหรับความผิดพลาดในอดีตที่เคยทำ พยายามคิดไว้ว่าข้อผิดพลาดนั้นเป็นบทเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องมารั้งชีวิตคุณเอาไว้
    • ปฏิบัติกับตัวเองให้ดีและจำไว้ว่าความสมบูรณ์แบบนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเราเลย คุณเองก็เปิ่นรู้พลาดได้เหมือนกับคนอื่นๆ นั่นแหละ และมันไม่เห็นเป็นไรเลย!
  5. มีคนที่เงียบเก็บตัวซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงในแบบของตัวเขาเองอยู่มากมาย ลองคิดถึงบุคคลดังต่อไปนี้ [7] :
    • บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์
    • เจ.เค. โรว์ลิ่ง ผู้แต่งนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์
    • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หนึ่งในนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
    • โรซ่า พาร์คส์ นักต่อสู้เรียกร้องสิทธิของชนผิวดำ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หาผู้คนที่มีบุคลิกนิสัยเหมือนกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถามตัวเองว่าคุณรู้จักใครในวงโซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีบุคลิกนิสัยเหมือนคุณบ้าง คุณอาจทำความพยายามรู้จักตัวเขาให้มากขึ้น ถ้าคุณอยู่ท่ามกลางคนที่คล้ายกับคุณจะทำให้การยอมรับบุคลิกของตนเองนั้นทำได้ง่ายขึ้น
    • คุณอาจมีอะไรหลายๆ อย่างที่เข้ากันได้กับคนที่นิ่งเงียบและเก็บตัวเหมือนๆ กันมากกว่ากับคนที่ชอบสังสรรค์และเปิดเผย
  2. คุณสามารถใช้เว็บไซต์ http://shy.meetup.com/ เพื่อหาคนอื่นที่เงียบและเก็บตัวเพื่อพบปะกันได้
    • หากไม่มีกลุ่มดังว่าในแถบที่คุณอาศัยอยู่เลย ไม่ลองเป็นโต้โผจัดมันขึ้นมาเองเลยล่ะ!
  3. คุณอาจพบว่าการได้พูดคุยกับคนอื่นทางเน็ตที่เหมือนๆ กับคุณจะช่วยให้คุณยอมรับในตัวเองได้ง่ายขึ้น ยามที่คุณได้ตระหนักว่ามีผู้คนอีกมากมายที่ช่างเก็บตัวเหมือนกันแล้ว มันจะช่วยให้เข้าใจกระจ่างว่าลักษณะบุคลิกภาพแบบคุณนั้นมันปกติและไม่เห็นมีอะไรให้ต้องอายเลย
    • จะหาเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ต ลองค้นด้วยคำว่า “เว็บบอร์ดสำหรับคนขี้อาย”
  4. หากคุณต้องดิ้นรนในการยอมรับตนเอง ให้ลองคิดก่อตั้งกลุ่มให้กำลังใจและเปิดรับอาสาสมัครคนที่มีนิสัยคล้ายกันคอยให้กำลังใจต่อกัน [8]
    • คุณจำต้องตัดสินใจบางอย่างในการตั้งกลุ่ม ถามตัวเองว่าคุณจะจัดการพบปะกันที่ไหน เมื่อไหร่ และจะใช้ชื่อกลุ่มว่าอะไร
    • คุณยังต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์กลุ่ม อาจต้องลองหาสมาชิกทางอินเทอร์เน็ตหรือติดใบปลิวโฆษณาตามป้ายรถเมล์เป็นต้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รับการช่วยเหลือจากมืออาชีพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งไม่ว่าคุณจะพยายามลงมือทำอย่างหนักขนาดไหน ก็ไม่สามารถทำใจยอมรับตัวเองได้ มันเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอะไรหรอก คุณอาจได้รับประโยชน์จากการเข้าพบมืออาชีพด้านสุขภาพจิตอย่างเช่น นักจิตวิทยา นักจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ที่ได้รับใบอนุญาต (LCSW) ผู้ให้คำปรึกษาที่ได้รับใบอนุญาต (LPC) หรือนักบำบัดชีวิตสมรสและชีวิตครอบครัว (MFT) ทั้งหมดนี้สามารถช่วยคุณแก้ไขปัญหาได้
    • ใช้เว็บไซต์นี้ค้นหารายชื่อนักจิตวิทยา: http://locator.apa.org/
    • จะหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตให้ลองค้นอินเทอร์เน็ตอย่าง LPC + รหัสไปรษณีย์ หรืออย่าง LCSW + ชื่อเมืองที่อยู่
  2. มันอาจเป็นได้ว่าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม หากเป็นเช่นนี้ มันอาจคุ้มค่าที่จะลองเข้ารับการรักษาแก้อาการเช่นว่านี้ [9]
    • คุณอาจเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมหากการพบปะพูดคุยทางสังคมทำให้คุณรู้สึกกังวล กลัว หรือเขินอายอย่างมาก เพราะคุณรู้สึกว่าตัวเองถูกประเมินในเชิงลบจากคนอื่นๆ
  3. ถ้าคุณตัดสินใจจะพบมืออาชีพด้านสุขภาพจิต มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อได้รับประโยชน์จากการไปพบมากที่สุด คุณอาจเริ่มโดยการเขียนอาการที่เกิดขึ้นกับคุณว่ามีอะไรและเกิดขึ้นในสถานการณ์ใดบ้าง [10]
    • ยิ่งเล่ารายละเอียดมากแค่ไหนยิ่งถือว่าดีกว่าขาดข้อมูล ปล่อยให้แพทย์เป็นฝ่ายตัดสินใจว่าข้อมูลใดที่สำคัญและข้อมูลใดที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  4. คุณอาจมีข้อสงสัยในใจและอยากจะทำให้แน่ใจว่าได้ประโยชน์จากการนัดพบแพทย์จริงๆ ให้เตรียมตัวเขียนรายการคำถามที่คุณจะเอ่ยถามในระหว่างการนัดพบแพทย์ได้ [11] ตัวอย่างคำถามก็อาทิ:
    • ถามถึงการใช้ยารักษาใดๆ ที่คุณอาจต้องเข้ารับ
    • ถามถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้ยาเหล่านั้น
    • ถามถึงทางเลือกอื่นแทนการใช้ยา เช่น การปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต
    • ถามถึงผลข้างเคียงของการใช้ยา
    • ถามถึงสาเหตุซ่อนเร้นที่เป็นไปได้ของอาการหวาดกลัวสังคมของคุณ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,321 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา