ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

นิ้วหัก คือการที่กระดูกในนิ้วไหนก็ตามเกิดหักขึ้นมา นิ้วโป้งจะมีกระดูก 2 ท่อน ในขณะที่นิ้วอื่นๆ มี 3 ท่อน นิ้วมือหักนั้นเป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อย เกิดได้ทั้งตอนเล่นกีฬา ประตูรถหนีบ หรือเพราะอุบัติเหตุอื่นๆ การดูแลนิ้วมือที่หักนั้นต้องรู้ซะก่อนว่าอาการบาดเจ็บมันรุนแรงแค่ไหน จะได้ปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้นก่อน แล้วค่อยไปหาหมอที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ประเมินอาการบาดเจ็บว่ารุนแรงแค่ไหน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการบวมฟกช้ำมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดฝอยในนิ้วของคุณแตก ถ้าปลายนิ้วคุณหัก ใต้เล็บก็จะห้อเลือด ส่วนปลายนิ้วก็จะม่วงช้ำเหมือนกัน [2]
    • เวลาแตะโดนนิ้วที่หัก ก็จะปวดแปลบขึ้นมา นั่นแหละอาการสำคัญ บางคนอาจจะยังขยับนิ้วได้อยู่ทั้งที่หัก เพราะอาจจะชาหรือแค่ปวดตื้อๆ แต่ทั้งหมดก็เป็นสัญญาณบอกอาการนิ้วหักทั้งนั้น ซึ่งต้องรักษาโดยด่วน [3]
    • ตรวจหาอาการชาหรือเจ็บหนึบๆ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากาจเป็นอาการของเส้นประสาทถูกทำลายที่เกิดจากกระดูกหักเลือดไม่ไหลเวียนที่ส่วนปลาย. ถ้า Capillary refill ปกติ เวลากดหรือบีบนิ้วไว้ พอปล่อย เลือดจะต้องไหลกลับคืนมา
  2. ตรวจการเติมกลับของเลือดในเส้นเลือดฝอยโดยการบีบเบาๆ ตรงบริเวณนั้น การเติมกลับของเลือดในเส้นเลือดฝอยคือการไหลเวียนกลับของเลือดไปที่นิ้วหลังจากเกิดแรงกด คุณสามารถตรวจโดยกดเบาๆ ตรงเนื้อยื่อใกล้แผลจนมันขาวซีด หากมันไม่กลับคืนเปนสีปกติในชั่วไม่กี่วินาที แสดงว่าเลือดมีการไหลเวียนผิดปกติในบริเวณนั้น [4]
    • ถ้าคุณมองความแตกต่างระหว่างสีผิวตอนบีบไม่ออก ให้ลองที่ตรงเล็บ กดค่อยๆ ตรงเล็บ แล้วดูว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงกลับมาเป็นสีชมพูอีกครั้ง
  3. ตรวจนิ้วหาแผลเปิดหรือกระดูกที่แทงทะลุออกมา. นิ้วคุณอาจมีแผลเปิดขนาดใหญ่ หรือชิ้นส่วนกระดูกแทงทะลุเนื้อออกมา นั่นบอกได้ชัดเจนว่ากระดูกคุณหักอย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่ากระดูกหักแบบเปิด (compound fracture) ถ้าอาการคุณเป็นแบบนี้ ต้องรีบไปหาหมอโดยด่วน [5]
    • รวมถึงถ้ามีเลือดไหลทะลักออกมาจากแผลเปิดที่นิ้ว ก็ต้องรีบไปหาหมอเช่นกัน [6]
  4. ถ้าส่วนไหนของนิ้วชี้ไปผิดทิศผิดทาง แปลว่ากระดูกคงหักหรือเคลื่อนเข้าแล้ว ข้อนิ้วเคลื่อนคือกระดูกเคลื่อนจากที่ ทำให้ข้อนิ้วบิดเบี้ยวผิดรูป อย่างตรงมะเหงก ถึงข้อเคลื่อน ไม่หัก ก็ต้องรีบไปหาหมอเหมือนกัน
    • แต่ละนิ้วของคุณจะมีกระดูก 3 ท่อน และเรียงต่อแบบเดียวกัน ข้อแรกคือกระดูกนิ้วมือท่อนต้น (proximal phalanx) ข้อที่ 2 คือกระดูกนิ้วมือท่อนกลาง (middle phalanx) ส่วนท่อนที่อยู่ไกลจากฝ่ามือที่สุด เรียกว่ากระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (distal phalanx) แต่นิ้วโป้งนั้นสั้นกว่านิ้วอื่นๆ เลยไม่มีกระดูกนิ้วมือท่อนกลาง ส่วนที่เราเรียกกันว่ามะเหงก (knuckles) นั้นเป็นข้อที่เกิดจากกระดูกท่อนต่างๆ ในนิ้วคุณ เรามักกระดูกนิ้วหักตรงมะเหงก หรือข้อนี่เอง [7]
    • ถ้านิ้วหักแถวกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (distal phalanx) จะรักษาง่ายกว่าเวลาข้อหรือมะเหงกหัก [8]
  5. อาการปวดบวมดีขึ้นหลังผ่านไป 1 - 2 ชั่วโมงหรือเปล่า. ถ้านิ้วคุณไม่บิดผิดรูปหรือบวมช้ำ ส่วนอาการปวดบวมก็ดีขึ้น แสดงว่าแค่นิ้วเคล็ดไม่ได้หัก สาเหตุคือเอ็นคุณตึงเกินไป เอ็นที่ว่าก็คือแผ่นเนื้อเยื่อที่ยึดกระดูกในนิ้วของคุณเข้าไว้ด้วยกันตรงข้อนั่นเอง [9]
    • ถ้าคุณคิดว่าตัวเองนิ้วเคล็ด ก็งดการใช้งานไปก่อน รอจนอาการปวดบวมดีขึ้นภายใน 1 - 2 วัน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปให้คุณหมอตรวจ จะได้รู้แน่ชัดว่าตกลงนิ้วแค่เคล็ดหรือเกิดหักขึ้นมา การตรวจร่างกายควบคู่ไปกับการเอ็กซเรย์จะบอกได้เอง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ปฐมพยาบาลนิ้วที่หักก่อนไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอาน้ำแข็งห่อด้วยผ้าขนหนู แล้วเอาไปประคบที่นิ้วระหว่างเดินทางไปแผนกฉุกเฉิน จะได้ลดปวดบวมฟกช้ำ แต่ห้ามประคบน้ำแข็งที่ผิวโดยตรงเด็ดขาด [10]
    • ยกนิ้วสูงไว้ตอนประคบเย็น เอาให้เหนือหัวใจ แรงโน้มถ่วงจะช่วยลดบวมและห้ามเลือดตามธรรมชาติเอง
  2. ดามนิ้วไว้ นิ้วจะได้อยู่สูงและไม่ขยับเขยื้อน คุณดามนิ้วเองได้ง่ายๆ โดย
    • หาอะไรยาวๆ บางๆ ในขนาดเท่าๆ กับนิ้วของคุณมาใช้ดาม เช่น ไม้ไอติม หรือปากกา
    • เอามาแนบข้างนิ้วที่หัก จะดามเองหรือให้เพื่อน/ครอบครัวช่วยจับไว้ให้ก็ได้
    • ใช้ผ้าพันแผลหรือเทปพันแผลพันให้รอบ ยึดไม้ไอติมหรือปากกานั้นไว้กับนิ้วของคุณ พันให้กระชับแต่อย่าคับแน่นเกินไป พันแล้วต้องไม่รัดนิ้วจนเจ็บไปกว่าเดิม ถ้าพันแน่นไปละก็ อาจทำให้บวมเป่ง เลือดไม่ไหลเวียนไปเลี้ยงนิ้วที่บาดเจ็บ [11]
  3. ถ้าเป็นไปได้ พยายามถอดแหวนที่นิ้วออกมาก่อนนิ้วจะบวมจนเอาออกไม่ได้ เพราะถ้าทิ้งไว้จนนิ้วบวมเจ็บจะเอาแหวนออกมาแทบไม่ได้เลย [12]
  4. ถ้ามีอาการปวดมาก ใช้ยาที่มีตัวยาอะเซตามิโนเฟน เช่น ไทลีนอลหรือพาราเซตามอล อย่าใช้ยากลุ่ม NSAIDs (ยาแก้อักเสบแบบไร้สเตียรอยด์) เช่น ไอบูโปรเฟน จนกว่าคุณจะได้พบแพทย์และแพทย์เป็นผู้สั่งยาให้ [13]
    • การศึกษาบางตัวแสดงให้เห็นว่ายากลุ่ม NSAIDs สามารถทำให้การฟื้นฟูหากเกิดกระดูกหักนั้นล่าช้าลง แพทย์จึงมักแนะนำให้หลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้ถ้ามีกระดูกหัก [14]
    • การประคบเย็นที่นิ้วยังช่วยให้รู้สึกชาและลดอาการบวม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ได้เวลารักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณหมอจะสอบถามประวัติการรักษาของคุณ จากนั้นก็ตรวจร่างกายเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และหาสาเหตุว่าคุณบาดเจ็บได้ยังไง คุณหมอจะดูว่านิ้วผิดรูปหรือเปล่า ระบบประสาทและหลอดเลือดทำงานปกติหรือเปล่า นิ้วหมุนผิดปกติหรือเปล่า รวมถึงแผลหรืออาการบาดเจ็บที่ผิวหนังด้วย
  2. คุณหมอจะได้ฟันธงว่านิ้วคุณหักจริงหรือเปล่า กระดูกหักจะมี 2 แบบด้วยกัน คือแบบปกติ (simple) กับแบบซับซ้อน (complex) ซึ่งคุณหมอต้องระบุข้อนี้ให้ได้ก่อน ถึงจะแนะนำวิธีการรักษาต่อไป [15]
    • ถ้าเป็นแบบ Simple จะเป็นกระดูกหักหรือร้าวแบบไม่ทะลุผิวหนังออกมา
    • ส่วนแบบ Complex จะเป็นกระดูกหักแบบที่กระดูกแทงทะลุผิวหนัง
  3. กระดูกหักแบบปกติ คือนิ้วไม่ผิดรูปเสียหาย และไม่มีแผลเปิดหรือมีกระดูกแทงทะลุผิวหนังที่นิ้วออกมา อาการจะไม่หนักไปกว่าเดิมหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน พออาการดีขึ้นเดี๋ยวก็ขยับนิ้วได้ [16]
    • ในบางเคส คุณหมออาจพันนิ้วที่หักไว้กับนิ้วที่อยู่ติดกัน วิธีนี้เรียกว่า buddy taping เพื่อไม่ให้นิ้วที่หักขยับเขยื้อนจนกระทบกระเทือนระหว่างฟื้นตัว [17]
    • คุณหมออาจจัดกระดูกกลับเข้าที่ให้ด้วย หรือที่เรียกว่า reduction โดยจะใช้ยาชาเฉพาะที่บริเวณนั้น แล้วค่อยจัดเรียงกระดูกซะใหม่
  4. คุณจะกินยาแก้ปวดตามร้านขายยาก็ได้ เพื่อลดอาการปวดบวม แต่จริงๆ ก็ปรึกษาคุณหมอเถอะ ว่ายาตัวไหนที่เหมาะกับคุณ และปริมาณที่แนะนำต่อวันคือเท่าไหร่ [18]
    • คุณหมออาจจ่ายยาแก้ปวดร่วมด้วย เพื่อลดอาการปวดที่นิ้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บของคุณว่ารุนแรงแค่ไหน
    • ถ้านิ้วคุณมีแผลเปิด คงต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ปนเปื้อนเข้าไปในแผล
  5. ถ้ากระดูกหักแบบซับซ้อนหรือรุนแรง อาจต้องพิจารณาผ่าตัด. ถ้ากระดูกหักแบบรุนแรง คุณอาจต้องยอมผ่าตัดเพื่อรักษากระดูกนิ้วที่หัก
    • คุณหมออาจแนะนำให้ผ่าตัดจัดกระดูก (open reduction surgery). ศัลยแพทย์จะผ่าเปิดแผลเล็กๆ ที่นิ้ว พอให้เห็นกระดูกที่หัก เพื่อให้จัดกระดูกได้ ในบางเคส ศัลยแพทย์อาจต้องใช้ลวดหรือแผ่นโลหะกับสกรู (plates and screws) ยึดกระดูกไว้กับที่ จะได้ฟื้นตัวเร็ว
    • หมุดพวกนี้จะถูกถอดออกไปหลังนิ้วคุณหายดีแล้ว
  6. ขอโอนเคสไปที่ศัลยแพทย์กระดูกหรือศัลยแพทย์มือ. ถ้าคุณกระดูกหักแบบเปิด อาการรุนแรง เส้นประสาทเสียหาย หรือหลอดเลือดอุดตัน คุณหมออาจโอนเคสคุณไปยังศัลยแพทย์กระดูก (ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ) หรือศัลยแพทย์มือ [19]
    • ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะตรวจอาการบาดเจ็บของคุณแล้ววินิจฉัยว่ารุนแรงถึงขั้นต้องผ่าตัดหรือเปล่า
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ดูแลหลังการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดามนิ้วแล้วต้องคอยรักษาความสะอาด อย่าให้เปียกหรืออับชื้น และต้องยกสูงด้วย. จะได้ป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีแผลเปิดหรือรอยแทงทะลุที่นิ้ว คอยยกนิ้วให้สูงไว้จะได้ไม่กระทบกระเทือน ทำให้หายเร็ว [20]
  2. งดใช้นิ้วหรือมือจนกว่าจะติดตามผลการรักษากับคุณหมอแล้ว. ให้ใช้มือข้างที่ปกติทำกิจวัตรประจำวันไปก่อน อย่างการกิน อาบน้ำ หรือหยิบจับของต่างๆ สำคัญมากว่าคุณต้องให้เวลานิ้วได้พักฟื้นโดยไม่ต้องขยับเขยื้อนหรือมีอะไรไปกระทบกระเทือนนิ้วที่ดามไว้ [21]
    • การนัดตรวจติดตามผลกับคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านมือ ปกติจะผ่านไป 1 อาทิตย์หลังการตรวจรักษาครั้งแรก ตอนไปตรวจติดตามผล คุณหมอจะตรวจดูว่ากระดูกแต่ละชิ้นเรียงตัวกันดีไหม และฟื้นตัวดีหรือเปล่า [22]
    • ปกติเวลากระดูกหักนิ้วหัก คุณอาจต้องพักฟื้นประมาณ 6 อาทิตย์ถึงจะกลับไปเล่นกีฬาหรือทำงานต่อได้
  3. พอคุณหมอยืนยันแน่แล้วว่านิ้วคุณหายสนิท ไม่ต้องดามแล้ว ก็ถึงเวลาต้องบริหารนิ้วกันแล้ว ถ้าดามนิ้วนานเกินไป หรือเลิกดามแล้วยังไม่ยอมกลับมาใช้นิ้วละก็ ข้ออาจจะแข็งหรือยึดจนนิ้วคุณขยับหรือใช้งานไม่ค่อยได้ [23]
  4. ถ้าอาการบาดเจ็บรุนแรงควรทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย. นักกายภาพบำบัดสามารถแนะนำคุณได้ ว่าต้องทำอะไรบ้างถึงจะกลับไปใช้นิ้วได้ตามเดิม อาจเป็นการบริหารนิ้วและมือแบบไม่หนักมาก นิ้วจะได้ขยับเขยื้อนบ้าง และกลับเป็นปกติในที่สุด [24]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 102,609 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา