ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แผลไฟไหม้นั้นเป็นอาการบาดเจ็บที่ผิวหนังทั่วไปซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ โดยอาจจะเกิดจากไฟฟ้า ความร้อน แสงไฟ ดวงอาทิตย์ รังสี และการเสียดสี ว่านหางจระเข้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บและลดการอักเสบมาเป็นเวลานานแล้ว แพทย์มักจะแนะนำให้ใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาแผลไฟไหม้เล็กๆ ที่มีความรุนแรงระดับหนึ่งและบางครั้งก็ใช้รักษาแผลไฟไหม้ระดับที่สองได้ ถ้าคุณมีแผลไฟไหม้ ให้ทำตามวิธีต่อไปนี้เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของแผลและรักษาด้วยว่านหางจระเข้ [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมตัวรักษาแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อใดก็ตามที่คุณพบว่าคุณมีแผลไฟไหม้ คุณต้องรีบออกห่างจากแหล่งกำเนิดของแผล ถ้าคุณมีแผลไฟไหม้จากเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและออกห่างจากสิ่งนั้นทันที ถ้าคุณมีแผลไหม้จากสารเคมี ให้รีบออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด ถ้าคุณมีแผลไฟไหม้จากแดด ให้รีบหาที่หลบแดดทันที
    • ถ้าเสื้อของคุณเปื้อนสารเคมีหรือเสื้อกำลังไหม้อยู่ ให้ถอดเสื้อออกอย่างระมัดระวังที่สุดโดยไม่ทำให้แผลเสียหาย อย่าดึงเสื้อออกจากผิวหนังถ้าเนื้อผ้านั้นติดอยู่กับบริเวณที่มีแผลไหม้ ให้เรียกบริการฉุกเฉินหรือเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ทันที [2]
  2. แผลไฟไหม้มีความรุนแรงอยู่ 3 ระดับด้วยกัน โดยก่อนที่คุณจะรักษาแผลนั้น คุณต้องรู้ถึงความแตกต่างของแผลก่อน แผลไฟไหม้ระดับที่ 1 จะส่งผลต่อผิวหนังชั้นนอกสุด โดยผิวจะมีสีแดง อาจจะมีอาการเจ็บปวด และเวลาสัมผัสจะรู้สึกแห้ง [3] แผลไฟไหม้ระดับที่ 2 นั้นจะขยายวงกว้างออกไปลึกถึงผิวชั้นใน โดยผิวจะดูชื้นและไม่มีสี แต่จะมีแผลผลุพองสีขาว ส่วนใหญ่จะรู้สึกเจ็บปวด [4] ส่วนแผลไฟไหม้ระดับที่ 3 นั้นจะขยายวงกว้างไปทั่วผิวหนังและอาจจะลามไปถึงเนื้อเยื่อด้วย แผลจะดูแห้งและเหนียว ผิวที่ไหม้นั้นอาจจะมีสีดำ สีขาว สีน้ำตาล หรือสีเหลือง นอกจากนั้นยังมีอาการบวมรุนแรง แม้ว่าแผลระดับนี้จะรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าแผลระดับเล็ก แต่นั่นเป็นเพราะว่าปลายประสาทนั้นได้รับความเสียหาย [5]
    • ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าแผลของคุณอยู่ในระดับที่ 1 หรือ 2 ให้โทรไปปรึกษแพทย์ ถ้าคุณคิดว่าแผลนั้นรุนแรงเกินกว่าที่จะเป็นแผลระดับที่ 1 ให้พบแพทย์ทันที แผลไฟไหม้ระดับที่ 2 และ 3 นั้นอาจจะอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
    • ถ้าคุณมีแผลไฟไหม้ระดับที่ 1 หรือระดับที่ 2 ที่ยังไม่รุนแรง ให้รักษาด้วยการใช้ว่านหางจระเข้ได้ แผลระดับที่นอกเหนือจากนี้จะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้ยกเว้นแพทย์บอกให้ใช้ได้
    • อย่ารักษาแผลในระดับที่ 3 หรือแผลเปิดด้วยว่านหางจระเข้เด็ดขาด ว่านหางจระเข้นั้นไม่ได้ช่วยให้แผลไฟไหม้แห้งลง ซึ่งทำให้การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นไปไม่ได้ [6]
  3. เมื่อคุณประเมินความรุนแรงของแผลและออกจากจุดเกิดเหตุได้แล้ว คุณสามารถเริ่มให้ความเย็นแก่แผลได้ทันที ซึ่งจะช่วยดึงความร้อนออกมาจากแผลและทำให้แผลทุเลาลงก่อนที่จะใช้ว่านหางจระเข้ เทน้ำเย็นลงบนแผลให้เร็วที่สุดภายใน 10-15 นาทีหลังจากเกิดแผล
    • ถ้าคุณไปยังสถานที่ที่มีก๊อกน้ำหรือฝักบัวได้ ให้นำผ้าชุบน้ำเย็นและวางลงบนแผลประมาณ 20 นาที แล้วเปลี่ยนผ้าเมื่ออุณหภูมิของผ้าสูงขึ้นด้วยผ้าชุบน้ำผืนใหม่
    • ถ้าคุณหาที่ที่มีน้ำไหลได้ ให้ใช้น้ำเย็นอาบบริเวณที่เกิดแผลอย่างน้อย 5 นาที คุณอาจจะนำแผลจุ่มลงในอ่างล้างจานหรืออ่างใส่น้ำเย็นก็ได้ [7]
  4. เมื่อคุณให้ความเย็นกับแผลแล้ว คุณต้องทำความสะอาดแผล ถูสบู่ลงบนมือ จากนั้นถูเบาๆ บริเวณที่เกิดแผล แล้วล้างแผลด้วยน้ำเย็นเพื่อล้างสบู่ออก สุดท้ายให้ใช้ผ้าขนหนูซับให้แห้ง
    • อย่าถูแผลโดยตรงเพราะจะทำให้ผิวเกิดความระคายเคืองมากขึ้นหรือลอกออกได้ถ้าแผลนั้นบอบบางหรือเริ่มมีอาการบวม [8]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

รักษาแผลไฟไหม้ด้วยว่านหานจระเข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณมีต้นว่านหางจระเข้ในบ้านหรืออยู่ใกล้ๆ กับจุดเกิดเหตุ คุณสามารถตัดเนื้อว่านหางจระเข้ออกมาใช้สดๆ ได้ ตัดเนื้อใบออกเล็กน้อยบริเวณโคนต้น แล้วตัดหนามบนใบออกเพื่อไม่ให้ถูกหนามตำ จากนั้นให้ตัดช่วงครึ่งล่างของใบบริเวณตรงกลางแล้วใช้มีดกรีดเป็นรอยบากภายในเนื้อใบ ซึ่งจะช่วยให้เนื้อว่านหางจระเข้ไหลออกมา แล้วนำจานมารองไว้
    • ให้ทำซ้ำๆ จนกว่าจะได้เนื้อว่านหางจระเข้มากพอที่จะทาลงบนแผลไฟไหม้ได้ [9]
    • ต้นว่านหางจระเข้นั้นปลูกได้ง่ายมาก ซึ่งมักจะเจริญเติบโตได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง ในการปลูกนั้น ให้รดน้ำทุกวันและพยายามอย่ารดน้ำมากเกินไป นอกจากนี้ หน่อจากต้นก็สามารถนำไปปลูกต่อได้ง่าย
  2. ถ้าคุณไม่ได้ปลูกว่านหางจระเข้เอาไว้ คุณสามารถซื้อเจลหรือครีมว่านหางจระเข้ตามร้านขายยาได้ ซึ่งสามารถหาได้ตามร้านขายของทั่วไป ร้านขายยา หรือร้านขายของชำ ในการเลือกยี่ห้อนั้น ให้แน่ใจว่าคุณเลือกครีมหรือเจลที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ 100% หรือใกล้เคียงที่สุด ผลิตภัณฑ์บางตัวนั้นมีว่านหางจระเข้มากกว่ายี่ห้ออื่นๆ แต่คุณควรเลือกยี่ห้อที่ดูมีปริมาณว่านหางจระเข้มากที่สุด [10]
    • ลองดูส่วนผสมของเจลที่คุณซื้อ บางยี่ห้อนั่นยืนยันว่า “ผลิตจากเนื้อว่านหางจระเข้ล้วนๆ” แต่มีเนื้อจริงๆ ประมาณ 10% เท่านั้น [11]
  3. นำเนื้อว่านหางจระเข้ที่คุณสกัดมาจากต้นหรือเทเจลว่านหางจระเข้ลงบนฝ่ามือให้มากๆ จากนั้น นวดบริเวณที่เกิดแผลเบาๆ จำไว้ว่าอย่าถูแรงจนเกินไป ให้ทำแบบนี้ 2-3 รอบต่อวันจนกว่าจะไม่รู้สึกเจ็บบริเวณแผลอีกแล้ว
    • คุณต้องปิดแผลหลังจากที่ใช้ว่านหางจระเข้ถ้าแผลนั้นถูกกระทบหรือเสียดสีได้ง่ายหรือรู้สึกเจ็บถ้าไม่มีอะไรมาปิดไว้ ในกรณีนี้ ให้นำผ้าพันแผลสะอาดหรือผ้าก๊อชที่ไม่มีสารตกค้างพันบริเวณแผลเอาไว้ [12]
  4. ถ้าคุณอยากใช้วิธีอื่นเพื่อให้ใช้ว่านหางจระเข้ให้ง่ายขึ้น คุณอาจจะลองอาบน้ำด้วยว่านหางจระเข้ดูก็ได้ ถ้าคุณมีต้นว่านหางจระเข้ ให้นำใบมาต้มกับน้ำจนเดือด จากนั้นให้ตัดใบออกมาแล้วราดน้ำลงบนอ่างอาบน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาล ถ้าคุณมีเจล ให้เทเจลลงไปในอ่างอาบน้ำให้มากๆ จากนั้นให้ลงไปแช่ในน้ำที่ผสมว่านหางจระเข้เป็นเวลา 20 นาทีเพื่อบรรเทาแผลไฟไหม้ [13]
    • คุณอาจจะลองซื้อโฟมอาบน้ำที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ดูก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้บริเวณที่มีแผลไฟไหม้ เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีสารเคมีอื่นๆ ที่อาจจะทำให้ผิวแห้งแทนที่จะทำให้ผิวชุ่มชื้น
  5. บางครั้งนั้น ว่านหางจระเข้ก็ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะรักษาแผลไฟไหม้ได้ คุณควรจะคอยสังเกตแผลในขณะที่รักษาด้วยว่านหางจระเข้เพื่อดูว่าการรักษาไปถึงไหนแล้ว ถ้าแผลของคุณนั้นมีอาการแย่ลงหรือระคายเคืองมากขึ้นจากการใช้ว่านหางจระเข้ คุณควรไปพบแพทย์ นอกจากนี้ ถ้าแผลไฟไหม้ยังคงอยู่มาหรือไม่รู้สึกดีขึ้นนานกว่า 1 สัปดาห์ คุณควรเข้ารับการรักษาทางการแพทย์น่าจะดีกว่า
    • ถ้าแผลมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น บวมขึ้น เป็นหนอง หรือเป็นไข้ นั่นแสดงว่าแผลของคุณอาจจะเกิดการติดเชื้อขึ้น ในกรณีนี้คุณต้องไปพบแพทย์ [14]
    • คุณต้องพบแพทย์ทันทีถ้าแผลนั้นติดเชื้อ มีปัญหาในการหายใจ อุณหภูมิในร่างกายต่ำ หรือเกิดปัญหาทางกระดูกและเส้นเอ็นในบริเวณที่เกิดแผลไฟไหม้ [15]
    • นอกจากนี้ คุณควรพบแพทย์ทันทีในกรณีที่แผลนั้นเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าหรือฝ่ามือ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผิวไหม้จากแสงแดดนั้นจะทำให้ผิวอ่อนไหวต่อแสงอาทิตย์แม้จะได้รับการรักษาแล้ว ให้ใช้ครีมกัดแดดในปริมาณที่สูงขึ้นเป็นเวลา 6 เดือนหลังจากเกิดแผลไหม้เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการผิวเปลี่ยนสีหรือเกิดความเสียหายต่อผิวในอนาคต
  • ห้ามใช้เจลหรือใบว่านหางจระเข้ที่โดดแดดเผามารักษาแผลไหม้จากแดดเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดผื่นและเป็นตุ่มขนาดเล็กซึ่งทำให้ดูไม่ดีและยังทำให้แผลไหม้จากแดดนั้นมีความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น ถ้าคุณเผลอใช้ไปแล้วและกำลังเกิดผื่นอยู่ ให้คุณหาต้นว่านหางจระเข้ที่ปกติและใช้เจลต่อไปเพื่อรักษาแผลและผื่น คุณสามารค้นหา “อาการที่เกิดจากการใช้ต้นว่านหางจระเข้ที่โดดแดดเผา” หรือ “วิธีดูว่าต้นว่านหางจระเข้นั้นเป็นปกติ” เพื่อรู้ถึงความแตกต่างระหว่างต้นว่านหางจระเข้ปกติและต้นที่โดดแดดเผา
  • ให้ใช้ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยาแก้อักเสบ (NSAIDs) ในการดูแลอาการเนื้อเยื่อบวมและช่วยลดความเจ็บปวด [16]
  • ไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณสงสัยว่าแผลของคุณนั้นรุนแรงกว่าระดับที่ 1 ซึ่งเป็นแผลที่ควรรักษาโดยใช้แพทย์และไม่สามารถรักษาได้ที่บ้าน
  • แผลไฟไหม้รุนแรงระดับที่ 2 ทีเกิดตุ่มเลือด (Blood blister) นั้นอาจจะพัฒนาเป็นแผลรุ่นแรงระดับที่ 3 ได้ และต้องรักษาด้วยแพทย์
  • นอกจากนี้ ถ้าแผลมีขนาดใหญ่หรือแผลเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ให้รักษาด้วยวิธีทางการแพทย์เช่นกัน
  • ห้ามใช้น้ำแข็งบริเวณที่เกิดแผลไฟไหม้เด็ดขาด ความเย็นจัดสามารถทำให้แผลเกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น [17]
  • อย่าใช้ยาสามัญประจำบ้านในการรักษา เช่น เนย แป้ง น้ำมัน หอมหัวใหญ่ ยาสีฟัน หรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวมารักษาแผลไฟไห้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น [18]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,227 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา