ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) นั้นเป็นกันได้ทุกเพศทุกวัย เรียกว่าทรมานกันโดยทั่วกัน ปกติคุณหมอจะจ่ายครีมยาสเตียรอยด์ให้ แต่หลายคนรู้สึกว่าผลข้างเคียงเยอะ แถมไม่ค่อยได้ผล โชคดีที่มีวิธีอื่นช่วยบรรเทาอาการผิวแห้ง คัน และสภาพผิวผิดปกติได้ ลองรักษาด้วยสมุนไพรและวิธีธรรมชาติอื่นๆ ดู อาจเห็นผลว่าสภาพผิวรู้สึกและดูแตกต่างออกไป แต่ถ้าใช้วิธีธรรมชาติแล้วไม่ได้ผลหรืออาการหนักกว่าเดิม แบบนี้ต้องหาหมอแล้ว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปัจจัยกระตุ้นโรคผิวหนังอักเสบจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนก็แพ้ขนสัตว์ ส่วนอีกคนแพ้สารเคมีในน้ำหอม แต่ละคนก็เกิดผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบด้วยสาเหตุแตกต่างกันไป บทความวิกิฮาวนี้เป็นวิธีรักษาโดยรวม เพราะฉะนั้นให้ลองใช้กันไปจนกว่าจะเจอวิธีที่ได้ผลดีสำหรับคุณ รวมถึงจดบันทึกอาหารประจำวันและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ แล้วตัดไปทีละตัวเลือกจนรู้ว่าแพ้อะไร
    • อาจจะต้องใช้เวลาหน่อยกว่าจะเจอสาเหตุทำคุณแพ้ หลายคนเลยเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือออร์แกนิกทั้งหมด แล้วค่อยๆ กลับมาใช้ผลิตภัณฑ์ทั่วไปแบบมีสารเคมีทีละตัว จนรู้ว่าตัวไหนเป็นสาเหตุก่อผิวหนังอักเสบ
  2. พยายามใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ระวังเนื้อผ้าหรือวัสดุที่ระคายผิวหรือทำให้คัน เช่น ขนสัตว์ ให้เลือกเนื้อผ้านุ่มเนียน เช่น ผ้าคอตตอน ผ้าไหม และใยไผ่ จะสบายตัวกว่า [1] เลือกน้ำยาซักผ้าก็สำคัญ เพราะอาจตกค้างบนเสื้อผ้าจนทำให้อาการผิวหนังอักเสบของคุณกำเริบขึ้นมา ให้ใช้ผงซักฟอกสูตรธรรมชาติ (ทำจากพืชหรือสมุนไพร) หรือง่ายกว่านั้นคือลองเปลี่ยนยี่ห้อที่ใช้
    • เวลาซักเสื้อผ้า ให้ใส่ผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าน้อยๆ (น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ) เพราะน้ำยาส่วนใหญ่จะเข้มข้นหรือค่อนข้างแรง ระคายผิวได้ ให้ลดเหลือแค่ 1/4 ของปริมาณที่แนะนำ (ผ้าที่ซักเสร็จก็สะอาดไร้สารตกค้างด้วย) [2]
    • ซักด้วยน้ำสะอาด 2 รอบ (double-rinse) อะไรก็ตามที่ต้องสัมผัสผิวโดยตรง (พวกเสื้อผ้า เครื่องนอน ผ้าเช็ดตัว) ควรซักหรือล้างน้ำสะอาด 2 รอบ เครื่องซักผ้ารุ่นใหม่แพงๆ เดี๋ยวนี้มักมีฟีเจอร์ double/extra rinse ให้เลือก เป็นการซักด้วยน้ำเปล่าซ้ำเพื่อขจัดน้ำยาหรือผงซักฟอกตกค้างที่อาจทำผิวคุณระคายเคือง [3] [4] ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าทั่วไป ไม่มีฟีเจอร์นี้ ก็ให้เพิ่ม rinse cycle (บางเครื่องต้องให้คุณหมุนปุ่มกลับไปที่ rinse เอง) แต่ก็เท่ากับเปลืองน้ำมากขึ้น จะซักด้วยน้ำเย็น (cold rinse) ก็ได้ไม่เป็นไร
    • เวลาออกกำลังกาย ต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม จะได้ระบายอากาศ ตัวเย็นสบาย ไม่เหงื่อออกเยอะเกินจนกระตุ้นให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแพ้ [5]
  3. สบู่ แชมพู น้ำยาซักผ้า/ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาฆ่าเชื้อ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ผสมน้ำหอม อาจทำให้ผิวคุณระคายเคืองได้ ลองเปลี่ยนมาใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดสูตรธรรมชาติที่ทำจากผักดู [6]
    • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มี sodium lauryl sulfate (SLS) และพาราเบน (paraben) ปกติจะพบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด มักระคายเคืองและทำให้ผิวแห้ง นอกจากนี้ sodium lauryl sulfate ยังทำลายโปรตีนตามธรรมชาติของผิว ทำให้ผิวอ่อนแอต่อสิ่งปนเปื้อนภายนอก มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ชี้ว่าพาราเบนจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrine disruption) ทำให้เกิดมะเร็ง รวมถึงโรคระบบสืบพันธุ์ได้ [7]
  4. อากาศแห้งๆ ในห้องนอนหรือในบ้าน ก็ทำให้โรคผิวหนังต่างๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ รุนแรงขึ้นได้ เพราะทำให้ผิวแห้งแตกลอก ให้ลองซื้อเครื่องทำความชื้น (humidifier) มาใช้ดู โดยเครื่องนี้จะเพิ่มความชื้นในอากาศรวมถึงผิวของคุณ เดี๋ยวนี้มีทั้งเครื่องแบบเคลื่อนย้ายได้ และแบบที่ติดตั้งกับระบบระบายอากาศส่วนกลาง แต่ละแบบก็จะมีลักษณะการใช้งานและราคามากน้อยแตกต่างกันไป [5]
    • จริงๆ แล้วไม่ต้องใช้เครื่อง ก็ทำให้ห้องชื้นขึ้นได้ อย่างการปลูกพืชกระถาง ก็ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ เรียกว่ากระบวนการคายน้ำ (transpiration) พืชประเภทนี้ที่คนนิยมปลูกกันก็เฟิร์นบอสตันนี่แหละ [8]
  5. สารก่อภูมิแพ้ก็เช่น ไรฝุ่น สะเก็ดผิวหนังหรือรังแคสัตว์เลี้ยง ละอองเกสรดอกไม้ตามฤดูกาล รา และรังแค พวกนี้กระตุ้นอาการผิวหนังอักเสบได้ทั้งนั้น ให้คุณดูดฝุ่นบ่อยๆ ด้วยเครื่องดูดฝุ่นที่มี filter หรือแผ่นกรองอากาศ [9]
    • ระวังแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส โดยเฉพาะคนที่มีอาการอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบหนักกว่าเดิม
  6. ผิวหนังอักเสบและโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ มักเกี่ยวข้องกับความเครียดที่เกิดกับทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะงั้นให้หาเวลาคลายเครียด จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ได้เยอะ เลือกอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณผ่อนคลาย เช่น visualization techniques (จินตนาการถึงภาพที่ทำให้ผ่อนคลาย), hypnotherapy (สะกดจิตบำบัด), ทำสมาธิ, เล่นโยคะ, ฟังเพลง กระทั่งวาดรูประบายสี
    • หาเวลาส่วนตัวทุกวันมาผ่อนคลายความเครียดกัน จริงๆ แล้วสาเหตุก่อผิวหนังอักเสบมักไม่แน่ชัด แต่ถ้าเครียดก็ยิ่งทำอาการหนักกว่าเดิม [10]
  7. ถ้าอาบน้ำบ่อยเกินไป ก็ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นตามธรรมชาติที่ผิวไปได้ ทำให้ผิวอักเสบหนักกว่าเดิม ลองอาบน้ำน้อยลง (ทั้งแช่อ่างและฝักบัว) เหลือประมาณวันละ 1 ครั้ง หรือวันเว้นวันถ้าใครไม่ค่อยออกจากบ้าน อย่าอาบน้ำร้อนหรือเย็นจัด และอาบน้ำครั้งหนึ่งอย่าให้นานเกิน 15 - 20 นาที จากนั้นใช้ผ้าเช็ดตัวซับเบาๆ จนแห้ง [11]
    • อาบน้ำเสร็จต้องบำรุงผิว โดยเฉพาะตอนที่ผิวยังไม่ทันแห้งสนิท เพราะจะช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ในผิว ให้บำรุงผิวด้วยครีมหรือโลชั่นที่ไม่มีสารเติมแต่ง ส่วนผสมที่แนะนำก็เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก เชียบัตเตอร์ อะโวคาโด หรือน้ำมันละหุ่ง ปกติคนที่ผิวหนังอักเสบจะใช้น้ำมันพวกนี้ได้ แต่บางคนก็เกิดอาการแพ้ ยังไงต้องลองใช้ดูในปริมาณน้อยๆ ก่อน ว่าอย่างไหนเหมาะกับผิวคุณที่สุด
    • อย่าแช่อ่างเพลิน เพราะทำผิวเหี่ยวได้ ทีนี้อาการผิวอักเสบอาจกลับมากำเริบ ผิวที่ระคายเคืองจะเกิดผื่นแพ้ คันคะเยอะได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

บรรเทาอาการด้วยสมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ใช้ว่านหางจระเข้จริงๆ อย่าไปเลือกแบบสำเร็จรูป โดยตัดใบว่านหางจระเข้มาบีบเอาเนื้อเจลใสๆ ออกมา แล้วใช้ทาผิวที่เป็นผื่นแพ้อักเสบ ทิ้งไว้ให้ซึมซาบ ว่านหางจระเข้ที่ตัดแล้วคุณเก็บในตู้เย็นไว้ใช้หลายๆ ครั้งได้ ถ้าเป็นว่านหางจระเข้แท้ๆ ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ก็ทาได้สบายใจ ไม่มีผลข้างเคียง จะทาบ่อยแค่ไหนก็ตามสะดวก [12]
    • คนนิยมใช้วุ้นหรือเมือกใสๆ เหมือนเจลของว่านหางจระเข้บำรุงผิวและต้านการอักเสบกันมายาวนานเป็นพันๆ ปีแล้ว [13] หลายคนใช้แล้วผื่นแพ้หาย เพราะช่วยบรรเทาอาการคัน บำรุงผิวให้หายแห้งแตก
  2. ใช้ทาได้ทั่วร่างกาย เพราะยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงแต่อย่างใดเมื่อใช้ทาภายนอก [14] หรือผสมกับวุ้นว่านหางจระเข้แล้วค่อยทาผิวก็ได้ ปกติคนนิยมใช้สารสกัดจากดอกดาวเรืองในโลชั่นหรือขี้ผึ้งทาผิวสำหรับลดปวดแก้อักเสบอยู่แล้ว [15]
    • คุณหาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากดอกดาวเรือง เช่น สบู่ ออยล์ทาผิว โลชั่น ขี้ผึ้ง และครีมได้ทั่วไปตามร้านขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ออร์แกนิก) จะดีกว่าแบบที่ขายตามร้านขายยา เพราะมีสารสกัดบริสุทธิ์จากดอกดาวเรืองในสัดส่วนที่สูงกว่า และมีส่วนผสมที่ทำให้ระคายเคืองผิวน้อยกว่า
  3. เทข้าวโอ๊ตแผ่นออร์แกนิก (organic steel-rolled oats) ใส่ในถุงเท้าผ้าคอตตอนหรือถุงเท้าไนล่อนยาวเท่าเข่าที่ไม่ใช้แล้ว จากนั้นเอาไปมัดปากก๊อกของอ่างอาบน้ำ เปิดน้ำให้ไหลผ่านข้าวโอ๊ต ที่แนะนำเพราะข้าวโอ๊ตมีสรรพคุณต้านการอักเสบและแก้คัน ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง [16]
    • ลองใช้ข้าวโอ๊ตแบบ paste โดยผสมข้าวโอ๊ตกับน้ำจนเหนียวข้น ใช้ทาบริเวณที่อักเสบเป็นผื่นแพ้คันโดยตรง
    • Stinging nettle หรือตำแย ก็มีสรรพคุณคล้ายกัน ใช้เวลาแช่อ่างได้เหมือนข้าวโอ๊ตเลย เชื่อกันว่ามีสรรพคุณยับยั้งสัญญาณบอกอาการปวดและคันของร่างกาย [17]
  4. คาโมไมล์เป็นสมุนไพรที่คนนิยมใช้รักษาบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ เพราะเชื่อว่าช่วยลดคันลดอักเสบ ให้ชงชาคาโมไมล์โดยใส่ดอกคาโมไมล์แห้งในน้ำต้มสุกประมาณ 15 นาที จากนั้นกรองดอกออกเหลือแต่น้ำ แล้วทิ้งไว้จนชาเย็นลงนิดหน่อย เวลาจะประคบให้เอาผ้าสะอาดมาแช่ในชาอุ่นๆ จากนั้นบิดหมาด แล้วประคบบริเวณที่แพ้หรืออักเสบ 10 - 15 นาที
  5. ปกติคนนิยมใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็นบำรุงผิว คนที่ต้องทนทรมานกับอาการผิวหนังอักเสบหลายคนก็ว่าใช้แล้วได้ผลดีกว่าครีมแพงๆ ยี่ห้อดังๆ ซะอีก ปกติจะขายตามร้านผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เพื่อสุขภาพ ในเน็ต หรือตามซูเปอร์ในห้างใหญ่ๆ ให้ทาน้ำมันมะพร้าว (ปกติจะดูเป็นก้อนๆ แต่พอทาแล้วละลายเร็ว) บริเวณปื้นผื่นแพ้คันตามลำตัว ให้น้ำมันซึมซาบลงไป
    • การสกัดเย็น (cold pressed) ก็คือการนำน้ำมันมาผ่านกระบวนการที่อุณภูมิต่ำกว่า 46 องศาเซลเซียส (116 องศาฟาเรนไฮต์) ทำให้สารอาหาร เอนไซม์ และแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำมันยังคงอยู่
  6. คนนิยมใช้บรรเทาอาการผิวหนังอักเสบเพราะมีกรด ursolic และ oleic ที่เชื่อว่าช่วยลดการอักเสบและซ่อมแซมผิวหนังที่เสียหายได้ จะทาตามร่างกายเหมือนมอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิว หรือทาทั่วตัวก่อนอาบน้ำแช่น้ำก็ได้ เหมือนเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ผิวแห้งเพราะน้ำอุ่น [19]
  7. ผ่าครึ่งเลมอนแล้วใช้ประคบที่ผิวแพ้ผื่นคันเลย รับรองเห็นผล แต่อาจมีแสบๆ บ้าง ขอให้อดทนอย่าเผลอเกา ที่แสบเพราะเลมอนขจัดอาการอักเสบใต้ผิวหนังออกไป และจะแสบก็ต่อเมื่อผิวแตกหรือเป็นแผลบริเวณที่มีผื่นแพ้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ถ้าเลือกอาหารออร์แกนิก หรือใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติได้ยิ่งดี แนะนำให้กินผักผลไม้สด ทำอาหารเอง เน้นพวกถั่วฝัก ถั่วเมล็ดแห้งในมื้อหลัก กินถั่วเปลือกแข็งเป็นของว่าง รวมถึงเบอร์รี่ เมล็ดพืชต่างๆ และผักผลไม้ กินเนื้อแดงให้น้อยๆ เข้าไว้
    • เน้นอาหารที่มีน้ำมันโอเมก้า-3 เยอะๆ (พวกปลาและผักใบเขียว) ผิวจะได้นุ่มชุ่มชื้น
  2. นมวัวนี่แหละ หนึ่งในอาหารที่มักกระตุ้นให้เกิดผิวหนังอักเสบ [20] จะดีถ้าลองงดนมและผลิตภัณฑ์นมดู (ชั่วคราวก็ได้) ว่าอาการแพ้หรืออักเสบจะดีขึ้นไหม ที่นมวัวมักกระตุ้นให้เกิดผิวหนังอักเสบ เพราะค่อนข้างเป็นกรด แถมเต็มไปด้วยฮอร์โมนและสารเคมีต่างๆ ขั้นแรกให้งดนมวัวสัก 2 อาทิตย์ แล้วสังเกตอาการ
    • ถึงไม่ดื่มนมวัว ก็ยังมีอาหารดีมีประโยชน์อีกหลายชนิดที่ทดแทนกันได้ เพราะงั้นใครที่เปลี่ยนมาดื่มกาแฟดำก็อย่าเพิ่งกลัวเสียรสชาติไป ลองใช้นมแพะ นมแกะ กระทั่งนมควายก็ครีมมี่ หอมมันไม่แพ้กัน
    • แต่ถ้าไม่อยากใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ก็เปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลือง นมเฮเซิลนัท นมอัลมอนด์ นมข้าวโอ๊ต กระทั่งนมข้าวดู [19]
  3. หลายคนเชื่อว่าข้าวสาลีมักกระตุ้นให้เกิดผิวหนังอักเสบ [21] แบบนั้นก็ต้องตัดกลูเตนออกจากอาหารประจำวัน เพราะอาจกระตุ้นให้ผิวหนังอักเสบกำเริบ อาหารที่ควรงดก็เช่น ขนมปัง พาสต้า ซีเรียล และอื่นๆ ที่เป็นอาหารแปรรูปอุดมคาร์โบไฮเดรต
  4. ทุกวันให้จดบันทึกอาหารที่กินเข้าไป โดยจดทุกอย่างที่กินแล้วสังเกตว่าอาการดีขึ้นหรือแย่ลง บางทีจะเห็นได้ชัดในทันทีหรือภายใน 2 - 3 ชั่วโมง ถ้าเริ่มจับทางได้ว่ากินอะไรแล้วอาการกำเริบ ก็ต้องตัดอาหารนั้นออกไปให้ได้อย่างน้อย 2 อาทิตย์ (4 - 6 อาทิตย์ได้ยิ่งดี) แล้วติดตามผลว่าสภาพผิวดีขึ้นไหม
    • นอกจากนมกับข้าวสาลีแล้ว อาหารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้ผิวหนังอักเสบกำเริบก็คือถั่วเหลือง ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่างๆ [22] ถ้าจับได้ว่าอาหารพวกนี้ทำให้อาการผิวหนังอักเสบกำเริบ ก็ต้องหลีกเลี่ยงซะ
  5. มีอาหารเสริมหลายอย่างที่ช่วยบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบได้ ที่ดีและแนะนำก็เช่น
    • กรดไขมัน (Fatty Acid) : เขาพิสูจน์กันมาแล้วว่ากรดไขมันช่วยบำรุงผิวที่แห้งเสียและลดอาการอักเสบ เลยช่วยรักษาผิวหนังอักเสบได้ ให้เลือกโอเมก้า-3 เพราะมีสรรพคุณต้านการอักเสบ โดยเฉพาะ DHA กับ EPA แต่ถ้าโอเมก้า-6 จะก่อให้เกิดการอักเสบแทน มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่าถ้าร่างกายได้รับ EPA (กรดไขมันโอเมก้า-3) ปริมาณ 1.8 กรัมทุกวัน ติดต่อกัน 12 อาทิตย์ ช่วยบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบได้ [23]
    • วิตามินเอ ดี และอี : ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น ทำให้ผิวเนียนสวยขึ้น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ (free radical)
    • กรด GLA (Gamma-linolenic acid) : เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่ง พบได้ในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส (evening primrose oil) น้ำมันโบราจ (borage oil) และน้ำมันแบล็คเคอร์แรนท์ (blackcurrant oil) เชื่อว่าช่วยบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ และปรับสมดุลของลิพิด (lipid) ในผิวหนังได้ [24] [25]
    • สังกะสี (Zinc): ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อหลายการทำงานของร่างกาย ถึงหลายงานวิจัยจะแย้งกัน แต่ก็พบว่าอาการผิวหนังอักเสบดีขึ้นได้เมื่อร่างกายได้รับซิงค์ เพราะงั้นจะลองดูก็ไม่เสียหาย ขอแค่อย่าเกินปริมาณที่แนะนำ (40 มก.) [26] [27] แต่พอร่างกายได้รับซิงค์ ก็อาจทำให้ขาด copper หรือทองแดงได้ ส่วนใหญ่เลยต้องได้รับทองแดงเสริมอีกทีในปริมาณน้อยๆ
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

รู้จักอาการของโรคผิวหนังอักเสบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จริงๆ แล้ว eczema เป็นศัพท์เรียกรวมกลุ่มอาการผิวหนังอักเสบระคายเคือง โดยโรคผิวหนังอักเสบทุกประเภทจะมีอาการคันร่วมด้วย พอเกาเมื่อไหร่ก็จะทำให้แผล “เฟะ” ตามมาด้วยตกสะเก็ดหรือเป็นปื้นแห้งแข็งเหมือนเกล็ด โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis)
    • สาเหตุที่แท้จริงของโรคผิวหนังอักเสบนั้นบอกได้ยาก [28] แต่ที่ชัดคือเครียดแล้วทำให้อาการหนักกว่าเดิม ผิวหนังอักเสบมักแสดงอาการตั้งแต่ยังเด็กหรือแบเบาะ แต่บางคนก็เพิ่งจะมาเป็นหลังอายุ 30 ปีขึ้นไป
  2. อาการที่พบบ่อยของโรคผิวหนังอักเสบ คือผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด หรือเป็นผื่นเป็นปื้นตามตัว ตามหน้า ข้อพับเข่า ข้อพับศอก รวมถึงตามมือและเท้า ประมาณ 10% ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ มักเป็นผื่นที่ข้อพับตรงข้อศอกกับใต้เข่า รวมถึงที่ต้นคอ [29]
    • ในเด็กอ่อน อาการผิวหนังอักเสบจะเริ่มจากผื่นบริเวณหนังศีรษะ (cradle cap หรือไขบนหนังศีรษะ) และใบหน้า (โดยเฉพาะแถวแก้ม) เป็นได้เร็วตั้งแต่อายุแค่ 2 - 3 เดือนเลย ส่วนถ้าเป็นเด็ก 2 ขวบไปจนถึงวัยเจริญพันธุ์ มักเริ่มเป็นผื่นแถวข้อพับของข้อศอกและใต้เข่า [30]
  3. ถึงทุกแบบจะคันและอักเสบ แต่คุณแยกอาการของโรคผิวหนังอักเสบแต่ละชนิดได้ โดยพิจารณาจากตำแหน่งของร่างกายหรือลักษณะการอักเสบ
    • ถ้าคุณเป็นภูมิแพ้หรือผื่นแพ้สัมผัส (allergic หรือ contact eczema) ก็แปลว่าเกิดจากการสัมผัสอะไรบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการ ผิวหนังจะอักเสบบริเวณที่สัมผัสแตะต้องกับเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือสารต่างๆ
    • ถ้าผิวหนังอักเสบบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า หรือมีตุ่มพอง ข้างในเป็นน้ำใสๆ แสดงว่าเป็นผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส (dyshidrotic eczema)
    • ถ้าผิวหนังอักเสบเป็นวงปื้นประมาณเหรียญเงิน 1 ปื้นขึ้นไป บริเวณแขน ขา และก้น แสดงว่าเป็นผื่นผิวหนังอักเสบรูปเหรียญ (nummular eczema)
    • ถ้าหนังหัวและผิวหน้ากลายเป็นสีออกเหลือง มันวาว หรืออีกทีคือแห้งเป็นปื้นเหมือนเกล็ด แสดงว่าเป็นเซบเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) หรือต่อมไขมันอักเสบ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รีบรักษา แล้วรักษาไปเรื่อยๆ อย่าถอดใจ ถ้าไม่ดูแลตัวเองก็รักษาโรคผิวหนังอักเสบไม่ได้แน่นอน เอาแต่ขี้เกียจ ถอดใจ หรือคิดแต่ว่า "ชาตินี้พยายามไปก็ไม่หาย!" ก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา
  • กรด GLA (Gamma linolenic acid) ที่อยู่ในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันโบราจ และน้ำมันแบล็คเคอร์แรนท์ เขาว่าช่วยบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบได้ [31]
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้านอนไม่ค่อยหลับ ให้แช่น้ำผ่อนคลายก่อนนอน อย่าลืมปรับอุณหภูมิห้องนอนให้เย็นสบาย ปิดไฟสร้างบรรยากาศ รวมถึงปิดคอม มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน [32]
  • ลองใช้วิธีอื่น เช่น ฝังเข็ม (acupuncture), การแพทย์อายุรเวท (Ayurvedic medicine), สมุนไพร และ homeopathy (กระตุ้นให้ร่างกายรักษาตัวเอง) ถ้าเลือกการแพทย์อายุรเวทหรือ homeopathy ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจรักษาต่อเนื่องยาวนาน บางอย่างก็ดูแล้วชวนเคลือบแคลงสงสัยว่าไม่ค่อยเกี่ยวกับโรคผิวหนังอักเสบ เพราะ homeopathy กับการแพทย์อายุรเวทนั้นเป็นการแพทย์ทางเลือก หลักการและวิธีรักษาจะต่างออกไป แต่ก็อุ่นใจได้ว่าการแพทย์อายุรเวทนั้นเขาใช้รักษาโรคต่างๆ กันมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ส่วน homeopathy เองก็ใช้กันมาเป็นร้อยๆ ปี จะเห็นผลสำหรับคุณหรือเปล่าไม่รู้ แต่ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ
  • ถ้าผิวหนังที่มืออักเสบรุนแรง ให้ใช้ถุงมือผ้าคอตตอน พอทาโลชั่นผสมน้ำมันมะพร้าวนิดหน่อยแล้ว ให้สวมถุงมือประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเว้น 1 ชั่วโมงแล้วทำซ้ำ โดยทาโลชั่นผสมน้ำมันมะพร้าวก่อนทุกครั้ง
  • ลองไปทำ allergy test หรือการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังที่โรงพยาบาลดู ระหว่างรอผลจะออกรำคาญ ไม่สบายตัวหน่อย แต่จะรู้เลยว่าคุณแพ้อาหาร สัตว์ พรม หรือพืชชนิดไหน ถึงได้ผิวหนังอักเสบเห่อขึ้นมา
  • ลองฉีดพ่นละอองน้ำมันลาเวนเดอร์ในห้อง เพราะช่วยให้ผ่อนคลาย เหมาะกับคนที่นอนไม่หลับกระสับกระส่ายเพราะผิวหนังอักเสบ
  • ถ้าไม่มีเครื่องทำความชื้น ก็เปลี่ยนเป็นฉีดพ่นละอองน้ำในห้องโดยใช้ขวดสเปรย์แทน
  • ถ้าจะลองรักษาด้วยการฝังเข็ม ต้องเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตและผ่านการอบรม
  • ใช้โลชั่นแบบไม่แต่งกลิ่น จะได้ไม่ระคายผิว ลองใช้ว่านหางจระเข้หรือโลชั่นว่านหางจระเข้ (เช่น ยี่ห้อ Gold Bond) ดูจะได้ผลที่สุด แต่ถ้าคุณแพ้ว่านหางจระเข้ ให้เปลี่ยนเป็นครีมทามือโดยเฉพาะ เช่น ยี่ห้อ Glysomed แทน
  • หรือใช้โลชั่นที่ทำจากข้าวโอ๊ตอย่างยี่ห้อ Aveeno ก็ดี โดยทาเป็นประจำทุกวันหรือบ่อยเท่าที่จำเป็น แล้วคอยติดตามผล
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามเกาผื่นแพ้ เพราะอาจอักเสบหนักกว่าเดิมจนเป็นอันตราย
  • ถึงจะงดนม/ผลิตภัณฑ์นมแล้วอาการผิวหนังอักเสบดีขึ้น ร่างกายก็ยังต้องได้รับแคลเซียมและวิตามินดีจากแหล่งอื่น อาหารที่แนะนำก็คือผักใบเขียวเข้ม เช่น เคล รวมถึงอัลมอนด์กับนมถั่วเหลือง อีกตัวเลือกคือกินอาหารเสริมแคลเซียม แต่ก็ต้องระวังเรื่องได้รับแคลเซียมมากเกินไป เพราะงั้นควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้อาหารเสริม จะเลือกได้เหมาะสมและปลอดภัยกว่า [33] คุณหมอจะแนะนำและตัดสินใจร่วมกับคุณเอง ว่าแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
โฆษณา
  1. http://www.niams.nih.gov/Health_Info/Atopic_Dermatitis/default.asp
  2. http://www.mayoclinic.com/health/eczema/DS00986/DSECTION=prevention
  3. http://nccam.nih.gov/health/aloevera
  4. Surjushe, A., Vasani, R., Saple, G. (2008). Aloe vera: A short review. Indian J Dermatol. 2008; 53(4): 163–166.
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/235.html
  6. Preethi, KC., Kuttan, R., Kuttan, G. (2009). Anti-inflammatory activity of flower extract of Calendula officinalis Linn. and its possible mechanism of action. Indian J Exp Biol; Feb;47(2):113-20.
  7. Sur, R., Nigam, A., Grote, D., Liebel, F., Southall, M.D. 2008. Avenanthramides, polyphenols from oats, exhibit anti-inflammatory and anti-itch activity. Arch Dermatol Res 300: 569-574.
  8. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/stinging-nettle
  9. http://dermnetnz.org/dermatitis/plants/chamomile.html
  10. 19.0 19.1 http://www.permaculture.co.uk/readers-solutions/5-natural-cures-eczema
  11. http://nationaleczema.org/eczema/causes-and-triggers-of-eczema/
  12. http://nationaleczema.org/eczema/causes-and-triggers-of-eczema/
  13. http://nationaleczema.org/eczema/causes-and-triggers-of-eczema/
  14. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/eczema
  15. http://www.drweil.com/drw/u/ART00350/eczema.html
  16. http://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/evening-primrose-oil-uses-and-risks
  17. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Zinc-HealthProfessional/
  18. http://www.healthy.net/scr/article.aspx?Id=2866
  19. http://www.niams.nih.gov/Health_Info/Atopic_Dermatitis/default.asp
  20. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/a---d/atopic-dermatitis/signs-symptoms
  21. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/a---d/atopic-dermatitis/signs-symptoms
  22. http://www.drweil.com/drw/u/ART00350/eczema.html
  23. http://www.webmd.com/balance/guide/blissing-out-10-relaxation-techniques-reduce-stress-spot?page=2
  24. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/calcium-supplements/art-20047097?pg=2

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,956 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา