ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการผิวไหม้แดดรุนแรงอาจทำให้แสบ ระคายเคือง และยากที่จะหายได้ภายในเวลาอันสั้น เราหาข้อมูลมาให้คุณแล้ว และสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้เพื่อลดความรุนแรงของรอยแดงลงก็คือ รักษาและปกปิด ผิวด้วยวิธีที่เหมาะสม จากนั้น บรรเทาความเจ็บปวดโดยการใช้ ยา ความเย็น และวิธีรักษาอื่นๆ ป้องกันไม่ให้ผิวไหม้แดดอีกโดยการปกป้องผิวด้วย ครีมกันแดด และ เสื้อผ้าที่ช่วยปกปิดผิว และระวังตัวอยู่เสมอ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาและปกปิดรอยไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 10 แก้วเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากมีอาการผิวไหม้แดด มันจะช่วยเติมเต็มน้ำให้ร่างกายคุณซึ่งจะช่วยในกระบวนการรักษาผิว การดื่มน้ำขณะออกแดดก็ช่วยให้ไม่เป็นลมแดดและโรคอื่นๆ จากความร้อนด้วยเช่นกัน [1]
    • ในขณะเดียวกัน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วงฟื้นฟูผิว เพราะมันจะทำให้ร่างกายเสียน้ำและผิวแห้งมากขึ้นไปอีก [2]
  2. นี่คือวิธีดั้งเดิมที่เชื่อถือกันมากในการรักษาผิวที่ไหม้ วุ้นในว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบโดยธรรมชาติ และจะช่วยเร่งกระบวนการรักษาผิวได้หากใช้อย่างถูกวิธี คุณสามารถหาซื้อเจลว่านหางจระเข้ได้ตามร้านค้า แต่ถ้าทำได้ควรใช้วุ้นจากต้นว่านหางจระเข้เลยจะดีที่สุด [3]
    • วิธีเอาวุ้นออกจากต้นว่านหางจระเข้ ให้เลือกตัดใบที่โตเต็มที่มาหนึ่งใบ ฝานเปลือกตามทางยาว เปิดออกแล้วใช้ช้อนหรือนิ้วขูดเอาวุ้นออกมา ทาลงบนผิววันละ 2-3 ครั้ง [4]
    • วิธีบรรเทาอาการอีกแบบคือเอาวุ้นจากว่านหางจระเข้ไปใส่ถาดน้ำแข็ง และแช่แข็งเพื่อทำเป็นก้อนไว้ใช้ประคบผิวที่ไหม้แดดได้ (ใช้ผ้าเช็ดมือบางๆ ห่อวุ้นก้อนก่อนจะนำไปประคบผิว) คุณยังสามารถทาว่านหางจระเข้ที่หน้าเพื่อมาสก์ข้ามคืนได้ด้วย [5]
  3. ผสมผงฟูกับแป้งข้าวโพดอัตราส่วนเท่าๆ กันในถ้วยเล็กๆ เติมน้ำเย็นจนข้นได้ที่พอจะทาผิวได้ ส่วนผสมหลักทั้งสองนี้อาจลดรอยแดงบริเวณผิวที่ไหม้แดดได้บ้าง ล้างออกและทาซ้ำหากต้องการเพื่อช่วยปลอบประโลมผิว [6]
  4. ใบและเปลือกไม้ของต้นวิชฮาเซลสามารถใช้เพื่อการรักษาได้ สารแทนนินที่อยู่ในต้นวิชฮาเซลจะช่วยขจัดแบคทีเรียและรักษาแผล ลองหาซื้อสารสกัดวิชฮาเซลที่มีจำหน่ายตามร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพดู ใช้สำลีก้อนชุบแล้วทาผิว [7]
  5. คุณสามารถเติมน้ำส้มสายชูใส่ขวดสเปรย์แล้วพ่นลงบนผิวโดยตรงเพื่อช่วยบรรเทาอาการ หรือจะใช้สำลีชุบแล้วเอามาแปะบนผิวก็ได้ น้ำส้มสายชูมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบ มันจึงอาจช่วยให้ฟื้นฟูผิวได้เร็วขึ้น [8]
    • ระวังไว้ว่าบางคนอาจจะแพ้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล ถ้าจะให้ดีควรลองใช้สำลีชุบแล้วทาแต่น้อยที่หลังมือก่อนจะทาทั่วตัว วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้สังเกตปฏิกิริยาของผิวในส่วนเล็กๆ ก่อนเพื่อให้รู้ว่าใช้ได้หรือไม่
  6. นักธรรมชาติบำบัดหลายคนยืนยันว่ามันฝรั่งสามารถลดการระคายเคืองและอักเสบได้ นำมันฝรั่งมาสองสามลูก ใช้มีดฝานเป็นแผ่นบางๆ แล้วแปะให้ทั่วบริเวณผิวที่ไหม้แดด คลึงมันฝรั่งไปจนกว่าจะอาการดีขึ้น [9]
    • คุณยังสามารถหั่นหรือขูดมันฝรั่งแล้วนำไปปั่นสักนิด จากนั้นนำมันฝรั่งปั่น (ให้ใช้น้ำมันฝรั่งด้วย) มาทาผิวก็ได้
    • อย่าลืมล้างมันฝรั่งให้สะอาดก่อนนำมาฝานหรือหั่น
  7. วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลแน่ชัด แต่อย่างน้อยความเย็นของโยเกิร์ตก็อาจช่วยปลอบประโลมผิวได้ ใช้โยเกิร์ตรสธรรมชาติที่มีจุลินทรีย์โปรไบโอติก นำสำลีมาชุบแล้วทาบางๆ บริเวณผิวที่ไหม้แดด ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดออก [10]
  8. ชุดผ้าฝ้ายบางเบาที่หลวมๆ ไม่รัดรูปคือตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับช่วงฟื้นฟูผิว เสื้อผ้าแบบนี้จะช่วยให้ผิวได้หายใจ ไม่ทำให้อึดอัด และลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ ควรใส่เสื้อผ้าสีเข้มเพราะมันจะทำให้ผิวดูเด่นน้อยลง หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีขาวและสีสด เพราะมันจะไปตัดกับรอยแดงบนผิวจนทำให้มองเห็นชัดขึ้น [11]
  9. ลงไพรเมอร์สีเขียวบริเวณผิวที่ไหม้เพื่อกลบรอยแดง อย่าใช้บลัชเพราะมันจะทำให้ผิวดูยิ่งแดงขึ้น ลงเครื่องสำอางอย่างเบามือ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ระคายเคืองผิวได้ [12]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

บรรเทาอาการเจ็บปวดและไม่สบายตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากออกแดดเสร็จ ให้กินยาต้านการอักเสบอย่างแอสไพรินทันที กินในปริมาณสูงสุดที่แนะนำภายในอย่างน้อย 24 ชั่วโมงแรกเพื่อเริ่มกระบวนการรักษาผิว และกินยาต่อไปจนกว่าอาการปวดแสบผิวจากการไหม้แดดจะลดลง
    • ไม่ว่าจะเจ็บปวดแค่ไหน สิ่งสำคัญคือคุณต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาแก้ปวด ไม่ว่าจะเป็นยาที่ซื้อเองหรือที่แพทย์สั่งจ่าย การกินยาเกินขนาดที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ เช่น เป็นอันตรายต่อตับ ควรอ่านฉลากให้ดีก่อนว่าควรกินกี่เม็ดและใช้เวลาห่างกันเท่าไร
    • อย่าลืมระวังผลข้างเคียงของยาแก้ปวดหรือปฏิกิริยาระหว่างยาด้วย ข้อควรระวังเหล่านี้มักจะมีบอกที่ฉลากยา หรือคุณจะถามหมอก็ได้ ตัวอย่างเช่น คนที่มีภาวะเลือดออกง่ายมักจะต้องหลีกเลี่ยงไม่กินยาแอสไพริน
    • คุณสามารถนำยาแอสไพริน 1-2 เม็ดมาใส่ถ้วยเล็กๆ แล้วบดให้เป็นครีม (เติมน้ำเล็กน้อยถ้าต้องการ) แล้วนำมาทาบริเวณผิวที่ไหม้ ทิ้งไว้ 2-3 นาทีแล้วเช็ดออก อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัย อย่าใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำบนฉลากและอย่าทายาแอสไพรินนี้ขณะที่กินยาแก้ปวดอยู่ด้วย [13]
  2. นำผ้าเช็ดตัวผ้าฝ้ายนุ่มๆ มาชุบน้ำเย็น แต่ไม่ต้องเย็นจัด บิดหมาดๆ แล้ววางบนผิว ชุบน้ำใหม่แล้วทำซ้ำถ้าต้องการ หรือคุณจะใช้ผ้าชุบนมเย็นๆ แทนก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้ประโยชน์จากความเย็นและการฟื้นฟูประสิทธิภาพของวิตามินดี [14]
  3. เปิดน้ำเย็นในอ่าง แต่ไม่ต้องเย็นจัด ลงไปแช่สักพัก ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้น นำถุงเท้าสะอาดมาหนึ่งข้าง เติมข้าวโอ๊ตดิบลงไปสองถ้วยแล้วมัดตรงปลาย นำถุงเท้านั้นมาแช่ในอ่างด้วยและบีบให้น้ำมันออกมา โพลีแซคคาไรด์ในข้าวโอ๊ตจะช่วยเคลือบและปลอบประโลมผิว [15]
    • คุณยังสามารถใส่ข้าวโอ๊ตดิบลงไปในอ่างตรงๆ เลยก็ได้ แต่ต้องทำความสะอาดทีหลังด้วยนะ
    • อย่าใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวขณะแช่น้ำ มันจะยิ่งทำให้ผิวแห้งและฟื้นตัวช้ายิ่งขึ้น [16]
  4. ใส่แตงกวาลงไปในน้ำดื่มเล็กน้อยเพื่อช่วยเติมน้ำให้ร่างกายและผ่อนคลายขึ้น ฝานแตงกวาแล้วนำมาวางบนผิวที่ไหม้แดด หรือจะปั่นแล้วนำมามาสก์หน้าหรือส่วนอื่นๆ ก็ได้ วิธีทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของแตงกวา [17]
    • คุณจะผสมแตงกวาปั่นกับเจลว่านหางจระเข้เพื่อการรักษาที่ดีขึ้นก็ได้
  5. ชงชาเขียวดื่มสักแก้ว จะดื่มชาเลยหรือใช้สำลีจุ่มแล้วนำมาแปะผิวก็ได้ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของชาจะช่วยลดอาการบวมแดงและช่วยฟื้นฟูผิวได้ [18]
  6. คุณคงจะอยากหยิบน้ำแข็งสักก้อนจากช่องฟรีซมาประคบผิวโดยตรงเลย แต่อย่าทำแบบนั้น เพราะความเย็นจัดๆ จะยิ่งทำร้ายผิวคุณและทำให้เซลล์ผิวตายได้ ถ้าคุณอยากใช้น้ำแข็งจริงๆ ก็ให้หาผ้าสะอาดนุ่มๆ ห่อน้ำแข็งไว้ก่อนนำมาประคบผิวแทน
  7. พยายามอย่าเอามือไปจับผิวหรือแกะผิวหนังที่ลอกออก เซลล์ผิวที่ตายแล้วจะหลุดลอกออกได้เองเมื่อถึงเวลาโดยที่คุณไม่ต้องช่วยเลย การรีบร้อนแกะสะเก็ดผิวอาจทำให้เป็นแผลเป็นหรือติดเชื้อได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไปเจาะผิวหรือแผลที่พองด้วย [19]
    • เมื่อผิวเปลี่ยนสีใกล้กลับสู่สภาพเดิมและไม่เจ็บแล้ว คุณถึงจะเริ่มขัดผิวออกด้วยฟองน้ำหรือใยขัดนุ่มๆ ได้
  8. ควรไปพบแพทย์หากผิวที่ไหม้แดดเริ่มเป็นแผลพุพองหรือบวมขึ้น ถ้าเห็นว่ามีหนองบริเวณผิวที่ไหม้ แสดงว่ามันอาจเกิดการติดเชื้อ คุณสามารถไปพบแพทย์ได้เมื่อผิวที่ไหม้นั้นทำให้คุณไม่สบายตัวและการรักษาด้วยตัวเองก็ช่วยไม่ได้ [20]
    • แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ให้ (corticosteroid cream) ให้คุณ ขึ้นอยู่กับอาการ และอาจจะมียาปฏิชีวนะด้วยหากแผลไหม้นั้นดูจะเกิดการติดเชื้อ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้ผิวไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกซื้อครีมกันแดดแบบที่ป้องกันแสงได้ทุกช่วงคลื่น (broad-spectrum หรือ full-spectrum) ซึ่งจะช่วยกันได้ทั้งรังสียูวีเอและรังสียูวีบี เลือกครีมกันแดดที่มีค่าประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากแสงแดด (ค่า SPF) อย่างน้อย 50 ยิ่งมากก็ยิ่งดี ทาครีมลงบนผิวอย่างน้อย 20 นาทีก่อนออกแดด มันจะช่วยให้ครีมกันแดดเริ่มทำงานก่อนที่คุณจะออกไปเจอแดดจริงๆ และช่วยปกป้องผิวจากการไหม้แดด [21]
    • นอกจากจะเลือกครีมกันแดดจากยี่ห้อแล้ว ให้เลือกจากกิจกรรมที่คุณจะไปทำด้วย ถ้าคุณจะต้องลงน้ำก็ควรเลือกครีมกันแดดแบบกันน้ำ ถ้าคุณจะไปเดินเขาเข้าป่าก็อาจจะต้องใช้ครีมกันแดดที่ไล่แมลงได้
  2. คุณควรทาครีมกันแดดซ้ำอย่างน้อยทุกๆ 90 นาที หรือต้องลดเวลาลงอีกถ้าคุณเหงื่อออกเยอะหรือไปเล่นน้ำมา เวลาทาครีมซ้ำ ไม่ต้องรีบ ค่อยๆ ทาให้ทั่วทุกส่วนของร่างกายที่ต้องโดนแดด [22]
    • ในการทาครีมกันแดดแต่ละครั้งให้กะปริมาณเอา ถ้าทาหน้าให้บีบครีมเท่าเหรียญบาท และถ้าทาตัวให้บีบครีมเท่าสองแก้วช็อต
  3. การทาครีมกันแดดที่หนังศีรษะนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย และนั่นยิ่งทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเสี่ยงต่อการไหม้แดด เพื่อป้องกันไม่ให้หนังศีรษะไหม้ ควรใส่หมวกเมื่อต้องออกไปข้างนอกนานๆ มันจะช่วยปกป้องผิวหน้าได้ด้วยเช่นกัน [23]
  4. ร่างกายคุณมักจะส่งสัญญาณเวลาที่โดนแดดมากเกินไป หยุดทำกิจกรรมต่างๆ สักพักแล้วประเมินอาการตัวเองดู ตัวคุณร้อนไปไหม รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวหรือเปล่า เจ็บแสบตรงไหนบ้างไหม ถ้าคำตอบข้อใดข้อหนึ่งคือ "ใช่" ควรหลบเข้าที่ร่ม
  5. ถ้าคุณออกไปข้างนอกกับคนอื่น คุณสามารถขอให้พวกเขาช่วยดูอาการคุณได้ อย่างไรก็ตาม แสงแดดที่สะท้อนลงผิวอาจทำให้เห็นเป็นรอยแดงได้ เพื่อนคุณจึงอาจจะดูยากหน่อยถ้าคุณหันเข้าหาแสง
  6. คุณอาจต้องใช้เวลามากสุดถึงหกเดือนกว่าที่ผิวจะฟื้นตัวเต็มที่หลังจากไหม้แดด ถ้าผิวไหม้อีกระหว่างช่วงรักษาตัวนี้ กระบวนการฟื้นตัวอาจหยุดนิ่งไปเลยก็ได้ เมื่ออยู่ในช่วงฟื้นฟูผิวจึงควรระวังตัวให้ดีและจำกัดเวลาการออกแดด [24]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มอยส์เจอร์ไรเซอร์ทั่วๆ ไปนั้นไม่เหมาะที่จะใช้กับแผลไหม้ ควรซื้อมอยส์เจอร์ไรเซอร์แบบน้ำ เอาไปแช่ตู้เย็นแล้วค่อยนำมาทาผิวที่ไหม้จะช่วยได้
  • อดทนกับการฟื้นฟูผิว ผิวไหม้แดดส่วนมากจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายในหนึ่งสัปดาห์หรือเร็วกว่านั้น [25]
  • ถ้าอยากเร่งกระบวนการฟื้นฟูผิวให้เร็วขึ้น คุณอาจจะลองรับการรักษาด้วยการฉายแสงเลเซอร์ดูก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้ผิวฟื้นตัวเร็วขึ้นและสามารถทำได้เลยหลังจากผิวไหม้ [26]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณมีอาการผิวหนังบวมมาก อุณหภูมิร่างกายสูง วิงเวียน คลื่นไส้ หรือปวดหัว ร่วมกับผิวไหม้แดด ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน คุณอาจจะแพ้แดดก็ได้ [27]
  • ระวังไว้ว่าการใช้ยาบางตัว เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจทำให้คุณไวต่อแสงแดด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการผิวไหม้แดดได้ [28]
โฆษณา
  1. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  2. http://www.cosmopolitan.com/style-beauty/beauty/advice/a28669/how-to-treat-a-sunburn/
  3. http://www.huffingtonpost.com/2012/07/05/get-rid-of-sunburn_n_1642572.html
  4. http://www.cosmopolitan.com/style-beauty/beauty/advice/a28669/how-to-treat-a-sunburn/
  5. http://coveteur.com/2015/06/01/sunburn-treatment-beauty/
  6. http://www.cosmopolitan.com/style-beauty/beauty/advice/a28669/how-to-treat-a-sunburn/
  7. http://www.huffingtonpost.co.uk/2015/08/04/sunburn-treatment-how-to-reduce-redness-and-relieve-pain-_n_7933412.html
  8. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  9. http://www.naturallivingideas.com/9-most-effective-home-remedies-to-heal-a-sunburn-fast/
  10. http://www.huffingtonpost.co.uk/2015/08/04/sunburn-treatment-how-to-reduce-redness-and-relieve-pain-_n_7933412.html
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sunburn/expert-answers/sunburn-treatment/faq-20057815
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/best-sunscreen/art-20045110
  13. http://www.allure.com/gallery/sun-protection-mistakes
  14. http://www.allure.com/gallery/sun-protection-mistakes
  15. http://www.huffingtonpost.co.uk/2015/08/04/sunburn-treatment-how-to-reduce-redness-and-relieve-pain-_n_7933412.html
  16. http://www.huffingtonpost.co.uk/2015/08/04/sunburn-treatment-how-to-reduce-redness-and-relieve-pain-_n_7933412.html
  17. http://www.vogue.com/946231/best-sunburn-remedies-skincare-dermatologist-treatment-tips/
  18. http://www.nhs.uk/Conditions/Sunburn/Pages/Introduction.aspx
  19. http://www.allure.com/gallery/sun-protection-mistakes

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,341 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา