ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การลบเศษส่วนอาจดูยุ่งยากสักเล็กน้อยในตอนแรก แต่ถ้าเราสามารถคูณกับหารเลขได้อย่างแม่นยำและคล่องแคล่วแล้ว เราก็สามารถลบเศษส่วนได้อย่างง่ายดาย ถ้าเศษส่วนเหล่านั้นเป็นเศษส่วนแท้ ดูสิว่าเศษส่วนเหล่านั้นมีตัวส่วนเท่ากันไหม ก่อนที่เราจะนำตัวเศษมาลบกัน ถ้าเศษส่วนเหล่านั้นเป็นจำนวนคละที่มีจำนวนเต็มเป็นส่วนประกอบ แปลงจำนวนคละให้เป็นเศษเกินเสียก่อน จากนั้นดูสิว่าเศษส่วนเหล่านั้นมีตัวส่วนเท่ากันไหม ก่อนที่เราจะนำตัวเศษมาลบกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ลบเศษส่วนแท้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าตัวส่วนของเศษส่วนเหล่านั้นไม่เท่ากัน เราจะต้องแปลงตัวส่วนให้เท่ากัน หาพหุคูณของตัวส่วนแต่ละตัว เราจะได้รู้ว่าจำนวนที่ตัวส่วนทั้งสองมีเหมือนกันคือจำนวนใด ตัวอย่างเช่น 1/4 - 1/5 เราต้องหาพหุคูณของ 4 และ 5 ก่อน ถึงจะรู้ว่าพหุคูณที่ทั้งสองมีเหมือนกันคือ 20 [1]
    • เนื่องจากพหุคูณของ 4 คือ 4, 8, 12, 16 และ 20 ส่วนพหุคูณของ 5 คือ 5, 10, 15 และ 20 จะเห็นว่า 20 คือจำนวนที่ต่ำที่สุดซึ่งทั้งสองมีเหมือนกัน
    • ถ้าตัวส่วนของเศษส่วนทั้งสองเท่ากันอยู่แล้ว ข้ามขั้นตอนนี้แล้วนำตัวเศษมาลบกันได้เลย
  2. นำจำนวนที่คูณตัวส่วนแล้วได้ตัวคูณร่วมน้อยนั้นมาคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วนของเศษส่วนจำนวนแรก. พอเรารู้ตัวคูณร่วมน้อยของเศษส่วนทั้งสองจำนวนแล้ว นำจำนวนที่คูณตัวส่วนแล้วได้ตัวคูณร่วมน้อยนั้นมาคูณตัวเศษและตัวส่วนของเศษส่วนจำนวนแรก [2]
    • ตัวอย่างเช่น นำ 5 มาคูณ 1/4 เพื่อแปลงตัวส่วนให้เป็น 20 เราต้องนำ 5 มาคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วน ฉะนั้น 1/4 ก็จะกลายเป็น 5/20
  3. นำจำนวนที่คูณตัวส่วนแล้วได้ตัวคูณร่วมน้อยนั้นมาคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วนของเศษส่วนจำนวนที่สอง. ในขั้นตอนก่อนหน้านี้เรานำจำนวนที่คูณตัวส่วนแล้วได้ตัวคูณร่วมน้อยนั้นมาคูณตัวเศษและตัวส่วนของเศษส่วนจำนวนแรก คราวนี้เราต้องทำแบบเดียวกันนี้กับเศษส่วนจำนวนที่สองเพื่อตัวส่วนของเศษส่วนสองจำนวนนี้จะได้เท่ากัน [3]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราได้แปลง 1/4 เป็น 5/20 นำ 4 คูณ 1/5 ทั้งตัวเศษและตัวส่วน ก็จะได้เป็น 4/20 เมื่อแปลง 1/4 - 1/5 แล้ว ก็จะกลายเป็น 5/20 - 4/20
  4. นำตัวเศษมาลบกันและปล่อยตัวส่วนไว้เหมือนเดิม. ถ้าตัวส่วนของเศษส่วนเหล่านั้นเท่ากันอยู่แล้วหรือเราแปลงเศษส่วนให้ตัวส่วนเท่ากันแล้ว นำตัวเศษมาลบกัน เขียนคำตอบที่ได้และเขียนตัวส่วนไว้ใต้คำตอบนั้น [4]
    • ไม่ต้องนำตัวส่วนมาลบกัน
    • ตัวอย่างเช่น 5/20 - 4/20 = 1/20
  5. พอได้คำตอบออกมาแล้ว ตรวจดูสิว่าเราสามารถแปลงคำตอบให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้ไหม หาตัวหารร่วมมากของตัวเศษและตัวส่วน จากนั้นนำตัวหารร่วมมากนั้นมาหารทั้งตัวเศษและตัวส่วน ตัวอย่างเช่น ถ้าคำตอบของเราคือ 24/32 ตัวหารร่วมมากคือ 8 เมื่อหารตัวเศษและตัวส่วนด้วย 8 ก็จะได้เป็น 3/4 [5]
    • บางครั้งเราก็ไม่สามารถแปลงคำตอบให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้ ตัวอย่างเช่น 1/20 ไม่สามารถแปลงให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้อีกแล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ลบจำนวนคละ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำนวนคละประกอบด้วยจำนวนเต็มกับเศษส่วน เราต้องแปลงจำนวนคละให้เป็นเศษเกินเพื่อจะได้สามารถลบกับเศษส่วนด้วยกันง่ายขึ้น เศษส่วนที่ได้จะมีตัวเศษมากกว่าตัวส่วน [6]
    • ตัวอย่างเช่น 2 3/4 - 1 1/7 เมื่อแปลงเป็นเศษเกิน ก็จะกลายเป็น 11/4 - 8/7
  2. หากรู้ตัวคูณร่วมน้อยของตัวส่วนทั้งสอง เราก็จะรู้ว่าตัวส่วนร่วมของเศษส่วนสองจำนวนนั้นคือจำนวนใด ตัวอย่างเช่น 11/4 - 8/7 หาพหุคูณทั้งหมดของ 4 และ 7 ก็จะได้ 28 [7]
    • เนื่องจากพหุคูณของ 4 มี 4, 8, 12, 16, 20, 24 และ 28 พหุคูณของ 7 มี 7, 14, 21 และ 28 จะเห็นว่า 28 เป็นจำนวนที่น้อยที่สุดซึ่งทั้งสองต่างมีเหมือนกัน
  3. แปลงเศษส่วนจำนวนแรกให้มีตัวส่วนเป็นตัวคูณร่วมน้อยนั้น. เราจะต้องแปลงเศษส่วนจำนวนแรกให้มีตัวส่วนเป็นตัวคูณร่วมน้อยนั้น ฉะนั้นนำจำนวนที่คูณตัวส่วนแล้วได้ตัวคูณร่วมน้อยนั้นมาคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วน [8]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการแปลงตัวส่วนของ 11/4 ให้เป็น 28 นำ 7 ไปคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วน ผลคูณที่ได้คือ 77/28
  4. แปลงเศษส่วนจำนวนที่สองให้มีตัวส่วนเป็นตัวคูณร่วมน้อยนั้น. เมื่อเราแปลงเศษส่วนจำนวนแรกให้มีตัวส่วนเป็นตัวคูณร่วมน้อยนั้นแล้ว เราจะต้องแปลงเศษส่วนจำนวนที่สองให้มีตัวส่วนเป็นตัวคูณร่วมน้อยนั้นด้วย [9]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราได้แปลง 11/4 ให้เป็น 77/28 แล้ว นำ 4 มาคูณ 8/7 ก็จะได้เป็น 32/28 ฉะนั้นเมื่อแปลงเศษส่วนให้เท่ากันแล้ว 11/4 - 8/7 ก็จะกลายเป็น 77/28 - 32/28
  5. นำตัวเศษมาลบกันและปล่อยตัวส่วนไว้อย่างเดิม. ถ้าตัวส่วนเท่ากันอยู่แล้วหรือเราได้แปลงเศษส่วนให้มีตัวส่วนเท่ากันแล้ว เราสามารถนำตัวเศษมาลบกันได้เลย เขียนคำตอบไว้เหนือตัวส่วน ไม่ต้องนำตัวส่วนมาลบกัน [10]
    • ตัวอย่างเช่น 77/28 - 32/28 = 45/28
  6. เราอาจแปลงคำตอบกลับไปเป็นจำนวนคละ เริ่มจากการหารตัวเศษด้วยตัวส่วน ก็จะได้ส่วนประกอบที่เป็นจำนวนเต็ม จากนั้นจึงเขียนเศษที่เหลือ เศษที่เหลือจะเป็นตัวเศษของจำนวนคละนี้ เขียนตัวเศษไว้เหนือตัวส่วน แปลงคำตอบให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ ถ้าแปลงได้ [11]
    • ตัวอย่างเช่น 45/28 แปลงเป็นจำนวนคละได้เป็น 1 17/28 เพราะ 28 หารออกจาก 45 ได้ 1 ครั้ง เหลือเศษ 17 ตัวส่วนคือ 28
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตอนที่เราลบจำนวนคละ เราอาจไม่ต้องแปลงจำนวนคละเป็นเศษเกินก็ได้ หากจำนวนคละมีตัวส่วนเท่ากัน นำจำนวนเต็มมาลบกันก่อนและจากนั้นค่อยนำตัวเศษมาลบกัน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 63,914 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา