ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจจะมีไอเดียดีๆ ในการเขียนเรื่อง แต่การวางโครงเรื่องออกมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โชคดีที่การวางโครงเรื่องก็ไม่ได้หนักหนาเสมอไป! เริ่มจากการวางแผนแนวคิดในการเขียนเรื่องออกมาก่อน เช่น สมมุติฐาน ตัวละคร และฉากท้องเรื่อง จากนั้นผูกปมหลักของเรื่องด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง และสุดท้ายเขียนโครงร่างเนื้อเรื่องให้เสร็จเพื่อให้คุณติดตามโครงเรื่องได้ง่าย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วางแผนการเขียนเรื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระดมความคิดเพื่อให้ได้แนวคิดในการเขียนโครงเรื่อง. คุณต้องเขียนแนวคิดของคุณออกมาก่อนจึงจะสามารถพัฒนาไปเป็นเรื่องราวฉบับสมบูรณ์ได้ ลองเขียนทุกอย่างที่ผุดขึ้นมาในหัวแบบไม่ต้องคิดอะไรหรือเขียนแนวคิดต่างๆ ออกมาเป็นรายการ อย่าเพิ่งกังวลว่าเรื่องมันสมเหตุสมผลไหม แค่พยายามเขียนแนวคิดของเรื่องที่เป็นไปได้ออกมาก่อน [1]
    • ระดมความคิดเกี่ยวกับแนวคิดของเรื่อง ตัวละคร ฉากท้องเรื่อง หรือแนวคิดเรื่องฉากต่างๆ แล้วแต่ว่าคุณจะนึกอะไรออก
    • คุณอาจจะเขียน แผนผังความคิด เพื่อพัฒนาแนวคิดให้ออกมาเป็นภาพ
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Lucy V. Hay

    นักเขียน
    ลูซี่ วี. เฮย์เป็นนักเขียน นักเขียนบทและนักเขียนบล็อกที่ช่วยเพื่อนนักเขียนโดยการจัดเวิร์กช็อป เปิดคอร์สสอนและบล็อก Bang2Write ลูซี่เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แนวระทึกขวัญของอังกฤษสองเรื่องและยังเป็นผู้ดูแลปรับแก้บทภาพยนตร์มากมาย เธอเป็นผู้เขียนหนังสือ 'Writing & Selling Thriller Screenplays' ให้ซีรี่ส์หนังสือ Creative Essentials ของสำนักพิมพ์ Kamera Books และตามมาด้วยหนังสือภาคต่อเรื่อง 'Drama Screenplays' และ 'Diverse Characters' นวนิยายแนวอาชญากรรมเล่มแรกของเธอที่ชื่อ 'The Other Twin' กำลังจะถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยทีมผู้สร้างที่เคยเข้าชิงรางวัลเอ็มมี่จากเรื่อง 'Agatha Raisin' ที่ออกอากาศทาง Free@Last TV
    Lucy V. Hay
    นักเขียน

    สมมติฐานของคุณจะเป็นแนวคิดที่คุมเรื่องราวทั้งหมดเอาไว้ นักเขียนและนักเขียนบทอย่างลูซี่ เฮย์กล่าว: "ถ้าคุณอยากเขียนหนังสือ สิ่งแรกที่ต้องคิดคือแนวคิดของเรื่อง แนวคิดคือสิ่งที่จะทำให้ผู้อ่านเลือกหนังสือของคุณขึ้นมาอ่าน พอคุณมีตรงนี้แล้ว คิดต่อว่าบทจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งก็มักจะเกี่ยวข้องกับโครงเรื่องและตัวละคร ตัวละครควรจะปรารถนาอะไรบางอย่าง และมีเรื่องราวที่เข้ามาในระหว่างเส้นทางค้นหานั้น อย่างสถานการณ์ไม่คาดฝันหรือฝ่ายตรงข้าม"

  2. สมมุติฐานของคุณคือแนวคิดพื้นฐานของเรื่อง คุณอาจจะเริ่มจากประโยคแค่ประโยคเดียว แต่ให้เขียนไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะได้คำโปรยสั้นๆ [2]
    • คุณอาจจะเริ่มเรื่องประมาณว่า เพื่อนรักสองสาวประสบอุบัติเหตุรถชน แต่มีเพียงคนเดียวที่ออกมาจากรถ
    • ตัวอย่างคำโปรยก็เช่น แคตและมายด์เพื่อนสนิทของเธอตื่นเต้นมากที่จะได้ไปปาร์ตี้แห่งปี แต่ระหว่างทางกลับบ้าน พื้นถนนเปียกและรถของแคตก็ไถลไปชนต้นไม้ พอเธอฟื้นขึ้นมาในโรงพยาบาล แคตก็ได้รู้ว่ามายด์ไม่ได้อยู่ในรถกับเธอด้วย และตอนนี้ทุกคนก็คิดว่ามายด์หนีไปกับใครสักคน แต่แคตรู้ดีว่าเพื่อนของเธออยู่กับเธอในคืนที่รถชน
  3. เขียนลักษณะของตัวละคร รายละเอียดส่วนตัว นิสัย สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ สร้างปูมหลังของตัวละครหลัก บรรยายตัวละครในตอนต้นเรื่องและบรรยายว่าระหว่างที่เรื่องดำเนินไปนั้นเขาเปลี่ยนไปอย่างไร [3]
    • สิ่งที่สำคัญที่สุดคือระบุว่าสิ่งที่ตัวละครต้องการในเรื่องคืออะไร [4]
    • คำบรรยายตัวละครจะยาวแค่ไหนก็ได้ ถ้าเป็นเรื่องสั้นคุณอาจจะเขียนเค้าโครงตัวละครรองแค่คร่าวๆ ก็ได้
    • คุณสามารถหาเท็มเพล็ตการเขียนลักษณะของตัวละคร (ฉบับภาษาอังกฤษ) ได้ที่ https://onestopforwriters.com/templates_worksheets
  4. ปมขัดแย้งของคุณควรจะอยู่ตั้งแต่ตอนต้นเรื่องเพื่อที่คนอ่านจะได้รู้สึกถึงความตึงเครียดขณะอ่าน คุณจะต้องพัฒนาปมขัดแย้งนี้ตลอดทั้งเรื่อง โดยปมขัดแย้งจะถึงขีดสุงเมื่อถึงจุดไคลแม็กซ์ของเรื่อง และในตอนจบปมขัดแย้งนั้นก็ควรจะคลี่คลาย [5]
    • ปมขัดแย้งภายในคือปมขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละครกับจิตใจของเขา เช่น ตัวละครตัวนี้อาจจะรู้ว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่มันผิดแต่ก็พยายามจะเลิกอยู่
    • ปมขัดแย้งภายนอกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นนอกจิตใจของตัวละคร ปมขัดแย้งภายนอกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
      • คนกับคน ตัวละครหลักเผชิญหน้ากับตัวร้าย เช่น เด็กผู้หญิงเผชิญหน้ากับคนที่ระรานเธอ
      • คนกับธรรมชาติ ตัวละครหลักประสบกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ เช่น คนที่ไปตั้งแคมป์ต้องเอาชีวิตรอดในป่าขณะเกิดพายุใหญ่
      • คนกับสังคม ตัวละครหลักประสบปัญหาหรือกฎเกณฑ์ทางสังคม เช่น เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเข้าร่วมการทำอารยะขัดขืนเพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
  5. สร้าง ฉากท้องเรื่อง . ฉากท้องเรื่องคือสิ่งที่บอกว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อไหร่และที่ไหน ฉากท้องเรื่องเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงเรื่องเพราะมันมีผลต่อการให้ภาพและพัฒนาเนื้อเรื่อง เช่น สังคมและเทคโนโลยีในเรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2463 ย่อมแตกต่างกับของปี 2561 มาก [6]
    • ถ้าฉากท้องเรื่องของคุณเป็นสถานที่และช่วงเวลาที่คุณไม่คุ้นเคย ให้ค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งจะมีประโยชน์ตอนคุณเขียนแก่นเรื่อง
    • คุณควรดูภาพถ่ายของฉากท้องเรื่องนั้นๆ จะเป็นภาพถ่ายของตัวคุณเองหรือเป็นภาพในอินเทอร์เน็ตก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ผูกปมหลักของเรื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเพิ่งกังวลว่ามันจะต้องสมเหตุสมผลหรือต้องเรียงลำดับอย่างไร แต่เขียนไอเดียในหัวลงไปในกระดาษ คุณอาจจะเขียนฉากเร้าใจทั้งหมดลงไปก่อนแล้วค่อยเพิ่มฉากอื่นๆ ตามที่นึกออกลงไป [7]
    • อย่าบังคับตัวเองให้เรียงลำดับฉากต่างๆ เพราะยิ่งคุณเขียนไอเดียลงไปในกระดาษได้มากเท่าไหร่ คุณจะยิ่งเติมช่องว่างระหว่างฉากได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
  2. ฉากนี้ควรเป็นฉากที่คุณแนะนำตัวละครและฉากท้องเรื่องให้คนอ่าน โดยให้ตัวละครอยู่ในสถานการณ์ประจำวันที่คนอ่านเข้าถึงได้ บอกใบ้ปมขัดแย้งของเรื่องด้วยการให้ตัวละครเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปมขัดแย้ง [8]
    • ถ้าคุณวางเค้าโครงเนื้อเรื่องตามแบบฉบับการเขียนทั่วไป ฉากนี้จะทำหน้าที่เป็นบทเปิดเรื่อง เช่น ในเรื่องแคตกับมายด์ในข้างต้น คุณอาจจะเปิดเรื่องด้วยฉากที่แคตกับมายด์กำลังขับรถไปงานปาร์ตี้ แล้วรถก็ไถลไปที่ฟุตบาท ทำให้แคตต้องพยายามควบคุมรถให้ได้
  3. สร้างเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวละครต้องทำอะไรบางอย่าง. ฉากนี้เป็นฉากเริ่มโครงเรื่อง จึงควรจะอยู่ตั้งแต่ตอนต้นเรื่อง เช่น เป็นฉากแรกของเรื่องสั้นหรืออยู่ใน 2-3 บทแรกของนวนิยาย และคุณต้องให้เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่สร้างปมขัดแย้งขึ้นมา [9]
    • ในเรื่องสั้นที่สั้นมากๆ จุดมัดใจผู้อ่านกับเหตุการณ์นี้อาจเป็นฉากเดียวกันก็ได้
    • เช่น เหตุการณ์ที่ทำให้ตัวละครต้องทำอะไรบางอย่างในเรื่องแคตกับมายด์ก็คือ ตอนที่รถชนต้นไม้
  4. การขมวดปมจะเริ่มหลังจากเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวละครต้องทำอะไรบางอย่าง และนำพาคนอ่านไปถึงจุดไคลแม็กซ์ การขมวดปมนี้ควรจะค่อยๆ สร้างความตึงเครียดตลอดทั้งเรื่อง ถ้าเป็นงานเขียนสั้นๆ อาจจะรวบอยู่ในฉากเดียว แต่ถ้าเป็นงานเขียนยาวๆ ก็จะมีการขมวดปมหลายจุดด้วยกัน [10]
    • ถ้าเป็นเรื่องยาว คุณควรสร้างช่วงคลายความตึงเครียดไว้ในการขมวดปมด้วยเพื่อให้คนอ่านได้มีเวลาพักจากความตึงเครียดบ้าง
    • เช่น การขมวดปมในเรื่องแคตกับมายด์อาจเป็นฉากที่แคตอยู่ที่โรงพยาบาล แคตคุยกับตำรวจ แคตถูกห้ามไม่ให้ขับรถ แคตติดต่อเพื่อนๆ เพื่อตามหามายด์ แคตเก็บข้อมูลจากโซเชียลมีเดียเพื่อตามหามายด์ และแคตค้นรถและข้าวของของเธอเพื่อสืบหาร่องรอยของมายด์
  5. จุดไคลแม็กซ์คือจุดสูงสุดของเนื้อเรื่องเมื่อตัวละครต้องเผชิญกับปมขัดแย้ง ซึ่งเป็นจุดที่อารมณ์ของเรื่องจะเข้มข้นเพราะความตึงเครียดในเรื่องปูมาถึงจุดที่สูงที่สุดแล้ว [11]
    • เช่น จุดไคลแม็กซ์เรื่องแคตกับมายด์อาจจะเป็นตอนที่แคตเจอโทรศัพท์มือถือของมายด์ตกอยู่ใต้เบาะ ทำให้เธอมั่นใจได้ว่าเธอเข้าใจถูกมาตลอด แคตอาจจะขโมยรถพ่อขับไปที่จุดเกิดเหตุเพื่อตามหามายด์ พอตำรวจมาถึง แคตอาจจะวิ่งหนีเข้าป่าเพื่อตามเพื่อน ขณะที่เธอกำลังจะถูกจับ แคตก็เหลือบไปเห็นเพื่อนที่บาดเจ็บนอนขดอยู่ในพุ่มไม้
  6. ภาวะคลี่คลายเล่าผลที่ตามมาของจุดไคลแม็กซ์ ซึ่งควรจะเล่าให้กระชับและนำผู้อ่านไปสู่จุดคลี่คลายของเรื่อง ภาวะคลี่คลายนี้จะทำหน้าที่ขมวดโครงเรื่องทั้งหมด [12]
    • อย่างในเรื่องแคตกับมายด์ ภาวะคลี่คลายอาจจะเป็นตอนที่แคตเรียกคนมาช่วยมายด์ มายด์รักษาตัวในโรงพยาบาล และทุกคนขอโทษที่ไม่เชื่อแคต
  7. ตอนจบควรทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าไม่มีปมใดในเรื่องที่ยังหลวมอยู่ ตอนจบไม่จำเป็นต้องมีความสุขเสมอไป เพราะหลายเรื่องก็จบแบบเศร้าๆ แต่คนอ่านควรรู้สึกถึงความพึงพอใจเพราะรู้ว่าเขาได้อะไรบางอย่างจากเรื่องนี้ [13]
    • เรื่องแคตกับมายด์อาจจะจบที่ฉากงานเลี้ยงสังสรรค์เล็กๆ เพื่อฉลองที่มายด์หายดี
  8. พอคุณได้ปมหลักของเรื่องที่เป็นฐานแล้ว คุณอาจจะเห็นว่ามีฉากที่ไม่ได้เชื่อมกันอย่างชัดเจน ซึ่งไม่เป็นไรเลย! พอถึงจุดนี้ก็สร้างจุดที่จะมาเชื่อมฉากต่างๆ ที่ยังมีช่องว่างในโครงเรื่องอยู่ [14]
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเชื่อม A ไป B อย่างไร ให้โน้ตไว้ก่อนว่าคุณจะกลับมาที่จุดนี้ทีหลัง จากนั้นก็ไปฉากอื่นก่อนแล้วค่อยกลับมาเติมตรงช่องโหว่นี้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เตรียมโครงร่างเนื้อเรื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะเขียนสรุปแต่ละฉากไว้ในประโยคเดียว หรือคุณอาจจะเขียนทุกอย่างที่เกิดขึ้นในแต่ละฉากลงไปก็ได้ แล้วแต่คุณเลย! เพราะทั้งสองเทคนิคนี้สามารถใช้ในการเขียนโครงร่างเนื้อเรื่องที่ดีได้เหมือนกัน [15]
    • จำไว้ว่าคุณสามารถเพิ่มรายละเอียดโครงร่างเนื้อเรื่องเพิ่มเติมได้เสมอ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเขียนทุกอย่างออกมาตอนนี้
  2. เขียน โครงร่างที่มีทั้งลำดับตัวเลขและตัวหนังสือ เพื่อเรียงลำดับข้อมูล. โครงร่างที่มีทั้งลำดับตัวเลขและตัวหนังสือเหมาะกับการสร้างชั้นของข้อมูล มันจึงเหมาะจะนำมาใช้กับโครงร่างเนื้อเรื่อง โครงร่างพื้นฐานอาจจะมีชั้นข้อมูล 1 หรือ 2 ชั้น แต่คุณก็สามารถเพิ่มชั้นเข้าไปได้ถ้าคุณอยากได้โครงร่างที่ละเอียดกว่านั้น ระบบตัวเลขพื้นฐานในการเขียนโครงร่างคือ [16]
    • ใช้เลขโรมัน (I, II, III, IV, V) กับประเด็นหลัก เช่นอาจจะเป็นสรุปฉากนั้นใน 1 ประโยค
    • ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (A, B, C) กับประเด็นรอง เช่น การกระทำต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในฉากนั้น
    • ใช้เลขอารบิก (1, 2, 3) กับรายละเอียดที่มาสนับสนุน เช่น อาจจะเป็นข้อมูลสำคัญที่คุณต้องใส่เข้าไปหรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวละครสมทบ
    • ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก (a, b, c) กับรายละเอียดที่ไม่สำคัญ เช่น รายละเอียดลักษณะที่คุณจะใส่ไว้ในฉาก
  3. เนื่องจากว่าคุณวางปมหลักของเรื่องไว้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้ก็น่าจะง่ายขึ้น ลำดับฉากต่างๆ ตามปมหลักของเรื่อง [17]
    • ขณะที่เขียนโครงเรื่องให้ลำดับเลขแต่ละฉากให้ถูกต้อง
  4. วิธีนี้เป็นการรวบประเด็นหลักเข้าไปในโครงร่างเนื้อเรื่อง ใส่แต่ละฉากในเนื้อเรื่องลงไป [18]
    • ถ้าคุณเจอช่องโหว่ในเนื้อเรื่อง พยายามอุดช่องโหว่นั้น ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะวางแผนอุดช่องโหว่อย่างไร ให้ใส่ประเด็นหลักที่บอกว่าจะต้องมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นถึงจะเชื่อมประเด็นของโครงเรื่องเหล่านั้นด้วยกันได้
  5. คุณไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียดลงไปในโครงเรื่องถ้าคุณไม่อยากเขียน แต่มันอาจจะช่วยให้คุณเขียนเรื่องได้ง่ายขึ้นทีหลังแล้วแต่สไตล์การเขียนของคุณ วิธีเพิ่มรายละเอียดเข้าไปในฉากก็เช่น [19]
    • เขียนชื่อตัวละครที่อยู่ในฉากนั้นทั้งหมด
    • เขียนทุกการกระทำที่เกิดขึ้นในฉากนั้น
    • หมายเหตุรายละเอียดสำคัญที่ใช้อธิบายลักษณะ เกริ่นการณ์ สร้างความตึงเครียด และอื่นๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเรื่องราวที่คุณเขียนต้องมีตัวร้าย ให้สร้างแรงจูงใจของตัวร้ายขึ้นมา พอคุณคิดเรื่องนี้ได้แล้วคุณจะคิดโครงเรื่องได้ง่ายขึ้น
  • เวลาที่ต้องตัดสินใจว่าจะทำอะไร ให้นึกว่าตัวเองเป็นตัวละครตัวนั้น
  • ขณะที่สร้างฉากอย่าลืมหาจังหวะที่เหมาะกับตัวเองด้วย การกระทำของตัวละคร เหตุการณ์เร้าอารมณ์ และเหตุการณ์ที่ปูเรื่องราวควรได้สัดส่วนที่สมดุลกัน
  • รักษาสมดุลของอารมณ์ในเรื่องให้ดี ถ้าคุณเขียนโศกนาฏกรรม ให้ใส่อารมณ์ขันลงไปด้วย เติมเหตุการณ์เร้าใจลงไปในเรื่องตลกเบาสมองสักเล็กน้อย หรือถ้าเขียนนวนิยายรัก ก็ให้ใส่ความตึงเครียดลงไปบ้าง
  • จดไอเดียที่น่าสนใจที่ผุดขึ้นมาในหัวลงไป ไอเดียบางอย่างอาจจะเข้ากับโครงเรื่อง แต่ถ้าไม่เข้าก็เก็บไว้ใส่ในเรื่องอื่นๆ ก็ได้
  • จำไว้ว่าโครงเรื่องมาจากแรงจูงใจของตัวละคร เพราะฉะนั้นให้เน้นไปที่การสร้างที่มาของตัวละครก่อนที่จะใส่เหตุการณ์หลักๆ เข้าไปในเรื่อง
  • พอคุณได้แรงจูงใจของตัวละครแล้ว ให้ยึดแรงจูงใจนั้นไว้ เพราะการพยายามยัดเยียดตัวละครเข้าไปในปมหลักของเรื่องจะทำให้เรื่องดูไม่สมเหตุสมผล เชื่อมั่นในตัวละครของคุณ แล้วใช้ภูมิหลังของเขาแก้ปมขัดแย้ง วิธีนี้จะช่วยให้การดำเนินเรื่องราบรื่นกว่า!
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่ารีบเขียน การเขียนอาจจะใช้เวลาสักหน่อย แต่การค่อยๆ ลงมือเขียนจะทำให้เรื่องราวของคุณออกมาดีกว่าการเขียนแบบรีบๆ แน่นอน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,489 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา