ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
โรคหนองในเทียมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ร้ายแรง ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณเชิงกรานอย่างต่อเนื่องและการเป็นหมัน โรคนี้พบได้มากแต่สามารถรักษาได้ 75% ของผู้หญิงที่เป็นโรคหนองในเทียมไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าจะเข้าขั้นรุนแรง ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรทำความเข้าใจและสังเกตอาการของโรคหนองในเทียมเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันเวลาและหายขาด
ขั้นตอน
-
สังเกตตกขาว. หากคุณพบตกขาวที่มีลักษณะผิดปกติก็อาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อโรคหนองในเทียมหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ [1] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Centers for Disease Control and Prevention ไปที่แหล่งข้อมูล
- สัญญาณที่บ่งบอกว่าตกขาวมีลักษณะผิดปกติ ได้แก่ กลิ่นที่แปลกหรือไม่พึงประสงค์ สีที่เข้มกว่าเดิมหรือลักษณะของตกขาวที่คุณไม่เคยมีมาก่อน
- หากคุณสงสัยว่าตกขาวมีลักษณะผิดปกติก็ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว สูตินรีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อตรวจและรักษา
- ตกขาวเป็นเลือดในช่วงที่ไม่มีประจำเดือนก็อาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อโรคหนองในเทียมเช่นกัน [2] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
-
สังเกตความเจ็บปวด. ความเจ็บปวดระหว่างปัสสาวะและ/หรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์ก็อาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อโรคหนองในเทียม [3] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- หากคุณรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัวเป็นอย่างมากระหว่างมีเพศสัมพันธ์ก็ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าคุณจะให้แพทย์ตรวจ การติดเชื้อโรคหนองในเทียมสามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดสำหรับผู้หญิงบางคน
- การเจ็บแสบระหว่างปัสสาวะส่วนใหญ่บ่งบอกถึงการติดเชื้อบางอย่าง เช่น เชื้อราไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณควรไปพบแพทย์ทันที
-
สังเกตเลือดที่ออกหลังการมีเพศสัมพันธ์. ผู้หญิงบางคนมีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดและบางครั้งอาการนี้เกี่ยวข้องกับโรคหนองในเทียม [4] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
-
บอกแพทย์เกี่ยวกับความเจ็บปวดที่ทวารหนัก การมีเลือดไหลหรือตกขาว. การมีเลือดไหล ความเจ็บปวดและ/หรือตกขาวจากทวารหนักคืออาการของโรคหนองในเทียม หากคุณเป็นโรคหนองในเทียมในช่องคลอด เชื้อโรคก็อาจแพร่ไปยังทวารหนักได้ หากคุณมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การติดเชื้อก็อาจจะเกิดที่ทวารหนัก [5] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Centers for Disease Control and Prevention ไปที่แหล่งข้อมูล
-
สังเกตความเจ็บปวดเล็กน้อยและช้าๆ บริเวณหลังช่วงล่าง หน้าท้องและเชิงกราน. ผู้หญิงอาจมีอาการเจ็บหลังที่คล้ายกับการเจ็บไต ความเจ็บปวดเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อโรคหนองในเทียมที่แพร่จากปากมดลูกไปยังท่อนำไข่ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คุณอาจจะปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อยเมื่ออาการของโรคหนองในเทียมกำเริบ
-
สังเกตการเจ็บคอ. หากคุณมีอาการเจ็บคอและเพิ่งมีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก คุณก็อาจจะเพิ่งได้รับเชื้อของโรคหนองในเทียมจากคู่นอน ถึงแม้เขาจะไม่มีอาการใดๆ [7] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Go Ask Alice ไปที่แหล่งข้อมูล
- การแพร่เชื้อของโรคหนองในเทียมจากอวัยวะเพศชายไปสู่ปากคือวิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ของการกระจายเชื้อโรค
-
สังเกตอาการเวียนศีรษะและเป็นไข้. ผู้หญิงที่เป็นโรคหนองในเทียมมักจะเป็นไข้และเวียนศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเชื้อได้แพร่ไปยังท่อนำไข่แล้ว [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- การมีอุณหภูมิของร่างกายที่สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียสถือว่าเป็นไข้
-
รู้จักความเสี่ยงของการเป็นโรคหนองในเทียม. หากคุณมีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก ช่องคลอดหรือทวารหนักกับคู่นอนหลายๆ คนและ/หรือไม่ได้ป้องกัน คุณก็อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหนองในเทียม การเป็นโรคหนองในเทียมเกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า “คลามีเดียทราโคมาทิส” ซึ่งแพร่เชื้อทางของเหลวของร่างกาย ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกปี รวมถึงการตรวจหาเชื้อโรคหนองในเทียมด้วย [9] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Centers for Disease Control and Prevention ไปที่แหล่งข้อมูล คุณควรไปตรวจโรคหลังจากการเปลี่ยนคู่นอนทุกครั้ง
- คุณมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหนองในเทียมหากคุณมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน เพราะคู่นอนของคุณอาจจะเป็นโรคหนองในเทียมหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการใช้ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัย
- คุณมีความเสี่ยงมากขึ้นหากคุณถูกตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
- หนุ่มสาวมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการติดโรคหนองในเทียม
- คุณต้องคุยกับคู่นอนและทำให้มั่นใจว่าคู่นอนไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากคุณ เพราะผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการติดโรคหนองในเทียม
- การแพร่เชื้อของโรคหนองในเทียมจากปากไปสู่ช่องคลอดและจากปากไปสู่ทวารหนักไม่ค่อยเกิดขึ้น การแพร่เชื้อของโรคหนองในเทียมจากปากไปสู่อวัยวะเพศชายและจากอวัยวะเพศชายไปสู่ปากนั้นเป็นไปได้ ถึงแม้การติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางปากนั้นจะไม่ค่อยเป็นไปได้ เมื่อเทียบกับการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนักก็ตาม [10] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Go Ask Alice ไปที่แหล่งข้อมูล
-
ตรวจหาโรคก่อนแสดงอาการ. 75% ของผู้หญิงที่เป็นโรคหนองในเทียมไม่แสดงอาการใดๆ โรคหนองในเทียมอาจกำลังทำร้ายร่างกายของคุณแม้คุณจะไม่มีอาการใดๆ การติดเชื้อที่ไม่ได้รับการักษาก่อให้เกิดโรคเชิงกรานอักเสบซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นหมัน [11] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Centers for Disease Control and Prevention ไปที่แหล่งข้อมูล
- อาการมักกำเริบ 1-3 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ
- ตรวจโรคทันทีหากคู่นอนบอกว่าเขาเป็นโรคหนองในเทียม
-
ตรวจหาโรคหนึ่งในสองแบบ. คุณสามารถเก็บเชื้อจากบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ที่ติดเชื้อและวิเคราะห์ สำหรับผู้หญิงวิธีนี้คือการเก็บเชื้อจากปากมดลูก ช่องคลอดหรือทวารหนัก และสำหรับคู่นอนที่เป็นผู้ชายคุณต้องเก็บเชื้อจากปลายท่อปัสสาวะหรือทวารหนัก ปัสสาวะอาจจะถูกเก็บไปตรวจด้วย [12] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- ปรึกษาแพทย์หรือไปคลินิกท้องถิ่น หน่วยงานวางแผนครอบครัวหรือตัวแทนที่บริการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตรวจแบบนี้มักจะไม่มีค่าใช้จ่าย [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
รับการรักษาทันที. หากคุณตรวจพบโรคหนองในเทียม คุณก็จะได้รับการรักษาด้วยยาทานปฏิชีวนะ โดยเฉพาะตัวยาอซิโธรมัยซินและด็อกซีไซคลีน หากคุณทานยาปฏิชีวนะครบตามที่แพทย์สั่ง เชื้อก็น่าจะหมดหลังจาก 1-2 สัปดาห์ สำหรับโรคหนองในเทียมขั้นรุนแรงคุณก็อาจจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะแบบฉีดเข้ากระแสเลือด [14] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Go Ask Alice ไปที่แหล่งข้อมูล
- หากคุณตรวจพบโรคหนองในเทียม คู่นอนของคุณก็ต้องได้รับการตรวจและรักษาด้วย เพื่อเลี่ยงการแพร่เชื้อให้กัน ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ทุกชนิดจนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น
- หลายคนที่เป็นโรคหนองในเทียมมักจะเป็นโรคหนองในแท้ด้วย ฉะนั้นแพทย์อาจจะให้ยาสำหรับการติดเชื้อนี้เช่นกัน ค่ารักษาโรคหนองในแท้ถูกกว่าการตรวจแล็บเพื่อหาเชื้อ ฉะนั้นคุณอาจจะได้รับการรักษาโดยไม่ได้ตรวจ [15] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
เคล็ดลับ
- คุณควรตรวจหาโรคหนองในเทียมหากคุณมีเพศสัมพันธ์ เพราะเพียง 30% ของผู้หญิงที่เป็นโรคแสดงอาการทางร่างกาย การติดเชื้อโรคหนองในเทียมที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้คุณเป็นหมัน ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยยาปฏิชีวนะและการคุมกำเนิดแบบต่างๆ
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.cdc.gov/std/Chlamydia/STDFact-Chlamydia.htm
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/symptoms/con-20020807
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/symptoms/con-20020807
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/symptoms/con-20020807
- ↑ http://www.cdc.gov/std/Chlamydia/STDFact-Chlamydia.htm
- ↑ http://www.ashasexualhealth.org/stdsstis/chlamydia/
- ↑ http://goaskalice.columbia.edu/what-chlamydia
- ↑ http://www.ashasexualhealth.org/stdsstis/chlamydia/
- ↑ http://www.cdc.gov/std/chlamydia/stdfact-chlamydia.htm
- ↑ http://goaskalice.columbia.edu/what-chlamydia
- ↑ http://www.cdc.gov/std/chlamydia/stdfact-chlamydia.htm
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/tests-diagnosis/con-20020807
- ↑ https://gettested.cdc.gov
- ↑ http://goaskalice.columbia.edu/what-chlamydia
- ↑ http://www.ashasexualhealth.org/stdsstis/chlamydia/