ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เกล็ดเลือดมีขนาดเล็กมากและเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ในปริมาณเลือดทั้งหมด หน้าที่หลักของเกล็ดเลือดก็คือป้องกันไม่ให้เลือดไหลด้วยการทำให้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม อย่างไรก็ตามในกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก บางคนก็อาจจะมีปัญหาที่เกิดจากการที่ไขกระดูกผลิตเกล็ดเลือดมากเกินไป หรือที่รู้จักกันในชื่อภาวะเกล็ดเลือดมาก [1] ซึ่งทำให้เกิดการก่อตัวเป็นลิ่มเลือดขนาดใหญ่ที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น การอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองหรือโรคหัวใจ เริ่มต้นจากขั้นตอน 1 ด้านล่างเพื่อศึกษาข้อมูลว่า คุณจะสามารถลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดด้วยอาหาร วิถีชีวิต และยารักษาได้อย่างไร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ลดจำนวนเกล็ดเลือดด้วยอาหารและวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รับประทานกระเทียมดิบเพื่อลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือด. กระเทียมดิบหรือกระเทียมทุบมีสารประกอบที่ชื่อว่า "อัลลิซิน" ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการสร้างเกล็ดเลือดของร่างกาย จึงช่วยลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดลงได้ [2]
    • ร่างกายของคุณตอบสนองต่อระดับเกล็ดเลือดที่ต่ำด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งช่วยปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม (เช่น ไวรัสและแบคทีเรีย) ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
    • ปริมาณอัลลิซินในกระเทียมจะลดลงอย่างรวดเร็วหากผ่านการปรุงสุก เพราะฉะนั้นพยายามรับประทานทั้งดิบๆ แต่การรับประทานกระเทียมอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนในบางคน เพราะฉะนั้นอย่าลืมรับประทานกระเทียมดิบพร้อมอาหาร
  2. แปะก๊วยมีสารที่เรียกว่า “เทอร์พีนอยด์” ซึ่งจะไปลดความหนืดของเลือด (ทำให้เลือดจางลง) และป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม [3]
    • นอกจากนี้แปะก๊วยยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและเพิ่มการผลิตวาร์ฟารินในร่างกายซึ่งช่วยละลายลิ่มเลือดด้วย
    • แปะก๊วยมีจำหน่ายทั้งในรูปแบบของอาหารเสริมชนิดน้ำและแคปซูล คุณสามารถหาซื้อแปะก๊วยเสริมได้ที่ร้านขายยาหรือร้านขายอาหารสุขภาพ
    • ถ้าคุณสามารถหาใบแปะก๊วยได้ ให้คุณต้มใบไว้ในน้ำ 5-7 นาที จากนั้นดื่มเป็นชา
  3. โสมมีส่วนประกอบของ “จินเซ็นโนไซด์” ที่ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้ด้วย [4]
    • โสมจำหน่ายในรูปแบบแคปซูลและสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาและร้านขายอาหารสุขภาพ และมักจะใส่ในอาหารและเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
    • โสมอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับและคลื่นไส้ในบางคน เพราะฉะนั้นคุณต้องทดสอบในช่วงลองรับประทานเพื่อดูว่ามันมีปฏิกิริยาต่อร่างกายอย่างไร
  4. รับประทานทับทิมเพื่อให้ได้ฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด. ทับทิมมีส่วนประกอบของสารที่เรียกว่าโพลีฟีนอลซึ่งมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด หมายความว่ามันช่วยลดการผลิตเกล็ดเลือดของร่างกายและป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดที่มีอยู่จับตัวเป็นลิ่ม [5]
    • คุณสามารถรับประทานในรูปแบบของทับทิมสดๆ ทั้งผล ดื่มน้ำทับทิม หรือเติมสารสกัดจากทับทิมลงไปในอาหารก็ได้
  5. รับประทานอาหารทะเลที่อุดมไปด้วยโอเมก้า-3 เพื่อยับยั้งการผลิตเกล็ดเลือด. กรดไขมันโอเมก้า-3 มีผลต่อการผลิตเกล็ดเลือด เจือจางเลือด และลดโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่ม [6] โอเมก้า-3 มีอยู่มากมายในอาหารทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน หอยเชลล์ ปลาจะละเม็ดขาว หอย และปลาสำลี [7]
    • พยายามรับประทานปลาเหล่านี้ให้ได้สัปดาห์ละ 2-3 หน่วย เพื่อให้ได้ปริมาณโอเมก้า-3 ตามที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละสัปดาห์
    • ถ้าคุณไม่ชอบรับประทานปลาเท่าไหร่ คุณก็สามารถเพิ่มปริมาณโอเมก้า-3 ได้ด้วยการรับประทานน้ำมันปลาเสริมวันละ 3,000-4,000 มก.
  6. ดื่มไวน์แดงเพื่อลดโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่ม. ไวน์แดงประกอบด้วยฟลาโวนอยส์ ซึ่งได้มาจากเปลือกองุ่นแดงระหว่างการผลิต ฟลาโวนอยส์ป้องกันไม่ให้ร่างกายผลิตเซลล์ตามแนวผนังหลอดเลือดแดงมากเกินไป (กระบวนการที่เกิดจากการมีเกล็ดเลือดในเลือดมากเกินไป) ซึ่งจะลดโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่ม [8]
    • ไวน์ครึ่งแก้วมาตรฐาน (ประมาณ 175 มล.) มีแอลกอฮอล์ 1 หน่วย ผู้ชายไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกินสัปดาห์ละ 12 หน่วย และไม่เกิน 4 หน่วยต่อวัน
    • ผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกินสัปดาห์ละ 14 หน่วย และไม่เกินวันละ 3 หน่วย ทั้งผู้ชายและผู้หญิงควรมีวันงดแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 2 วัน [9]
  7. รับประทานผักและผลไม้ที่มี "ซาลิไซเลต" ที่ช่วยทำให้เลือดเจือจาง. ผักและผลไม้ที่มี “ซาลิไซเลต” ช่วยทำให้เลือดเจือจางและป้องกันการจับตัวเป็นลิ่ม [10] นอกจากนี้ยังเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายและช่วยควบคุมจำนวนเกล็ดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วย
    • ผักที่มีซาลิไซเลตได้แก่ แตงกวา เห็ด ซุกินี แรดิช และอัลฟัลฟา
    • ผลไม้ที่มีซาลิไซเลตได้แก่ เบอร์รีทุกชนิด เชอร์รี ลูกเกด และส้ม
    • การรับประทานเห็ดหอมก็เป็นทางเลือกธรรมชาติที่ช่วยลดเกล็ดเลือดได้เป็นอย่างดี
  8. ใส่อบเชยลงไปในอาหารเพื่อลดการจับตัวของเกล็ดเลือด. อบเชยมีสารประกอบที่ชื่อว่า “ซินนามาลดีไฮด์” ซึ่งรู้กันดีว่าช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด จึงลดการจับตัวเป็นลิ่มของเลือดได้เช่นกัน [11]
    • ใส่อบเชยบดลงในขนมอบหรือสตูว์ผัก นอกจากนี้คุณยังสามารถต้มก้านอบเชยในชาหรือไวน์ได้ด้วย
  9. เลิกสูบบุหรี่เพื่อป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่ม. การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดเนื่องมาจากสารประกอบที่เป็นอันตรายหลายชนิดในบุหรี่ (เช่น นิโคติน) การสูบบุหรี่ทำให้เลือดข้นขึ้นและเกล็ดเลือดก็จะจับตัวเป็นก้อน [12]
    • ปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจและเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันมักเป็นผลมาจากการเกิดลิ่มเลือดในเลือด การเลิกสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดลิ่มเลือดตั้งแต่แรก
    • การเลิกบุหรี่เป็นเรื่องยากและไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ในชั่วข้ามคืน อ่าน บทความนี้ เพื่อหาคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการเลิกบุหรี่
  10. กาแฟมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด ซึ่งหมายความว่ามันลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดและป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด [13]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ลดจำนวนเกล็ดเลือดด้วยยาและการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในบางสถานการณ์ แพทย์อาจจะจ่ายยาเจือจางเลือดให้ ยาเจือจางเลือดจะป้องกันไม่ให้เลือดหนืด การจับตัวของเกล็ดเลือด และการเกิดลิ่มเลือด ยาที่แพทย์จ่ายให้คนไข้บ่อยที่สุดก็เช่น : [15]
    • แอสไพริน
    • ไฮดรอกซียูเรีย
    • อะนาเกรไลด์
    • อินเตอร์เฟอรอน อัลฟา
    • บูซัลแฟน
    • ไพโพโบนแมน
    • ฟอสฟอรัส-32
  2. เข้ารับการรักษาผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการถ่ายเกล็ดเลือด. ในกรณีฉุกเฉิน แพทย์อาจจะแนะนำการรักษาที่เรียกว่า การถ่ายเกล็ดเลือด ซึ่งจะลดจำนวนเกล็ดเลือดในเลือดอย่างรวดเร็ว
    • ในระหว่างการถ่ายเกล็ดเลือดแพทย์จะสอดสายสวนหลอดเลือดดำเข้าไปในหลอดเลือดเส้นหนึ่งเพื่อให้เลือดออกจากร่างกาย เลือดที่ออกมาก็จะเข้าเครื่องกำจัดเกล็ดเลือด
    • จากนั้นเลือดที่นำเกล็ดเลือดออกหมดแล้วก็จะย้อนกลับเข้าไปในร่างกายผ่านสายสวนหลอดเลือดนำเส้นที่สอง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,744 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา