ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ภาษา C เป็นหนึ่งในภาษาเขียนโปรแกรมรุ่นเก๋า มีต้นกำเนิดย้อนไปถึงยุค 70 นู่นเลย แต่สมัยนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่ แถมใช้ดีมีประโยชน์สุดๆ เพราะเข้าใจและใช้งานได้ไม่ยากนั่นเอง ถ้าเรียนภาษา C ไว้ ก็จะต่อยอดไปยังภาษาอื่นที่ซับซ้อนกว่าได้สบาย เพราะเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้กับแทบทุกภาษา การเขียนโปรแกรมหรือแอพต่างๆ ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการหัดเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C ให้คุณเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 6:

เตรียมความพร้อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โค้ดภาษา C ต้อง compile ก่อน โดยใช้โปรแกรมแปลงโค้ดเป็นสัญญาณที่เครื่องอ่านได้ ตัว compiler ปกติจะฟรี มีให้เลือกใช้ตามระบบปฏิบัติการ
    • ถ้าใช้ Windows ให้ใช้ Microsoft Visual Studio Express หรือ MinGW
    • ถ้าใช้ Mac ตัว compiler ภาษา C ที่ดีที่สุดก็คือ XCode
    • ถ้าใช้ Linux ดังสุดจะเป็น gcc
  2. ภาษา C ถือเป็นหนึ่งในภาษาเขียนโปรแกรมรุ่นเก่าที่ยังเก๋าอยู่ ตอนแรกถูกคิดค้นมาเพื่อระบบปฏิบัติการ Unix แต่สุดท้ายก็แพร่หลาย ถูกดัดแปลงไปใช้กับแทบทุกระบบปฏิบัติการ ถ้าเป็นภาษา C สมัยใหม่ จะกลายเป็น C++ แทน
    • ภาษา C นั้นหลักๆ ประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ มีทั้งตัวแปร (variable), คำสั่งกำหนดเงื่อนไข (conditional statement) และคำสั่งวนซ้ำ (loop) ที่ใช้จัดเก็บและปรับแต่งข้อมูล
  3. เรามาดูโปรแกรมอย่างง่าย (มาก) ต่อไปนี้ดู จะได้พอเห็นภาพว่าเอาส่วนต่างๆ ของภาษามารวมกันแล้วหน้าตาเป็นยังไง โปรแกรมทำงานยังไง ใช้ฟังก์ชั่นไหน
     #include 
     <stdio.h> 
      
     int 
     main 
     () 
     { 
     printf 
     ( 
     "Hello, World! 
     \n 
     " 
     ); 
     getchar 
     (); 
     return 
     0 
     ; 
     } 
    
    [1]
    • คำสั่ง #include จะทำงานก่อนโปรแกรมเปิด เพื่อโหลด libraries ที่มีฟังก์ชั่นต่างๆ ที่คุณต้องการ ในตัวอย่างนี้ stdio.h ทำให้เราใช้ฟังก์ชั่น printf() กับ getchar() ได้
    • คำสั่ง int main() ใช้บอก compiler ว่าโปรแกรมใช้ฟังก์ชั่น "main" อยู่ และบอกว่าจะได้จำนวนเต็ม (integer) มาตอนเสร็จสิ้น โดยทุกโปรแกรมภาษา C จะใช้ฟังก์ชั่น "main"
    • { } ใช้บอกว่าทุกอย่างข้างในเป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชั่นนั้น ในตัวอย่างคือทุกอย่างข้างในเป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชั่น "main"
    • ฟังก์ชั่น printf() ใช้แสดงเนื้อหาในวงเล็บบนหน้าจอของผู้ใช้ เครื่องหมายคำพูดจะช่วยให้แน่ใจได้ว่า string หรือข้อความข้างในแสดงออกมาถูกต้อง ส่วนลำดับ \n ใช้บอก compiler ให้เลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่บรรทัดถัดไป
    • ; ใช้บอกจุดสิ้นสุดของบรรทัด ปกติบรรทัดโค้ดภาษา C จะปิดด้วย semicolon
    • คำสั่ง getchar() ใช้บอก compiler ให้รอผู้ใช้กดคีย์ (keystroke input) แล้วค่อยทำงานต่อ เป็นคำสั่งที่มีประโยชน์มาก เพราะหลาย compiler จะเปิดโปรแกรมแล้วปิดหน้าต่างทันที พอใช้คำสั่งนี้แล้วโปรแกรมจะไม่หยุดจนกว่าจะกดปุ่ม
    • คำสั่ง return 0 ใช้จบฟังก์ชั่น สังเกตดูจะเห็น int เป็นฟังก์ชั่น "หลัก" แปลว่าต้องได้จำนวนเต็มกลับมาหลังโปรแกรมทำงานเสร็จ "0" ใช้บอกว่าโปรแกรมนั้นทำงานถูกต้องดี ส่วนเลขอื่นใช้บอกว่าเกิด error ในโปรแกรม
  4. ใส่โค้ดใน code editor แล้วเซฟเป็นไฟล์ "*.c" จากนั้น compile ด้วย compiler ปกติคือคลิกปุ่ม Build หรือ Run
  5. คอมเม้นท์เป็นส่วนหนึ่งของโค้ดที่จะไม่ถูก compile แต่เอาไว้อธิบายว่าโค้ดนั้นใช้ทำอะไร เหมาะสำหรับใช้เตือนความจำตัวเอง และอธิบายให้นักพัฒนาคนอื่นๆ ที่ได้เห็นโค้ดของคุณเข้าใจ
    • เวลาจะคอมเม้นท์ในโค้ดภาษา C ให้พิมพ์ /* จากนั้นพิมพ์คอมเม้นท์ แล้วพิมพ์ */ ปิดท้าย
    • คอมเม้นท์ได้ทุกจุดในโค้ด แต่ถ้าเป็นโค้ดส่วนที่ง่ายๆ ก็ไม่จำเป็น
    • คอมเม้นท์ใช้ปิดบางส่วนของโค้ดได้ทันใจ โดยไม่ต้องลบออก แค่ล้อมโค้ดที่ไม่ต้องการด้วยแท็กคอมเม้นท์ (comment tag) แล้ว compile ถ้าอยากใช้โค้ดนั้นอีกเมื่อไหร่ ก็แค่ลบแท็กออก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 6:

ใช้ตัวแปร (Variable)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. variable หรือตัวแปรใช้จัดเก็บข้อมูล ทั้งจากการคำนวณของโปรแกรม และข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา คุณต้อง define หรือประกาศค่าตัวแปรก่อนใช้ โดยตัวแปรมีหลายชนิดด้วยกัน
    • ตัวแปรที่พบบ่อยก็เช่น int , char และ float ซึ่งแต่ละตัวก็ใช้จัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกัน
  2. คุณต้องกำหนดหรือ "declare" คือประกาศค่าก่อน ตัวแปรนั้นถึงจะใช้ในโปรแกรมได้ โดยป้อน data type (ชนิดข้อมูล) ตามด้วยชื่อตัวแปร เช่น ตัวอย่างต่อไปนี้คือการประกาศค่าตัวแปรที่ถูกต้อง
     float 
     x 
     ; 
     char 
     name 
     ; 
     int 
     a 
     , 
     b 
     , 
     c 
     , 
     d 
     ; 
    
    • คุณ declare ได้หลายตัวแปรในบรรทัดเดียวกัน ขอแค่เป็นชนิดเดียวกัน โดยคั่นชื่อตัวแปรด้วยลูกน้ำ
    • บรรทัดประกาศค่าตัวแปรจะเหมือนกับบรรทัดอื่นๆ ในภาษา C คือแต่ละบรรทัดต้องปิดท้ายด้วย semicolon
  3. ต้อง declare หรือประกาศค่าตัวแปรที่จุดเริ่มต้นของแต่ละ block (ส่วนของโค้ดที่ล้อมด้วยวงเล็บ {}) ถ้าไป declare ตัวแปรท้าย block โปรแกรมจะทำงานผิดพลาดได้
  4. ตอนนี้พอรู้คร่าวๆ แล้วว่าตัวแปรใช้ทำอะไร ก็ลองเขียนโปรแกรมง่ายๆ สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาได้เลย เราต้องใช้อีกฟังก์ชั่นของโปรแกรมชื่อ scanf ฟังก์ชั่นนี้จะค้นหา input หรือข้อมูลที่ป้อนเข้ามาตามค่าเฉพาะ
     #include 
     <stdio.h> 
      
     int 
     main 
     () 
     { 
     int 
     x 
     ; 
     printf 
     ( 
     "พิมพ์หมายเลข: " 
     ); 
     scanf 
     ( 
     "%d" 
     , 
     & 
     x 
     ); 
     printf 
     ( 
     "คุณพิมพ์ %d" 
     , 
     x 
     ); 
     getchar 
     (); 
     return 
     0 
     ; 
     } 
    
    • สตริง "%d" ใช้บอก scanf ให้หาจำนวนเต็มในข้อมูลผู้ใช้
    • & หน้าตัวแปร x ใช้บอก scanf ว่าต้องหาตัวแปรที่จะเปลี่ยนตรงไหน และจัดเก็บจำนวนเต็มในตัวแปร
    • คำสั่งสุดท้ายคือ printf ใช้แสดงจำนวนเต็มในข้อมูลกลับไปที่ผู้ใช้
  5. คุณใช้ mathematical expressions หรือนิพจน์คณิตศาสตร์ จัดการข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในตัวแปรได้ จุดต่างสำคัญของ mathematical expressions ที่ควรจดจำ ก็คือ = เดียวใช้กำหนดค่าของตัวแปร ส่วน == จะเปรียบเทียบค่าทั้ง 2 ฝั่ง ว่าเท่ากันไหม
     x 
     = 
     3 
     * 
     4 
     ; 
     /* กำหนด "x" เป็น 3 * 4 หรือ 12 */ 
     x 
     = 
     x 
     + 
     3 
     ; 
     /* บวก 3 เข้าไปในค่าตั้งต้นของ "x" แล้วกำหนดค่าใหม่เป็นตัวแปร */ 
     x 
     == 
     15 
     ; 
     /* เช็คว่า "x" เท่ากับ 15 หรือเปล่า */ 
     x 
     < 
     10 
     ; 
     /* เช็คว่าค่าของ "x" น้อยกว่า 10 หรือเปล่า */ 
    
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 6:

ใช้คำสั่งกำหนดเงื่อนไข (Conditional Statement)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. conditional statement หรือคำสั่งกำหนดเงื่อนไข คือสิ่งที่ทำให้โปรแกรมส่วนใหญ่ทำงานได้ โดยกำหนดเงื่อนไขว่าจริงหรือเท็จ (TRUE หรือ FALSE) แล้วทำงานไปตามผลลัพธ์ statement ที่ง่ายที่สุด ก็คือ if statement
    • TRUE และ FALSE ในภาษา C จะต่างออกไป ไม่เหมือนที่คุณคิด อย่าง TRUE statement จะเป็นเลขที่ไม่ใช่ 0 เสมอ เวลาเปรียบเทียบกัน ถ้าผลลัพธ์ออกมาเป็นจริง (TRUE) ก็จะได้เลข "1" แต่ถ้าผลออกมาเป็นเท็จ (FALSE) ก็จะได้ "0" แทน ถ้าเข้าใจจุดนี้ ก็จะรู้ว่าโปรแกรมประมวลผล IF statement ยังไง
  2. รู้จักตัวดำเนินการแบบมีเงื่อนไข (conditional operator) อย่างง่าย. conditional statement นั้นจะเกี่ยวกับการใช้ตัวดำเนินการเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical operator) ที่ใช้เปรียบเทียบค่าต่างๆ เป็นหลัก รายการต่อไปนี้คือ conditional operator ที่นิยมใช้กัน
     > 
     /* มากกว่า */ 
     < 
     /* น้อยกว่า */ 
     >= 
     /* มากกว่าหรือเท่ากับ */ 
     <= 
     /* น้อยกว่าหรือเท่ากับ */ 
     == 
     /* เท่ากับ */ 
     != 
     /* ไม่เท่ากับ */ 
    


     10 
     > 
     5 
     TRUE 
     6 
     < 
     15 
     TRUE 
     8 
     >= 
     8 
     TRUE 
     4 
     <= 
     8 
     TRUE 
     3 
     == 
     3 
     TRUE 
     4 
     != 
     5 
     TRUE 
    
  3. คุณใช้ IF statement กำหนดได้ว่าโปรแกรมควรทำอะไรต่อไปหลังประเมิน statement นั้นแล้ว จะรวมเข้ากับ conditional statement อื่นทีหลัง เพื่อให้ได้หลายตัวเลือกอย่างมีประสิทธิภาพก็ได้ แต่ตอนนี้ให้ลองเขียนแค่ง่ายๆ ก่อน จะได้คุ้นเคย
     #include 
     <stdio.h> 
      
     int 
     main 
     () 
     { 
     if 
     ( 
     3 
     < 
     5 
     ) 
     printf 
     ( 
     "3 น้อยกว่า 5" 
     ); 
     getchar 
     (); 
     } 
    
  4. คุณต่อยอด IF statement ได้ โดยใช้ ELSE และ ELSE IF statement จัดการกับผลลัพธ์ต่างๆ ELSE statement จะทำงานเมื่อ IF statement เป็น FALSE ส่วน ELSE IF statement ใช้รวมหลายๆ IF statement ไว้ใน block เดียว ใช้จัดการ case หรือเงื่อนไขต่างๆ ข้างล่างคือโปรแกรมตัวอย่างแสดงการทำงาน
     #include 
     <stdio.h> 
      
     int 
     main 
     () 
     { 
     int 
     age 
     ; 
     printf 
     ( 
     "กรุณากรอกอายุปัจจุบันของคุณ: " 
     ); 
     scanf 
     ( 
     "%d" 
     , 
     & 
     อายุ 
     ); 
     if 
     ( 
     อายุ 
     <= 
     12 
     ) 
     { 
     printf 
     ( 
     "ยังเบบี๋อยู่เลยนะคุณ! 
     \n 
     " 
     ); 
     } 
     else 
     if 
     ( 
     อายุ 
     < 
     20 
     ) 
     { 
     printf 
     ( 
     "วัยรุ่นกำลังขบเผาะ! 
     \n 
     " 
     ); 
     } 
     else 
     if 
     ( 
     อายุ 
     < 
     40 
     ) 
     { 
     printf 
     ( 
     "หนุ่มใหญ่สาวใหญ่หัวใจกระเตาะ! 
     \n 
     " 
     ); 
     } 
     else 
     { 
     printf 
     ( 
     "ยิ่งแก่ก็ยิ่งเก๋า 
     \n 
     " 
     ); 
     } 
     return 
     0 
     ; 
     } 
    
    [2]
    • โปรแกรมจะรับข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน แล้วส่งไปที่ IF statement ถ้าตรงตามเงื่อนไขของ statement แรก ก็จะแสดง printf statement แรกขึ้นมา แต่ถ้าไม่ผ่าน statement แรก ก็จะต่อไปยังแต่ละ ELSE IF statement จนเจออันที่ใช้ได้ แต่ถ้าไม่ตรงตามเกณฑ์สักอัน ก็จะไปถึง ELSE statement สุดท้าย
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 6:

รู้จักคำสั่งวนซ้ำ (Loop)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. loop เป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นสำคัญที่สุดของการเขียนโปรแกรม เพราะใช้งาน block ของโค้ดซ้ำจนเกิดเงื่อนไขเฉพาะที่ต้องการ ช่วยให้คุณใช้คำสั่งซ้ำๆ ได้ง่าย ไม่ต้องมานั่งเขียน conditional statement ใหม่ทุกครั้งที่อยากให้เกิดอะไรขึ้น
    • loop มี 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน คือ FOR, WHILE และ DO...WHILE
  2. นี่คือชนิด loop ที่ใช้บ่อยและมีประโยชน์ที่สุด การทำงานคือจะใช้ฟังก์ชั่นนั้นๆ ไปเรื่อยๆ จนได้เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ใน FOR loop โดย FOR loop จะมี 3 เงื่อนไขด้วยกัน คือ การ initialize (กำหนดค่าเริ่มต้น) ตัวแปร, เงื่อนไขที่ต้องการ และลักษณะการอัพเดทตัวแปร ถึงไม่อยากใช้เงื่อนไขพวกนี้ ก็ต้องเว้นที่ว่างและใส่ semicolon ไว้ ไม่งั้น loop จะวนไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด [3]
     #include 
     <stdio.h> 
      
     int 
     main 
     () 
     { 
     int 
     y 
     ; 
     for 
     ( 
     y 
     = 
     0 
     ; 
     y 
     < 
     15 
     ; 
     y 
     ++ 
     ;){ 
     printf 
     ( 
     "%d 
     \n 
     " 
     , 
     y 
     ); 
     } 
     getchar 
     (); 
     } 
    
    • ในโปรแกรมข้างบน y ถูกกำหนดเป็น 0 และจะวน loop ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ค่า y นั้นน้อยกว่า 15 แต่ละครั้งที่แสดงค่า y จะบวก 1 เพิ่มเข้าไปในค่า y แล้วก็วน loop พอค่า y = 15 ก็จะหยุด loop
  3. WHILE loop จะง่ายกว่า FOR loop เพราะมีเงื่อนไขเดียว และวน loop ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่เงื่อนไขยังจริง (true) คุณไม่ต้อง initialize หรืออัพเดทตัวแปร แต่ถ้าจะทำก็ทำได้ใน main body หรือเนื้อหาหลักของ loop
     #include 
     <stdio.h> 
      
     int 
     main 
     () 
     { 
     int 
     y 
     ; 
     while 
     ( 
     y 
     <= 
     15 
     ){ 
     printf 
     ( 
     "%d 
     \n 
     " 
     , 
     y 
     ); 
     y 
     ++ 
     ; 
     } 
     getchar 
     (); 
     } 
    
    • คำสั่ง y++ จะบวก 1 เข้าไปในตัวแปร y ทุกครั้งที่วน loop พอค่า y ครบ 16 (อย่างที่บอกว่าจะวน loop ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ค่า y น้อยกว่า หรือเท่ากับ 15) ก็จะหยุด loop
  4. . loop นี้มีประโยชน์มาก ถ้าอยากให้วน loop อย่างน้อย 1 ครั้ง ใน FOR กับ WHILE loop จะมีการเช็คเงื่อนไขก่อนวน loop แปลว่าถ้าไม่ผ่าน ก็ล้มเหลวทันที แต่ถ้าเป็น DO...WHILE loop จะตรวจสอบเงื่อนไขหลังวน loop ทำให้มีการวน loop อย่างน้อย 1 ครั้งแน่ๆ
     #include 
     <stdio.h> 
      
     int 
     main 
     () 
     { 
     int 
     y 
     ; 
     y 
     = 
     5 
     ; 
     do 
     { 
     printf 
     ( 
     "กำลังวน loop! 
     \n 
     " 
     ); 
     } 
     while 
     ( 
     y 
     != 
     5 
     ); 
     getchar 
     (); 
     } 
    
    • loop นี้จะแสดงข้อความอยู่ดีแม้เงื่อนไขจะเป็น FALSE ตัวแปร y จะถูกตั้งไว้ที่ 5 และ WHILE loop จะเริ่มก็ต่อเมื่อค่า y ไม่เท่ากับ 5 เพราะงั้น loop ก็จะหยุด ข้อความจะแสดงเพราะเงื่อนไขไม่ถูกเช็คจนกว่าจะวน loop จบ
    • WHILE loop ในเซ็ต DO...WHILE ต้องปิดท้ายด้วย semicolon ถือเป็นกรณีเดียวที่ปิดท้าย loop ด้วย semicolon
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 6:

ใช้ฟังก์ชั่น (Function)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟังก์ชั่น (function) เป็น block โค้ดที่สมบูรณ์ในตัวเอง ส่วนอื่นของโปรแกรมเรียกใช้ได้ คุณใช้ repeat หรือทำซ้ำโค้ดได้ง่ายมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้อ่านและเปลี่ยนแปลงโปรแกรมง่ายขึ้น คุณรวมทุกเทคนิคที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ไว้ในฟังก์ชั่นได้ กระทั่งฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่ยังไม่พูดถึง
    • บรรทัด main() ต้นตัวอย่างทั้งหมดที่ว่ามา ก็คือฟังก์ชั่นนี่แหละ getchar() ก็ด้วย
    • ฟังก์ชั่นสำคัญมาก ถ้าอยากเขียนโค้ดให้อ่านง่ายและมีประสิทธิภาพ แต่ต้องเลือกใช้ฟังก์ชั่นให้ดี โปรแกรมถึงจะทำงานได้ลื่นไหล
  2. จะดีกว่าถ้าสร้างฟังก์ชั่นโดยมีโครงร่างว่าอยากให้ออกมาเป็นยังไง แล้วค่อยเริ่มเขียนโค้ดจริง โดย syntax พื้นฐานของฟังก์ชั่นคือ "return_type name ( argument1, argument2, etc.);" ต่อไปนี้คือฟังก์ชั่นสำหรับบวกเลข 2 จำนวน
     int 
     add 
     ( 
     int 
     x 
     , 
     int 
     y 
     ); 
    
    • จะได้ฟังก์ชั่นที่บวกจำนวนเต็ม 2 จำนวน (x กับ y) เข้าด้วยกัน แล้วแสดงผลออกมาเป็นจำนวนเต็มเดียว
  3. คุณใช้ outline สร้างโปรแกรมที่เอา 2 จำนวนเต็มที่ผู้ใช้ป้อน มาบวกกันได้ โปรแกรมจะกำหนดว่าฟังก์ชั่น "add" (บวก) ทำงานยังไง แล้วใช้จัดการตัวเลขที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา
     #include 
     <stdio.h> 
      
     int 
     add 
     ( 
     int 
     x 
     , 
     int 
     y 
     ); 
     int 
     main 
     () 
     { 
     int 
     x 
     ; 
     int 
     y 
     ; 
     printf 
     ( 
     "พิมพ์เลข 2 จำนวนเพื่อหาผลบวก: " 
     ); 
     scanf 
     ( 
     "%d" 
     , 
     & 
     x 
     ); 
     scanf 
     ( 
     "%d" 
     , 
     & 
     y 
     ); 
     printf 
     ( 
     "ผลบวกของ 2 จำนวนที่คุณพิมพ์คือ %d 
     \n 
     " 
     , 
     add 
     ( 
     x 
     , 
     y 
     ) 
     ); 
     getchar 
     (); 
     } 
     int 
     add 
     ( 
     int 
     x 
     , 
     int 
     y 
     ) 
     { 
     return 
     x 
     + 
     y 
     ; 
     } 
    
    • outline จะยังอยู่ต้นโปรแกรม เพื่อใช้บอก compiler ว่าจะเกิดอะไรตอนเรียกใช้ฟังก์ชั่น และจะแสดงผลอะไร อันนี้เฉพาะกรณีที่คุณจะระบุฟังก์ชั่นนี้ในโปรแกรมทีหลัง ให้ใส่ add() ไว้หน้าฟังก์ชั่น main() โดยผลลัพธ์จะยังคงเดิม แม้ไม่มี outline
    • หน้าที่จริงๆ ของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดไว้ท้ายโปรแกรม โดยฟังก์ชั่น main() จะรวบรวมจำนวนเต็มต่างๆ จากผู้ใช้ แล้วส่งไปที่ฟังก์ชั่น add() เพื่อประมวลผล ต่อมาฟังก์ชั่น add() จะแสดงผลไปยัง main()
    • พอระบุ add() แล้ว ก็เรียกใช้ได้ทุกที่ในโปรแกรมเลย
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 6:

เรียนรู้เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาหนังสือเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C มาอ่านเพิ่มเติม. บทความวิกิฮาวนี้จะครอบคลุมแค่เรื่องพื้นฐาน ซึ่งรายละเอียดและขั้นตอนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C ยังมีอีกเยอะ (นี่แค่ผิวๆ) เพราะงั้นถ้ามีคู่มือดีๆ สักเล่ม จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ไม่ต้องงมโข่งเองจนปวดหัว
  2. มีทั้งไปพบปะพูดคุยกันตัวเป็นๆ และเว็บบอร์ดในโลกออนไลน์ เพื่อถามตอบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ อย่างในกรณีนี้ให้ลองพูดคุยกับโปรแกรมเมอร์ภาษา C ด้วยกัน แล้วแลกเปลี่ยนไอเดียกระทั่งแนะนำติชมโค้ดกัน รับรองว่าได้ความรู้และประสบการณ์ดีๆ แน่นอน
    • ถ้ามีโอกาสลองเข้าร่วม hack-a-thon (แข่งกันแฮกแบบมาราธอน) ดู มีทั้งแบบกลุ่มและเดียว โดยคุณต้องเขียนโปรแกรมหรือหาทางแก้โจทย์ตามเวลาที่กำหนด เป็นโอกาสให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ตามสะดวก แถมได้ผูกสัมพันธ์กับโปรแกรมเมอร์เทพๆ งาน hack-a-thon เดี๋ยวนี้ก็จัดกันหลายที่ทั่วโลกเลย
  3. ไม่ถึงขั้นต้องกลับไปเรียนปริญญาตรี 4 ปีเต็ม แค่ลงเรียนคอร์สสั้นๆ จะกี่คอร์สก็ตามที่สนใจ เท่านี้ก็ได้อะไรกลับมาแล้ว เพราะได้ประสบการณ์ตรงและเคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่เหมือนอ่านตำราเองอยู่แล้ว เดี๋ยวนี้มีเปิดสอนทั้งตามสถาบันเฉพาะ กระทั่งคอร์สออนไลน์
  4. พอเริ่มคุ้นเคยกับภาษา C แล้ว จะรออะไร ต่อยอดไปเรียนภาษา C++ เลย เพราะเป็นเวอร์ชั่นปัดฝุ่นแล้วของภาษา C บอกเลยว่าใช้ง่าย ยืดหยุ่นกว่าเดิมเยอะ ภาษา C++ นั้นเน้นการจัดการ object หรือวัตถุ ถ้ารู้ไว้ จะสร้างโปรแกรมของระบบปฏิบัติการต่างๆ ออกมาได้เจ๋งและโปรกว่า
  5. 5
    ศึกษาโปรเจกต์ Open Source ที่เขียนเป็นภาษา C. เมื่อคุณเข้าใจพื้นฐานการเขียนโปรแกรมเป็นภาษา C แล้ว ให้คุณศึกษาโปรเจกต์ใหญ่ๆ ที่เขียนเป็นภาษา C เพื่อดูว่าคนอื่นเขียนโค้ดเป็นภาษา C และวางโครงสร้างโปรเจกต์ที่เขียนเป็นภาษา C อย่างไรในชีวิตจริง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามใส่คอมเม้นท์ไว้ตามโค้ด เพราะนอกจากคนอื่นที่เห็น source code จะเข้าใจง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยเตือนความจำตัวเอง ว่าโค้ดนี้คืออะไร ใช้ทำอะไร ตอนเขียนสดๆ ร้อนๆ อาจจะยังจำได้อยู่ แต่ถ้าผ่านไป 2 - 3 เดือน โค้ดนั้นอาจกลายเป็นภาษาต่างดาวในสายตาคุณได้
  • อย่าลืมปิด statement อย่าง printf(), scanf(), getch() และอื่นๆ ด้วย semi-colon (;) แต่ห้ามใส่ต่อท้าย control statement อย่าง 'if', 'while' หรือ 'for' loop
  • เวลาเจอ syntax error ตอน compile ถ้าไปต่อไม่ถูก ให้เอาไปค้นใน Google (หรือ search engine อื่นๆ) ส่วนใหญ่จะเจอข้อมูลของคนที่เขาเคยประสบปัญหาเดียวกัน และหาทางแก้ได้แล้ว
  • source code ของคุณต้องใช้ extension หรือนามสกุลไฟล์เป็น *.c ตัว compiler จะได้รู้ว่าไฟล์นั้นเป็น source file ของภาษา C
  • มีแต่การฝึกเขียนโค้ดเป็นประจำเท่านั้น ที่ทำให้คุณเก่งขึ้นได้ ยิ่งฝึกสร้างโปรแกรมและหาความรู้เพิ่มเติม โปรแกรมที่ออกมาก็จะสวยหรูดูโปรขึ้นเรื่อยๆ ให้เริ่มจากโปรแกรมเล็กๆ ง่ายๆ ก่อน พอเริ่มจับทางได้ มั่นใจพอ ก็ค่อยขยับขยายไปสร้างโปรแกรมใหญ่ๆ ที่ซับซ้อนต่อไป
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่อง logic building หรือตรรกะเวลาเขียนโค้ด เพราะจะช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วแม่นยำขึ้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 34,757 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา