ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์คือผลต่างระหว่างค่าที่วัดได้และค่าจริง [1] การหาค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เป็นวิธีเดียวที่นำค่าความคลาดเคลื่อนมาพิจารณาเพื่อวัดความแม่นยำของค่าต่างๆ ถ้าเรารู้ค่าจริงและค่าที่วัดได้ เราก็แค่นำสองค่านี้มาลบกันเพื่อหาค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ อย่างไรก็ตามบางครั้งโจทย์ไม่ให้ค่าจริงมา ในกรณีนี้เราควรใช้ค่าความคลาดเคลื่อนที่เป็นไปได้สูงสุดเป็นค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ [2] ถ้าเรารู้ค่าจริงและค่าความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ เราสามารถคำนวณย้อนกลับได้เพื่อหาค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้ค่าจริงและค่าที่วัดได้หาค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สูตรคือ โดย คือค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (ผลต่างหรือค่าความแตกต่างระหว่างค่าที่วัดได้และค่าจริง) คือค่าที่วัดได้และ คือค่าจริง [3]
  2. โจทย์ควรจะให้ค่าจริงมา ถ้าโจทย์ไม่ได้ให้มา ให้ใช้ค่าที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน นำค่าจริงมาแทนที่
    • ตัวอย่างเช่น เรากำลังวัดความยาวของสนามอเมริกันฟุตบอล เรารู้ว่าความยาวจริงหรือความยาวซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ของสนามอเมริกันฟุตบอลคือ 360 ฟุต (ประมาณ 110 เมตร) ฉะนั้นเราจะใช้ 360 เป็นค่าจริง เมื่อแทนค่าลงไปในสูตร ก็จะได้เป็น
  3. โจทย์จะให้ค่าที่วัดได้หรือเราอาจต้องลงมือวัดด้วยตัวเอง นำค่าที่วัดได้แทนที่
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราวัดความยาวของสนามอเมริกันฟุตบอลได้ 357 ฟุต (ประมาณ 109 เมตร) เราจะใช้ 357 เป็นค่าที่วัดได้ เมื่อแทนลงไปในสูตร ก็จะได้เป็น
  4. เนื่องจากค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เป็นบวกเสมอ ผลต่างที่ได้คือค่าสัมบูรณ์ ไม่ต้องสนใจเครื่องหมายลบที่มีอยู่ การนำค่าจริงมาลบออกจากค่าที่วัดได้จะทำให้เราได้ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์
    • ในตัวอย่างเดิมเนื่องจาก ฉะนั้นค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์คือ 3 ฟุต (ประมาณ 1 เมตร)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ค่าจริงและค่าความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์หาค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สูตรหาค่าความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์คือ โดย คือค่าความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ (อัตราส่วนของค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ต่อค่าจริง) คือค่าที่วัดได้ และ คือค่าจริง [4]
  2. ค่าความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์มักจะเป็นทศนิยม นำค่าความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์มาแทนที่
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าค่าความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์คือ 0.025 เมื่อแทนค่าลงไปในสูตร ก็จะมีหน้าตาเป็นแบบนี้:
  3. โจทย์ควรจะให้ค่าจริงมา นำค่าจริงมาแทนที่
    • จากตัวอย่างที่ยกมาเรารู้ว่าค่าจริงคือ 360 ฟุต เมื่อแทนค่าลงไปในสูตร ก็จะมีหน้าตาเป็นแบบนี้:
  4. เมื่อนำค่าจริงมาคูณแต่ละข้างของสมการ จะทำให้เศษส่วนหายไป
    • จากตัวอย่างที่ยกมา:


  5. การนำค่าจริงมาบวกแต่ละข้างของสมการจะทำให้เราได้ค่าของ หรือได้ค่าที่วัดได้ออกมา
    • จากตัวอย่างที่ยกมา:


  6. เนื่องจากค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เป็นบวกเสมอ ผลต่างที่ได้คือค่าสัมบูรณ์ ไม่ต้องสนใจเครื่องหมายลบที่มีอยู่ เมื่อนำค่าจริงไปลบออกจากค่าที่วัดได้ เราก็จะได้ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์
    • จากตัวอย่างที่ยกมาค่าที่วัดได้คือ 369 ฟุต (ประมาณ 112 เมตร) นำค่าจริงไปลบออกจากค่าที่วัดได้ ฉะนั้นค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์คือ 9 ฟุต (ประมาณ 2.7 เมตร)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้ค่าความคลาดเคลื่อนที่เป็นไปได้สูงสุดหาค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โจทย์อาจบอกอย่างชัดเจนว่านี้คือค่า “ที่ใกล้เคียงที่สุด” (ตัวอย่างเช่น วัดความยาวของตึกนี้ได้ค่าที่ใกล้เคียงที่สุดในหน่วยฟุต) แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น แค่ดูว่าค่าวัดถูกประมาณเป็นจำนวนเต็มหลักใดเพื่อจะได้รู้หน่วยวัด
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าวัดความยาวของตึกแห่งหนึ่งได้ 357 ฟุต แสดงว่าความยาวของตึกแห่งนี้ได้รับการประมาณเป็นค่าใกล้เคียงในหน่วยฟุตแล้ว ฉะนั้นหน่วยวัดของโจทย์นี้คือหน่วยฟุต
  2. ค่าความคลาดเคลื่อนที่เป็นไปได้สูงสุดคือ [5] เราอาจเห็นค่าความคลาดเคลื่อนที่เป็นไปได้สูงสุดอยู่ในรูปแบบ ตัวเลข
    • จากตัวอย่างที่ยกมาถ้าหน่วยวัดคือฟุต ค่าความคลาดเคลื่อนที่เป็นไปได้สูงสุดคือ 0.5 ฟุต (ประมาณ 0.15 เมตร) ฉะนั้นเราอาจเห็นความยาวของตึกอยู่ในรูป หมายความว่าความยาวจริงของตึกอาจน้อยกว่า 0.5 ฟุต หรือมากกว่า 0.5 ฟุตก็ได้ ถ้าค่าจริงน้อยกว่าหรือมากกว่า ค่าที่วัดได้ก็คงจะเป็น 356 หรือ 358 ฟุต (ประมาณ 108.5 หรือ 109 เมตร)
  3. นำค่าความคลาดเคลื่อนที่เป็นไปได้สูงสุดมาเป็นค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์. [6] เนื่องจากค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เป็นบวกเสมอ ผลต่างที่ได้คือค่าสัมบูรณ์ ไม่ต้องสนใจเครื่องหมายลบที่มีอยู่ เราก็จะได้ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์
    • จากตัวอย่างที่ยกมาถ้าเราวัดความยาวของตึกได้ ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์คือ 0.5 ฟุต
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าโจทย์ไม่ให้ค่าจริงมา หาค่าที่ยอมรับได้หรือค่าทางทฤษฎี
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,344 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา