ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การหาผู้เขียนของเว็บไซต์นั้นสำคัญมากถ้าคุณกำลังเขียนรายงานหรือโครงงานที่ต้องใส่อ้างอิง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในส่วนนี้อาจหาได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเว็บไซต์ที่คุณอ่านอยู่ไม่ได้เป็นเว็บไซต์บทความโดยเฉพาะ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีหลายๆ ที่ที่คุณสามารถเข้าไปหาผู้เขียนได้ แต่ถ้าหาไม่เจอ คุณก็สามารถอ้างอิงหน้าเว็บได้เช่นกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

หาผู้เขียนของเว็บไซต์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายๆ เว็บไซต์ที่จ้างนักเขียนประจำและนักเขียนสมทบมักจะแสดงชื่อผู้เขียนที่ด้านบนสุดหรือล่างสุดของบทความนั้นๆ จึงเป็นที่แรกที่คุณควรจะมองหาชื่อผู้เขียน
  2. เว็บไซต์บางแห่งจะแสดงชื่อผู้เขียนถัดจากข้อมูลลิขสิทธิ์ที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ ซึ่งก็อาจแสดงเป็นชื่อของบริษัทที่ควบคุมเว็บไซต์ ไม่ใช่ชื่อของผู้เขียนจริงๆ
  3. ถ้าหน้าเว็บที่คุณกำลังดูอยู่ไม่มีชื่อผู้เขียนและเป็นเว็บที่เชื่อถือได้ เว็บนั้นก็อาจแสดงการให้สิทธิ์ของบริษัทหรือหน่วยงานที่ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งสามารถใช้เป็นผู้เขียนแทนได้ถ้าเว็บไม่แสดงชื่อผู้เขียนที่เฉพาะเจาะจง
  4. ถ้าคุณหาข้อมูลการติดต่อของเว็บไซต์ไม่เจอ คุณสามารถลองส่งอีเมลไปถามชื่อผู้เขียนของหน้าเว็บหรือบทความนั้นๆ ได้ และถึงแม้จะไม่มีอะไรรับประกันว่าคุณจะได้อีเมลตอบกลับ แต่มันก็คุ้มที่จะลองดู
  5. นำข้อความส่วนหนึ่งไปหาใน Google เพื่อหาผู้เขียนต้นฉบับ. ถ้าคุณกำลังอ่านเว็บไซต์ที่ไม่มีจรรยาบรรณ เว็บไซต์นั้นก็อาจกำลังแสดงข้อมูลที่คัดลอกมาจากแหล่งที่มาอื่นๆ ให้คัดลอกและวางข้อความสักย่อหน้าหนึ่งลงใน Google เพื่อค้นหาผู้เขียนต้นฉบับ
  6. WHOIS เป็นฐานข้อมูลของการลงทะเบียนเว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถใช้ WHOIS เพื่อสาวไปถึงเจ้าของเว็บไซต์ได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลเสมอไปเพราะเจ้าของเว็บไซต์ก็มักจะไม่ใช่ผู้เขียน และเจ้าของเว็บไซต์และบริษัทต่างๆ ก็มักจะใช้บริการด้านความเป็นส่วนตัวเพื่อปกปิดข้อมูลเช่นกัน [1]
    • เข้าไปที่ whois.icann.org แล้วใส่ที่อยู่เว็บไซต์ลงในช่องค้นหา
    • มองหาข้อมูล "การติดต่อผู้ลงทะเบียน" เพื่อหาว่าใครลงทะเบียนโดเมนนั้นไว้ นอกจากนี้คุณยังสามารถติดต่อกับเจ้าของเว็บไซต์ผ่านพร็อกซีอีเมลถ้าข้อมูลการลงทะเบียนถูกปิดกั้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

อ้างอิงเว็บไซต์โดยไม่ต้องใช้ชื่อผู้เขียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณต้องมีชื่อบทความหรือชื่อของหน้าเว็บในอยู่ส่วนที่ใช้อ้างอิง แม้ว่าจะเป็นโพสต์ของบล็อกก็ต้องมีชื่อ
  2. นอกจากชื่อบทความแล้ว คุณยังต้องมีชื่อของเว็บไซต์ด้วย ตัวอย่างเช่น ชื่อบทความนี้ชื่อ "วิธีการหาผู้เขียนของเว็บไซต์" และชื่อเว็บไซต์คือ "wikiHow"
  3. ผู้เผยแพร่คือบริษัท องค์กร ผู้ที่จัดทำเว็บไซต์ หรือผู้ที่สนับสนุนเว็บไซต์ ซึ่งอาจไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากชื่อเว็บไซต์เลย แต่ก็ควรตรวจสอบก่อน เช่น องค์การอนามัยอาจมีเว็บไซต์แยกต่างหากสำหรับสุขภาพหัวใจ เป็นต้น
  4. หาวันที่ที่หน้าเว็บหรือบทความนั้นๆ ถูกเผยแพร่. บางครั้งการหาวันที่เผยแพร่ก็อาจเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าสามารถคุณก็ควรพยายามหาวันที่เผยแพร่เสมอ
  5. ถ้าบทความหรือการเผยแพร่นั้นๆ มีหลายฉบับหรือหลายเวอร์ชัน ให้จดหมายเลขเอาไว้เพื่อใช้อ้างอิงแบบ MLA
  6. คุณอาจต้องใช้ URL ของหน้าเว็บหรือบทความ ขึ้นอยู่กับวิธีอ้างอิงที่คุณใช้และแนวทางของผู้สอน
    • สำหรับ MLA7 นั้นไม่ต้องใส่ URL เพื่ออ้างอิงเว็บไซต์แล้ว แค่มีชื่อเว็บไซต์และชื่อหน้าเว็บก็เพียงพอ ถ้าคุณใช้วิธีอ้างอิงแบบ MLA ให้ถามอาจารย์อีกครั้งหนึ่ง [2]
  7. ใช้ DOI (ตัวระบุวัตถุดิจิทัล) สำหรับวารสารวิชาการ (APA). ถ้าคุณจะอ้างอิงวารสารวิชาการออนไลน์ ให้ใส่ DOI แทน URL เพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้อ่านจะหาบทความเจอแม้ URL จะเปลี่ยนไป: [3]
    • สำหรับการเผยแพร่ส่วนใหญ่นั้น คุณจะสามารถพบ DOI ได้ที่ด้านบนสุดของบทความ คุณอาจต้องกดปุ่ม "บทความ" หรือปุ่มที่มีชื่อของผู้เผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการเปิดบทความเต็มที่มี DOI อยู่ด้านบนสุด
    • คุณสามารถค้นหา DOI ได้โดยใช้การค้นหาของ CrossRef ( crossref.org ) ให้ใส่ชื่อบทความหรือชื่อผู้เขียนเพื่อหา DOI
  8. ตอนนี้คุณได้รวบรวมทุกอย่างเท่าที่ทำได้แล้ว และถึงแม้จะไม่มีชื่อผู้เขียนก็ตาม คุณก็ยังคงพร้อมแล้วที่จะจัดทำอ้างอิงขึ้น ให้ใช้รูปแบบด้านล่างในการจัดทำ โดยให้ข้ามชื่อผู้เขียนไปถ้าคุณหาไม่เจอ: [4]
    • MLA : ผู้เขียน <นามสกุล, ชื่อ>. "ชื่อบทความ." ชื่อเว็บไซต์. ลำดับเวอร์ชัน. ผู้เผยแพร่เว็บไซต์, วันที่เผยแพร่. เว็บ. วันที่เข้าถึง. [5]
      • ใช้ "ม.ป.ท." ถ้าไม่ปรากฏผู้แผยแพร่ และ "ม.ป.ป." ถ้าไม่ปรากฏวันที่เผยแพร่
    • APA : ผู้เขียน <นามสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อ>. ชื่อบทความ. (วันที่เผยแพร่). ชื่อเว็บไซต์, ฉบับที่, หน้าที่อ้างอิง. ค้นหาจาก <URL เต็มหรือ DOI> [6]
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,388 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา