PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การหารด้วยตัวหารที่มีสองหลักเหมือนกับการหารด้วยตัวหารที่มีเลขหลักเดียวมาก แต่ต้องใช้เวลานานกว่าและต้องฝึกฝนเสียหน่อย พวกเราส่วนใหญ่ก็ไม่นิยมจำสูตรคูณหลายแม่ เมื่อต้องหารด้วยตัวหารที่มีสองหลัก จึงอาจต้องมีการคาดคะเนกันสักหน่อย แต่ก็มีกลวิธีที่ช่วยให้เราสามารถหารได้เร็วขึ้น เราจะหารด้วยตัวหารที่มีสองหลักได้ง่ายขึ้น ถ้าฝึกฝน ฉะนั้นอย่าท้อใจ ถ้าดูเหมือนหารได้ช้าในตอนแรก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

หารด้วยตัวหารที่มีสองหลัก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราจะหารโดยใช้วิธีหารยาว ขั้นตอนแรกก็เหมือนกับการหารทั่วไป คือเริ่มด้วยการดูที่ตัวเลขแรกของตัวตั้งหารก่อนและถามว่า “เลขตัวแรกของตัวตั้งหารสามารถหารตัวหารได้ไหม”
    • สมมติว่าเรากำลังหาคำตอบของ 3472 ÷ 15 ถามว่า "3 หาร 15 ได้ไหม" เนื่องจาก 15 มีค่ามากกว่า 3 เยอะทีเดียว คำตอบคือ "หารไม่ได้" เราจึงต้องทำขั้นตอนต่อไป
  2. เพราะเลขตัวแรกของตัวตั้งหารไม่สามารถหารเลขสองหลักของตัวหารได้ เราจึงต้องมาดูที่เลขสองตัวแรกของตัวตั้งหารแทนเหมือนที่ทำเวลาตั้งหารปกติ ถ้าดูเลขสองตัวแรกแล้วไม่สามารถหารได้อีก เราก็จะต้องดูเลขสามตัวแรกของตัวตั้งหารแทน แต่ในตัวอย่างนี้ไม่ต้องทำถึงขั้นนั้น
    • 34 หาร 15 ได้ไหม คำตอบคือได้ ฉะนั้นจึงเริ่มการหารได้เสียที (ตัวหารจะต้องน้อยกว่าตัวตั้งหาร ถึงจะสามารถหารได้)
  3. หาสิว่าตัวหารต้องคูณกับตัวเลขใดถึงจะเท่ากับตัวตั้งหาร เราอาจรู้คำตอบอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่รู้คำตอบล่ะก็ พยายามคาดคะเนดูและตรวจคำตอบด้วยการคูณ
    • เราต้องหาคำตอบของ 34 ÷ 15 หรือ "15 ต้องคูณกับตัวเลขใดถึงจะได้ 34" เรากำลังมองหาตัวเลขที่สามารถคูณกับ 15 แล้วได้ตัวเลขที่น้อยกว่า 34 แต่ให้ใกล้เคียงมากที่สุด
      • นำ 1 มาคูณกับ 15 ดูซิ 15 x 1 = 15 น้อยกว่า 34 ก็จริงแต่ให้เก็บคำตอบนี้ไว้ก่อน
      • นำ 2 มาคูณกับ 15 ดูซิ 15 x 2 = 30 ก็ยังน้อยกว่า 34 แต่การคูณกับ 2 นั้นได้คำตอบใกล้เคียงกว่าการคูณกับ 1
      • นำ 3 มาคูณกับ 15 ดูซิ 15 x 3 = 45 มากกว่า 34 เยอะเลยทีเดียว! ฉะนั้นคำตอบคือ 2
  4. ถ้าเราใช้วิธีหารยาว ก็ต้องเขียนตัวเลขนี้ไว้เหนือตัวตั้ง
    • ฉะนั้นหลังจากนำ 34 ÷ 15 แล้ว เขียนคำตอบซึ่งก็คือ 2 ไว้เหนือ "4"
  5. ทำเหมือนการหารยาวตามปกติ เพียงแต่ว่าตัวหารของเราเป็นเลขสองหลัก
    • คำตอบคือ 2 และตัวหารในตัวอย่างนี้คือ 15 ฉะนั้นนำ 2 x 15 = 30 เขียน "30" ใต้ "34"
  6. พอเขียนผลคูณไว้ใต้ตัวตั้งหารแล้ว (หรือบางส่วนของตัวตั้งหาร) นำตัวตั้งหารลบกับผลคูณและเขียนคำตอบไว้ที่ใต้ผลคูณนั้น
    • พอได้คำตอบจากการนำ 34 – 30 แล้ว เขียนคำตอบนั้นไว้ใต้ผลคูณ คำตอบนั้นคือ 4 ซึ่งเป็น "เศษที่เหลืออยู่" หลังจากนำ 15 มาลบออกจาก 34 สองครั้ง เราจะต้องใช้ตัวเลขนี้ในขั้นตอนถัดไป
  7. เราจะต้องดึงเลขตัวต่อไปลงมาเพื่อที่จะได้หารต่อไปได้จนกว่าจะไม่เหลือตัวเลขให้หารแล้ว เหมือนการหารธรรมดาทั่วไป
    • ปล่อย 4 ทิ้งไว้ที่เดิมและดึง "7" จาก "3472" ลงมาใส่ไว้หลัง 4 ก็จะได้ 47
  8. ทำซ้ำขั้นตอนข้างต้นอีกครั้งเพื่อจะได้สามารถหารตัวเลขได้ เราอาจลองใช้การคาดเดาอีกครั้งเพื่อหาคำตอบก็ได้
    • คราวนี้เราจะมาหาผลหารของ 47 ÷ 15
      • 47 นั้นเป็นตัวเลขที่เยอะกว่าตัวเลขก่อนหน้านี้ ฉะนั้นอาจต้องใช้ตัวคูณที่มีค่ามากกว่านี้ ลองใช้สี่คูณสิบห้าดู 15 x 4 = 60 ก็จะเห็นว่าใช้หกสิบไม่ได้เพราะมันมีค่ามากกว่าสี่สิบเจ็ด!
      • เราต้องลดตัวคูณลงแทน 15 x 3 = 45 ตัวเลขที่ได้มีค่าน้อยกว่า 47 และก็ใกล้เคียง ตัวเลขนี้ใช้ได้
      • ใส่ 3 ไว้เหนือตัวตั้ง โดยใส่ตัวเลขนี้ไว้ให้ตรงกับ "7"
    • (ถ้าตัวเลขที่มีค่าน้อยกว่าหารตัวเลขที่มีค่ามากกว่าอย่าง 13 ÷ 15 เราจะต้องนำตัวเลขอีกตัวลงมาเพื่อให้ได้ตัวเลขที่มีค่ามากกว่าก่อนที่จะลงมือหาร)
  9. กลับมาที่การหารยาวซึ่งเราค้างไว้ก่อนหน้านี้ นำคำตอบที่หารได้มาคูณกับตัวหาร เขียนผลคูณไว้ใต้ตัวตั้งหารและนำตัวตั้งลบกับผลคูณนั้น
    • จำได้ไหม 47 ÷ 15 = 3 ฉะนั้นตอนนี้เหลือแค่นำตัวเลขมาลบกัน
    • 3 x 15 = 45 ให้เขียน "45" ไว้ใต้ 47
    • นำตัวเลขทั้งสองมาลบกัน 47 - 45 = 2 เขียน "2" ไว้ใต้ 45
  10. เราจะดึงเลขตัวถัดไปของตัวตั้งลงมาเพื่อจะได้สามารถนำตัวตั้งหารตัวหารได้ ทำซ้ำขั้นตอนข้างต้นจนกว่าจะได้ตัวเลขที่เป็นคำตอบ
    • เราต้องหาคำตอบของ 2 ÷ 15 ต่อไป ตอนนี้ 2 มีค่าน้อยกว่า ก็ไม่สามารถหาร 15 ได้
    • ดึงเลขตัวถัดไปของตัวตั้งลงมา ก็จะได้เป็น 22 ÷ 15
    • 15 แค่ตัวเดียวถึงจะมีค่าใกล้เคียง 22 ฉะนั้นเขียน "1" ไว้เหนือตัวตั้ง
    • ผลหารของเราคือ 231
  11. นำผลคูณที่ได้ไปลบออกเพื่อจะได้เศษที่เหลือจากการหาร จากนั้นเราก็จะเสร็จขั้นตอนการหารตัวหารที่มีสองหลัก ถ้าลบกันแล้วได้ 0 เราก็ไม่ต้องเขียนเศษที่เหลือ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

คาดคะเนตัวเลข

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรู้ว่าตัวหารซึ่งเป็นเลขสองหลักต้องคูณกับตัวเลขใดถึงจะได้เท่ากับตัวตั้งหารนั้นไม่ง่ายดายเสมอไป การหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็ม 10 จะทำให้เราเดาตัวเลขได้ง่ายขึ้น วิธีนี้สามารถใช้ได้กับการหารตัวเลขที่มีค่าไม่มากนักหรือการหารยาวบางช่วงบางตอน
    • ตัวอย่างเช่น เรากำลังหาคำตอบของ 143 ÷ 27 แต่เราไม่จำเป็นต้องเดาว่า 27 คูณกับตัวเลขใด ถึงจะได้ 143 ให้เรามาหาคำตอบของ 143 ÷ 30 แทน
  2. ในตัวอย่างของเราจะเริ่มการบวกทีละ 30 แทนการบวกทีละ 27 การบวกทีละ 30 ง่ายกว่าการบวกทีละ 27 มากทีเดียว เมื่อบวกทีละ 30 ก็จะได้ 30, 60, 90, 120 และ 150
    • ถ้าเห็นว่าการบวกทีละสามสิบยังเยอะเกินไป บวกทีละสามก็ได้แล้วค่อยใส่ 0 ตอนหลัง
    • ให้บวกไปจนกว่าจะได้ตัวเลขที่มีค่ามากกว่าตัวตั้ง (143) จากนั้นจึงหยุด
  3. คำตอบที่ได้ไม่ตรงกับ 143 เลย แต่เราก็ได้คำตอบที่ใกล้เคียงมาสองคำตอบคือ 120 และ 150 ลองนับนิ้วเพื่อจะได้รู้ว่าต้องใช้กี่นิ้วถึงจะได้คำตอบเหล่านั้น
    • 30 (หนึ่งนิ้ว) 60 (สองนิ้ว), 90 (สามนิ้ว), 120 (สี่นิ้ว) ฉะนั้น 30 x สี่ = 120
    • 150 (ห้านิ้ว) ฉะนั้น 30 x ห้า = 150
    • 4 และ 5 น่าจะเป็นคำตอบของการหารนี้
  4. คราวนี้เราได้ลองเดาคำตอบอย่างมีหลักการดูแล้ว ลองนำตัวเลขนี้มาตรวจคำตอบว่าเป็นผลหารของ 143 ÷ 27 หรือไม่
    • 27 x 4 = 108
    • 27 x 5 = 135
  5. ตรวจให้มั่นใจว่าไม่มีตัวเลขไหนใกล้เคียงกว่านี้แล้ว. เนื่องจากผลคูณที่ได้ต้องน้อยกว่า 143 อาจลองคูณเลขเพิ่มอีกสักตัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีตัวเลขใดใกล้เคียงกว่านี้แล้ว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าไม่อยากใช้การนับมือช่วยในการคูณตอนที่กำลังหารยาว พยายามกระจายตัวเลขและหาคำตอบแต่ละส่วนในใจ ตัวอย่างเช่น 14 x 16 = (14 x 10) + (14 x 6) เขียนลงไปว่า 14 x 10 = 140 เราจะได้ไม่ลืม จากนั้นหาคำตอบของ 14 x 6 = (10 x 6) + (4 x 6) ส่วนแรกคือ 10 x 6 = 60 และอีกส่วนคือ 4 x 6 = 24 นำทั้งหมดมาบวกกัน ก็จะได้140 + 60 + 24 = 224
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้า ณ จุดใดจุดหนึ่งผลลบมีค่ามากกว่าตัวหาร แสดงว่าเราคาดคะเนตัวเลขผิด ให้เริ่มขั้นตอนใหม่และลองคาดคะเนเป็นตัวเลขที่มากกว่านี้
  • ถ้า ณ จุดใดจุดหนึ่งผลลบมีค่าเป็น ลบ แสดงว่าเราคาดคะเนตัวเลขผิด ให้เริ่มขั้นตอนใหม่และลองคาดคะเนเป็นตัวเลขที่น้อยกว่านี้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 131,982 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา