ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีวิธีการมากมายที่จะสามารถนำมาใช้หาค่า x ได้ ไม่ว่าค่านั้นจะอยู่ในรูปเลขยกกำลังและติดกรณฑ์ หรืออยู่ในโจทย์หารและคูณธรรมดา ไม่ว่าเราจะเจอสมการแบบไหน เราจะต้องหาวิธีการแยกค่า x ให้ออกมาอยู่ที่สมการข้างใดค่าหนึ่งเสียก่อนแล้วค่อยหาค่าของมัน บทความนี้จะบอกวิธีการหาค่า x ในสมการแบบต่างๆ ให้รู้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

หาค่า x ในสมการเชิงเส้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี้คือตัวอย่างสมการของเรา
    • 2 2 (x+3) + 9 - 5 = 32
  2. จำลำดับการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้ไหม PEMDAS นั้นมาจากวงเล็บ (Parentheses) เลขชี้กำลัง (Exponents) คูณหรือหาร (Multiplication/Division) และบวกหรือลบ (Addition/Subtraction) แต่คราวนี้เราไม่สามารถคำนวณตัวเลขในวงเล็บก่อนได้ จึงต้องมาเริ่มที่เลขชี้กำลังก่อน 2 2 . 2 2 = 4
    • 4(x+3) + 9 - 5 = 32
  3. นำ 4 เข้าไปคูณ (x +3) ก็จะได้สมการตามนี้
    • 4x + 12 + 9 - 5 = 32
  4. บวกหรือลบตัวเลขที่เหลือ นี้คือตัวอย่างการบวกหรือลบเลข
    • 4x+21-5 = 32
    • 4x+16 = 32
    • 4x + 16 - 16 = 32 - 16
    • 4x = 16
  5. ในตัวอย่างนี้เราจะหารสมการทั้งสองข้างด้วย 4 เพื่อหาค่า x ก็จะได้ 4x/4 = x และ 16/4 = 4 ฉะนั้น x = 4
    • 4x/4 = 16/4
    • x = 4
  6. นำ 4 มาแทน x ในสมการแรกเพื่อเป็นการตรวจคำตอบ นี้คือตัวอย่างการตรวจคำตอบ
    • 2 2 (x+3)+ 9 - 5 = 32
    • 2 2 (4+3)+ 9 - 5 = 32
    • 2 2 (7) + 9 - 5 = 32
    • 4(7) + 9 - 5 = 32
    • 28 + 9 - 5 = 32
    • 37 - 5 = 32
    • 32 = 32
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

หาค่า x ที่มีตัวเลขชี้กำลัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คราวนี้เราจะมาหาค่า x ที่มีตัวเลขชี้กำลัง
    • 2x 2 + 12 = 44
  2. อย่างแรกที่เราต้องทำคือรวมพจน์ที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน ฉะนั้นพจน์ที่เป็นค่าคงที่จะอยู่ด้านขวาของสมการและพจน์ที่มีเลขชี้กำลังจะอยู่ด้านซ้ายของสมการ นำ 12 ไปลบออกทั้งสองข้าง ลองดูตัวอย่างของเรา
    • 2x 2 +12-12 = 44-12
    • 2x 2 = 32
  3. ทำให้เหลือตัวแปรแค่ตัวเดียวด้วยการนำสัมประสิทธิ์ของพจน์ x ไปหารทั้งสองข้าง. ในตัวอย่างนี้ 2 คือสัมประสิทธิ์ของ x ฉะนั้นหารสมการทั้งสองข้างด้วย 2 เพื่อให้ข้างหนึ่งเหลือตัวแปรแค่ตัวเดียว มาดูที่ตัวอย่างของเรา
    • (2x 2 )/2 = 32/2
    • x 2 = 16
  4. การใส่เครื่องหมายกรณฑ์ให้กับ x 2 จะทำให้เหลือตัวแปรแค่ตัวเดียว ฉะนั้นใส่เครื่องหมายกรณฑ์ให้กับสมการทั้งสองข้าง เราก็จะเหลือ x แค่ตัวเดียวและรากที่สองของ 16 คือ 4 ฉะนั้น x = 4
  5. นำ 4 ไปแทนค่า x ในสมการแรกเพื่อตรวจคำตอบ มาดูตัวอย่างการตรวจคำตอบของสมการนี้
    • 2x 2 + 12 = 44
    • 2 x (4) 2 + 12 = 44
    • 2 x 16 + 12 = 44
    • 32 + 12 = 44
    • 44 = 44
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

หาค่า x ที่อยู่ในรูปเศษส่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมมติว่าเรากำลังต้องการหาค่าของตัวแปรในสมการนี้ [1]
    • (x + 3)/6 = 2/3
  2. คูณไขว้. ในการคูณไขว้นำตัวส่วนของเศษส่วนตัวหนึ่งไปคูณตัวเศษของเศษส่วนอีกตัวหนึ่ง พูดอีกอย่างก็คือเราจะคูณทแยงสองครั้ง ฉะนั้นนำตัวส่วนของเศษส่วนตัวแรกซึ่งก็คือ 6 ไปคูณกับตัวเศษของเศษส่วนตัวที่สองซึ่งก็คือ 2 ก็จะได้ 12 ที่ด้านขวาของสมการ นำตัวส่วนของเศษส่วนตัวที่สองซึ่งก็คือ 3 ไปคูณกับตัวเศษของเศษส่วนตัวแรกซึ่งก็คือ x + 3 ก็จะได้ 3 x + 9 ที่ด้านซ้ายของสมการ มาดูตัวอย่างของเรากัน
    • (x + 3)/6 = 2/3
    • 6 x 2 = 12
    • (x + 3) x 3 = 3x + 9
    • 3x + 9 = 12
  3. นำพจน์ที่เป็นค่าคงที่มาไว้ข้างเดียวกันด้วยการนำ 9 มาลบออกทั้งสองข้าง ผลที่ได้ตามตัวอย่าง
    • 3x + 9 - 9 = 12 - 9
    • 3x = 3
  4. ทำให้เหลือ x แค่ตัวเดียวด้วยการนำสัมประสิทธิ์ของพจน์ x ไปหารทั้งสองข้าง. แค่หาร 3x และ 9 ด้วย 3 หลังจากนำสัมประสิทธิ์ของพจน์ x มาหารทั้งสองข้าง ผลที่ได้คือ 3x/3 = x และ 3/3 = 1 ฉะนั้น x = 1
  5. ในการตรวจคำตอบให้นำค่า x แทนลงไปในสมการแรก มาดูตัวอย่างการตรวจคำตอบกัน
    • (x + 3)/6 = 2/3
    • (1 + 3)/6 = 2/3
    • 4/6 = 2/3
    • 2/3 = 2/3
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

หาค่า x ที่ติดเครื่องหมายกรณฑ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมมติว่าเรากำลังหาค่า x ในตัวอย่างต่อไปนี้ [2]
    • √(2x+9) - 5 = 0
  2. เราต้องทำให้สมการข้างหนึ่งเหลือแค่จำนวนในเครื่องหมายกรณฑ์ก่อนที่จะทำขั้นตอนต่อไป ฉะนั้นจึงต้องนำ 5 ไปบวกเพิ่มทั้งสองข้าง มาลองดูตัวอย่างกัน
    • √(2x+9) - 5 + 5 = 0 + 5
    • √(2x+9) = 5
  3. ก่อนที่จะนำสัมประสิทธิ์ของพจน์ x มาหารทั้งสองข้าง ถ้าเห็นวาค่า x อยู่ในเครื่องหมายกรณฑ์ เราต้องนำสมการมายกกำลังสองทั้งสองข้าง ถึงจะเอาเครื่องหมายกรณฑ์ออกได้ ลองดูวิธีการทำจากตัวอย่างของเรา
    • (√(2x+9)) 2 = 5 2
    • 2x + 9 = 25
  4. นำพจน์ที่เหมือนกันมาไว้ด้วยกันโดยการนำ 9 ไปลบออกจากสมการทั้งสองข้าง ก็จะเหลือพจน์ที่เป็นค่าคงที่ด้านขวาของสมการ และเหลือ x ที่ด้านซ้ายของสมการ มาดูตัวอย่างของเรากัน
    • 2x + 9 - 9 = 25 - 9
    • 2x = 16
  5. ขั้นตอนสุดท้ายที่เราต้องทำเพื่อหาค่า X คือทำให้เหลือตัวแปรตัวเดียว นำ 2 ซึ่งเป็นสัมประสิทธิ์ของพจน์ x มาหารทั้งสองข้าง 2x/2 = x และ 16/2 = 8 ฉะนั้น x = 8
  6. นำ 8 แทนลงไปในสมการเพื่อจะรู้ว่าคำตอบนี้เป็นคำตอบที่ถูกต้องไหม
    • √(2x+9) - 5 = 0
    • √(2(8)+9) - 5 = 0
    • √(16+9) - 5 = 0
    • √(25) - 5 = 0
    • 5 - 5 = 0
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

หาค่า X ในสมการค่าสัมบูรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมมติว่าเรากำลังหาค่า x ในตัวอย่างต่อไปนี้ [3]
    • |4x +2| - 6 = 8
  2. อย่างแรกที่ต้องทำคือนำพจน์ที่เหมือนกันมาอยู่ด้วยกัน และทำให้เหลือแค่ค่าสัมบูรณ์อยู่ที่สมการด้านหนึ่ง ในกรณีนี้เราจะทำให้เหลือค่าสัมบูรณ์ด้วยการนำ 6 มาบวกทั้งสองข้าง
    • |4x +2| - 6 = 8
    • |4x +2| - 6 + 6 = 8 + 6
    • |4x +2| = 14
  3. นี้เป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุด เราจะต้องหาค่า x ในกรณีที่อยู่ในค่าสัมบูรณ์ ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงการหาค่า x ครั้งแรก
    • 4x + 2 = 14
    • 4x + 2 - 2 = 14 -2
    • 4x = 12
    • x = 3
  4. เอาค่าสัมบูรณ์ออกและเปลี่ยนค่าคงที่ซึ่งอยู่อีกข้างของสมการให้เป็นจำนวนตรงข้ามก่อนแก้สมการ. ตอนนี้เราต้องเอาค่าสัมบูรณ์ออกอีกครั้ง และเปลี่ยนตัวเลขจาก 14 เป็น -14 ดูตัวอย่างที่ยกมา
    • 4x + 2 = -14
    • 4x + 2 - 2 = -14 - 2
    • 4x = -16
    • 4x/4 = -16/4
    • x = -4
  5. คราวนี้เรารู้แล้วว่า x = (3, -4) แต่ให้ลองแทนค่าในสมการเพื่อตรวจคำตอบ ลองดูตัวอย่างการตรวจคำตอบกัน
    • (เมื่อ x = 3):
      • |4x +2| - 6 = 8
      • |4(3) +2| - 6 = 8
      • |12 +2| - 6 = 8
      • |14| - 6 = 8
      • 14 - 6 = 8
      • 8 = 8
    • (เมื่อ x = -4):
      • |4x +2| - 6 = 8
      • |4(-4) +2| - 6 = 8
      • |-16 +2| - 6 = 8
      • |-14| - 6 = 8
      • 14 - 6 = 8
      • 8 = 8
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เครื่องหมายกรณฑ์เป็นการแสดงตัวชี้กำลังอีกแบบหนึ่ง รากที่สองของ x = x^1/2
  • ในการตรวจคำตอบเราต้องแทนค่า x กลับไปที่สมการแรกและตรวจคำตอบดู
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 118,581 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา