ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ลูกคุณนอนดิ้นกระสับกระส่ายทุกคืน อยากหาวิธีปลอบลูกให้นอนหลับอุ่นสบายและปลอดภัยใช่ไหม? การห่อตัวเด็กอ่อน (swaddling) นี่แหละ วิธีเก่าแก่ดั้งเดิมที่ใช้เลียนแบบลักษณะของครรภ์แม่ แค่มีผ้าห่อตัวเด็กอ่อนและรู้จักวิธีพับผ้า ลูกน้อยจะหลับสบาย อบอุ่น ไม่หงุดหงิดนอนดิ้นไปมาเหมือนเคย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ห่อตัวแบบง่ายๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้เป็นรูปข้าวหลามตัด ควรใช้ผ้าขนาด 40"x40" (100x100 ซม.) ขึ้นไป เลือกที่เป็นผ้าห่อตัวเด็กอ่อนโดยเฉพาะได้ยิ่งดี
    • ผ้าห่อตัวเด็กอ่อนต้องบางและยืดหยุ่นได้มาก จะได้พับห่อตัวง่ายแต่ระบายอากาศ ไม่ร้อน
  2. ให้ยาวประมาณความสูงของเด็ก
  3. ให้คออยู่ที่รอยพับพอดี ถ้าเด็กยังเล็กมากต้องใช้มือประคองหัวกับตัวเด็กไว้ตลอด
  4. ค่อยๆ จับแขนเด็กลงมาแนบตัว แล้วจับให้อยู่กับที่ หรือจะงอแนบอก/ท้องไว้ก็ได้ เหมือนตอนทารกขดตัวในท้องแม่ แบบนั้นจะห่อให้แน่นหนาได้ยาก แต่เด็กสบายกว่าเยอะเลย
  5. พับมุมด้านหนึ่งของผ้า (ทีละข้างเหมือนตอนเก็บแขนเด็ก) มาห่อตัวเด็ก แล้วยัดปลายผ้าเข้าไปใต้ตัวเด็ก ให้แน่นหนาพอจะเก็บแขนเด็กแนบลำตัวให้มิดชิด
  6. ค่อยๆ จับแขนเด็กลงมาแนบตัว แล้วจับให้อยู่กับที่ เหมือนกับที่เก็บแขนอีกข้าง หรือจะงอแนบอก/ท้องไว้ก็ได้
  7. จับมุมผ้าด้านล่างพับขึ้นมาที่กลางไหล่ของเด็ก จากนั้นยัดเก็บปลายผ้าใต้ไหล่ซ้าย (คือชายผ้าอยู่ตรงกลางระหว่างไหล่กับผ้าที่เด็กนอนทับอยู่)
    • คำเตือน: เหลือที่ให้เด็กขยับหรือกระดิกเท้าไปมาได้ด้วยหลังห่อ จะได้ไม่ร้อนจัดเกินไป ป้องกันข้อสะโพกเสื่อม ( hip dysplasia) ในระยะยาวด้วย
  8. พับไปทางซ้าย ให้ห่อตัวแล้วกลายเป็นคอวี อย่าเพิ่งยัดเก็บปลาย แต่ให้ใช้มือซ้ายยึดผ้าตรงหน้าอกเด็กไว้ให้อยู่กับที่อย่างเบามือ
  9. ใช้มือขวาพับมุมขวาล่างแถวๆ เท้าเด็กขึ้นมา
  10. พับมุมขวาล่างที่ว่าขึ้นมาคลุมไหล่ขวาของเด็ก แล้วยัดเก็บปลายในห่อผ้าโดยยกตัวเด็กก่อน
  11. ระวังอย่าให้เด็กร้อนไป หรือปิดหน้าปิดตา ห้ามห่อผ้าทับจุกนมที่เด็กดูดอยู่เด็ดขาด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ข้อควรระวัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. SIDS หรือ Sudden Infant Death Syndrome คือโรคไหลตายหรือหลับไม่ตื่นในทารก กระทั่งเด็กแข็งแรงสุขภาพดี อยู่ๆ ก็อาจเสียชีวิตได้แบบไม่พบสาเหตุ [1] มักเกิดตอนเด็กกำลังหลับ เป็นโรคที่พ่อแม่หลายคนกังวลกันมาก บางทีก็ว่าเป็นเพราะการห่อตัวเด็กอ่อนนี่เอง เพราะส่วนใหญ่สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กมักเกิดจากการขาดอากาศหายใจด้วยสาเหตุต่างๆ ลำพังการห่อตัวไม่ได้ทำให้เกิด SIDS ได้ เพราะฉะนั้นถ้าระวังดีแล้ว การห่อตัวก็ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและช่วยเรื่องการนอนของเด็กได้ดี
  2. โดยเฉพาะถ้าเด็กยังเล็กมาก เพราะจะหายใจลำบาก ห่อให้กระชับได้แต่เด็กต้องหายใจสะดวก และอย่าให้หลวมจนเด็กยื่นแขนขาออกมา ถ้ากังวล หลังห่อตัวให้สังเกตอาการเด็กต่ออีก 2 - 3 นาที ว่าเด็กไม่หายใจหอบ
  3. ถึงจะรู้ๆ กันอยู่ว่าเด็กงอแงแค่ไหนเวลาจุกนมหลุดจากปาก แต่ก็ห้ามห่อตัวเด็กทับจุกนมเด็ดขาด! จุกไม่หลุดจากปากเด็กก็จริง แต่ถ้าอยู่ๆ เกิดเด็กต้องหายใจทางปากล่ะ แบบนั้นสำลัก หายใจไม่ออกแน่!
  4. จะได้ปลอดภัยหายห่วงเวลานอน โดยเฉพาะตอนถูกห่อตัวไว้ อย่าลืมว่าเด็กอ่อนนั้นบอบบางและอ่อนแอมาก ถ้านอนคว่ำน้ำหนักตัวจะกดจนหายใจไม่สะดวก เพราะฉะนั้นห่อตัวแล้วต้องให้เด็กนอนหงายให้หายใจสะดวกนอนหลับสบาย
  5. เบาะนอนที่นุ่มหรืออ่อนยวบเกินไปอาจทำเด็กขาดอากาศหายใจได้ โดยเฉพาะถ้านอนคว่ำ ถ้าเบาะแข็งแน่นพอ เด็กจะหลับสบายและปลอดภัยกว่า
  6. เอาหมอน ตุ๊กตา และอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นออกจากเตียงเด็ก. เพราะอาจเป็นอันตรายได้ เช่น อุดหน้าเด็กจนหายใจไม่ออก ขอให้ใส่ไว้เฉพาะอะไรที่จำเป็นจริงๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ห่อตัวแล้ว เวลาเด็กนอนหลับต้องวางให้นอนหงายไว้เสมอ จะได้ไม่เกิด SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือโรคหลับไม่ตื่นในทารก
  • ห่อตัวเด็กแล้วช่วยบรรเทาอาการโคลิคได้
  • ควรปรึกษาคุณหมอเรื่องสภาพร่างกายเด็กก่อนห่อตัว
  • ถ้าอยากคลุมหัวด้วย ก็ไม่ต้องพับมุมด้านบนลงมาในขั้นตอนแรก จากนั้นห่อตัวไปตามปกติ แล้วใช้มุมบนของผ้าคลุมหัวเด็กแทน
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้ห่อตัวเด็กอ่อนเท่านั้น ถ้าเป็นเด็กวัยเตาะแตะอาจเกิดอันตรายได้
  • ถ้าเด็กเป็น dysplasia อยู่แล้วห้ามห่อตัว
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ผ้าห่อตัวเด็กอ่อน

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,788 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา