ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณเพิ่งไปตรวจอัลตราซาวด์กับแพทย์และพบว่าคุณได้ตั้งครรภ์แฝด คุณอาจจะคิดว่านี่เป็นข้ออ้างที่จะทานอาหารเข้าไปมากๆ เพื่อที่จะได้เพียงพอกับลูกทั้งสองคน อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์แฝดถือว่าเป็นภาวะการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงเพราะต้องใส่ใจมากกว่าการตั้งครรภ์แบบปกติ [1] เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะควบคุมให้มีนิสัยการทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อมอบสารอาหารที่สำคัญให้แก่ลูกน้อยทั้งสอง แทนที่จะทานคาร์โบไฮเดรตหรืออาหารที่เป็นน้ำตาลมากเกินไป คุณควรที่จะสนใจอาหารที่มีสารอาหารและแร่ธาตุสูงที่จะทำให้คุณมั่นใจว่าลูกทั้งสองจะปลอดภัยทั้งเมื่ออยู่ในและนอกมดลูก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนอาหารของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางส่วนของความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แฝดนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง นั่นคือคุณควรที่จะได้รับปริมาณแคลอรี่มากกว่าปกติในแต่ละวัน คุณควรได้รับแคลอรี่เพิ่มขึ้นอีก 600 แคลอรี่ต่อวัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับค่า BMI ก่อนตั้งครรภ์ของคุณ ระดับของกิจกรรมที่ทำ และคำแนะนำของแพทย์ [2]
    • คุณสามารถคำนวนแคลอรี่ที่คุณควรได้รับต่อวันโดยการคูณ 40 หรือ 45 กับน้ำหนักของคุณ [3] ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณหนัก 62 กิโลกรัม คุณก็คูณน้ำหนักของคุณด้วย 40 และ 45 เพื่อที่จะได้ช่วงแคลอรี่ 2,480-2,790 แคลอรี่ ช่วงตัวเลขนี้คือช่วงของแคลอรี่ที่คุณควรจะได้รับต่อวัน
    • อย่างไรก็ตาม วิธีการที่คุณจะได้รับแคลอรี่เหล่านี้นั้นสำคัญกว่าปริมาณแคลอรี่ที่คุณทานเข้าไป คุณควรจะดูแลการทานอาหารให้สมดุล โดยทานโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่ดี ให้สมดุลกัน โดย 20 -25 เปอร์เซนต์ของแคลอรี่ที่ได้รับควรมาจากโปรตีน 45 -50 เปอร์เซนต์ของแคลอรี่ควรมาจากคาร์โบไฮเดรต และอีก 30 เปอร์เซนต์ควรมาจากไขมันดี [4]
    • หลีกเลี่ยงการทานอาหารมากเกินไปและมากกว่าปริมาณแคลอนี่มี่ควรได้รับ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้แฝดทั้งสองมีความเสี่ยงยิ่งขึ้นและทำให้มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ [5]
  2. เมื่อคุณตั้งครรภ์แฝด เป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องเพิ่มสารอาหารที่เป็นวิตามินและแร่ธาตุอย่างเพียงพอในอาหารทุกๆ มื้อ ให้เน้นที่การเพิ่มปริมาณของกรดโฟลิก แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี เหล็ก และวิตามินแร่ธาตุอื่นๆ เพื่อดูแลให้ทารกแฝดมีสุขภาพดี [6]
    • โปรตีน: ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมาตรฐานต้องได้รับโปรตีน 70 กรัมต่อวัน หญิงตั้งครรภ์แนะนำให้ทานโปรตีนมากขึ้นอีก 25 กรัมเพื่อดูแลทารก ดังนั้นให้เพิ่มไปอีก 50 กรัมเมื่อคุณตั้งครรภ์แฝด โปรตีนจะช่วยให้ทารกเติบโตและพัฒนากล้ามเนื้อขณะอยู่ในมดลูก ให้เลือกอาหารที่มีโปรตีนสูงเช่นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน (เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่งวง เนื้อไก่) ถั่ว โยเกิร์ต นม ชีสเคตเทจ และเต้าหู้ หลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีไขมัน เช่น เนื้อหมูและวัวที่ติดมัน ไส้กรอก เบคอน และฮอทดอก
    • เหล็ก: นี่เป็นสารอาหารสำคัญที่จะทำให้มั่นใจว่าทารกจะเติบโตอย่างเหมาะสมและมีน้ำหนักแรกเกิดที่สุขภาพดี การทานเหล็กขณะที่กำลังตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงของอาการเครียดมากเกินไป โรคโลหิตจาง และการคลอดก่อนกำหนด ให้ทานเหล็กอย่างน้อย 30 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารที่มีเหล็กสูง เช่น เนื้อแดง อาหารทะเล ถั่ว และซีเรียลเพิ่มสารอาหาร [7]
    • วิตามินดี: สารอาหารนี้จะช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์และช่วยให้ทารกดูดซับแคลเซียมที่อยู่ในมดลูก หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวิตามินดีระหว่าง 600-800 IU (International Units) ต่อวัน [8]
    • กรดโฟลิก: การรักษาระดับของกรดโฟลิกให้สูงจะช่วยลดความเสี่ยงของการพิการแต่กำเนิด ควรบริโภคกรดโฟลิกอย่างน้อย 600 มิลลิกรัมต่อวัน [9] วิตามินสำหรับทานก่อนตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีกรดโฟลิก (หรือ folate) คุณสามารถพบกรดโฟลิกได้ในผักโขม แอสพารากัส หรือผลไม้อย่างส้มและเกรปฟรุต
    • แคลเซียม: ทานอย่างน้อย 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน [10] ทารกต้องใช้แคลเซียมในปริมาณมากเพื่อสร้างกระดูกที่แข็งแรงขณะที่เติบโตอยู่ในมดลูก นมและโยเกิรต์เป็นแหล่งที่ดีของแคลเซียม
    • แมกนีเซียม: นี่เป็นสารอาหารที่ดีอีกหนึ่งชนิดที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดและช่วยพัฒนาระบบประสาทของทารก ทานแมกนีเซียมอย่างน้อย 350-400 มิลลิกรัมต่อวัน [11] คุณสามารถพบแมกนีเซียมจากถั่วเช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน และอัลมอนด์ จมูกข้าวสาลี เต้าหู้ และโยเกิร์ต
    • สังกะสี: คุณควรทานสังกะสีอย่างน้อย 12 มิลลิกรัมต่อวัน [12] การรักษาระดับของสังกะสีจะช่วยลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกในระดับต่ำ และการตั้งครรภ์นานไป [13] แหล่งอาหารที่ดีของสังกะสีคือถั่วตาดำ (Black-eyed peas)
  3. มื้ออาหารในแต่ละวันควรครอบคลุมหมู่อาหารหลักทั้งห้า (ผลไม้ ผัก ธัญพืช โปรตีน และนม) เพื่อจะได้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารและแร่ธาตุอย่างสมดุลกัน [14]
    • ทานธัญพืช 10 หน่วยต่อวัน ตัวอย่างเช่น ทานขนมปังมัลติเกรน 1 แผ่น ซีเรียล ⅔ ถ้วย มูสลี่ ¼ ถ้วย พาสต้า บะหมี่ ข้าวสุก ½ ถ้วย โดยทานอาหารเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทานด้วยกันก็ได้ให้ครบ 10 หน่วย
    • ทานผลไม้และผัก 9 หน่วยต่อวัน เช่น ผัก อย่างผักโขม แอสปารากัส เบบี้แครอท ½ ถ้วย สลัดผัก 1 ถ้วย ผลไม้ขนาดกลางอย่างแอปเปิ้ล กล้วย หรือ เบอร์รี่สด ½ ถ้วย ผลไม้ที่มีขนาดเล็กลงมา 2 อย่างเช่นลูกพลัมหรือแอปปริคอต และผลไม้แห้ง 30 กรัม
    • ทานโปรตีน 4-5 หน่วยต่อวัน เช่น เนื้อไม่ติดมันที่สุกแล้วอย่างเนื้อวัวและเนื้อหมู ไก่หรือไก่งวง 80 กรัม ปลาสุกอย่างปลาแซลมอนหรือปลาเทราต์ 100 กรัม ไข่ 2 ฟอง เต้าหู้สุก 170 กรัม ถั่วเมล็ดแห้งหรือถั่วเลนทิล 1 ถ้วย ถั่วอย่างอัลมอนด์ 30 กรัม เมล็ดพืชเช่นเมล็ดฟักทองและ เมล็ด Tahini
    • ทานผลิตภัณฑ์จากนม 3-4 หน่วยต่อวัน ตัวอย่างเช่น นมไม่มีไขมัน 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) นมถั่วเหลืองหรือนมจากข้าวที่เพิ่มผงแคลเซียม โยเกิร์ต 1 ถ้วย (200 มิลลิลิตร) และชีสแข็ง 1-2 แผ่น
  4. แม้ว่าคุณจะไม่ได้ถูกห้ามไม่ให้ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คุณควรที่จะทานมันในปริมาณน้อยและนานๆ ครั้งเมื่อคุณรู้สึกอยากทานคุ้กกี้จริงๆ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีแต่แคลอรี่แต่ไม่มีสารอาหาร เพราะมันจะทำให้น้ำหนักขึ้นแบบไม่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าอาหารที่น้อยให้กับทารก
    • คุณควรจำกัดการทานน้ำตาลสังเคราะห์ เช่น ลูกกวาดและโซดา หลีกเลี่ยงอาหารที่มาจากไขมันทรานส์และเลือกอาหารที่ทำมาจากน้ำมันที่ดีกับสุขภาพมากกว่า เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด และน้ำมันมะพร้าว
  5. หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทระหว่างที่ตั้งครรภ์. แม้ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ธรรมดาหรือตั้งครรภ์แฝด คุณก็ต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างซึ่งได้แก่ [15]
    • ไข่ดิบหรือไข่ที่มีบางส่วนไม่สุก
    • เนื้อดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ
    • ซูชิ
    • หอยดิบ
    • เนื้อหมักสำเร็จรูปหรือเนื้อสำเร็จรูป
    • ชาสมุนไพร
    • ชีสที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอไรซ์ซึ่งอาจจะมีแบคทีเรียลิสเตเรีย (ชีสดิปบางครั้งอาจจะมีชีสที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอไรซ์)
    • ขณะที่แพทย์แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงถั่วลิสง งานวิจัยตอนนี้แนะนำว่าให้ทานถั่วลิสงและถั่วจากพืชอื่นๆ ได้ (ตราบใดที่คุณไม่แพ้มัน!) ในช่วงตั้งครรภ์ซึ่งมันจะสามารถลดความเสี่ยงของทารกที่จะแพ้ถั่วพวกนี้ด้วย [16]
  6. อีกหนึ่งวิธีเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับสารอาหารอย่างพอเพียงขณะที่ตั้งครรภ์แฝดก็คือให้สร้างตารางรายการอาหารที่คุณสามารถจดลงไปได้ในแต่ละวัน มันควรแบ่งเป็นอาหาร 5 หมู่และอาหารในแต่ละชนิดในปริมาณเป็นหน่วยที่แนะนำ คุณสามารถจดไว้ว่าคุณทานอาหารไปกี่หน่วยแล้วต่อวันและจะสังเกตเห็นว่ามีช่องว่างหรือประเภทอาหารอะไรที่หายไปในอาหารแต่ละมื้อของคุณ
    • ไปที่ร้านขายของชำพร้อมกับรายการอาหารที่แนะนำต่อวัน นี่จะช่วยคุณจำกัดการทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพและทำให้คุณแน่ใจว่าคุณได้บริโภควิตามินและแร่ธาตุอย่างเพียงพอครบถ้วนในแต่ละวัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทานอาหารให้เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทานขนมที่มีประโยชน์เพื่อช่วยเรื่องการคลื่นเหียนและแพ้ท้อง. อาการเหล่านี้เป็นอาการแพ้ท้องในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์และจะมีอาการประมาณ 16 อาทิตย์ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดื่มและทานอาหารแม้ว่าจะมีอาการคลื่นเหียนหรือแพ้ท้อง แทนที่จะทานเป็นมื้อใหญ่ ให้ทานของว่างที่มีประโยชน์ในปริมาณน้อยๆ ตลอดทั้งวันเพื่อควบคุมอาการคลื่นเหียน นี่จะช่วยทำให้การย่อยอาหารของคุณดีขึ้นและลดการจุกเสียดที่คุณอาจจะรู้สึกขณะตั้งครรภ์ [17]
    • เตรียมแครกเกอร์ ผลไม้ (เบอร์รี่ พลัม กล้วย เป็นผลไม้ทานง่ายๆ) โยเกิร์ตไขมันต่ำ สมูทตี้ทำเอง (ที่ไม่มีสารปรุงแต่งหรือสารกันบูด) และขนมที่เป็นโปรตีน ให้คว้ามาทานได้ง่ายๆ เพื่อความรวดเร็วและง่ายในการทาน
  2. การจิบน้ำตลอดทั้งวันจะทำให้คุณมั่นใจว่าร่างกายของคุณชุ่มชื้นอิ่มน้ำ แม้ว่าคุณจะต้องวิ่งเข้าห้องน้ำทุกๆ 5 นาทีก็ตาม แต่การดื่มน้ำเยอะๆ จะช่วยให้การหมุนเวียนเลือดของทารกดีขึ้นและทำให้ระบายของเสียได้ดี [18]
    • คุณควรดื่มน้ำประมาณ 10 แก้ว (2.3) ลิตรต่อวันขณะตั้งครรภ์ [19] คุณสามารถรู้ได้ว่าร่างกายของคุณชุ่มชื้นดีแล้วโดยสังเกตจากปัสสาวะ ถ้าปัสสาวะมีสีซีดๆ นั้นแปลว่าร่างกายของคุณชุ่มชื้น [20]
    • ลองดื่มน้ำในตอนเช้าและลดปริมาณน้ำที่ดื่มเมื่อหลังสองทุ่มไปแล้ว นี่จะช่วยให้คุณหลับได้ยาวนานขึ้นในตอนกลางคืนโดยไม่ต้องไปเข้าห้องน้ำ
    • คุณสามารถดื่มคาเฟอีนได้ขณะที่ตั้งครรภ์ ให้จำกัดปริมาณอยู่ที่ 200 มิลลิกรัมต่อวันหรือประมาณกาแฟ 2 แก้ว ไม่ควรดื่มมากกว่านี้ การดื่มคาเฟอีนในระดับสูงในระหว่างตั้งครรภ์มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพของทารก [21] หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในเวลาเดียวกับที่คุณทานอาหารเสริมธาตุเหล็กหรือทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เพราะคาเฟอีนจะขัดขวางการดูดซึมของแร่ธาตุ ให้รอเพื่อจะดื่มอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังจากที่ดื่มกาแฟไปแล้ว [22]
    • การดื่มแอลกอฮอล์นั้นไม่ปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ไม่ว่าจะดื่มในระดับไหนก็ตาม [23]
  3. ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเพื่อช่วยเรื่องอาการท้องผูก. เมื่อทารกเติบโตขึ้น คุณจะรู้สึกมีแรงดันที่ลำไส้ ลำไส้จะต้องชะลอการย่อยอาหารให้ช้าลงเพื่อดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่คุณทานเข้าไป ดังนั้นคุณอาจจะมีอาการท้องผูกเมื่อตั้งครรภ์และจะต้องทานอาหารที่มีไฟเบอร์เข้าไปเยอะเพื่อช่วยลำไส้ย่อยอาหาร
    • ถ้าคุณท้องผูก ให้ทานผลไม้ ผัก ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช ซีเรียลที่ทำมาจากรำข้าว ให้มากขึ้นตลอดทั้งวัน คุณควรจะออกกำลังกายเบาๆ ด้วย เช่น เดินเล่น และยืดตัวเบาๆ เพื่อให้ลำไส้เป็นปกติและกระตุ้นระบบย่อยอาหาร
  4. ไปพบแพทย์ถ้าคุณพบว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและปวดหัวบ่อยๆ. การตั้งครรภ์แฝดจะเพิ่มความเสี่ยงของครรภ์เป็นพิษ ซึ่งในกรณีนี้ หญิงตั้งครรภ์จะมีความดันเลือดเพิ่มขึ้น มีโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มขึ้น และมีอาการบวมกว่าการตั้งครรภ์ปกติ อาการบวมที่เห็นชัดคือที่ใบหน้าและมือ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและอาหารปวดหัวก็เป็นอาการของครรภ์เป็นพิษและต้องไปตรวจโดยสูตินรีแพทย์ [24]
    • สูตินรีแพทย์จะรักษาอาการของคุณขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แพทย์อาจจะแนะนำให้นอนพักผ่อนบนเตียงหรือใช้ยาในกรณีที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นกรณีที่รุนแรง ก็อาจจะต้องคลอดทันทีซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะ “รักษา” ครรภ์เป็นพิษได้
    • คุณควรรู้ไว้ว่าจำนวนน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของการตั้งครรภ์แฝดนั้นมากกว่าการตั้งครรภ์แบบปกติ ผู้หญิงที่มีสุขภาพดีที่มีค่า BMI ปกติก่อนการตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 16.7-24.4 กิโลกรัมระหว่างที่ตั้งครรภ์แฝด [25] ขณะที่ถ้าตั้งครรภ์แบบธรรมดาควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแค่ 11.3-15.8 กิโลกรัม [26] แพทย์ของคุณจะแนะนำว่าคุณควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ที่จะเหมาะสม
  5. พูดคุยกับแพทย์ถ้าคุณพบว่ามีอาการที่อาจจะคลอดก่อนกำหนดได้. การตั้งครรภ์แฝดได้เพิ่มโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด ถ้าคุณพบว่ามีเลือดไหลออกมาจากอวัยวะเพศหรือมีอาการตกขาว ท้องเสีย รู้สึกมีแรงดันที่กระดูกเชิงกรานหรือแผ่นหลังช่วงล่าง และรู้สึกว่ามีการบีบตัวที่บ่อยขึ้นและแน่นขึ้น คุณควรที่จะบอกแพทย์หรือสูตินรีแพทย์ [27]
    • แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้คลอดก่อนกำหนด แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องบอกแพทย์เกี่ยวกับอาการเหล่านี้เพื่อความปลอดภัยของลูกแฝด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้อาหารเสริม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ. หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญอย่างเหล็ก ไอโอดีน กรดโฟลิก จากการทานอาหาร อย่างไรก็ตามแพทย์ของคุณอาจจะแนะนำให้ทานอาหารเสริมถ้าคุณลืมทานอาหารบ่อยๆ ไม่ค่อยอยากทานอาหาร หรือมีปัญหาสุขภาพ [28]
    • หลีกเลี่ยงไม่ทานอาหารเสริมหากไม่ได้ปรึกษากับแพทย์ก่อน
  2. อย่าทานอาหารเสริมเป็นสองเท่าเมื่อคุณตั้งครรภ์แฝด. การมีวิตามินและแร่ธาตุมากเกินไปในร่างกายจะเป็นอันตรายกับบุตรในครรภ์ได้ [29]
    • ถ้าคุณทานมังสวิรัติหรือไม่ได้ทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คุณอาจจะต้องทานอาหารเสริมที่เป็นแคลเซียม ผู้ที่ทานมังสวิรัติอาจจะต้องการอาหารเสริมบี 12 ด้วย หญิงตั้งครรภ์ควรที่จะทานอาหารเสริมกรดโฟลิกในแต่ละวันเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอ
    • อย่าทานอาหารเสริมน้ำมันตับปลา อาหารเสริมวิตามินที่มีปริมาณยาสูง อาหารเสริมที่มีวิตามินเอ เพราะว่าอาหารเสริมเหล่านี้อาจจะเป็นอันตรายกับลูกแฝดได้ [30]
  3. ถามแพทย์เกี่ยวกับอาหารเสริมสมุนไพรก่อนที่จะใช้. ขั้นตอนในการขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยานั้นแตกต่างจากการขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งอาหารเสริมจะไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาเรื่องประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ประจักษ์เหมือนผลิตภัณฑ์ยา ดังนั้นคุณภาพและความเข้มข้นของอาหารเสริมอาจจะแตกต่างกันไปตามผู้ผลิตหรือปริมาณที่ใช้ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์นั้นตรวจสอบกับแพทย์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรก่อนที่จะซื้อหรือทานมันเข้าไป อาหารเสริมสมุนไพรบางชนิดอาจจะมีส่วนผสมที่ไม่ปลอดภัยกับหญิงตั้งครรภ์และอาจจะเป็นอันตรายต่อบุตรในครรภ์ได้ [31]
    • ถ้าคุณสนใจในอาหารเสริมสมุนไพรเพื่อใช้ช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ให้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรที่ผ่านการอบรมมาแล้วและได้รับการรับรอง ให้ลองถามแพทย์เพื่อให้แพทย์แนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรที่เชื่อถือได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ระลึกไว้ว่าขณะที่การทานอาหารให้สมดุลนั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่การทานอาหารที่คุณชอบก็เป็นเรื่องสำคัญพอๆ กัน การตั้งครรภ์มาพร้อมกับความเครียดในหลายๆ เรื่อง ดังนั้นถ้าคุณรู้สึกว่าอยากจะทานไอศกรีมหรือช็อคโกแลตบ้างเป็นบางครั้ง มันก็เป็นเรื่องที่รับได้ที่จะตามใจตัวเองนานๆ ครั้ง (ถ้าคุณไม่ใช่ผู้ป่วยเบาหวานหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นเบาหวานขณะที่ตั้งครรภ์)
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

  1. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Calcium-HealthProfessional/
  2. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/
  3. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Zinc-HealthProfessional/
  4. http://www.who.int/elena/bbc/zinc_pregnancy/en/
  5. https://thewomens.r.worldssl.net/images/uploads/fact-sheets/Healthy-eating-when-pregnant-with-twins.pdf
  6. http://www.nhs.uk/Conditions/pregnancy-and-baby/pages/foods-to-avoid-pregnant.aspx#close
  7. http://archpedi.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1793699&quizId=3774&atab=8
  8. http://www.whattoexpect.com/pregnancy/twins-and-multiples/carrying-more-than-one/eating-for-three.aspx
  9. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/prenatal/Pages/Having-Twins-How-to-Stay-Healthy.aspx
  10. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256?pg=2
  11. http://www.whattoexpect.com/pregnancy/twins-and-multiples/carrying-more-than-one/eating-for-three.aspx
  12. http://www.nhs.uk/chq/Pages/limit-caffeine-during-pregnancy.aspx?CategoryID=54&SubCategoryID=130
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6402915
  14. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007454.htm
  15. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/prenatal/Pages/Having-Twins-How-to-Stay-Healthy.aspx
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/twin-pregnancy/art-20048161?pg=2
  17. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy-weight-gain/art-20044360
  18. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/prenatal/Pages/Having-Twins-How-to-Stay-Healthy.aspx
  19. http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq001.pdf
  20. http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq001.pdf
  21. http://www.nhs.uk/Conditions/pregnancy-and-baby/pages/foods-to-avoid-pregnant.aspx#close
  22. http://americanpregnancy.org/pregnancy-health/herbs-and-pregnancy/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,267 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา