ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผู้หญิงหลายคนตัดสินใจจะมีบุตรในช่วงหลังๆ ของชีวิต และหลายคนให้กำเนิดทารกสุขภาพดี ด้วยเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น การตั้งครรภ์โดยมารดาสูงวัยจึงปลอดภัยมากขึ้นกว่าที่เคย อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์หลังวัยสี่สิบยังคงมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น กับทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนบางประการในแม่และเด็ก การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการตั้งครรภ์สามารถช่วยให้คุณทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่จะตั้งครรภ์ได้สำเร็จ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นัดหมายเพื่อปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์กับญาติผู้ดูแลหลัก (Primary caregiver) หรือกับสูตินรีแพทย์. เพราะเมื่อคนเราแก่ตัวลง มีความน่าจะเป็นเพิ่มขึ้นที่จะป่วยจากปัญหาสุขภาพซึ่งพบได้ทั่วไป เช่น ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน สตรีสูงวัยอาจมีความน่าจะเป็นมากขึ้นที่จะมีปัญหาสุขภาพต่างๆ ซึ่งทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง
    • แพทย์ผู้ดูแลสุขภาพทั่วไปของคุณจะทำการตรวจสุขภาพเช่นที่ทำเป็นประจำ และอาจเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) กับตรวจกระดูกเชิงกราน ซึ่งไม่น่าจะใช้เวลาเกิน 15 หรือ 20 นาที แต่คุณอาจใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นเพื่อพูดคุยกับแพทย์เรื่องการตั้งครรภ์ [1]
    • สอบถามจากแพทย์เรื่องวิธีเพิ่มโอกาสของคุณที่จะตั้งครรภ์ และคุณจะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ได้อย่างไรบ้าง เพื่อทำให้แน่ใจว่าจะตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดี จงซื่อสัตย์เรื่องสไตล์การใช้ชีวิตของคุณ และเปิดรับคำแนะนำใดๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลง [2]
    • หารือกับแพทย์ว่าคุณจะสามารถใช้การรักษาด้วยยาใดๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในระหว่างที่พยายามจะตั้งครรภ์ ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือระหว่างการให้นมบุตรหรือไม่? จงสอบถามแพทย์ว่าระหว่างการใช้การบำบัดทางเลือก (Alternate therapies) กับการรักษาด้วยยา แบบใดปลอดภัยมากกว่ากันสำหรับช่วงตั้งครรภ์ และแนวทางใดปฏิบัติได้จริง เมื่อดูจากประวัติทางการแพทย์ของคุณ [3]
    • ประเมินค่ากับแพทย์ของคุณว่าปัญหาสุขภาพใดคือเรื่องสำคัญที่สุดซึ่งคุณต้องจัดการก่อนที่จะตั้งครรภ์ เพราะปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง จะยิ่งเลวร้ายลงเมื่อคุณยิ่งอายุมาก จึงมีความสำคัญที่คุณจะร่วมดูแลปัญหาเหล่านี้กับแพทย์ [4]
    • จงสร้างภูมิคุ้มกันใดๆ ตามที่แพทย์แนะนำ. แพทย์อาจจะตรวจเลือดของคุณเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันโรค เช่น โรคหัดเยอรมัน และโรคสุกใส จงรอหนึ่งเดือนหลังจากการฉีดวัคซีน ก่อนจะลองพยายามที่จะตั้งครรภ์ [5]
    • แพทย์อาจต้องการจะทำการตรวจในห้องแลปเพื่อประเมินจำนวนไข่สำรอง (Ovarian reserve) หรือความเป็นไปได้ว่าจะยังคงมีไข่ที่ดีๆ หลงเหลืออยู่
  2. ปรึกษาเรื่องความเสี่ยงของคุณที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) และโรคความดันโลหิตสูง. มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาสุขภาพซึ่งไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ สำหรับการตั้งครรภ์ที่จะเพิ่มขึ้นตามวัย จงปรึกษาแพทย์เรื่องความเสี่ยงและเรื่องสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงนั้น
    • ในบางครั้ง อาจเกิดโรคความดันโลหิตสูงเป็นการชั่วคราวในสตรีมีครรภ์ ผลวิจัยบางชิ้นบ่งชี้ว่าความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นตามวัย ผู้หญิงไม่ว่าอายุเท่าใดจะต้องวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอในระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้น แพทย์จะพยายามอย่างหนัก เพื่อให้แน่ใจว่าความดันโลหิตของคุณอยู่ภายใต้การควบคุม คุณอาจจำเป็นต้องรักษาโรคความดันโลหิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะคลอดบุตรสุขภาพดี [6]
    • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะระหว่างการตั้งครรภ์เท่านั้น และพบได้ทั่วไปมากขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น หากป่วยโรคนี้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ทารกตัวใหญ่กว่าเฉลี่ยมาก ดังนั้น หากตรวจพบว่าคุณเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลด้วยการออกกำลังกาย ด้วยการอดอาหาร และด้วยยาหากเป็นไปได้ [7]
  3. ตรวจสอบอย่างละเอียดเรื่องทางเลือกต่างๆ ของคุณสำหรับการคลอดบุตร. สตรีวัยเกิน 40 ปีหลายคนให้กำเนิดบุตรตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จึงมีความน่าจะเป็นเพิ่มมากขึ้นตามวัยที่จะใช้วิธีผ่าตัดคลอดบุตร
    • พิจารณาทบทวนแผนการคลอดเป็นพิเศษกับแพทย์ และทำให้แน่ใจว่าคุณได้พิจารณาความเป็นไปได้เรื่องการใช้วิธีผ่าตัดคลอดบุตรด้วย หากคุณเคยผ่าตัดคลอดบุตรคนหนึ่งแล้ว แพทย์บางคนจะไม่อนุญาตให้คุณคลอดบุตรทางช่องคลอดตามปกติ จงหารือทุกเรื่องที่คุณกังวลกับแพทย์ และแจ้งให้ทราบว่าคุณชอบวิธีคลอดบุตรแบบไหนมากที่สุด [8]
    • ความเครียดเรื่องคลอดบุตรจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นหากคุณมีอายุมากขึ้น เช่นเดียวกันกับปัญหาความดันโลหิตสูง และภาวะรกเกาะต่ำซึ่งเพิ่มขึ้นตามวัย แพทย์สมควรเฝ้าสังเกตสุขภาพของคุณจนตลอดการตั้งครรภ์ หากเชื่อว่าคุณมีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด แพทย์อาจต้องการจะลดการชักนำการคลอด (Induce labor) และใช้วิธีผ่าตัดทำคลอด [9]
  4. คุณอาจยิ่งตั้งครรภ์ได้ยากมากขึ้นหลังจากอายุเกิน 40 ปี ดังนั้น คุณอาจจะต้องการรักษาภาวะมีบุตรยาก จงพูดคุยกับแพทย์เรื่องความเป็นไปได้ของการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ หรือการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
    • การให้ยาทางปาก เช่น คลอมิฟีน (Clomiphene) หรือ คลอมิฟีน ซิเตรท (Clomiphene citrate) เป็นยารับประทานทางปากในระหว่างวันที่สามไปจนถึงวันที่เจ็ด หรือวันที่ห้าไปจนถึงวันที่เก้าของรอบเดือน ยาเหล่านี้เพิ่มโอกาสตกไข่ อย่างไรก็ตาม การให้ยาทางปากเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้จริงๆ การใช้ยาประเภทนี้ทำให้มีโอกาส 10% ที่จะมีลูกแฝด และมีอัตราที่จะประสบความสำเร็จเรื่องการปฏิสนธิและคลอด 50% แต่เฉพาะในกรณีที่คนไข้ไม่ได้มีไข่ตกเท่านั้น จะไม่เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์อย่างสำคัญใดๆ เลย หากว่าคนไข้มีไข่ตกด้วยตัวเองอยู่แล้ว [10]
    • ฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน (Gonado tropin) และ ฮอร์โมนฮิวแมน คอริโอนิก โกนาโดโทรปิน (Human chorionic gonadotropin) หรือ HCG เป็นการฉีดฮอร์โมนที่ใช้เพิ่มการเจริญพันธุ์ในสตรีสูงวัย โดยเริ่มฉีดวันที่สองถึงสามของรอบเดือน และฉีดต่อเนื่องนานเจ็ดวันหรือสิบสองวัน คุณจำเป็นต้องมีโรงพยาบาลที่รักษาประจำเพื่อเข้ารับ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasound) ในระหว่างการรักษาเพื่อตรวจสอบขนาดของไข่ มีอัตราการเกิดบุตรแฝดสูงสำหรับการรักษาประเภทนี้ โดยประมาณ 30% ของผู้หญิงผู้ตั้งครรภ์จากการฉีดฮอร์โมนจะให้กำเนิดลูกแฝด และสองในสามของเด็กที่คลอดเป็นฝาแฝด [11]
    • หากมีความเสียหายใดๆ ต่อระบบสืบพันธุ์ซึ่งจะสร้างปัญหาตอนคลอด แพทย์อาจต้องการทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา หากการผ่าตัดเป็นผลสำเร็จ น่าจะเพิ่มโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้มาก [12]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงจัดการกับปัญหาสุขภาพใดๆ ที่คุณเป็นอยู่ก่อนจะตั้งครรภ์. หากคุณมีปัญหาสุขภาพใดๆ จงทำให้แน่ใจว่าปัญหาเหล่านั้นอยู่ภายใต้การควบคุมแล้ว ก่อนคุณพยายามจะตั้งครรภ์
    • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) อาจขัดขวางความสามารถที่คุณจะตั้งครรภ์ ดังนั้น จงเข้ารับการตรวจหากมีความเสี่ยงใดๆ ที่คุณอาจจะเป็นโรคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถรักษาอย่างได้ผลด้วยยาปฏิชีวนะ จงเข้ารับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพในทันทีสำหรับโรคและการติดเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ และจงอย่าพยายามตั้งครรภ์จนกว่าคุณจะปลอดจากโรคเหล่านี้แล้ว [13]
    • หากกำลังใช้ยารักษาอาการเรื้อรัง เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism) คุณสมควรตรวจเลือดก่อนจะพยายามตั้งครรภ์ เพื่อทำให้แน่ใจว่าอยู่ภายใต้การควบคุม คุณจะจำเป็นต้องตรวจเลือดเป็นระยะๆ ตลอดการตั้งครรภ์ และแพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนปริมาณยาเมื่อเวลาผ่านไป [14]
  2. การเปลี่ยนแปลงด้านอาหารมีความสำคัญในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะคุณจะจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนสารอาหารในระหว่างตั้งครรภ์ จงทำให้แน่ใจว่าคุณได้เตรียมพร้อมสำหรับอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น
    • มากกว่าครึ่งหนึ่งของธัญพืชที่คุณกินในแต่ละวันสมควรเป็นโฮลเกรน ซึ่งคือธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุด หมายถึง ธัญพืช โฮลเกรน ข้าวกล้อง พาสต้าเส้นโฮลวีท และขนมปังโฮลวีท คุณยังสมควรกินผลไม้และผักหลากหลาย ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ของคุณด้วย [15]
    • คุณสมควรพยายามเช่นกันให้ได้โปรตีนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปของเนื้อแดง ผลไม้แห้งเปลือกแข็ง ไข่ และพืชตระกูลถั่วทั้งหลาย ปลาเป็นแหล่งที่ดีของสารอาหาร และมีโปรตีนสูง แต่คุณสมควรหลีกเลี่ยงปลาประเภทปลาอินทรี ฉลาม ปลาฉนาก และปลาไทล์ฟิชเพราะอาจมีสารปรอทสูง [16]
    • ผลิตภัณฑ์นมมีความสำคัญเช่นเดียวกันในระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีแคลเซียมกับวิตามินดี คุณอาจคุยกับแพทย์เรื่องอาหารเสริมกลุ่มแคลเซียม หากคุณไม่สามารถบริโภคนม [17]
    • มีอาหารหลากหลายที่ต้องห้ามในระหว่างการตั้งครรภ์เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์. เนื้อดิบและเนื้อสัตว์ผ่านกระบวนการอาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ อาหารทะเลรมควันอาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน สิ่งใดที่มีไข่ดิบหรือไข่แดงสามารถสร้างความเสียหายได้ ดังนั้น จงทำให้แน่ใจว่าไข่ของคุณปรุงสุกดี ชีสเนื้อนุ่ม เช่น บรี มักผลิตมาจากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ และสมควรลดปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ให้น้อยลงในช่วงสามเดือนแรก [18]
  3. หากคุณมีน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ แพทย์น่าจะต้องการให้คุณทำน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ จงปรึกษาแพทย์เรื่องวิธีเพิ่มหรือลดน้ำหนักในรูปแบบที่ได้รับความนิยมว่าดีต่อสุขภาพ และทำงานร่วมกับแพทย์เพื่อจัดทำข้อกำหนดในการกินและการบริหารร่างกายที่ใช้ได้ผลสำหรับคุณ [19]
    • นิยามของคำว่ามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์คือ มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 18.5 ส่วนน้ำหนักเกินคือ มีค่าดัชนีมวลกายเกิน 25. หากคุณมีดัชนีมวลกายเท่ากับ 30 หรือมากกว่าถือว่าเป็นโรคอ้วน หากคุณมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ก่อนการตั้งครรภ์ คุณจะถูกคาดหวังให้มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจนตลอดช่วงการตั้งครรภ์ และหากคุณมีน้ำหนักเกิน คุณก็อาจถูกคาดหวังให้มีน้ำหนักลดลง แต่เนื่องจากน้ำหนักในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก จึงจะดีที่สุดหากคุณจะพยายามอย่างหนักเพื่อให้มีน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ [20]
    • การมีน้ำหนักมากเกินไปในระหว่างการตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) กับโรคความดันโลหิตสูง ส่วนการมีน้ำหนักน้อยเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด และร่างกายของคุณอาจไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับการตั้งครรภ์ [21]
    • จงทำงานร่วมกับโรงพยาบาลที่คุณรักษาอยู่เป็นประจำก่อนหน้าการตั้งครรภ์ เรื่องน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพสำหรับความสูงของคุณ พูดคุยเรื่องการออกกำลังกายและโภชนาการ และการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่คุณสมควรทำกับไลฟ์สไตล์ของคุณเพื่อให้มีน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพ [22]
  4. ยาสูบ แอลกอฮอล์ และการใช้ยาเสพติดชนิดใดๆ ก็ตามเพื่อการผ่อนคลาย จะเป็นสิ่งต้องห้ามในระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณสมควรหลีกเลี่ยงการใช้สสารประเภทนั้นในระหว่างที่คุณกำลังพยายามจะตั้งครรภ์ คุณสมควรลดการเสพย์คาเฟอีนให้น้อยที่สุดด้วย เพราะสมควรใช้คาเฟอีนเพียงแค่พอประมาณในระหว่างการตั้งครรภ์ หากคุณเป็นนักดื่มคาเฟอีนตัวยง จงทำงานเพื่อตัดลดปริมาณลงก่อนจะพยายามตั้งครรภ์ เพื่อลดอาการ ต่างๆจากการเลิกกาแฟให้มีน้อยที่สุด คุณสมควรบริโภคกาแฟเพียงประมาณ 150 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเท่ากับประมาณสองถ้วย [23]
  5. การออกกำลังกายนั้นปลอดภัยและถึงกับช่วยให้กำลังใจในระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วย มีวิธีออกกำลังกายอย่างปลอดภัยหลากหลายที่คุณสมควรมีส่วนร่วมด้วยทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์
    • แอโรบิก การฝึกกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสตรีมีครรภ์ โดยทั่วไปนั้น การเดิน การปั่นจักรยานอยู่กับที่ (Stationary biking) โยคะ ว่ายน้ำ และยกน้ำหนัก ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์แต่ละท้องล้วนแตกต่างกัน จึงสมควรปรึกษาเรื่องสุขภาพของคุณกับแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ แพทย์อาจแนะนำให้เพิ่มหรือลดการออกกำลังกายโดยขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของคุณ [24]
    • อัตราการเต้นของชีพจรของคุณสมควรจะเพิ่มขึ้นในระหว่างออกกำลังกาย แต่หากคุณอายุเกิน 40 ปีแล้ว มีความสำคัญที่จะคงให้อัตราการเต้นของหัวใจของคุณอยู่ที่ระหว่าง 125 กับ 140 ครั้งต่อนาที คุณสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจของคุณได้ โดยจับอัตราการเต้นของชีพจรที่ลำคอ หรือข้อมือ และนับจำนวนการเต้นภายในกรอบเวลา 60 วินาที [25]
    • จงระมัดระวังเวลาออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนอนหงาย ที่อาจเป็นอันตรายกับตัวอ่อนในครรภ์เพราะจะจำกัดการไหลเวียนของเลือด [26]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เข้าใจถึงความเสี่ยง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงพิจารณาเรื่องความเสี่ยงจะพิการตั้งแต่กำเนิดเกี่ยวกับโครโมโซม (Chromosomal birth defects). อัตราจะเพิ่มสูงมากขึ้นในเด็กทารกผู้เกิดจากสตรีวัยเกิน 40 ปี จงตระหนักถึงความเสี่ยงเหล่านี้และเปิดรับการทดสอบเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม
    • ความผันแปรของจำนวนโครโมโซม (Aneuploidy) หรือจำนวนผิดปกติของโครโมโซม มีความน่าจะเป็นเพิ่มมากขึ้นเมื่อคุณอายุมากขึ้น และสามารถสร้างความพิการ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) สตรีแต่ละคนเกิดมาพร้อมกับไข่จำนวนหนึ่ง และสตรีผู้มีวัยอ่อนกว่ามีแนวโน้มจะตกไข่ที่มีสุขภาพดีกว่า เมื่อคุณอยู่ในช่วง 40 ปี มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะตกไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติ และปฏิสนธิ เมื่อคุณอายุ 40 ปี โอกาสที่จะเกิดกลุ่มอาการดาวน์คือ 1 ใน 60 และตัวเลขยังคงเพิ่มขึ้นตามอายุ [27]
    • มีการทดสอบหลากหลายที่คุณสามารถทำได้เพื่อตรวจสอบอาการผิดปกติ อาจใช้ตัวอย่างของน้ำคร่ำ หรือเนื้อเยื่อรกในครรภ์เพื่อการทดสอบ การทดสอบเช่นนั้นมาพร้อมกับการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของความเสี่ยงที่จะแท้ง แต่ก็มีการทดสอบใหม่ๆ ที่สามารถทำได้โดยไม่มีความเสี่ยงต่อตัวอ่อนในครรภ์ ปัจจุบันนี้ เราสามารถใช้การทดสอบตัวอย่างเลือดแบบง่ายๆ เรียกว่า เซล ฟรี ดีเอ็นเอ เทสต์ (Cell Free DNA test) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ได้ [28]
  2. จงพิจารณาถึงอัตราที่เพิ่มมากขึ้นของการสูญเสียทารกในครรภ์ (Pregnancy loss). การแท้งอาจจะสร้างความชอกช้ำและความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามวัย หากคุณอายุเกิน 40 ปี จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะในเรื่องตายคลอด (Stillbirth) หรือการแท้งบุตร
    • ก่อนที่จะพยายามตั้งครรภ์ จงพิจารณาอย่างระมัดระวังเรื่องความเป็นไปได้ที่จะแท้ง ในขณะที่สตรีหลายคนสามารถให้กำเนิดทารกสุขภาพดีหลังจากอายุ 40 ปี ได้จริงๆ การแท้งซึ่งเกิดจากเงื่อนไขทางสุขภาพที่มีมาก่อนแล้วกับความผิดปกติของฮอร์โมนจะเริ่มพบได้บ่อยครั้งมากขึ้น จงทำให้แน่ใจว่าคุณได้เตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบทางใจจากการแท้งที่จะเกิดขึ้นกับคุณด้วย หากว่ามันได้เกิดขึ้นจริงๆ
    • การเฝ้าสังเกตตัวอ่อนตลอดช่วงตั้งครรภ์มีความสำคัญหากคุณอายุเกิน 40 ปี เพราะสามารถช่วยป้องกันความน่าจะเป็นที่จะแท้ง จงพูดคุยกับแพทย์เรื่องความเสี่ยงส่วนบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวัยของคุณ และขอให้แพทย์ช่วยเฝ้าสังเกตเพิ่มมากขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ [29]
    • ตอนอายุ 40 ปี อัตราการแท้งเพิ่มขึ้น 33% และตัวเลขจะยิ่งสูงขึ้นเมื่อคุณยิ่งมีอายุมากขึ้น ตอนอายุ 45 ปี อัตราการแท้งอยู่ที่ 50% จงพูดคุยกับแพทย์เรื่องสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันการแท้ง [30]
  3. จงเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการให้กำเนิดลูกแฝดหลายคน. โอกาสที่จะมีคู่แฝดสองหรือแฝดสาม จะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้การทำเด็กหลอดแก้ว (Vitro fertilization) หรือยากระตุ้นการตกไข่ (Fertility drugs) เพื่อเพิ่มโอกาสที่คุณจะตั้งครรภ์
    • จงทำให้แน่ใจว่าคุณมีความสามารถทางการเงินที่จะรองรับการตั้งครรภ์เด็กหลายคน จงเรียนรู้ด้วยตัวคุณเองเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะต่างๆ ของการตั้งครรภ์ฝาแฝด รวมทั้งทางเลือกต่างๆ สำหรับการให้กำเนิด ฝาแฝดหลายคนจำเป็นต้องทำคลอดด้วยวิธีผ่าตัดคลอด [31]
  4. อาจใช้เวลานานกว่าที่จะตั้งครรภ์หากคุณมีอายุเกิน 40 ปี ไข่ของสตรีสูงวัยจะไม่ทำให้เกิดบุตรได้ง่ายๆ เหมือนกับสตรีอายุน้อยกว่า และยังอาจใช้เวลากว่าหกเดือนกว่าที่คุณจะตั้งครรภ์ หากผ่านไปแล้วหกเดือนแล้ว คุณยังคงไม่ตั้งครรภ์สมใจ จงหารือกับโรงพยาบาลประจำของคุณ [32]
    • โอกาสที่จะคลอดบุตรหลายคนขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย แต่ที่แน่ๆ ก็คือ การรักษาภาวะมีบุตรยาก (Fertility treatments) ช่วยเพิ่มอัตราการมีบุตรแฝด โดยการฉีดฮอร์โมนช่วยเพิ่มโอกาสที่จะมีบุตรฝาแฝด 30% ส่วนการกินยาช่วยเพิ่มโอกาสที่จะมีบุตรฝาแฝดได้ 10%
    โฆษณา

คำเตือน

  • หากครอบครัวของคุณมีประวัติเรื่องโรคทางพันธุกรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คุณอาจต้องการพิจารณาเรื่องขอรับคำปรึกษาด้านพันธุกรรม นักพันธุศาสตร์จะมองโดยภาพรวมของแผนภูมิครอบครัวของคุณ และตรวจเลือดของคุณและคู่ของคุณ เพื่อประเมินความเสี่ยงของคุณเรื่องการส่งต่อโรคต่างๆ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
โฆษณา
  1. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/infertility/conditioninfo/Pages/treatments-women.aspx
  2. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/infertility/conditioninfo/Pages/treatments-women.aspx
  3. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/infertility/conditioninfo/Pages/treatments-women.aspx
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/preconception/art-20046664?pg=2
  5. http://www.bidmc.org/YourHealth/Health-Notes/PrepForPregnancy/HighRisk/Over35.aspx
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy-nutrition/art-20046955
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy-nutrition/art-20046955
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy-nutrition/art-20046955
  9. http://americanpregnancy.org/pregnancy-health/foods-to-avoid-during-pregnancy/
  10. http://www.bidmc.org/YourHealth/Health-Notes/PrepForPregnancy/HighRisk/Over35.aspx
  11. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy-weight-gain/art-20044360
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy-weight-gain/art-20044360
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy-weight-gain/art-20044360
  14. http://www.bidmc.org/YourHealth/Health-Notes/PrepForPregnancy/HighRisk/Over35.aspx
  15. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=84955
  16. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=84955
  17. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=84955
  18. http://www.bidmc.org/YourHealth/Health-Notes/PrepForPregnancy/HighRisk/Over35.aspx
  19. http://www.bidmc.org/YourHealth/Health-Notes/PrepForPregnancy/HighRisk/Over35.aspx
  20. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/pregnancy/art-20045756?pg=1
  21. http://www.socalfertility.com/age-and-fertility/
  22. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/pregnancy/art-20045756?pg=1
  23. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/pregnancy/art-20045756?pg=1

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 62,850 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา