ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งหรือตอบรับทำให้นักเขียนต้องวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นจึงสร้างความเห็นที่เกี่ยวข้อง มันเป็นเรียงความในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมเพราะมันต้องใช้การอ่านอย่างถี่ถ้วน การค้นคว้าและการเขียน คุณสามารถเรียนรู้วิธีการเขียนเรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งได้ด้วยการทำตามเคล็ดลับการเขียนเหล่านี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเตรียมตัวเขียนและอ่านอย่างตั้งใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจจุดประสงค์ของเรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้ง. เรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งหรือการเห็นพ้องด้วยถูกมอบหมายให้คุณหลังจากการอ่านข้อความ คุณจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึกหรือคิดเกี่ยวกับเนื้อหา [1] เมื่อคุณเขียนเรียงความแสดงการเห็นด้วย คุณต้องประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของเนื้อหาเช่นเดียวกับว่าเนื้อหาได้บรรลุจุดประสงค์ของมันหรือไม่ และดีหรือไม่ดีอย่างไร เรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งไม่ใช่เพียงเรียงความที่คุณแสดงความคิดเห็น เรียงความเหล่านี้ต้องใช้การอ่านเนื้อหาอย่างถี่ถ้วน ซึ่งลึกซึ้งกว่าการหาความหมายเพียงผิวเผิน คุณต้องตอบรับแนวคิดที่ถูกปรับใช้ อธิบาย ประเมินและวิเคราะห์จุดประสงค์และใจความสำคัญของผู้แต่ง ในหลายกรณี คุณสามารถใช้คำขึ้นประโยคแทนตัวในขณะที่เขียนเรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งได้ [2]
    • เมื่อคุณเห็นด้วยกับเนื้อหา คุณต้องสนับสนุนแนวคิดด้วยหลักฐานจากเนื้อหาเช่นเดียวกับความเชื่อมต่อของแนวคิด เนื้อหาและความคิดที่เชื่อมโยงกัน ถ้าหากคุณต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย คุณจะต้องหาหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าทำไมคุณถึงรู้สึกแบบนี้ [3]
    • ถ้าคุณเห็นด้วยกับเนื้อหาจำนวนมาก คุณต้องวิเคราะห์ว่าเนื้อหาเหล่านั้นเชื่อมโยงกันอย่างไร ถ้าหากเห็นด้วยกับเนื้อหาใดๆ คุณควรเชื่อมต่อเนื้อหาเข้ากับความคิดและธีมที่คุณได้กล่าวถึงในห้องเรียน
    • เรียงความนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ เนื้อหาการเรียน ทัศนศึกษา การทดลองในห้องแลปหรือแม้แต่การพูดคุยกันในห้องเรียน [4]
    • เรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งไม่ใช่การสรุปเนื้อหาและมันไม่ได้กล่าวว่า “ฉันชอบหนังสือเล่มนี้เพราะมันน่าสนใจ” หรือ “ฉันไม่ชอบมันเพราะมันน่าเบื่อ” [5]
  2. ก่อนที่คุณจะเขียนเรียงความ คุณต้องดูให้แน่ใจว่าคุณครูหรืออาจารย์กำลังมองหาอะไร คุณครูบางคนต้องการให้คุณแสดงปฏิกิริยาด้วยการวิเคราะห์หรือประเมินสิ่งที่คุณอ่าน คุณครูท่านอื่นอาจจะต้องการการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว คุณต้องเข้าใจว่าคุณต้องเขียนเรียงความแบบใด
    • ถ้าหากคุณไม่แน่ใจก็ควรขอให้คุณครูอธิบายสิ่งที่คาดหวังจากเรียงความนี้
    • คุณอาจจะถูกขอให้แสดงความคิดโต้แย้งกับเนื้อหาด้วยเนื้อหาอีกชิ้นหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนี้ คุณจะต้องใช้การหยิบยกข้อความจากทั้ง 2 เนื้อหาในการเขียนของคุณ
    • คุณอาจจะถูกขอให้แสดงความคิดโต้แย้งกับเนื้อหาของธีมในห้องเรียน เช่น ถ้าหากคุณอ่านหนังสือในชั้นเรียนสังคมวิทยาของบทบาททางเพศ คุณจะต้องอ่านอธิบายและแสดงความคิดโต้แย้งโดยอ้างอิงว่าบทบาททางเพศในหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างไร
    • คุณอาจจะถูกขอให้แสดงความเห็นส่วนตัวกับเนื้อหา สิ่งนี้ไม่ได้พบบ่อย แต่บางครั้งคุณครูต้องการรู้ว่าคุณได้อ่านเนื้อหาและคิดทบทวนเกี่ยวกับมันหรือไม่ ในกรณีนี้ คุณควรมุ่งเน้นไปยังความคิดเห็นของคุณเกี่ยวกับหนังสือ
  3. อ่านเนื้อหาหลังจากที่คุณได้รับมอบหมายทันที. คุณไม่เพียงแต่ต้องอ่าน ให้ความคิดเห็นและเขียนเรียงความเพื่อทำเรียงความแสดงความคิดโต้แย้งให้เสร็จสมบูรณ์ เรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งต้องสังเคราะห์เนื้อหา ซึ่งแปลว่าคุณต้องนำข้อมูลที่คุณอ่านมารวมกันเพื่อวิเคราะห์และประเมิน คุณต้องให้เวลาตัวเองกับการอ่าน แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือซึมซับสิ่งที่คุณอ่านเพื่อรวบรวมแนวคิดเข้าด้วยกัน
    • ข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวงที่สุดที่นักเรียนทำคือรอจนนาทีสุดท้ายเพื่ออ่านและแสดงความคิดโต้แย้ง ความคิดโต้แย้งคือการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนหลังจากการอ่านและอ่านซ้ำหลายครั้ง
    • คุณอาจจะต้องอ่านเนื้อหาหลายครั้ง ครั้งแรกอ่านและทำความคุ้นเคยกับเนื้อหา จากนั้นจึงเริ่มคิดเกี่ยวกับเรื่องความและความคิดโต้แย้งของคุณ
  4. หลังจากที่คุณได้อ่านครั้งแรกก็ควรเขียนความคิดโต้แย้งแรกๆ ที่มีต่อเนื้อหาลงบนกระดาษ ทำสิ่งเดียวกันกับการอ่านในภายหลัง
    • พยายามทำประโยคเหล่านี้ให้เสร็จสมบูรณ์หลังจากที่คุณอ่าน: ฉันคิดว่า… ฉันพบว่า… ฉันรู้สึกว่า… มันดูเหมือนว่า… หรือ ในความคิดเห็นของฉัน... [6]
  5. ในขณะที่คุณอ่านเนื้อหาอีกครั้งก็ควรอธิบายมัน การอธิบายในขอบเขตของเนื้อหาทำให้คุณสามารถระบุคำที่หยิบยก ประโยคโครงร่าง การพัฒนาตัวละครหรือปฏิกิริยาที่มีต่อเนื้อหา หากคุณไม่สามารถอธิบายได้อย่างถี่ถ้วน คุณก็จะเขียนเรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งที่เกี่ยวข้องได้ยากลำบากขึ้น
  6. คุณต้องเริ่มตั้งคำถามเนื้อหาในขณะที่อ่าน นี่คือที่ซึ่งการประเมินบทเรียนและปฏิกิริยาของคุณเริ่มต้น บางคำถามที่ควรพิจารณา ได้แก่:
    • ผู้แต่งกล่าวถึงประเด็นหรือปัญหาอะไร?
    • ประเด็นสำคัญของผู้แต่งคืออะไร?
    • ผู้แต่งสร้างประเด็นหรือข้อสรุปอะไรและเขาสนับสนุนมันนี้อย่างไร?
    • อะไรคือจุดแข็งและจุดอ่อน? ปัญหาเกี่ยวกับข้อโต้แย้งอยู่ตรงไหน?
    • เนื้อหาเชื่อมโยงกันอย่างไร? ถ้ามีหลายเนื้อหา
    • แนวคิดเหล่านี้เชื่อมโยงกับแนวคิดโดยรวมของชั้นเรียน หน่วยและอื่นๆ อย่างไร?
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การร่างเรียงความของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มด้วยการเขียนปฏิกิริยาและการประเมินแนวคิดของผู้แต่งอย่างเป็นอิสระ พยายามเขียนสิ่งที่คุณคิดว่าผู้แต่งพยายามทำและคุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับมัน จากนั้นจึงถามตัวเองว่าทำไมและอธิบายว่าทำไมคุณถึงคิดแบบนี้ การเขียนอย่างอิสระเป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นแนวคิดของคุณกับเรียงความและก้าวผ่านแบบแผนในเบื้องต้นของผู้แต่ง [7]
    • เมื่อคุณเขียนจบก็ควรอ่านทบทวนสิ่งที่เขียนพิจารณาว่าความคิดโต้แย้งที่แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือมากที่สุดคืออะไร เรียงลำดับความสำคัญของประเด็น
  2. เรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งต้องเป็นเชิงวิจารณ์และมีการประเมินเนื้อหา ไม่เช่นนั้นคุณก็เพียงแต่สรุปสิ่งที่คุณอ่าน หลังจากการเขียนอย่างอิสระก็ควรตัดสินใจว่ามุมมองของคุณคืออะไร ถามตัวเองถึงคำถามเดิมบ่อยๆ ในขณะที่คุณแสดงความคิดโต้แย้งที่สอดคล้อง
    • พิจารณาว่าทำไมผู้แต่งจึงเขียนบทความหรือเรื่องราวเช่นนี้? ทำไมเขาจึงสร้างสิ่งต่างๆ ในแบบนี้? สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับโลกภายนอกอย่างไร? [8]
  3. เมื่อคุณได้ทำการเขียนที่อิสระเสร็จสมบูรณ์และหามุมมองเจอแล้ว คุณก็สามารถใช้สิ่งนี้ในข้อโต้แย้ง สิ่งที่น่าสนใจอะไรที่คุณต้องพูดถึงเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเพิ่งอ่าน? เริ่มด้วยการพูดว่าทำไมสิ่งที่คุณพูดนั้นถึงน่าสนใจและสำคัญ นี่คือแกนหลักของเรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้ง ระบุประเด็น ความคิดเห็นและการสังเกตและรวบรวมสิ่งเหล่านี้ให้เป็นสิ่งเดียวที่คุณจะพิสูจน์ นี่คือบทความของคุณ
    • บทความของคุณจะเป็นคำกล่าวที่อธิบายสิ่งที่คุณจะวิเคราะห์ วิจารณ์หรือพยายามพิสูจน์เกี่ยวกับเนื้อหา มันจะบังคับให้เรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งของคุณไม่ออกนอกลู่นอกทาง
  4. เรียงความของคุณต้องทำตามรูปแบบเรียงความพื้นฐาน มันต้องมีบทนำ เนื้อความและบทสรุป แต่ละย่อหน้าต้องสนับสนุนบทความของคุณ ในแต่ละย่อหน้าคุณควรแสดงความคิดโต้แย้งกับส่วนของเนื้อหาที่แตกต่างกัน จัดความคิดเหล่านี้ให้เข้ารวมกันเป็นหัวข้อร่วมกัน 2-3 หัวข้อ เพื่อให้คุณสามารถเขียนลงในย่อหน้า
    • เช่น ถ้าหากคุณแสดงปฏิกิริยาต่อธีมของหนังสือ คุณสามารถแบ่งย่อหน้าว่าฉากเรื่อง ปฏิปักษ์และการเปรียบเทียบที่เป็นรูปร่างสอดคล้องกับธีมได้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ
  5. หลังจากที่คุณได้จัดการแนวคิดให้เป็นย่อหน้า คุณต้องหาคำหยิบยกที่จะสนับสนุนประเด็นของคุณ คุณต้องสนับสนุนสิ่งที่คุณอ้างอิงด้วยหลักฐานจากเนื้อหา ดูคำอธิบายเพื่อหาคำหยิบยกที่สนับสนุนบทความของคุณ
    • ร่างย่อหน้าที่เกริ่นนำคำหยิบยก วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมัน [9]
  6. ย่อหน้าของคุณต้องเริ่มด้วยประโยคหัวข้อ จากนั้นคุณต้องตัดสินใจว่าจะสร้างเค้าโครงย่อหน้าอย่างไร คุณสามารถเริ่มด้วยสิ่งที่ผู้แต่งพูดและตามด้วยความคิดโต้แย้งของคุณ หรือคุณสามารถเริ่มด้วยผู้แต่งและตามด้วยความคิดโต้แย้งของคุณ คุณต้องเริ่มด้วยสิ่งที่ผู้แต่งพูดก่อนและตามด้วยความคิดโต้แย้งของคุณ [10]
    • วิธีที่ดีในการพิจารณาเกี่ยวกับการสร้างเค้าโครงของย่อหน้าคือรายละเอียด ตัวอย่าง/คำหยิบยก ความคิดเห็น/การประเมิน ทำซ้ำ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การเขียนร่างฉบับสุดท้ายของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บทนำของคุณต้องพูดชื่อของเนื้อหา ผู้แต่งและใจความสำคัญของเรียงความ คุณยังต้องระบุปีที่ตีพิมพ์และสำนักพิมพ์หากเกี่ยวข้อง คุณยังควรระบุจุดประสงค์ของหัวข้อเนื้อหาและผู้แต่ง
    • ประโยคสุดท้ายของบทนำควรเป็นบทความของคุณ
  2. อ่านย่อหน้าที่เป็นความคิดโต้แย้งซ้ำเพื่อทำให้มั่นใจว่าคุณมีเหตุผล. ถึงแม้ว่าเรียงความเชิงแสดงความคิดโต้แย้งส่วนใหญ่ไม่ได้มีเพื่อความคิดเห็นส่วนตัว แต่คุณควรวิจารณ์ วิเคราะห์และประเมินเนื้อหาแทนที่จะพูดถึงข้อเท็จจริงอย่างเดียว
    • มองหาจุดที่คุณสามารถพูดว่าเนื้อหาพูดถึงอะไรแทนที่จะแสดงคำวิจารณ์หรือการประเมินของสิ่งที่เนื้อหากล่าว
  3. อธิบายการตีความเนื้อหาที่กว้างขึ้นสำหรับชั้นเรียน ผู้แต่ง ผู้ฟังหรือตัวเอง. วิธีที่ดีในการวิเคราะห์และประเมินเนื้อหาคือเชื่อมต่อมันกับแนวคิดอื่นที่คุณได้กล่าวในชั้นเรียน เนื้อหานี้เปรียบเทียบกับเนื้อหา ผู้แต่ง ธีมหรือช่วงเวลาอื่นได้อย่างไร?
    • ถ้าหากคุณถูกขอให้ออกความคิดเห็นส่วนตัว บทสรุปอาจจะเป็นบริเวณที่เหมาะสมที่สุดในการพูดถึงสิ่งนี้ คุณครูบางคนอาจจะอนุญาตให้คุณพูดถึงความคิดเห็นส่วนตัวในย่อหน้าเนื้อความ คุณต้องตรวจสอบกับคุณครูก่อน
  4. แก้ไขเพื่อให้มีความชัดเจนและความยาวที่เหมาะสม. เรียงความแสดงปฏิกิริยามักจะมีขนาดสั้น คุณจึงไม่จำเป็นต้องเขียนให้ยาว พวกมันมีความยาวตั้งแต่ 500 คำไปจนถึง 5 หน้ากระดาษ คุณต้องอ่านคำสั่งให้รอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าคุณทำถูกต้อง
    • อ่านทบทวนเพื่อตรวจสอบความชัดเจน ประโยคของคุณชัดเจนหรือไม่? คุณได้สนับสนุนและโต้แย้งประเด็นของคุณหรือเปล่า? มีจุดไหนที่คุณรู้สึกสับสนหรือไม่?
  5. ตรวจทานด้วยการอ่านเพื่อหาการผิดพลาดทางไวยากรณ์ มองหาประโยคที่ยาวเกินไป ปัญหาของการใช้คำกิริยาและคำเชื่อม ตรวจสอบการสะกด
  6. ถามตัวเองว่าคุณได้ตอบรับเรียงความนี้อย่างเหมาะสมหรือไม่. ตรวจสอบคำแนะนำของเรียงความอีกครั้ง ทำให้มั่นใจว่าคุณทำตามสิ่งที่คุณครูสั่ง คุณสามารถส่งเรียงความได้เลยถ้าคุณทำถูกต้อง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มองหาสิ่งที่ผู้แต่งเขียนตกหล่นหรือหยิบยกการคิดแย้งหรือข้อโต้แย้งอ่อนเกินไป
  • อย่ารอนานเกินไประหว่างการอ่านเนื้อหาและเขียนเรียงความ คุณคงไม่อยากลืมรายละเอียดที่สำคัญ
  • เรียงความนี้ไม่ใช่อัตชีวประวัติ มันไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึก สิ่งที่คุณจะเป็นในสถานการณ์เดียวกันหรือความเกี่ยวข้องกับชีวิตของคุณ
  • ตรวจสอบรูปแบบที่คุณครูต้องการเสมอ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,263 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา