ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเขียนแบบประเมินตนเองอาจเป็นเรื่องที่เครียดและบางครั้งก็น่ากลัว แต่มันอาจจะเป็นเครื่องมือในการช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายในอาชีพและการทำงานในองค์กร ไม่ว่าคุณจำเป็นต้องเขียนแบบประเมินตนเองหรือคุณเลือกที่จะทำมันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเติบโตก็ตาม มันจะคุ้มค่ากับความพยายาม ในการเขียนแบบประเมินตนเอง คุณจะต้องประเมินผลงาน สนับสนุนเนื้อหาเหล่านั้นด้วยหลักฐานและตั้งเป้าหมายใหม่ๆ ในอาชีพการงาน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การประเมินผลงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสร้างแบบประเมินตนเองที่ละเอียดและเป็นประโยชน์ต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้น ทำให้มั่นใจว่าคุณมีเวลาเพียงพอในการทำขั้นตอนให้สมบูรณ์ หากคุณรีบเร่ง คุณก็อาจจะข้ามผลงานที่สำคัญหรือโอกาสในการเติบโตทำให้ชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ของคุณมีประสิทธิภาพน้อยลงเพราะมันจะไม่สามารถแสดงถึงความก้าวหน้าในการงานได้อย่างเต็มที่ [1]
    • มันจะเป็นประโยชน์มากทีเดียวถ้าจะสร้างแบบประเมินไว้ล่วงหน้า
  2. แบบประเมินตนเองต้องบ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าใกล้เป้าหมายคุณเป็นคนตั้งเอาไว้และเป้าหมายโดยรวมของบริษัท ที่สำคัญไปกว่านั้น คุณจะต้องแสดงว่าคุณกำลังพยายามบรรลุเป้าหมายขององค์กรเพื่อแสดงให้องค์กรเห็นว่าคุณเป็นลูกจ้างที่มีประสิทธิภาพ [2]
    • การทำให้แบบประเมินตนเองเสร็จสมบูรณ์จะแสดงให้คุณเห็นว่าคุณกำลังเดินมาถูกทางเพื่อทำตามความคาดหวังในอาชีพการงานหรือไม่ เพราะคุณจะสามารถเห็นได้ว่าการพยายามทำงานหนักแบบที่คุณทำอยู่นั้นทำให้คุณบรรลุเป้าหมายหรือไม่
  3. รวบรวมผลงานที่คุณได้ทำในปีที่ผ่านมาโดยอ้างอิงจากเป้าหมายของคุณ รวมไปถึงชิ้นงานที่คุณได้ทำสำเร็จ บุคคลที่คุณได้ทำงานให้และรายงานที่คุณได้ร่าง รวบรวมทุกอย่างตั้งแต่บันทึกของลูกค้าที่คุณได้บริการไปจนถึงคณะกรรมการที่คุณได้ทำงานให้ [3]
    • ประเมินเครื่องมือที่คุณใช้ในการทำงาน เช่น อีเมลและรายงานเพื่อเป็นตัวอย่างงานและแรงสนับสนุนผลงานของคุณ [4]
    • เมื่อคุณพูดถึงผลงานก็ควรนึกถึงว่าพวกมันเหมาะสมกับเป้าหมายของคุณอย่างไรและใช้สิ่งนั้นเพื่อช่วยเรียบเรียงคำพูด เช่น หากเป้าหมายของคุณคือการเพิ่มยอดขายและคุณได้ติดต่อลูกค้าที่น่าสนใจ คุณก็สามารถพูดได้ว่า “คุณได้เริ่มการขาย” หรือ “ได้เพิ่มโอกาสช่องทางการขาย “มากกว่าที่จะพูดว่า “คุณได้โทรศัพท์หาลูกค้า”
  4. รวบรวมเฉพาะผลงานของคุณ ไม่ใช่ผลงานของทั้งทีมเพราะนี่คือแบบประเมินตนเอง แสดงให้เห็นว่าคุณได้ทำอะไรให้กับงานของทีม รวมไปถึงคุณสมบัติของคุณในฐานะคนในทีม
  5. ทุกคนมีจุดอ่อนและการระบุจุดอ่อนออกมาอย่างจริงใจคือวิธีเดียวในการกำจัดมัน คุณต้องประเมินอุปสรรคเพื่อตั้งเป้าหมายใหม่และเลือกใช้โอกาสในการเติบโตที่มีประโยชน์ [5]
    • นึกถึงเวลาที่คุณได้ทำงานล่าช้า ต้องการความช่วยเหลือหรือไม่แน่ใจว่าคุณจะสามารถทำงานได้เสร็จอย่างถูกต้อง
    • ยกตัวอย่าง เช่นเดียวกับผลงานของคุณ คุณต้องให้ตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนความต้องการสำหรับโอกาสในการเติบโต [6]
    • หากคุณไม่สามารถระบุจุดอ่อนของคุณได้ คุณก็ควรคุยกับเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจ ผู้แนะนำหรือเจ้านายของคุณ
  6. บันทึกกิจกรรมการพัฒนาอาชีพการงานของคุณตั้งแต่ปีที่แล้วโดยนำมาเชื่อมต่อเข้ากับเป้าหมายและจุดอ่อนของคุณ แสดงให้เห็นว่าคุณได้ประสบความสำเร็จในการเอาชนะอุปสรรคได้อย่างไรและคุณได้พยายามเพื่อเป็นลูกจ้างที่องค์กรต้องการมากขนาดไหน
    • รวมไปถึงกิจกรรมการพัฒนาอาชีพการงานที่คุณได้ทำสำเร็จตามเวลาของคุณเช่นเดียวกับที่คุณได้ทำเป็นส่วนหนึ่งของงาน
  7. ผลตอบรับที่คุณได้รับในช่วงปีที่ผ่านมาจะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนผลงานและช่วยระบุเนื้อหาเพื่อการพัฒนาของคุณ คุณต้องรวมผลตอบรับจากหัวหน้า เพื่อนร่วมงานและลูกค้าด้วย หากเป็นไปได้
  8. แสดงให้องค์กรของคุณเห็นถึงคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใครที่คุณนำมาใช้ทำงาน เช่น คุณมีวุฒิการศึกษาที่หลากหลายหรือพูดได้ 2 ภาษาหรือไม่ รวบรวมสิ่งเหล่านี้ในแบบประเมินตนเองเพื่อแสดงให้องค์กรเห็นว่าคุณมีบทบาทอย่างไรต่อวัฒนธรรมองค์กร [7]
    • อะไรที่ทำให้คุณแตกต่างในฐานะของลูกจ้างคนหนึ่ง? ถามตัวเองว่าคุณได้นำคุณสมบัติอะไรมาใช้ที่นอกเหนือจากคำอธิบายของงาน เนื่องจากการประเมินนี้เพ่งเล็งไปที่ประสิทธิภาพของคุณ คุณจะต้องรวบรวมรายละเอียดที่แสดงว่าคุณมีบทบาทอย่างไรในฐานะปัจเจกบุคคล
    • สังเกตดูว่าความตั้งใจของคุณได้ช่วยให้ทีมงานของคุณประสบความสำเร็จหรือเกินเป้าหมายของบริษัทหรือไม่อย่างไรถ้าเป็นไปได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การสนับสนุนเนื้อหาด้วยหลักฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มจากการรวบรวมผลงานและเนื้องานที่คุณได้ทำเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน เมื่อคุณมีภาพรวมของงานที่คุณได้ทำสำเร็จ คุณต้องเขียนคำอธิบายสั้นๆ โดยใช้คำกิริยา [8]
    • คำกิริยาแสดงให้เห็นว่าคุณได้ทำอะไรอย่างชัดเจน เช่น พูดว่าคุณได้ประเมินผลลัพธ์ของแบบสอบถาม ฝึกฝนพนักงานใหม่หรือเริ่มโปรเจคใหม่
    • เป็นคนจริงใจ ถึงแม้ว่าคุณจะต้องการพูดถึงผลงานเพื่อให้คุณดูดี แต่คุณต้องทำให้มั่นใจว่าข้อมูลแม่นยำ เช่น อย่าบันทึกผลงานเดี่ยวว่าเป็นประสบการณ์การจัดการเพราะคุณได้จัดการตัวเอง
  2. สนับสนุนผลงานด้วยตัวอย่างที่นับจำนวนได้ เช่น สถิติ เปอร์เซ็นต์หรือตัวเลขรวม [9] เช่น พูดว่า “ฉันเพิ่มจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 20%” หรือ “ฉันลดจำนวนรายงานความผิดพลาดลง 15%” คุณยังสามารถใช้การคำนวณโดยตรง เช่น “ฉันทำแบบสอบถามเสร็จสมบูรณ์ 5 ชิ้น” หรือ “ฉันบริการลูกค้าโดยเฉลี่ย 4 คนต่อวัน”
  3. ใส่ตัวอย่างเชิงลึกเพื่อสนับสนุนผลงานของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่คุณไม่สามารถใส่ตัวเลขได้ [10] ตัวอย่างเชิงลึกแสดงว่าคุณได้ลงมือทำแต่ไม่สามารถแสดงข้อมูลเป็นตัวเลขได้ เช่น พูดว่า “ฉันได้เพิ่มการบริการลูกค้าด้วยการสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่บนเว็บไซต์”
    • ตัวอย่างเชิงลึกเป็นสิ่งที่สนับสนุนผลงานได้ดีเมื่อการกระทำนั้นมีความหมายโดยไม่เกี่ยวกับความสำเร็จของมัน เช่น หากคุณได้รับมอบหมายโปรแกรมเพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน การกระทำที่คุณใช้นั้นมีความหมาย ถึงแม้ว่าคุณได้ป้องกันเยาวชนเพียงแค่คนเดียว
  4. เชื่อมโยงผลตอบรับที่เป็นบวกเข้ากับผลงานของคุณเพื่อแสดงว่าคนอื่นได้สังเกตการณ์ความสำเร็จของคุณในที่ทำงาน ใส่เฉพาะผลตอบรับที่สนับสนุนผลงานของคุณอย่างชัดเจนเพื่อที่การประเมินตนเองครั้งนี้จะได้แม่นยำและมีประโยชน์ [11]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การตั้งเป้าหมายใหม่ๆ ในอาชีพการงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อ่านแบบประเมินตนเองซ้ำไปซ้ำมาโดยใส่ใจเป็นพิเศษกับวิธีที่คุณบรรลุเป้าหมายของปีที่แล้วและเป้าหมายขององค์กรได้สำเร็จ ระบุช่องว่างที่ต้องการการปรับปรุง จากนั้นจึงศึกษาอุปสรรคที่คุณได้ระบุซึ่งจะแสดงให้คุณเห็นถึงส่วนที่คุณต้องปรับปรุง [12]
  2. ตั้งเป้าหมายใหม่ๆ ในอาชีพการงานสำหรับปีที่จะมาถึงโดยอ้างอิงจากช่องว่างและอุปสรรคที่คุณได้ระบุ มุ่งเน้นไปที่ 2 เป้าหมายใหม่และจำไว้ว่าคุณจะยังคงเดินหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กรต่อไป [13]
    • เมื่อคุณตั้งเป้าหมายก็จำไว้ว่าคุณจะต้องแสดงการสนับสนุนสำหรับการบรรลุเป้าหมายและคุณจะต้องเริ่มสร้างการเติบโต เขียนเป้าหมายของคุณในแบบที่จะทำให้คุณพบเจอกับความต้องการเหล่านี้
    • หลีกเลี่ยงการตั้งเป้าหมายสูงลิ่วจนยากจะบรรลุได้ เลือกเป้าหมายที่คุณสามารถบรรลุได้ในการประเมินผลคราวหน้า
  3. ทำการนัดหมายกับเจ้านายเพื่อประเมินผลลัพธ์ของคุณ เตรียมตัวอธิบายข้อมูลที่คุณได้รวบรวม แสดงให้พวกเขาเห็นเป้าหมายใหม่ของคุณและอธิบายว่าทำไมคุณจึงเลือกเป้าหมายนี้สำหรับปีที่กำลังจะมาถึง [14]
  4. เมื่อเจ้านายของคุณได้ประเมินผลลัพธ์ของแบบประเมินตนเองของคุณแล้ว คุณสามารถถามหาส่วนที่คุณต้องปรับปรุงและส่วนที่คุณได้ประสบความสำเร็จ ถามพวกเขาว่าคิดอย่างไรกับเป้าหมายใหม่ของคุณและปล่อยให้พวกเขาช่วยตีกรอบเป้าหมายเหล่านั้น [15]
  5. พูดถึงเรื่องอุปสรรคกับเจ้านายของคุณและเสนอความคิดสำหรับการเติบโตในอาชีพการงานของปีที่กำลังจะมาถึง รับฟังคำแนะนำของเจ้านายและเปิดรับความคิดเห็นของพวกเขา แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณกำลังแก้ไขจุดอ่อนและมุ่งหน้าประสบความสำเร็จ
  6. สรุปเป้าหมายใหม่ๆ และอัพเดทแบบประเมินตนของคุณเพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงโดยอ้างอิงจากผลตอบรับที่คุณได้รับจากเจ้านาย [16]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • วางแผนการประเมินครั้งต่อไปกับผู้จัดการของคุณโดยการตั้งเป้าหมายเฉพาะเจาะจงและสร้างวิธีที่คุณจะประเมินตนเองเพื่อเป้าหมายเรานั้น (คำนวณ) ตัดสินใจล่วงหน้าว่าคุณจะถูกประเมินอย่างไรโดยขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ ด้วยวิธีนี้คุณและเจ้านายของคุณจะได้เข้าใจตรงกันในส่วนของเป้าหมาย
  • อัพเดทเรซูเม่ของคุณหลังจากที่ทำแบบประเมินตนเองเสร็จสมบูรณ์
  • นัดประชุมรอบไตรมาสกับเจ้านายเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการปรับปรุงและการตั้งเป้าหมายซึ่งคุณสามารถใช้แบบประเมินตนเองครั้งต่อไป
  • พูดความจริงเกี่ยวกับผลงาน จุดแข็งและจุดอ่อนของคุณ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 74,103 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา