ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลในแฟชั่นและสไตล์แถมยังอยากเป็นเจ้านายตัวเอง การเปิดร้านขายเสื้อผ้าก็อาจจะเป็นการตัดสินใจที่เหมาะกับคุณ แต่ทั้งนี้มันก็ไม่ใช่งานง่ายๆ การเริ่มทำธุรกิจ ต้องอาศัยการคิดและการวางแผนเป็นอย่างมาก เริ่มจากการตัดสินใจก่อนว่า กลุ่มเป้าหมายลูกค้าคือใคร และร้านของคุณจะไปเติมเต็มส่วนไหนในตลาด จากนั้นก็หาทำเลเหมาะๆ คำนวณต้นทุนที่คาดหมายและขอสินเชื่อสำหรับเริ่มต้นธุรกิจถ้าจำเป็น ประชาสัมพันธ์ธุรกิจของคุณในโลกออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขาย และสุดท้ายคือจัดงานเปิดร้านสุดยิ่งใหญ่เพื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ศึกษาตลาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กลุ่มเป้าหมายลูกค้าคือสิ่งที่กำหนดแทบจะทุกอย่างเกี่ยวกับร้าน ตั้งแต่สินค้าที่คุณจะวางขายไปจนถึงที่ตั้งหน้าร้าน เริ่มจากการรวบรวมความคิดก่อนว่า คุณอยากประชาสัมพันธ์สินค้ากับใคร จากนั้นใช้การตัดสินใจนั้นเป็นตัวตั้งในการตัดสินใจเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับร้าน [1]
    • ก่อนอื่นให้คิดใหญ่ไว้ก่อน คุณอยากขายเสื้อผ้าให้ผู้ชายหรือผู้หญิง จากนั้นก็ค่อยเจาะจงลงมามากขึ้น คิดถึงอายุ อาชีพ และสไตล์ของคนที่คุณอยากขายของให้เขา
    • ในการเริ่มต้นให้คุณเริ่มจากสิ่งที่คุณรู้ก่อน ถ้าคุณเคยทำงานในร้านขายสูทสำหรับนักธุรกิจ คุณก็จะรู้ตลาดอยู่แล้ว ลองเข้าไปในตลาดที่คุณมีประสบการณ์อยู่แล้วแบบนี้
    • คิดดูว่าคุณจะได้เงินจากตรงไหนมากที่สุด ในเมืองเล็กๆ สูทนักธุรกิจอาจจะไม่ได้มีความต้องการมากนัก แต่คุณอาจจะได้ลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวเยอะในช่วงหน้าร้อน ในกรณีนี้ถ้าเปิดร้านที่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวไปเลยก็อาจจะดีกว่า
  2. ทำเลเป็นหนึ่งในการตัดสินใจครั้งสำคัญในตอนเริ่มต้นธุรกิจ เพราะฉะนั้นศึกษาตลาดให้ดี มองหาทำเลที่มีคนเดินผ่านเยอะๆ เพื่อให้ได้ลูกค้าคนแรก มองหาธุรกิจแนวเดียวกับคุณ ธุรกิจเล็กๆ มักจะเกาะกลุ่มกันเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นนี่ก็อาจจะเป็นทำเลสำเร็จรูปสำหรับคุณ [2]
    • อย่าเปิดร้านใกล้กับร้านที่ขายของเหมือนกันเกินไป ถ้ามันมีร้านขายเสื้อผ้าเล็กๆ ตรงทำเลที่คุณดูไว้อยู่หลายร้าน ตลาดนี้ก็อาจจะอิ่มตัวแล้ว ลองหาทำเลอื่นจะดีกว่า
    • เช่น ถ้าคุณต้องการขายเสื้อผ้าให้นักท่องเที่ยว คุณก็ต้องเปิดร้านใกล้ๆ กับบริเวณแหล่งท่องเที่ยวหลัก
    • สำหรับทำเลที่มีคนเดินผ่านเยอะๆ ให้เปิดร้านใกล้ๆ กับร้านอาหารและร้านกาแฟ บริเวณที่คนพลุกพล่านมักจะมีคนที่ชอบเดินดูของตามร้านค้ามากมาย
    • หาว่าค่าเช่าในทุกทำเลที่คุณดูไว้ราคาเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามเรื่องนี้ไปในช่วงวางแผน
  3. ห้างสรรพสินค้าใหญ่ขายสินค้ายี่ห้อดังในราคาไม่แพง เพราะฉะนั้นร้านของคุณจะไม่โดดเด่นถ้าคุณพยายามจะใช้โมเดลเดียวกัน ลองคิดดูว่าจุดต่างของคุณกับคู่แข่งเจ้าใหญ่ๆ และธุรกิจเล็กๆ อื่นๆ คืออะไร วางขายยี่ห้อหรือสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าไม่มี หรือเพิ่มความพิเศษในจุดที่บริเวณนั้นยังขาด [3]
    • แง่มุมที่ดีมุมหนึ่งก็คือ การขายสินค้าที่ทำโดยผู้ผลิตท้องถิ่น วิธีนี้จะทำให้ร้านของคุณมีบรรยากาศที่ไม่เหมือนกับที่ลูกค้าจะได้จากร้านค้าปลีกใหญ่ๆ
    • ในเมืองของคุณอาจจะมีร้านเสื้อผ้ายี่ห้อที่ไม่ดังมากมายอยู่แล้ว แต่ยังขาดร้านขายชุดคลุมท้อง ตรงนี้ก็อาจจะเป็นจุดที่คุณจะสร้างส่วนแบ่งตลาดขึ้นมาได้
  4. จำไว้ว่าการเริ่มธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงและมีธุรกิจเล็กๆ มากมายที่ล้มหายตายจาก ไม่ได้พูดเพื่อให้คุณเสียกำลังใจ แต่คุณต้องมีแผนสำรองไว้ในใจเผื่อว่าธุรกิจไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด [4]
    • เตรียมเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับค่าใช้จ่าย 6 เดือนถ้าคุณต้องหางานใหม่
    • จำไว้ว่าร้านขายเสื้อผ้ามักจะมีส่วนต่างกำไรน้อยกว่าธุรกิจอื่นๆ อยู่แล้ว คุณควรเข้าวงการนี้เพราะว่าคุณรักอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและอยากทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ความหลงใหลนี้จะช่วยให้คุณจัดการกับผลกำไรที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ระดมเงินและจัดตั้งธุรกิจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนเริ่มธุรกิจคุณต้องคำนวณก่อนว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจคือเท่าไหร่ ถ้าคุณยังไม่เห็นภาพการเงินอย่างรอบด้าน ร้านของคุณจะประสบความสำเร็จได้ยาก ต้นทุนดำเนินการหรือที่บางครั้งเรียกว่าค่าโสหุ้ยหรือค่าใช้จ่ายคงที่คือค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายเป็นประจำเพื่อให้ร้านเปิดต่อไปได้ คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือนที่คงที่และจำเป็นต้องจ่าย ผลรวมที่ได้คือต้นทุนดำเนินการ [5]
    • ค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เป็นต้นทุนดำเนินการได้แก่ ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค ค่าประกัน และค่าโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ต ถ้าคุณขอสินเชื่อ เงินใช้หนี้ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายคงที่เช่นกัน
    • คำแนะนำทั่วไปก็คือ ค่าเช่าร้านจะต้องไม่เกิน 6% ของยอดขายต่อปี นึกถึงคำแนะนำนี้ไว้เวลาคำนวณต้นทุน ถ้าค่าเช่าเดือนละ 60,000 บาท ก็เท่ากับ 720,000 บาทต่อปี หมายความว่าคุณจะต้องขายได้ 12,000,000 บาทถึงจะตรงตามคำแนะนำนี้ ถ้าคุณไม่คิดว่ายอดขายคุณจะสูงขนาดนั้น คุณก็อาจจะต้องหาทำเลที่ค่าเช่าถูกกว่านี้
  2. ค่าใช้จ่ายกลุ่มนี้เรียกว่าค่าใช้จ่ายแปรผัน เพราะในแต่ละเดือนมันไม่เท่ากัน เช่น คุณอาจจะซื้อสินค้าเข้าคลังน้อยลงหรือจ้างลูกจ้างน้อยลง แต่ร้านก็ยังเปิดต่อได้ คำนวณว่าคุณมีค่าใช้จ่ายสินค้าคงคลังเท่าไหร่และต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานเท่าไหร่ จากนั้นก็เอาส่วนนี้มารวมกับต้นทุนแปรผันอื่นๆ [6]
    • ค่าใช้จ่ายแปรผันอื่นๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาและการตลาด เพราะโดยหลักการแล้วถึงไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ร้านคุณก็ยังเปิดได้
    • คำนวณต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผันเพื่อหาจุดคุ้มทุน ซึ่งก็คือจำนวนเงินที่คุณต้องหาได้ในแต่ละเดือนเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย
  3. เขียน แผนธุรกิจ . แผนธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญไม่เพียงแต่เพื่อให้คุณรวบรวมความคิดได้เท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะว่านักลงทุนเขาต้องดูแผนธุรกิจของคุณก่อนถึงจะให้เงินทุนได้ด้วย รวบรวมคำอธิบายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ ได้แก่ สินค้าที่คุณจะขาย แผนการดำเนินการ และค่าใช้จ่ายทั้งหมด และพร้อมนำเสนอแผนการนี้กับคนที่คุณขอระดมเงินจากเขา [7]
    • เริ่มจากการอธิบายธุรกิจให้แน่ชัด คุณจะขายอะไรและกลุ่มเป้าหมายคือใคร
    • จากนั้นเขียนสรุปออกมาว่า คุณจะเข้าไปอยู่ในตลาดปัจจุบันได้อย่างไร อธิบายตลาดที่คุณศึกษาและวิธีการที่คุณจะทำให้ตัวเองโดดเด่นจากคู่แข่ง
    • สุดท้ายเขียนสรุปต้นทุนสุทธิทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน จากนั้นระบุว่าคุณต้องการเงินเท่าไหร่ในการเริ่มต้นธุรกิจ
  4. แม้ว่าการจัดตั้งธุรกิจจะไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำ แต่การจัดตั้งธุรกิจก็มีประโยชน์หลายอย่าง การจัดตั้งธุรกิจจะแยกเงินส่วนตัวกับธุรกิจออกจากกัน เพราะฉะนั้นเงินเก็บส่วนตัวของคุณก็จะได้รับการคุ้มครอง นอกจากนี้ผู้ขาย ผู้ผลิต และผู้ให้กู้ก็มักจะอยากร่วมงานกับธุรกิจมากกว่าบุคคลธรรมดา สุดท้ายแล้วคุณยังสามารถสำแดงค่าใช้จ่ายธุรกิจและยังได้ลดหย่อนภาษีในฐานะเจ้าของธุรกิจด้วย [8]
    • รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจที่นิยมมากที่สุดก็คือ บริษัทจำกัด (บจก.) และบริษัท ธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นบจก. เพราะว่ามีผู้เกี่ยวข้องไม่มากนัก
    • ยื่นเอกสารขอใบอนุญาตประกอบกิจการในจังหวัดที่คุณดำเนินธุรกิจ ถ้าคุณไม่อยากจัดการงานเอกสารด้วยตัวเอง คุณก็สามารถจ้างทนายหรือธุรกิจอื่นๆ ทำแทนคุณได้
  5. สมัครสินเชื่อธุรกิจหรือหานักลงทุนส่วนบุคคล. ถ้าคุณมีเงินเก็บไม่พอที่จะเปิดร้านเอง คุณก็สามารถระดมเงินจากธนาคารหรือนักลงทุนส่วนบุคคลได้ สมัครขอสินเชื่อธุรกิจขนาดเล็กกับธนาคารในท้องถิ่น ถ้าธนาคารให้กู้ยืมเงินได้ไม่พอ นักลงทุนส่วนบุคคลก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ก็จำไว้ด้วยว่านักลงทุนส่วนบุคคลมักจะอยากได้กำไรจากการลงทุนมากกว่าธนาคาร และเขาอาจจะอยากเป็นเจ้าของธุรกิจบางส่วนแลกกับการให้กู้ยืมเงิน [9]
    • จำนวนเงินกู้จะขึ้นอยู่กับต้นทุนสุทธิ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณควรมีเงินสำหรับค่าใช้จ่าย 6-12 เดือนติดตัวตอนเริ่มทำธุรกิจ เพราะมันต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะเริ่มมีเงินเข้ามา
    • จำนวนเงินที่ใช้ในการเปิดร้านขายเสื้อผ้าเล็กๆ ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 1,500,000 บาทไปจนถึงอย่างน้อย 6,000,000 บาท หรือมากกว่าถ้าเป็นร้านขนาดใหญ่
    • คุณควรมีเงินสดติดตัวไว้มากกว่าค่าใช้จ่าย ธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่เจ๊งภายในปีแรกเพราะไม่มีเงินทุนมากพอ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

หาสินค้าเข้าคลังและจ้างพนักงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณมีแผนการเงินและธุรกิจเรียบร้อยแล้ว ให้เริ่มหาสินค้าเข้าร้าน มองหาซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตที่มีสินค้าตรงตามประเภทตลาดของคุณ หาสินค้าที่ดีที่สุดในราคาที่ดีที่สุดและสั่งสินค้าล็อตแรก [10]
    • คุณอาจจะซื้อสินค้าจำนวนมากเพื่อประหยัดต้นทุน แต่อย่าสั่งมาเกินกว่าที่คุณคิดว่าจะขายได้ เพราะถ้าคุณลงเงินสำหรับเริ่มต้นธุรกิจไปกับการซื้อของทั้งหมดทันที คุณอาจจะไม่มีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ
    • ลองติดต่อผู้ผลิตโดยตรงแทนการผ่านร้านขายส่ง เพราะการซื้อจากผู้ผลิตโดยตรงอาจจะประหยัดเงินมากกว่า
    • งานแสดงสินค้าก็เป็นที่ที่เหมาะจะไปเลือกสินค้าขายส่งราคาถูก
  2. วางขายสินค้าจากผู้ผลิตท้องถิ่นเพื่อให้ร้านของคุณไม่เหมือนใคร. ร้านค้าเล็กๆ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และวิธีที่จะแทรกตัวเข้าไปในชุมชนท้องถิ่นได้ก็คือ การวางขายสินค้าของผู้ผลิตท้องถิ่น ติดต่อผู้ผลิตอัญมณี ศิลปิน และผู้ผลิตเสื้อผ้าให้วางขายสินค้าในร้านของคุณ วิธีนี้จะทำให้คุณมีสินค้าวางขายอยู่เรื่อยๆ และได้ประชาสัมพันธ์ร้านไปในตัวด้วย [11]
    • ถ้าร้านของคุณไม่มีพื้นที่ที่จะวางขายสินค้าท้องถิ่นตลอดเวลา คุณก็อาจจะจัดงานสำหรับผู้ผลิตท้องถิ่นเป็นประจำทุกเดือนแทนก็ได้ เช่น ตั้งเต็นท์ตรงที่จอดรถแล้วให้พวกเขามาจัดแสดงสินค้า
  3. จำนวนพนักงานที่จำเป็นจะขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน จำนวนที่แนะนำทั่วไปก็คือ พนักงานประจำ 1 คนและพนักงานพาร์ตไทม์ 1 คนต่อพื้นที่ 93 ตรม. ลองคิดดูว่าคุณสามารถทำงานได้แค่ไหน แล้วจ้างพนักงานตามความจำเป็น [12]
    • มีพนักงานที่คุณไว้ใจอย่างน้อย 1 คนที่สามารถเปิดร้านแทนคุณได้เวลาที่คุณไม่อยู่ เพราะคุณไม่มีวันรู้ว่าจะมีเหตุฉุกเฉินหรือคุณจะป่วยเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นควรมีใครสักคนที่รู้เรื่องการจัดการร้านพอๆ กับคุณ
    • จำไว้ว่าพนักงานแต่ละคนที่คุณจ้างคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา เพราะฉะนั้นจ้างเท่าที่จำเป็น
    • ถ้าปริมาณงานไม่แน่นอน ก็อาจจะจ้างพนักงานตามฤดูกาลเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ถ้าคุณเปิดร้านสำหรับนักท่องเที่ยวที่มักจะมีลูกค้าเยอะในช่วงหน้าร้อนเท่านั้น คุณก็ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานช่วงหน้าหนาว
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ประชาสัมพันธ์ร้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับงานทั้งหมดมามากแล้ว ก็ถึงเวลาเปิดตัวด้วยการจัดงานเปิดร้านสุดอลังการ เชิญทุกคนที่คุณรู้จักมาร่วมงานและประชาสัมพันธ์งานนี้ให้ทั่วจังหวัด งานนี้เป็นโอกาสพิเศษที่ทุกคนจะได้รู้จักร้านของคุณและทำให้คนบอกกันปากต่อปาก [13]
    • ขายสินค้าในราคาพิเศษในวันเปิดร้านเพื่อให้ทุกคนได้ลองซื้อสินค้าของคุณ
    • ติดต่อสื่อมวลชนท้องถิ่นให้มาที่งานเปิดร้าน เพราะคุณอาจจะได้โฆษณาร้านแบบฟรีๆ
    • เชิญนายกเทศมนตรีหรือนักการเมืองท้องถิ่นอื่นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจให้กับงาน
  2. โซเชียลมีเดียเป็นสื่อโฆษณาที่ดีและราคาถูก ก่อนอื่นให้เริ่มสร้างเพจร้านค้าบนโซเชียลมีเดียใหญ่ๆ ก่อน จากนั้นเริ่มแคมเปญโฆษณาในเว็บไซต์เหล่านี้เพื่อให้คนในท้องถิ่นรู้จักธุรกิจของคุณ [14]
    • เนื่องจากว่าธุรกิจของคุณมีหน้าร้าน ให้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะโฆษณาในระยะ 5-10 กิโลเมตรจากร้าน เพราะการโฆษณาร้านค้าให้กับคนที่อยู่ไกลออกไป 100 กิโลเมตรเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเปล่าๆ
    • อัปเดตโซเชียลมีเดียเป็นประจำ ถ้าคุณไม่โพสต์ใน Facebook มา 6 เดือน คนอาจจะคิดว่าธุรกิจของคุณปิดตัวลงแล้ว ตั้งเป้าโพสต์ข้อความอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 โพสต์ นอกจากนี้ก็ให้ประกาศเรื่องใหญ่ๆ เช่น การลดราคาสินค้า ในบัญชีโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ทุกแห่ง
    • จำไว้ว่าการโฆษณาก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายอยู่ดี เพราะฉะนั้นคำนวณค่าโฆษณาเหล่านี้ให้อยู่ในงบเพื่อไม่ให้ต้นทุนเกิน
  3. ชุมชนส่วนใหญ่จะจัดงานลักษณะนี้เพื่อแสดงสินค้าของธุรกิจท้องถิ่น พยายามเข้าร่วมงานต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจของคุณ นำตัวอย่างและสินค้าไปขายเพื่อให้คนรู้ว่าร้านคุณขายอะไร [15]
    • นำนามบัตรธุรกิจติดตัวไปทุกครั้งที่ไปออกร้านที่งานเหล่านี้ และแจกจ่ายให้คนที่มาร่วมงานให้ได้มากที่สุด
    • ติดต่อหอการค้าท้องถิ่นเพื่อให้รู้ว่าชุมชนกำลังจะจัดงานอะไรบ้าง และเข้าร่วมให้ได้มากที่สุด
    • อย่าปล่อยให้ไม่มีใครเฝ้าร้านหรือปิดร้านเวลาที่คุณไปออกร้านในงาน ให้พนักงานที่ดีที่สุดเป็นคนดูร้านช่วงที่คุณไม่อยู่
  4. เว็บไซต์ต่างๆ เช่น Lazada Shopee หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ของต่างประเทศ เช่น Amazon และ eBay นั้นเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่สำหรับธุรกิจเล็กๆ ถ้าคุณขายแต่ทางหน้าร้านอย่างเดียว คุณจะพลาดโอกาสที่จะได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ สร้างบัญชีผู้ขายในเว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์อย่างน้อย 1 เว็บไซต์และจัดทำรายการสินค้า วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีในการดึงดูดลูกค้ามากขึ้นหรือเพิ่มกำไรในช่วงที่ไม่ค่อยมีคนมาซื้อที่หน้าร้าน
    • จัดระบบการขายออนไลน์ให้ดี ถ้าเขารู้กันทั่วว่าร้านของคุณบริการไม่ดี เว็บไซต์เหล่านี้อาจจะระงับบัญชีของคุณ
    • ใส่ลิงค์ร้านค้าออนไลน์ในโซเชียลมีเดียทุกช่องทาง
    • จำไว้ว่าร้านค้าออนไลน์ก็มีค่าธรรมเนียมด้วย คำนวณค่าธรรมเนียมทั้งหมดและตั้งราคาสินค้าตามนั้นเพื่อที่คุณจะได้ไม่เสียเงินเปล่า
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,759 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา