ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเราต้องการให้ตนเองสามารถขับรถในสภาพอากาศที่ย่ำแย่ได้อย่างปลอดภัย หรือมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นเวลาแข่งขันกีฬา เราก็ต้องฝึกตนเองให้มีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นและฝึกอย่างสม่ำเสมอ การฝึกนี้เป็นกิจกรรมที่สนุก เราอาจเริ่มด้วยการเล่นเกมฝึกสมองและเล่นวีดีโอเกมเพื่อจะได้ฝึกปรับความคิดของตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ จากนั้นจึงเปลี่ยนมาโยนบอล และวิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เราอาจให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาออกแบบการฝึกพิเศษให้ก็ได้ เมื่อทำตามวิธีการต่างๆ ที่บทความนี้แนะนำแล้ว เราก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ฝึกร่างกายให้มีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทดสอบว่าตนเองมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วแค่ไหน. นำกระดาษแข็งมาตัดให้มีขนาดยาว 20 ซม. และกว้าง 5.1 ซม. ขอให้เพื่อนช่วยถือกระดาษแข็งใบนี้ไว้ในแนวตั้ง โดยให้จับขอบบนของกระดาษไว้ ส่วนขอบล่างของกระดาษจะอยู่ระหว่างง่ามนิ้วมือของเรา จากนั้นขอให้เพื่อนปล่อยกระดาษโดยไม่ต้องบอก พอกระดาษร่วงลงมา ใช้นิ้วหนีบไว้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ การทดสอบนี้จะทำให้เรารู้ว่าปฏิกิริยาตอบสนองของตนเองนั้นเร็วแค่ไหน
    • ถ้าเราหนีบบริเวณขอบล่างของกระดาษไว้ได้ แสดงว่าเรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็ว
    • ถ้าเราหนีบบริเวณขอบบนของกระดาษไว้ได้ หรือหนีบกระดาษไม่ได้เลย แสดงว่าเรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่ช้า [1]
  2. ถ้าเรากำลังฝึกเล่นกีฬา การฝึกโดยใช้ลูกบอลสามารถช่วยเพิ่มทักษะด้านกีฬาและทำให้ตนเองมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นได้มากทีเดียว เราอาจฝึกรับลูกรับบอลโดยใช้มือ เตะลูกบอล หรือฝึกกีฬาอย่างอื่นที่ต้องใช้ลูกบอลก็ได้ เราอาจนำลูกบอลมาเล่นกับกีฬาชนิดต่างๆ อาจชวนเพื่อนมาร่วมเล่นกับเราด้วยก็ได้เพื่อทำให้การฝึกท้าทายยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเล่นเป็นแคทเชอร์ ก็ให้เพื่อนขว้างบอลจากด้านหลังของเรา แล้วเราก็จะได้รู้ว่าตนเองสามารถรับลูกบอลได้เร็วแค่ไหน [2]
    • ลองฝึกโยนบอลสามลูกดูก็ได้ พอเห็นบอลลอยสูงขึ้นไปในอากาศ เราก็จะะรีบรับโดยเร็ว การฝึกโยนบอลสามลูกบ่อยๆ สามารถช่วยทำให้เรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นได้ นอกจากนี้เรายังสามารถนำกิจกรรมนี้ไปสร้างความบันเทิงให้กับเพื่อนๆ ได้ด้วย [3]
    • เราจะใช้ลูกบอลฝึกการตอบสนองก็ได้ ลูกบอลเล็กๆ หกลูกซึ่งเชื่อมติดกันนี้จะกระดอนหรือกระเด้งไปในทิศทางที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เมื่อถูกโยนลงพื้น หรือถูกโยนกระทบผนัง [4]
  3. เตรียมกรวยไว้สักสามสี่อัน วางกรวยแต่ละอันให้อยู่ห่างกันและให้เราวิ่งหลบหลีกกรวยแต่ละอันให้เร็วที่สุดเท่าจะทำได้ เปลี่ยนตำแหน่งการวางกรวยหรือเปลี่ยนรูปแบบการวิ่งเพื่อเพิ่มความท้าทายในการฝึก ถ้าเราเป็นนักกีฬา ขอให้ครูฝึกช่วยแนะนำวิธีฝึกความคล่องตัวที่เราสามารถทำได้ ยิ่งเราทุ่มเทเวลาและความพยายามในการฝึกความคล่องตัว เราก็จะยิ่งมีความคล่องตัวมากขึ้น [5]
    • ตัวอย่างเช่น ในการวิ่งรอบแรกให้วิ่งหลบหลีกกรวยแต่ละอัน ในการวิ่งรอบที่สองให้วิ่งหลบหลีกกรวยทุกๆ สองอัน
  4. ถ้าเราทรงตัวได้ดีขึ้น เราก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้น ลองนั่งบนลูกบอลโยคะ โดยให้เท้าข้างเดียววางอยู่บนพื้น ลองยืนขาเดียวและกระโดดเปลี่ยนไปยืนด้วยขาอีกข้างหนึ่ง หรือส่งลูกบอลจากมือหนึ่งไปที่อีกมือหนึ่งขณะที่ยืนขาเดียว การทำกิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้เราทรงตัวได้ดีขึ้น
    • เราสามารถฝึกการทรงตัวด้วยการวางของบนศีรษะหรือปลายนิ้ว การฝึกแบบนี้จะทำให้เราต้องทรงตัวให้ดีเพื่อป้องกันไม่ให้ของที่วางอยู่หรือถืออยู่ตก
  5. บางครั้งปฏิกิริยาตอบสนองของเราไม่เร็วพอ ไม่ใช่เพราะร่างกายเคลื่อนไหวเชื่องช้า แต่เป็นเพราะสายตาไม่ไวพอ! เราจึงต้องฝึกสายตาเพื่อให้สายตาของตนเองไวขึ้น เลือกวัตถุที่คล้ายกันมาสองชิ้น ชิ้นแรกวางไว้ใกล้ๆ ชิ้นที่สองวางห่างออกไป ให้มองวัตถุทั้งสองสลับกันไปมา พยายามสังเกตวัตถุแต่ละชิ้น เราสามารถขอให้จักษุแพทย์ช่วยแนะนำวิธีฝึกสายตาแบบอื่นๆ ได้ [6]
    • เราอาจปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อจะได้รู้วิธีฝึกสายตาให้ไวขึ้น ถ้าต้องการหารายชื่อจักษุแพทย์ ให้ไปค้นหาที่เว็บไซต์ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ฝึกคิดให้เร็วขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำให้เร็วขึ้น ถ้ารู้สึกว่าตนเองตัดสินใจช้า หรือใช้เวลามากเกินไป ให้เร่งตนเองว่า “เร็วหน่อย เร็วหน่อย” จนกว่าจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำเร็จ ฝึกตัดสินใจเร็วแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะช่วยทำให้เราชินกับความเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงที่ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและได้เรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์ภายใต้ความกดดัน การตัดสินใจเร็วจะทำให้เรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้น [8]
    • ลองเล่นเกมออนไลน์ที่ทำให้เราต้องทำการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เกมที่มีการจับเวลาจะบังคับให้เราต้องคิดเร็วขึ้นเพื่อทำคะแนนให้ได้สูง
  2. การฝึกอ่านเร็วนั้นคล้ายกับการเล่นเกม คือเราจะจับเวลาที่ตนเองใช้ในการอ่านแต่ละหน้าเพื่อจะได้รู้ว่าตนเองใช้เวลาเท่าไหร่ จากนั้นลองดูสิว่าเราสามารถลดเวลาอ่านให้น้อยลงโดยที่ตนเองยังเข้าใจเนื้อหาที่อ่านอยู่ได้หรือเปล่า ฝึกใช้วิธีการอ่านแบบต่างๆ เพื่อทำให้ความคิดของเรายืดหยุ่นอยู่เสมอ เราสามารถเรียนรู้และฝึกการอ่านเร็วได้ทางอินเตอร์เน็ตหรือในห้องเรียน ในไม่ช้าเราจะสามารถอ่านหนังสือได้เร็วขึ้นและใช้เวลาทบทวนบทเรียนน้อยลง [9]
    • วิธีฝึกอ่านเร็วอีกวิธีหนึ่งคืออ่านเนื้อหาในหน้าหนึ่งเร็วๆ และทำเครื่องหมายไว้ที่อักษรตัวเดียวกันทุกตัวในหน้านั้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่อ่าน ให้เราหยิบดินสอขึ้นมาและกากบาทอักษร “ก” แต่ละตัวในหน้านั้น ให้ทำแบบนี้กับอักษรตัวอื่นๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าตนเองอ่านหนังสือได้เร็วขึ้น หากเราต้องใช้หนังสือเล่มนี้ร่วมกับคนอื่น เมื่อฝึกเสร็จแล้ว อย่าลืมลบเครื่องหมายออกด้วย!
  3. มีเว็บไซต์มากมายที่มีเกมฝึกสมองให้เราเล่น แนะนำให้ลองเล่นเกมฝึกสมองหลายๆ แบบเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ ไม่อย่างนั้นสมองของเราจะปรับตัวได้และเราจะใช้สมองลดลง อาจลองเล่นเกมฝึกสมอง “แบบเก่าๆ” อย่างเช่น เกมไพ่ต่างๆ หรือเกมคอมพิวเตอร์ [10]
    • ลองมองลำดับของตัวเลขสักชุดหนึ่งและพยายามจำให้ได้ เราจะได้รู้ว่าตนเองสามารถจดจำตัวเลขชุดนั้นได้นานแค่ไหนและเขียนลงไปในกระดาษให้ถูกต้อง เลือกหมายเลขโทรศัพท์ของเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวมาหลายๆ หมายเลขแล้วลองจำดู เราจะได้มีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นและจดจำเบอร์ติดต่อของพวกเขาได้ในเวลาเดียวกัน
  4. ถ้าเรามีเครื่องเล่นวีดีโอเกมและมีเกมแนวแอ็กชัน ให้เล่นวันละ 30 นาที วีดีโอเกมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วช่วยเพิ่มความสามารถในการประมวลผลของสมองได้ สภาพแวดล้อมในเกมอาจบังคับให้เราต้องชินกับการตัดสินใจอย่างรวดเร็วโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด [11]
    • ถ้าหากไม่เคยเล่นวีดีโอเกมและต้องการหาแรงจูงใจในการเล่นวีดีโอเกมมากกว่านี้ มีผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าคนที่เล่นวีดีโอเกมแนวแอ็กชันจะตัดสินใจได้เร็วกว่าคนที่ไม่ได้เล่นเกมถึง 25 เปอร์เซ็นต์
  5. หยิบหมากฝรั่งขึ้นมาเคี้ยวสักแผ่นเมื่อเห็นว่าตนเองต้องใช้ปฏิกิริยาตอบสนองที่รวดเร็ว จะเลือกเคี้ยวเมล็ดทานตะวันแทนก็ได้ การเคี้ยวจะกระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณปากและขากรรไกร ทำให้มีการการส่งเลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้นและทำให้สมองทำงานมากขึ้น เราแค่ต้องเคี้ยวเป็นเวลา 10 วินาทีเพื่อทำให้สมองทำงานและเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นอย่างน้อย 15 นาที จะเลือกเคี้ยวหมากฝรั่งรสใดก็ได้ ตามแต่ที่เราชอบ! [12]
    • ผลของการเคี้ยวหมากฝรั่งนั้นไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าและถูกวัดเป็นมิลลิวินาที อย่างไรก็ตามการเคี้ยวหมากฝรั่งแม้แต่ภายในระยะเวลาสั้นๆ โดยเฉพาะนักกีฬาสามารถทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นได้
  6. ตั้งใจทำภารกิจที่อยู่ตรงหน้าให้เร็วและถูกต้องแม่นยำ. จงตั้งใจทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดี! นั่งคิดว่าเราต้องทำภารกิจต่อไปให้เร็วขึ้นและถูกต้องแม่นยำ พยายามทบทวนดูสิว่าเราได้เตรียมความพร้อมอะไรไปบ้างแล้ว การตั้งใจทำภารกิจตรงหน้าให้ออกมาถูกต้องแม่นยำจะช่วยให้เราควบคุมความเครียดกับความกลัวและนำความรู้สึกทั้งสองนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ [13]
    • การบอกกับตนเองว่าเราทำได้ยังช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากความประหม่าอย่างเช่น ตอนที่ต้องออกตัววิ่ง
  7. ถ้าเรากำลังทำอะไรสักอย่างที่ต้องใช้สมาธิและปฏิกิริยาตอบสนองอันรวดเร็ว พยายามป้องกันไม่ให้มีอะไรมารบกวนตนเองจนเสียสมาธิ ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังขับรถท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้ายและต้องใช้ปฏิกิริยาตอบสนองอันรวดเร็ว ให้ปิดวิทยุและพูดคุยกับผู้โดยสารในรถให้น้อยลง ผู้ที่ร่วมทางมาด้วยคงไม่ว่าอะไรหรอก ถ้าภายในรถจะเงียบบ้างเพื่อความปลอดภัยของทุกคน [14]
    • เราอาจป้องกันไม่ให้มีอะไรมารบกวนเวลาทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้ปฏิกิริยาตอบสนองอันรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเล่นวิดีโอเกม พยายามป้องกันไม่ให้มีอะไรมารบกวนเวลาอยู่ในห้องเพื่อจะได้มีสมาธิในการเล่นเกม
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเราอยากให้ตนเองนั้นคิดอะไรได้รวดเร็วและทำอะไรได้คล่องแคล่วอยู่ตลอดเวลา เราก็ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือจะออกมากกว่านั้นก็ได้ ถ้าทำได้ การออกกำลังกายจะทำให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายได้ดีขึ้นซึ่งรวมไปถึงสมองด้วย ร่างกายของเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นและมีการหลั่งของสารเอ็นดอร์ฟิน [15]
    • ถ้าเราไม่ชินกับการออกกำลังกาย เราอาจเริ่มออกกำลังกายอย่างง่ายๆ ภายในระยะเวลาสั้นๆ ก่อน เดินสัก 15 ถึง 30 นาที จากนั้นค่อยเปลี่ยนเป็นวิ่งเหยาะๆ หรือว่ายน้ำ
  2. กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีสารอาหารครบถ้วน และได้สัดส่วนทุกมื้อ การกินอาหารอย่างเหมาะสมทำให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กินไข่และผักโขม เพราะเป็นอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง ไข่และผักโขมมีกรดอะมิโนไทโรซีนซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าช่วยทำให้เรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้น [16]
    • ในทางกลับกันการดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติดจะทำให้เรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่ช้าลง
  3. ถ้าเราเหนื่อยล้า เราก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เชื่องช้า ถึงแม้เราจะกินอาหารอย่างเหมาะสม หรือออกกำลังกายเป็นประจำก็ตาม เราต้องนอนหลับให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง โดยหลับอย่างต่อเนื่อง ไม่ตื่นขึ้นมากลางดึก การนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้เราตื่นตัวได้นาน [17]
    • ต้องนอนหลับกี่ชั่วโมงนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกายเรา โดยปกติเราจะนอนหลับประมาณ 7 ถึง 9 ชั่วโมง
    • อย่านอนหลับ มาก เกินไป ถ้าเราตื่นขึ้นมาตั้งแต่เช้าตรู่ ก็ให้เริ่มทำภารกิจประจำวันเลย การตื่นสายอาจทำให้ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่าและทำให้สมองเฉื่อยชา
  4. เราต่างก็อยากดื่มกาแฟมาก ในยามที่ต้องการให้ตนเองมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รวดเร็วและมีสมาธิในการทำภารกิจต่างๆ แต่ให้ระวังด้วย เพราะการดื่มกาแฟอาจส่งผลตรงข้ามก็เป็นได้! จำกัดการบริโภคคาเฟอีนเพื่อให้สารนี้ช่วยทำให้เรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นโดยไม่ทำให้ตนเองกระวนกระวายและเสียสมาธิ ดื่มกาแฟสัก 1 ถ้วยก่อนทำงานที่ต้องใช้ปฏิกิริยาตอบสนองอันรวดเร็ว เราจะได้ไม่กระวนกระวายและเสียสมาธิ [18]
    • ถ้าเราไม่ดื่มกาแฟ แต่เลือกดื่มเครื่องดื่มชูกำลังแทน เราก็ต้องจำกัดการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังด้วยเช่นกัน
  5. ดูว่ายาที่รับประทานอยู่นั้นมีผลต่อปฏิกิริยาตอบสนองหรือไม่. ยาบางตัวจะทำให้เรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่ช้าลง หรืออาจทำให้เรามีอาการเวียนศีรษะและตามัว ถ้าเราต้องทำกิจกรรมซึ่งต้องใช้ปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วมาก เราต้องพูดคุยกับเภสัชกรและแพทย์เพื่อจะได้รู้ว่ายาที่ตนเองใช้อยู่นั้นมีผลต่อปฏิกิริยาตอบสนองไหม [19]
    • การรู้ว่ายามีผลต่อปฏิกิริยาตอบสนองหรือไม่นั้นสำคัญมาก ถ้าเราต้องขับรถเดินทางไปไหนมาไหน เพราะถึงสภาพอากาศจะดี แต่เราก็ต้องใช้ปฏิกิริยาตอบสนองที่รวดเร็วอยู่ดี
    • อย่าท้อแท้ ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนยาที่ใช้อยู่ได้เลย ฝึกตนเองให้คิดเร็วขึ้นและฝึกร่างกายให้มีความคล่องแคล่วว่องไว เราจะได้มีปฏิกิริยาตอบสนองที่รวดเร็ว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อเราตื่นนอนตอนเช้า เล่นเกมที่ฝึกปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อช่วยให้ตนเองตื่นตัวตลอดเวลา และบริหารสมองขณะที่สมองยังอยู่ในภาวะพร้อมเรียนรู้และรับข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย
  • การออกไปสัมผัสแสงแดดช่วงสั้นๆ ช่วยทำให้เรามีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้นเช่นกัน อย่าลืมสวมแว่นกันแดดด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้แสงแดดเข้าตามากเกินไป! [20]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 34,623 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา