ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คนเราทุกคน ไม่เว้นแม้แต่คนที่มั่นใจในตนเองที่สุด ย่อมมีช่วงเวลาที่รู้สึกประหม่า กังวล และไม่แน่ใจด้วยกันทั้งสิ้น แต่คนที่มั่นใจเขารู้วิธีการรับมือช่วงเวลาดังกล่าว และใช้พลังจากความประหม่านั้นให้กลายเป็นประโยชน์ได้อีกด้วย ออร่าของความมั่นใจย่อมดึงดูดความสนใจในด้านบวกจากผู้คน ส่งผลให้ชีวิตได้รับโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ ต่อให้คุณไม่ได้มีความมั่นใจจริงๆ ก็เถอะ ขอแค่รู้จักหลอกตัวเองเป็น ก็ย่อมจะได้รับผลบวกเช่นกัน อีกทั้งความมั่นใจที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้นตามมาเองด้วย ทั้งนี้ แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมั่นใจในตนเองตลอดเวลา แต่คุณก็สามารถเรียนรู้วิธีการงัดพลังดังกล่าวออกมาใช้ในเวลาที่จวนตัวได้ เช่น เวลาไปสัมภาษณ์งาน ทำการพรีเซนเตชั่น หรือออกงานสังคมใดๆ ก็ตาม ขอเพียงหมั่นฝึกฝนพัฒนาภาษากาย เทคนิคการปฏิสัมพันธ์ และการใช้ชีวิตอย่างมั่นใจก็พอ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

วิธีแสดงความมั่นใจผ่านภาษากาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นึกภาพดูว่า คนที่ขาดความมั่นใจแสดงออกอย่างไร. เขาหรือเธอมักจะก้มหน้าต่ำๆ ห่อตัว คอยทำตัวหลบอยู่ในซอกหลืบ และหลีกเลี่ยงการสบตา ซึ่งท่าทางดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับความกังวลและการยอมคล้อยตามผู้อื่น [1] ลักษณะภาษากายแบบนี้ยิ่งกระตุ้นและทำให้ผู้อื่นรู้ได้ว่า คุณกำลังประหม่า ท้อถอย และขาดความมั่นใจ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนท่าทางและภาษากาย ย่อมจะทำให้ผู้อื่นมองคุณเปลี่ยนไปจากเดิมได้ แถมยังเปลี่ยนวิธีที่พวกเขาปฏิบัติต่อคุณ รวมถึงมุมมองที่คุณมีต่อตนเองได้ด้วย
    • หากคุณรู้สึกอึดอัดในการที่จะฝึกฝนภาษากายต่อไปนี้ในที่สาธารณะ ก็ลองหัดทำอยู่หน้ากระจก หรือฝึกด้วยการถ่ายคลิปตัวเองเก็บเอาไว้ดู จนกว่าคุณจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นก่อน ทั้งนี้ คุณอาจจะหาเพื่อนสักคนมาช่วยดูและให้คำติชมกับคุณด้วยก็ได้
  2. ยืนและเดินโดยให้ไหล่ผึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยและขนานกับพื้น เงยคางเล็กน้อยอยู่เสมอ โดยให้ศีรษะอยู่ในมุมที่สายตามองตรงไปข้างหน้า เดินให้เหมือนกับว่าโลกนี้เป็นของคุณคนเดียว ต่อให้ไม่ได้รู้สึกแบบนั้นจริงๆ ก็ตาม
    • ลองนึกภาพให้เหมือนกับว่า ตัวคุณห้อยลงมาในแนวดิ่ง โดยมีสายสลิงติดอยู่ที่กระหม่อมศีรษะด้านบน [2] พยายามหลีกเลี่ยงการหันซ้ายขวาเลิกลั่ก ด้วยวิธีการหาจุดโฟกัสของสายตากำหนดไว้ตายตัวสักจุด และมองจุดนั้นไว้เสมอ แทนที่จะส่ายหัวไปมา
  3. คนที่ซ่อนความกังวลไว้ มักยืนโดยเทน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่งตลอดเวลา อยู่ไม่สุข หรือไม่ก็กระทืบเท้าเป็นพักๆ ดังนั้น คุณต้องพยายามยืนโดยให้ขากางออกในระดับเดียวกับสะโพก และทิ้งน้ำหนักลงไปเท่าๆ กันที่ขาทั้งสองข้าง [3] การยืนอย่างสมดุลดุจฝังรากลงไปบนพื้นเช่นนี้ จะช่วยไม่ให้คุณรู้สึกอยากขยับตัวตลอดเวลา
    • คุณควรทำให้ขาทั้งสองข้างรับน้ำหนักอย่างสมดุล แม้แต่เวลานั่ง เพราะหากคุณไขว้ขาหรือกระทืบเท้าเล่น มันจะสื่อถึงการเก็บซ่อนความประหม่าและกังวลใจเอาไว้
  4. พยายามฝืนตัวเองเวลาที่อยากเอนไปข้างหน้าขณะที่นั่งอยู่ รวมถึงเวลาที่นึกอยากกอดอกขึ้นมาด้วย คุณควรนั่งให้ดูเหยียดสบายไม่ว่าจะใช้พื้นที่รอบตัวมากแค่ไหนก็ตาม ซึ่งจะทำให้ท่าทางคุณออกมาในลักษณะดูมีพลัง ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า คนที่นั่งในท่านี้ก่อนเริ่มสัมภาษณ์ มักรู้สึกและดูเป็นคนที่มีความมั่นใจมากกว่าท่าอื่นๆ [4] ต่อไปนี้คือลักษณะท่าทางที่ทรงพลัง ซึ่งคุณอาจนำไปใช้ดู:
    • เวลานั่ง ให้เอนกายพิงพนัก หากมีที่วางแขน ก็วางไป
    • ยืนให้ขากางออกในระยะเดียวกับหัวไหล่ และพักมือไว้บริเวณสะโพก
    • เอนตัวพิงกำแพง อย่าห่อตัว ซึ่งท่านี้จะเป็นการแสดงออกราวกับว่าคุณเป็นเจ้าของสถานที่นั้นๆ [5]
  5. หากคุณต้องการให้ใครหันมาสนใจ ก็อาจลองแตะหัวไหล่ของคนๆ นั้น ทั้งนี้ คุณต้องประเมินในแต่ละสถานการณ์ด้วยว่า การสัมผัสในระดับใดจึงจะเหมาะสม เช่น หากคุณสามารถเรียกความสนใจของคนๆ นั้นได้ โดยใช้เพียงแค่การเรียกชื่อเขาหรือเธอ การไปแตะหัวไหล่ด้วย อาจจะเป็นการทำมากเกินไปหน่อย แต่หากคุณอยู่ในสถานที่มีเสียงดังอึกทึก และต้องการให้อีกฝ่ายสนใจคุณในสถานการณ์ดังกล่าว การแต่ไหล่เล็กน้อยก็สามารถช่วยได้มาก
    • จำไว้ว่า การใช้สัมผัสทางกายควรจะเป็นไปด้วยความนุ่มนวล การออกแรงมากเกินไปอาจทำให้ดูเหมือนการข่มอีกฝ่าย มากกว่าที่ทำให้คุณดูสุขุมมั่นใจ
  6. ขณะนั่งหรือยืนก็ตาม พยายามวางมือไว้นิ่งๆ ท่าทางที่สื่อความมั่นใจมักเป็นท่าที่ต้องเปิดหน้าเปิดตาและร่างกายต้อนรับผู้อื่น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการพักมือที่เหมาะสม [6] [7]
    • ประสานฝ่ามือคุณไว้ด้านหลังคุณหรือหลังศีรษะก็ได้
    • เอามือเหน็บกระเป๋ากางเกงเอาไว้ แต่โผล่นิ้วโป้งให้เห็น
    • เหยียดนิ้วให้ตรงและชิดกัน พักศอกไว้บนโต๊ะ ท่าทางเช่นนี้แสดงถึงการเป็นคนที่มีความหนักแน่นในจุดยืน ซึ่งเหมาะกับเวลากำลังเจรจาต่อรอง สัมภาษณ์งาน หรือในการประชุม
  7. การใช้มือประกอบการพูดบ่อยเกินไป จะส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายรู้ว่า คุณกำลังประหม่า หรือาจจะดูกระตือรือร้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละสังคม ดังนั้น คุณควรใช้มือประกอบนานๆ ครั้ง อย่างมีศิลปะชั้นเชิง พักแขนไว้ในแนวเดียวกับเอวของตัวเอง และอย่าให้ท่าทางใดๆ ล้ำออกจากระยะดังกล่าว จะช่วยให้คุณดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น [8]
    • พยายามให้มือมีลักษณะผ่อนคลายและยืดหยุ่น เพราะการกำมือหรือแข็งทื่อนั้น สื่อให้ผู้อื่นรู้สึกว่าคุณก้าวร้าวและชอบความโดดเด่น อันเป็นลักษณะเหมือนพวกนักการเมืองส่วนใหญ่
    • พักข้อศอกไว้ข้างลำตัว และใช้ท่าทางของมือให้อยู่ในบริเวณข้างเดียวกับที่มันอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษากายแบบปิดกั้นตัวเอง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

มีปฏิสัมพันธ์อย่างมั่นใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามมองตาอีกฝ่ายเวลาพูดคุยกัน เช่นเดียวกับเวลาที่อีกฝ่ายกำลังพูดด้วย จะช่วยสื่อให้พวกเขารู้ว่าคุณกำลังสนใจและมีความมั่นใจ อย่าเอาแต่ก้มมองโทรศัพท์ หรือมองไปรอบบริเวณ ซึ่งจะเป็นการเสียมารยาท แถมยังดูมีความกังวลและน่าอึดอัด [9] พยายามสบสายตาอีกฝ่ายสักประมาณ 50% ของช่วงเวลาสนทนาทั้งหมด [10]
    • ในช่วงเริ่มแรก คุณอาจลองมองตาอีกฝ่ายเพื่อสังเกตดูว่า ดวงตาของเขาหรือเธอเป็นสีอะไรกันแน่ [11]
  2. การจับมืออย่างหนักแน่นแข็งขัน จะช่วยให้คุณดูมีความมั่นใจและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ทั้งนี้ เวลาคุณเข้าหาใคร ควรยื่นมือออกไปจับเพื่อเป็นการให้เกียรติ จับมืออีกฝ่ายให้มั่นแต่อย่าถึงกับบีบจนเจ็บ ขยับขึ้นลงสักสองสามวินาที ก่อนที่คลายมือออก [12]
    • หากคุณเป็นคนที่มีเหงื่อออกที่ฝ่ามือเป็นประจำ พยายามพกทิชชู่ติดตัวเอาไว้เช็ด ก่อนที่จะยื่นมือไปจับใคร
    • อย่าจับมือแบบอ่อนปวกเปียกเหมือนปลาตาย มันจะสื่อว่าคุณอ่อนแอ [13]
  3. หากคุณมักพูดแบบรัวๆ เพียงเพื่อที่จะเร่งรัดให้จบประโยคเร็วๆ ขอให้พูดช้าลงสักหน่อย และหยุดบ้างเป็นบางจังหวะสัก 1-2 วินาที เพื่อหาวิธีการตอบสนองอีกฝ่าย จะช่วยให้คุณดูมั่นใจและผ่อนคลายมากขึ้น [14]
    • เวลาที่พูดช้าลง เสียงของคุณจะนุ่มลึกโดยอัตโนมัติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจและเป็นเจ้านายผู้อื่น [15]
  4. การยิ้มจะช่วยให้คุณดูเป็นคนอบอุ่น อัธยาศัยดี และน่าเข้าใกล้โดยอัตโนมัติ ผลการศึกษาพบว่า คนเรามักชอบและจดจำคนที่ยิ้มให้เราได้ดีกว่า [16] หากคุณเป็นคนยิ้มยาก ก็อาจจะส่งยิ้มเพียงเล็กน้อยก่อนที่จะเปลี่ยนกลับมาทำสีหน้าตามปกติ
    • การยิ้มเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี ในการแสดงออกและเพิ่มความมั่นใจเวลาที่เข้าผู้อื่น พยายามอย่าขำบ่อยเกินไป เพราะมันจะดูเหมือนกับว่าคุณประหม่าและยังดูไม่เป็นธรรมชาติด้วย [17]
  5. หากคุณรู้สึกว่าตนเองชอบพูดขอโทษขอโพย แม้แต่ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ พยายามหยุดพฤติกรรมดังกล่าวเสีย จะช่วยให้คุณรู้สึกและแสดงออกได้อย่างมั่นใจกว่าเดิม [18] หากคุณคุยกับเพื่อนสนิท ก็อาจจะบอกเขาหรือเธอไปเลยว่า คุณกำลังฝึกในเรื่องนี้อยู่ ซึ่งหากคุณเผลอไปขอโทษบ่อยๆ อีก ก็อาจจะเปรยขึ้นมาว่า “เออเดี๋ยวนะ เราไม่จำเป็นต้องขอโทษก็ได้นี่นา!” หากคุณรู้จักแซวตนเองในลักษณะนี้ ก็จะเป็นการช่วยป้องกันการเข้าใจผิดว่าคุณกำลังดูหมิ่นพวกเขา
    • ในทางกลับกัน จงน้อมรับคำชมอย่างผ่าเผย หากมีใครชื่นชมคุณ ก็แค่ยิ้มและกล่าวขอบคุณ อย่าตอบสนองด้วยการพูดดูถูกตัวเอง หรือแสดงความดูแคลนสิ่งที่พวกเขาชื่นชมคุณ (เช่นพูดว่า “โธ่ เรื่องแค่นี้ใครๆ ก็ทำได้น่า”)
  6. การให้เกียรติผู้อื่น เป็นการสื่อว่าคุณให้คุณค่ากับพวกเขา และก็ยังมีความมั่นใจในตนเองด้วย ไม่ได้รู้สึกกลัวว่าจะถูกพวกเขาข่ม และคุณควรพยายามหลีกเลี่ยงการนินทาหรือยุ่งเรื่องดราม่าของใครๆ ด้วย ซึ่งจะช่วยแสดงให้พวกเขาสัมผัสได้ว่า คุณมีความพอใจในตนเอง [19]
    • เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า คนอื่นอาจจะเคารพ และมองคุณเป็นเยี่ยงอย่างหรือได้รับแรงบันดาลใจจากคุณด้วย ในอีกทางหนึ่ง พวกเขาก็อาจจะยิ่งพยายามดึงคุณเข้าไปร่วมวงดราม่าด้วยก็ได้ เพราะรู้สึกว่าหากไม่ทำเช่นนั้นคุณจะไม่ยอมมาร่วมวงด้วยแน่
  7. พยายามไปงานปาร์ตี้หรืองานสังคมต่างๆ เพื่อฝึกเทคนิคที่คุณได้เรียนรู้มาถึงตรงนี้ จำไว้ว่า คุณไม่จำเป็นต้องไปทักทายปราศรัยกับคนทุกคนในงาน ขอแค่คุณกล้ามีปฏิสัมพันธ์กับคนๆ เดียวในงานนั้น ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว หากคุณเอาแต่ฝึกเองอยู่ที่บ้าน แต่ไม่กล้าออกไปร่วมงานสังคมจริงๆ สักที ลองขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ดู
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจขอให้เพื่อนคุณมาแสดงบทบาทเป็นคนฟัง หรือเป็นผู้สัมภาษณ์งานคุณ ในกรณีที่คุณกำลังจะทำการพรีเซนเตชั่น หรือสัมภาษณ์งาน หากคุณไม่รู้สึกอึดอัด ก็ลองชวนเพื่อนคุณไปอยู่ในการพรีเซนเตชั่นจริงๆ ด้วยก็ได้ เพราะการมีคนสนิทหรือเพื่อนอยู่ด้วย จะช่วยให้คุณโฟกัสที่พวกเขาแทนที่จะไปใส่ใจคนอื่นๆ ในห้องนั้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

พัฒนาวิถีแห่งความเชื่อมั่นในตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การใส่ใจดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งเสื้อผ้าหน้าผม สุขภาพและอนามัย ล้วนแล้วแต่คุ้มค่าในการดูแลทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องการสร้างความประทับใจในการสัมภาษณ์งานหรือออกเดท รูปลักษณ์และความประทับใจแรกนั้นเป็นสิ่งที่ตราตรึงผู้อื่นมาก การดูเนี้ยบอยู่เสมอจะทำให้คุณมีข้อได้เปรียบและยังทำให้คนอื่นสนใจคุณเป็นพิเศษด้วย คุณจะทั้งดูดีและมีความมั่นใจขึ้นมาทันตาเห็นเลย
    • ดูแลสุขอนามัยของตัวเองทุกวัน ทั้งการอาบน้ำ แปรงฟัน และการใช้สเปรย์ดับกลิ่นกายให้บ่อยเท่าที่จำเป็น
    • สวมเสื้อผ้าชุดที่คุณรู้สึกดูดีและมั่นใจ ซึ่งความมั่นใจในตนเองนี้จะเพิ่มขึ้นมาก หากคุณสวมชุดที่ใส่สบายและรู้สึกผ่อนคลาย
  2. การแสดงออกด้ายท่าทางมั่นใจ ย่อมทำให้คุณดูมั่นใจมากขึ้นได้ อย่างไรก็ดี การค้นหาคุณค่าในตัวเองให้เจอก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้คุณมั่นใจได้อย่างแท้จริง คุณเป็นคนพิเศษ มีความสามารถ และยังมีผู้คนมากมายที่ยินดีเมื่อได้เห็นคุณมีความสุข หากคุณไม่สามารถรู้สึกเช่นนี้ได้ ลองเขียนลิสท์รายการความสำเร็จที่ตนเองทำไว้ออกมาดู และอย่ากลัวที่จะแสดงความยินดีให้แก่ตนเองด้วย [20]
    • ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อผู้อื่นเห็นว่าคุณเชื่อมั่นในตนเองและรับผิดชอบการกระทำของตนเองด้วย พวกเขาจะชื่นชอบคุณมากขึ้น พวกเขายังอาจวางใจและเชื่อถือในตัวคุณมากขึ้นด้วย
  3. คนที่ขขข มักกลัวที่จะเรื่องผิดพลาดบ้าง หรือไม่ก็กลัวคนอื่นมองว่าตนเองทำอะไรผิด ดังนั้น หากมีความกลัวเช่นนี้เกิดขึ้น พยายามสูดลมหายใจลึกๆ และบอกตัวเองว่า “ฉันทำสิ่งนี้ได้ ความกลัวมันไร้เหตุผล” จงตระหนักถึงความผิดพลาดหรือความล้มเหลวของตนเอง แต่อย่าจมอยู่กับมัน
    • หลังจากที่คุณเสริมสร้างความมั่นใจให้ตนเองในระดับหนึ่งแล้ว ลองทำในสิ่งที่คุณกังวลมากเป็นพิเศษดูบ้าง สำหรับคนทั่วไป เรื่องเช่นนี้อาจหมายถึงการถามคำถามในกลุ่มใหญ่ๆ หรือการยอมรับต่อหน้าคนอื่นว่า ตนเองไม่รู้ในเรื่องบางเรื่อง
  4. หากคุณเป็นคนขขข คุณอาจชอบโฟกัสไปที่เหตุการณ์เชิงลบที่เคยเกิดขึ้นกับคุณในอดีต ดังนั้น อย่าไปมองความผิดพลาดเหมือนกับว่ามันคือความล้มเหลว คุณควรมองมันเป็นประสบการณ์เรียนรู้บางอย่าง ซึ่งช่วยเสริมสร้างคาแรคเตอร์และความมั่นให้ตนเอง จำไว้ว่า ความผิดพลาดทุกครั้ง เป็นประสบการณ์ที่ให้บทเรียนกับคุณเพื่อที่จะได้ไม่ทำผิดอีกในครั้งต่อไป [21]
    • เตือนตัวเองเกี่ยวกับความสำเร็จที่เคยทำไว้ ทุกคนย่อมเคยทำพลาดกันทั้งนั้น ไม่ว่าพากเขาจะดูมั่นใจและเปิดเผยเพียงใดก็ตาม ดังนั้น การตอบสนองต่อความผิดพลาดต่างหากที่มีผลกระทบในระยะยาว
  5. การเขียนลงบนกระดาษจะช่วยให้ความเครียดที่คุณแบกรับไว้คลายลงได้ (แทนที่จะปล่อยให้มันล่องลอยในหัว) นอกจากนี้ การลงมือเขียนสิ่งใดๆ นั้น ยังช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาจากมุมมองอื่นๆ ได้อีกด้วย [22] คุณอาจจะเริ่มลงมือจดบันทึกส่วนตัว ด้วยการเริ่มจดรายการ “สิ่งที่ฉันภาคภูมิใจ ซึ่งสามารถหยิบมาอ่านได้ทุกครั้ง เวลาฉันอารมณ์ไม่ดี” (ซึ่งรายการพวกนี้อาจจะเขียนได้ง่ายที่สุดในเวลาที่คุณกำลังอารมณ์ดี) ลิสท์รายการดังกล่าวมักเป็นเรื่องที่มีอยู่จริง เพียงแต่เวลาที่เรากำลังกังวล อารมณ์ไม่ดี หรือขขข เรามักจะมองข้ามมันไปเอง การจดบันทึกรายการดังกล่าวไว้หยิบอ่านใกล้ๆ มือ จะช่วยให้คุณเตือนตัวเองได้ว่าคุณมีเรื่องที่ควรมั่นใจในตนเองอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเขียนเรื่องที่ “ภาคภูมิใจในทักษะการเล่นกีตาร์” “ภาคภูมิใจที่ฉันเคยปีนเขาสำเร็จ” หรือ “ภาคภูมิใจที่ฉันสามารถสร้างเสียงหัวเราะให้เพื่อนๆ ได้ เวลาที่พวกเขาเศร้า”
  6. แหล่งทรัพยากรความมั่นใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ควรจะมาจากตัวคุณเอง เวลาที่คุณรู้สึกขขข ถามตัวเองดูว่า: ฉันมีสิ่งไหนที่คนอื่นขาดไปบ้าง ฉันมีส่วนช่วยทำสังคมให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง ฉันมีจุดอ่อนตรงไหนและจะแก้ไขมันได้อย่างไร อะไรที่จะทำให้ฉันตระหนึกถีงคุณค่าในตนเอง พยายามเตือนตัวเองว่า การจะคิดว่าตนเองสมบูรณ์แบบตลอดเวลานั้น มันเป็นไปไม่ได้
    • หากคุณรู้สึกกังวลก่อนการสัมภาษณ์งาน พยายามใช้เวลาสักห้านาทีก่อนเริ่มการสัมภาษณ์ เพื่อใช้เทคนิคจัดการความเรียดและเสริมสร้างความมั่นใจเหล่านี้ จงบอกตนเองว่า คุณได้เตรียมตัวมาอย่างดีแล้วและได้รับเลือกมาถูกสัมภาษณ์เพราะเหตุผลท่เหมาะสมบางประการ เหยียดแขนขึ้นสูงๆ กว้างๆ ขยับตัวไปมาสักหน่อยเพื่อผ่อนคลายและสูดลมหายใจลึกๆ ด้วย หายใจอย่างหนักแน่นเต็มที่ พร้อมกับบอกตนเองว่า ฉันทำสิ่งนี้ได้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ค้นหาความกลัวของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตระหนักถึงอิทธิพลของความกลัวที่มีต่อความมั่นใจ. บางคนมักมีความประหม่าในตนเองมากถึงขนาดที่คิดเลยเถิดไปว่า ตนเองอาจจะทำอะไรผิดพลาดจนผู้อื่นเย้ยหยันหรือสมเพชตนเองได้ ทั้งนี้ ทุกคนต่างก็ย่อมเคยรู้สึกประหม่าและหวาดหวั่นในบางสถานการณ์ ไม่มากก็น้อย แต่หากคุณอาการหนักถึงขนาดได้รับผลกระทบในชีวิตประจำวันและการเข้าสังคม เมื่อนั้นก็ถึงเวลที่ต้องค้นหาต้นตอของความกลัวให้ได้แล้ว [23]
  2. ร่างกายคุณกำลังบ่งบอกอะไรอยู่มั้ย หัวใจเต้นรัวหรือเปล่า เหงื่อแตกไหม อาการทั้งหมดนี้เป็นการตอบสนองอัตโนมัติของร่างกาย ซึ่งเป็นสัญชาติญาณในการเตรียมพร้อมทำบางสิ่ง (คล้ายๆ ไม่สู้ก็ถอย) แต่บ่อยครั้งมันกลับทำให้เราเกิดความกลัวและความกังวลมากขึ้น ร่างกายคุณกำลังรู้สึกเช่นนั้นหรือเปล่า
    • ถามตัวเองว่า “สิ่งใดในสถานการณ์นี้ ที่ทำให้ฉันประหม่าและหวาดกลัว” คุณอาจจะกลัวว่าตนเองจะนั่งเก้าอี้ผิดตัวในการร่วมโต๊ะทานอาหารค่ำ หรือกลัวว่าตนเองจะพูดอะไรผิดออกไปและเกิดความอับอาย
  3. มันช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรแก่คุณหรือเปล่า หรือว่ามันขัดขวางไม่ให้คุณลงมือทำอะไรและเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของคุณมั้ย นอกจากนี้ คุณยังถามตัวเองด้วยว่า:
    • ฉันกลัวว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น
    • ฉันแน่ใจรึเปล่าว่ามันต้องเกิดขึ้น แน่ใจมากแค่ไหน
    • มันเคยเกิดขึ้นมาก่อนไหม และตอนนั้นมันลงเอยอย่างไร
    • อะไรคือสิ่งเลวร้ายที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้
    • อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันจะพลาดไป หากไม่ลงมือทำ)
    • เหตุการณ์ครั้งนี้จะส่งผลไปตลอดชีวิตฉันเลยไหม
    • ฉันกำลังเชื่อและคาดหวังตามความเป็นจริงหรือเปล่า
    • หากมีเพื่อคนใดอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ฉันจะให้คำแนะนำเขาหรือเธอว่าอย่างไร
  4. พยายามรับมือกับความกลัวด้วยการสูดลมหายใจให้ทั่วท้อง. การสูดลมหายใจให้ลึกๆ เป็นเทคนิคอันทรงพลังที่จะช่วยให้คุณควบคุมความกังวลได้ นอกจากนี้ การหายใจลึกๆ ยังช่วยลดอัตราความเร็วองหัวใจด้วย หากคุณพอทำได้ ลองเอามือวางบริเวณหน้าท้องและสูดลมหายใจเข้าลึกๆ จะได้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวจากการหายใจเข้าออกด้วยช่องท้อง ไม่ใช่หน้าอก
    • เทคนิคนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การหายใจด้วยกระบังลม” การหายใจลึกเช่นนี้ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายและลดความกังวล [24]
  5. หลายครั้งที่ความประหม่าและกังวลใจเกิดขึ้นจากการที่เรารู้สึกควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ หากคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ คุณควรหาเวลาสักสองสามนาทีก่อนที่จะไปอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อทำสมาธิหรือใช้เทคนิคจดบันทึกความกังวลออกมา ซึ่งจะช่วยให้จิตใจคุณสงบลงก่อนที่จะเริ่มทำสิ่งนั้น [25]
    • หากคุณมีความคิดรบกวนจิตใจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่ความกังวลใจ อาจส่งผลให้คุณรู้สึกขาดการควบคุม การทำสมาธิและเจริญสติ จะช่วยให้คณตระหนักถึงความคิดรบกวนจิตใจเหล่านั้น เพื่อละวางมันลงเสีย
  6. ลองเขียนสาเหตุที่ทำให้คุณกลัวและเกิดความกังวลออกมา ถามตัวเองดูเพื่อประเมินว่าความกลัวดังกล่าวมาจากไหน การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นความกลัวและความคิดของตนเอง จนสามารถเข้าใจรูปแบบที่เกิดขึ้น และสามารถมองความกลัวดังกล่าวในมุมมองที่แตกต่างจากเดิม เพื่อที่จะกำจัดมันออกไปจากใจได้ [26]
    • หากคุณไม่สามารถเขียนมันออกมาได้ในชั่วขณะนั้น พยายามเขียนออกมาในภายหลังก็ได้ ประเด็นสำคัญคือการได้ลงมือเขียนเพื่อค้นหาต้นตอของความกลัวให้เจอ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ยิ่งคุณทำมากเท่าไร มันก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคุณมากขึ้น
  • ลองทำบางสิ่งที่น่าอับอายเกินกว่าที่จำเป็นต้องทำ เพราะยิ่งทำเรื่องน่าอับอายจนคุ้นเคยกับมันมากเท่าไร คุณก็จะรู้สึกอับอายน้อยลงเท่านั้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,408 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา