ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเป็นคนชอบพูดช่างจำนรรจานั้นก็เข้าท่าอยู่ แต่การเป็นคนนิ่งรับฟังผู้อื่นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในบางสถานการณ์อย่างเช่นในที่ประชุมหรือในโรงเรียนอาจต้องการให้คุณสงบใจฟังเป็นเวลานาน การเป็นคนเงียบขรึมจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ได้ด้วยเพราะคุณสามารถแสดงออกมาว่าคุณเคารพในสิ่งที่เขาพูดออกมา คุณอาจเริ่มทำตัวเคร่งขรึมขึ้นโดยการตั้งสติและใส่ใจในบทสนทนา และอาจปรับวิถีชีวิตบางส่วนให้ดูเคร่งขรึมขึ้นได้ด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การมีนิสัยเงียบขรึม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่ไม่ค่อยพูดมักจะไม่หุนหันพลันแล่น และพวกเขามักจะมองจากหลายๆ มุมก่อนจะตัดสินใจทำอะไร พวกเขาคิดอย่างรอบคอบและไม่เข้าร่วมในเรื่องต่างๆ ง่ายๆ พวกเขาจะคอยมองอยู่ข้างๆ และคิดถึงขั้นต่อไป ก่อนที่คุณจะทำอะไร ต้องมั่นใจว่าคุณได้คิดถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดตามมาแล้ว
    • ถ้าคุณคิดก่อนพูด มันจะดีต่อความสัมพันธ์และชีวิตการงานหรือการเรียน [1]
  2. คนที่เงียบขรึมจะเข้าหาง่ายกว่าคนที่เสียงดังก้าวร้าว พวกเขาจะทำท่าทางที่เดาง่ายและรักษาสีหน้าปกติบนใบหน้า แทนที่จะพุดจาโหวกเหวกโวยวาย ด้วยเหตุนี้คนที่เงียบขรึมจะถูกมองว่านิสัยดีมากกว่าคนที่เสียงดัง
    • เพื่อที่ผู้อื่นจะเข้าหาได้ง่ายขึ้น เงยหน้าขึ้น มองไปรอบๆ สังเกตรอบตัว ทำตัวให้สบายๆ เหมือนคุณนั่งอยู่ในห้องนั่งเล่นคนเดียว ลองมองในสิ่งที่คุณอาจมองไม่เห็นหากคุณเอาแต่พุดคุยกับเพื่อนของคุณ
  3. เมื่อคุณอยู่กับคนที่เงียบขรึม คนๆ นั้นมักจะมีความสุขุมและช่วยคนอื่นคิดและตัดสินใจได้เฉียบขาดกว่า แล้วทำไมคนๆ นั้นจะเป็นคุณไม่ได้ล่ะ? ในขณะที่ทุกคนกำลังตื่นตระหนก คุณสามารถเป็นเหตุผลแทนพวกเขาได้ และเมื่อคุณสุขุมพอ ให้อธิบายให้พวกเขาฟัง ทุกคนจะสนใจคุณทันทีเพราะคุณไม่ได้ทำแบบนี้บ่อยนัก
    • วิธีนี้สามารถทำให้คุณมีปากมีเสียงและกลายเป็นผู้นำของกลุ่มที่สุขุม เมื่อคุณสุขุมเยือกเย็นเพียงพอและพูดจาน่าเชื่อถือแล้ว ผู้คนก็จะคล้อยตามคุณ
  4. ได้รับความเชื่อใจจากผู้อื่นด้วยการเป็นเสาหลักที่พึ่งพาได้. คนที่สุขุมจะควบคุมสถานการณ์ที่ต้องการความเชื่อใจจากผู้อื่นได้ดี คนที่เสียงดัง พูดมาก มักมีอารมณ์ไม่มั่นคง ยึดตัวเองเป็นหลัก และจิตใจยุ่งเหยิง ให้คุณคนใหม่ทำหน้าที่นี้ คุณอาจจะกลายเป็นคนที่ทุกคนพึ่งพาได้ในไม่ช้า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เป็นคนเงียบขรึมในวงสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่สุขุมพูดน้อยมีแนวโน้มที่จะนั่งฟังจนเหมือนไม่ได้อยู่ในวงสนทนา จนมาถึงจุดสำคัญของบทสนทนา ในขณะที่ทุกคนกำลังพูดจาไร้สาระอยู่นั้น คนที่สุขุมจะเข้ามาและชี้ให้เห็นถึงประเด็น ดังนั้นก่อนที่คุณจะพูดอะไร ขอให้แน่ใจว่าเป็นสาระที่สำคัญ [2]
    • ถ้าคุณพูดบ่อยเกินไป มันจะเป็นการลดทอนน้ำหนักของคำพูด การคิดก่อนและเลือกใช้คำที่กระชับ จะทำให้คำพูดดูมีพลังหนักแน่น
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Klare Heston, LCSW

    นักสังคมสงเคราะห์ทางแพทย์
    แคลร์ เฮสตันเป็นนักสังคมสงเคราะห์ทางแพทย์อิสระที่มีใบอนุญาตในโอไฮโอ เธอได้รับปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียคอมมอนเวลธ์ในปี 1983
    Klare Heston, LCSW
    นักสังคมสงเคราะห์ทางแพทย์

    คำพูดของคุณสามารถมีน้ำหนักเมื่อคุณเลือกใช้มันอย่างระมัดระวัง แคลร์ เฮสตัน นักสังคมสงเคราะห์กล่าว “แทนที่จะเติมความเงียบด้วยการใช้คำมากมาย ให้เลือกคำอย่างตั้งใจเมื่อรู้สึกว่ามีความคิดเห็นอยากเสนอออกไป คุณไม่จำเป็นต้องเป็นศูนย์กลางของการสนทนาเพื่อจะมีความมั่นใจนั้น บางทีมันอาจเป็นในทางตรงกันข้ามเลยด้วยซ้ำ!”

  2. พยายามให้จุดสนใจของบทสนทนาออกห่างจากตัวคุณ และไปอยู่ที่คนอื่นแทน หากคุณไม่เห็นด้วยกับความคิดของพวกเขา ต้องมั่นใจว่าพวกเขาได้อธิบาย นำมาคิดว่าสิ่งที่พวกเขาคิดมีผลกระทบอย่างไร เมื่อคุณรวบรวมข้อมูลได้ครบแล้ว คุณจะรู้ว่าควรพูดอะไร
    • วิธีนี้จะช่วยให้คุณเป็นผู้ฟังที่ดี คุณจะรู้ว่าจะทำอย่างไรให้จุดสนใจอยู่ที่คนอื่นและคุณจะต้องแปลกใจกับสิ่งที่คุณได้เรียนรู้อย่างแน่นอน
    • พยายามอย่าเงียบจนเกินไปเมื่อคุณพบกับผู้คนใหม่ๆ คนเหล่านั้นอาจคิดว่าคุณแปลกหรือไม่ควรคุยกับคุณ ลองหาทางสายกลางระหว่างรับฟังและถามคำถามที่น่าสนใจ
    • อย่าพูดโดยไม่จำเป็น คิดก่อนพูด หยุดคิดเมื่อตื่นเต้นหรือสับสน ระมัดระวังเมื่อจะพูดแทรกผู้อื่น
  3. ใช้เวลาคิดถึงความหมายที่แท้จริงของคำพูดของฝั่งตรงข้ามก่อนที่จะพูดอะไรออกไป ต้องรู้ว่าฝั่งตรงข้ามคิดหรือรู้สึกอย่างไร พวกเขาจะตอบสนองกับสิ่งที่คุณจะพูดอย่างไร หรือมีอะไรที่คุณคิดว่าคุณไม่รู้มาก่อนเลย
    • ไม่ใช่ว่าคนที่พูดมากจะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ แต่แค่จะง่ายกว่าหากคุณมีเวลาให้สมองของคุณได้สังเกตการและคิดคำพูดออกมา คิดถึงตัวคุณที่พูดมากว่าอะไรที่คุณสังเกตเห็นในตอนนี้แต่ไม่เคยสังเกตเห็นเมื่อก่อน
  4. เมื่อคุณพูดแทรกผู้อื่น คุณแสดงให้เห็นว่าคุณไม่เคารพความคิดและความรู้สึกของฝั่งตรงข้าม ให้พวกเขาพูดให้จบก่อนที่คุณจะพูดความคิดของคุณ หากคุณไม่แน่ใจว่าเขาพูดจบหรือยัง แค่ถามว่า “ขอโทษนะ ขัดจังหวะหรือเปล่า?” วิธีนี้จะทำให้เขารู้สึกดีมากขึ้น
    • ใช้เวลาสักนิดเพื่อคิดว่าคุยพูดไปมากเท่าไรแล้วและอีกฝั่งพูดไปมากเท่าไรแล้ว หากคุณแทบไม่ได้พูดอะไรเลย คุณก็สามารถพูดได้ ไม่มีบทสนทนาไหนที่จะสมบูรณ์ได้หากอีกฝั่งไม่พูดอะไรเลย แต่ที่สำคัญคือทั้งสองฝ่ายได้พูด หากคุณพูดมาสักระยะหนึ่งแล้ว ลองเปลี่ยนให้อีกฝั่งพูดบ้าง ต้องมั่นใจว่าทุกคนพูดความคิดของตัวเองจบก่อนที่คนอื่นจะพูดต่อ
  5. คนทั่วไปมักชอบพูดเกี่ยวกับตัวเอง และหากคุณเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูด พวกเขาจะรักคุณ แต่การเป็นคนเงียบขรึมไม่ได้หมายความว่าไม่พูด แต่หมายถึงการพูดเท่าที่ควร ถามคำถามที่น่าสนใจ และพูดในหัวข้อที่คู่ควรกับการพูดถึง ดังนั้นอย่าบอกตัวเองให้เงียบ แต่ให้บอกตัวเองว่าให้ถามคำถามที่ดี
    • สมมติว่าพูดถึงการกระโดดร่ม แทนที่จะพูดว่า “ฉันก็เคยกระโดด มันดีมากเลย” ให้พูดว่า "ดีจังเลย คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ใช่ครั้งแรกของคุณหรือเปล่า?” หากพวกเขาสนใจบทสนทนาจริงๆ พวกเขาจะถามคุณกลับว่าคุณเคยทำหรือไม่เช่นกัน
  6. พูดให้เบาลง แต่ดังพอที่จะได้ยิน คนที่สุขุมมักจะดูอ่อนโยนในการเข้าสังคม แม้แต่ตอนที่พวกเขาพูด พวกเขาเรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์ความรู้สึกและความตื่นเต้นผ่านทางสีหน้า และการออกเสียงอื่นๆ (การอ้าปากค้าง การร้องอุทาน หรืออื่นๆ)
    • จริงๆ แล้วก็มีเส้นบางๆ กั้นสำหรับส่วนนี้ คนที่พูดเสียงเบาจนเกินไปอาจฟังดูน่ารำคาญได้ คนอื่นอาจง่ายต่อการหงุดหงิดเพราะพวกเขาไม่ได้ยินที่คุณพูด ต้องมั่นใจว่าคุณพูดเสียงดังมากพอ ไม่ใช่ใช้เสียงกระซิบ
  7. คนที่คิดก่อนพูดมักจะพูดในสิ่งที่ฉลาด วิธีการพูดของพวกเขาจะได้รับความสนใจจากผู้อื่นและจะทำให้พวกเขาน่าเชื่อถือ พูดเมื่อคุณรู้สึกว่ามีสิ่งที่ต้องพูด แต่ไม่ใช่พูดเพื่อทำทำลายความเงียบ
    • เมื่อคุณเก็บคำพูดของคุณไว้พูดเมื่อจำเป็น คำพูดจะมีน้ำหนักมากขึ้น พูดเท่าที่จำเป็นและทำให้เป็นนิสัยจะทำให้คำพูดของคุณดูมีน้ำหนักและดูสำคัญขึ้น
  8. เมื่อคุณต้องการที่จะพูดแต่จำเป็นจะต้องเงียบไว้ ให้สีหน้าของคุณแสดงความคิดของคุณ การกลอกตาหรือการหัวเราะเบาๆ สามารถทำให้อีกฝั่งสังเกตเห็นได้ คุณเคยเห็นเพื่อนที่เงียบๆ ของคุณบอกบางอย่างด้วยสีหน้าไหม? โดยมากแล้วจะเป็นเรื่องที่ตลกมาก พวกเขาสามารถทำให้ผู้อื่นหัวเราะได้โดยไม่ได้พูด ลองทำตามพวกเขาดูและเก็บคำพูดของคุณไว้ใช้เมื่อยามจำเป็นจริงๆ
    • แน่นอนว่าต้องทำอย่างระมัดระวัง การทำเช่นนี้อาจง่ายต้องการทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่ดีได้ ถึงแม้ว่าคุณไม่ได้พูดอะไรเลยก็ตาม การกลอกตาหากทำอย่างไม่ระวังอาจเปลี่ยนจากการหัวเราะของเพื่อนเป็นการโกรธเคืองได้ง่ายๆ คุณต้องรู้ว่ากำลังสื่อสารกับใครอยู่ และรู้ว่าจังหวะไหนควรทำไม่ควรทำ
  9. อย่าคิดว่าคนที่คิดต่างกับคุณจะเป็นสิ่งผิดหรือไม่ดี ลองมองว่าทำไมพวกเขาถึงคิดแบบนั้น และมีสาเหตุมาจากอะไร วิธีนี้จะช่วยให้คุณมองได้รอบด้านและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้คุณคิดว่าจะถามคำถามดีหรือจะถอยออกมาคิดเกี่ยวกับบทสนทนาที่คุณกำลังพูดคุยอยู่ ณ ขณะนี้
    • ไม่ได้หมายความคนที่เงียบสุขุมจะเข้าใจได้มากกว่า แต่เมื่อคุณรับฟัง จะง่ายกว่าที่จะรับฟังข้อคิดเห็นและปล่อยให้เขาได้พูดอย่างเต็มที่ ดังนั้นเมื่อมีคนพูดอะไรที่คุณไม่เห็นด้วย อย่าขัดทันที หลังจากฟังจบคุณสามารถแสดงให้พวกเขาเห็นว่าอะไรเป็นอะไร
    • หลีกเลี่ยงการเงียบเพื่อยั่วโมโหผู้อื่น การเงียบเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น แต่มันขี้ขลาด พูดประเด็นของคุณ โดยใช้เหตุผลและไม่ใช้เสียงดัง
    • อย่าหยาบคายหรือพูดจาห้วนๆ พูดจาอย่างสุภาพเมื่อได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน และตอบคำถามอย่างชาญฉลาด ไม่ใช่แค่เพียง “ใช่/ไม่ใช่” การเยือกเย็นสุขุมคือเป้าหมายไม่ใช่การเป็นคนหัวดื้อ สั้นกระชับไม่ใช่พูดน้อยไม่ได้ใจความ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

กลายเป็นคนที่เงียบขรึมอย่างถาวร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นั่งสมาธิเพื่อให้จิตใจของคุณสงบอย่างน้อยวันละสองสามนาทีทุกวัน. การนั่งสมาธิไม่เพียงแต่ทำให้คุณมองอะไรได้แตกฉานขึ้น คิดมากขึ้น มั่นคงมากขึ้น แต่ยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตอีกด้วย [3] แค่ 10-15 นาทีต่อวันสามารถให้คุณจิตใจสงบได้ตลอดวัน
    • หากคุณไม่ชอบนั่งสมาธิ ยังมีกิจกรรมอื่นที่สามารถทำแทนกันได้ คือการเดินเล่นในสวยสาธารณะที่คุณชอบ หรือการอ่านหนังสือบนโซฟา หยิบสมุดสักเล่มและเขียนสิ่งที่คุณคิดลงไป เขียนอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับคุณในเวลานั้น
    • หากมีคนแหย่ให้คุณไปปีนเขา บางทีคุณควรแกล้งเขากลับด้วยการไปปีนเขาจริงๆ
    • ใช้ชีวิตกับปัจจุบันด้วยการฝึกเทคนิคต่างๆ เข่น เทคนิคการขับรถแบบเซ็น (Zen driving) ตั้งสมาธิกับสิ่งเหนือธรรมชาติบางอย่าง เช่น แรงพลังงานของจักรวาล หรือหลักควอนตัม ก็สามารถให้มุมมองที่แตกต่างไปได้
  2. วิธีหนึ่งที่จะทำให้เรามีสมาธิ (และสังเกตสิ่งต่างๆ มากขึ้น ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น) คือการที่เขียนบันทึกสิ่งต่างๆ ทำให้เป็นนิสัย และถามคำถามตัวเอง เช่น
    • ฉันรู้สึกอย่างไร ทำไมถึงรู้สึกเช่นนั้น?
    • ฉันได้เรียนรู้อะไรในวันนี้? ฉันเรียนรู้จากใคร?
    • มีความคิดอะไรเข้ามาในหัวบ้าง? ใครหรืออะไรที่ฉันคิดถึงวันนี้?
    • อะไรที่วันนี้แตกต่างจากเมื่อวาน? จากสัปดาห์ที่แล้ว? จากปีที่แล้ว?
    • อะไรที่น่ายินดี? ใครในโลกที่กำลังโดดเดี่ยว? ทำไมกัน?
  3. ไม่ผิดหรอกที่จะขอความช่วยเหลือ ความมั่นใจในตัวคุณจะให้พละกำลังแก่คุณในการขอความช่วยเหลือ ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นเห็นค่าในตัวคุณ และเมื่อถึงเวลาที่คุณต้องขอความช่วยเหลือจริงๆ ความรู้สึกของคุณจะช่วยให้คุณมีสติและสามารถขอร้องได้อย่างถูกต้อง
  4. เมื่อคุณสามารถใช้เวลาอยู่คนเดียวทำเรื่องที่ใช้ความคิดเงียบๆ กับตัวเองได้ จะง่ายขึ้นเมื่อคุณอยู่กับกลุ่มใหญ่ๆ และคุณจะต้องประหลาดใจว่าคุณก็มีความสุขกับมันไม่น้อยเลยทีเดียว คุณจะสะสมความอดทนและหล่อเลี้ยงโลกส่วนตัวของคุณ และทำให้คุณมีสิ่งที่จะพูดมากขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดจริงๆ ลองทำกิจกรรม เช่น ถักนิตติ้ง ทำสวน หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้การพูดมากนัก ถึงแม้จะแค่หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี
    • ในหนังสือของมิงกลิ้ง มาเวน ซูซาน ได้เขียนไว้ในหนังสือ What Do I Say Next? ว่า “น้ำนิ่งไหลลึก แต่ก็ไหลตื้นได้เหมือนกัน” หาคุณเป็นคนตื้นเขิน ผู้คนจะยินดีเมื่อคุณเงียบได้สักที แน่นอนว่าคุณไม่อยากเป็นคนแบบนั้น คุณต้องพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่ใครๆ ก็อยากอยู่ใกล้ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้พูดเก่งก็
    • จำไว้ว่าคนเงียบขรึมก็สามารถทำในสิ่งที่คนพูดมากทำได้เช่นกัน คุณสามารถร้องเพลง เต้น เล่นดนตรี หรืออื่นๆ แต่ต้องจำไว้เสมอว่าต้องกลับมาเป็นคนเงียบขรึมเมื่อคุณทำกิจกรรมเหล่านั้นเสร็จแล้ว
    • อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้เวลาส่วนมากของคุณเป็นคนที่เงียบขรึมแล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะกลับมาเป็นคนที่พูดเก่งได้อีกครั้ง เนื่องจากความเงียบขรึมได้กลายเป็นนิสัยของคุณแล้ว จินตนาการดูว่าคุณใช้เวลาอ่านหนังสือที่คุณชอบและเริ่มอินกับเนื้อหา หลังจากนั้นคุณไปงานเลี้ยง คุณจะยังคงติดอยู่ในโลกหนังสือของคุณอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้คุณเงียบยิ่งกว่าเดิมและดูสันโดษขึ้น
  5. ซูซาน เคน กล่าวไว้ว่า “ความเงียบคือกุญแจแห่งการค้นพบ” [4] การอยู่กับความคิดของตัวเองคือช่วงเวลาที่เปรียบเสมือนของขวัญล้ำค่าให้คุณสร้างสรรค์ผลงานในแต่ละวัน และคุณยังได้ทำในสิ่งที่คุณอยากจะทำอีกด้วย นอกจากการอยู่คนเดียวจะช่วยให้คุณได้ทำในสิ่งที่คุณต้องการแล้วยังช่วยให้คุณเรียนรู้ที่จะรักช่วงเวลานั้นอีกด้วย
    • เวลานี้อาจเป็นเวลาที่เหมาะสมกับการเริ่มทำงานอดิเรกใหม่ของคุณ การเขียนบันทึก พาสุนัขไปเดินเล่น หรือออกไปช้อปปิ้งที่ร้านสะดวกซื้อ ไม่สำคัญว่าคุณจะทำอะไร เพียงแค่คุณได้ทำมันก็พอ คุณจะรู้ว่าการอยู่กับผู้อื่นนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสุข ในอีกแง่หนึ่ง อย่ากลายเป็นคนสันโดษ แต่ใช้เวลากับตัวเองเพื่อช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  6. การอยู่กับคนที่โหวกเหวกโวยวาย พูดมาก และเสียงดัง มีแต่จะทำให้คุณกลายเป็นแบบพวกเขา การจะเรียนรู้ที่จะชื่นชมเพื่อนในอีกแง่มุมหนึ่ง คุณควรใช้เวลากับเพื่อนที่ชอบปลีกตัวไปอยู่คนเดียว คนที่เงียบขรึมโดยธรรมชาติ คุณจะค้นพบว่านั้นคือความสนุกในรูปแบบแปลกใหม่ที่คุณไม่เคยเจอมาก่อน
    • คนเงียบขรึมมักจะอยู่กับคนประเภทเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่เสมอไปก็ตาม หากคุณไม่ค่อยรู้จักคนที่เงียบขรึม ลองถามเพื่อนของคุณที่เป็นคนเงียบขรึมที่สุดดู แล้วให้เขาแนะนำเพื่อนของเขาให้คุณ การมีเพื่อนสนับสนุนถือเป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเขาเป็นเพื่อนประเภทที่เงียบขรึมอยู่แล้ว (หรือพยายามจะเป็นก็ได้) หรือคุณอาจจะเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยพวกเงียบขรึม เช่น ชมรมหนังสือ หรือห้องเรียนทำอาหาร เพื่อพบปะกับพวกเงียบขรึม
  7. วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้คุณมีเวลาที่จะพูดเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองแล้ว ยังช่วยให้คุณพูดเหตุผลว่าทำไมถึงอยากกลายเป็นคนเงียบขรึมอีกด้วย และคุณกำลังเรียกร้องความสนใจหรือไม่ จิตแพทย์ไม่ใช่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยทางจิตเท่านั้น แต่ยังมีไว้สำหรับคนที่ต้องการรู้จักกับตัวเองมากขึ้นอีกด้วย
    • หากใครสักคนกำลังทำให้คุณรู้สึกว่าคุณเป็นคนพูดมาก คุณสามารถพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เหมือนกัน คุณจะไม่รู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองเลย หากคุณไม่มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหากับคุณ การรู้สึกดีกับนิสัยโดยธรรมชาติของคุณเองคือเรื่องที่สำคัญมาก
  8. สุดท้ายแล้วคนบางคนอาจจะแค่พูดมากกว่าคนอื่น คุณไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เงียบขรึม คุณที่เป็นคุณอาจจะดีที่สุด อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้สึกว่าคุณจำเป็นจะต้องเปลี่ยน ควรเปลี่ยนแค่เท่าที่คุณสบายใจ หากคุณต้องการพูด ทำเลย หากคุณต้องการเต้นในโรงอาหาร ทำเลย คนทุกคนมีอารมณ์ที่หลากหลาย บางทีคุณอาจมีด้านที่เงียบขรึมออกมานานๆ ทีก็เป็นได้
    • หากคุณรู้สึกว่าจำเป็นจะต้องกลายเป็นคนเงียบขรึมจริงๆ ลองเลือกเวลาที่คุณรู้สึกว่าจำเป็นที่สุด อาจเป็นเวลาทานข้าวกับครอบครัว หรือระหว่างเรียน อย่าตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นคนที่เงียบขรึม แต่ควรตั้งเป้าหมายว่าจะเงียบในโอกาสที่เหมาะสม บางครั้งการพูดมากอาจเป็นเรื่องที่ดีก็ได้
  9. หากคุณพร้อมที่จะเปลี่ยนสัญญากับตัวเองว่าจะเป็นคนเงียบขรึมในระยะเวลาสั้นๆ. บางทีคุณอาจจะเงียบไปเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นลองเพิ่มเป็นสามชั่วโมง หากคุณสามารถทำได้ทั้งวัน คุณอาจสังเกตเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวที่คุณไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน เพราะที่ผ่านมาคุณเอาแต่ยุ่งอยู่กับการพูดคุย
    • ช่วงเวลาที่ดีต่อการเป็นคนเงียบขรึมคือหลังจากที่คุณได้ทำอะไรที่ทำให้เจ็บปากหรือปวดหัว เช่น เปลี่ยนยางรัดฟัน ถอนฟัน หรือมีอาการปวดหัว อย่าพยายามทำร้ายตัวเองจนมากเกินไป แต่ก็พยายามอยู่เสมอเพื่อที่จะเป็นคนที่เงียบขรึม
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 128,363 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา