ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เคมีเป็นวิชาที่ยากวิชาหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเรียนวิชาเคมีโดยใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม ถึงแม้จะไม่มีวิธีลัดหรือเคล็ดลับที่ช่วยให้เราเก่งวิชาเคมีในชั่วข้ามคืน แต่เราก็สามารถทำให้วิชาเคมีเป็นวิชาที่ง่ายขึ้นได้โดยใช้วิธีการเรียนที่เหมาะสม พอเรารู้ว่าวิธีไหนเหมาะสมที่จะใช้เรียนวิชาเคมีและเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเรียนวิชาเคมีแล้ว เราก็จะสามารถมุ่งทำความเข้าใจหลักวิชาเคมีได้ดียิ่งขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

เตรียมตัวให้พร้อมที่จะเรียนวิชาเคมี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในการเรียนวิชาเคมีจะมีสูตรและสมการให้เราต้องแก้มากมาย ถ้าเราจำวิธีแก้สมการลอการิทึมหรือสมการกำลังสองไม่ได้ ก็ขอแนะนำให้กลับไปทบทวนเรื่องพีชคณิต เพราะจะช่วยให้เราแก้โจทย์วิชาเคมีที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ได้ หลักวิชาคณิตศาสตร์ที่เราควรเรียนรู้และทำความเข้าใจได้แก่ [1]
    • สมการพีชคณิต (การเขียนและการ แก้ สมการ)
    • เลขชี้กำลัง
    • จำนวนลบ
    • สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
    • เศษส่วน
    • ลอการิทึม
  2. เรียนรู้วิธีการอ่านและทำความเข้าใจตารางธาตุ รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง. การเรียนรู้เรื่องธาตุต่างๆ นั้นมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนวิชาเคมี การเรียนรู้วิธีอ่านและทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่ในตารางธาตุนั้นสำคัญ ถ้าเราไม่รู้วิธีอ่านและไม่เข้าใจตารางธาตุ ก็เหมือนกับเราไม่รู้ความแตกต่างระหว่างจำนวนต่างๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ ผลคือเราก็จะเรียนไม่รู้เรื่อง เรายังต้องทำความเข้าใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตารางธาตุเพื่อจะได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาเคมีที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับตารางธาตุได้แก่
    • อิเล็กโตรเนกาทิวิตี
    • พลังงานไอออไนเซชัน
    • รัศมีอะตอม
    • สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
  3. ศึกษาหลักสำคัญทั้งหมดและเรียนรู้ไปทีละขั้น. เราอาจเริ่มด้วยการทำความเข้าใจระบบเมตริก วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การเรียกชื่อสารเคมี และโครงสร้างอะตอม สาเหตุที่ผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าวิชาเคมีนั้นยากเพราะไม่เข้าใจหลักพื้นฐานเหล่านี้อย่างถ่องแท้ก่อนที่จะศึกษาหัวข้อในระดับที่สูงขึ้นไป
    • เราสามารถเรียนรู้หลักพื้นฐานมากมายของวิชาเคมีได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย โดยจะมีวัสดุการเรียนการสอนให้เราใช้ฟรี [2]
    • เราอาจหาซื้อพวกหนังสือคู่มือวิชาเคมีที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรือจะยืมจากห้องสมุดก็ได้
    • เขียนหลักสำคัญลงในกระดาษ [3] ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเราเขียนเนื้อหาต่างๆ ลงในกระดาษ เราจะจดจำได้ดีขึ้น [4]
  4. ทำบัตรคำ . เมื่อไรก็ตามที่เราเรียนรู้คำหรือเนื้อหาใหม่ๆ ทำบัตรคำสำหรับคำหรือเนื้อหาเหล่านั้น บัตรคำเหมาะสำหรับใช้เรียนรู้ตารางธาตุรวมทั้งเนื้อหาอื่นๆ อีกมากมาย ใช้บัตรคำทบทวนเนื้อหาสัปดาห์ละหลายครั้งเพื่อให้เรายังคงจดจำเนื้อหาต่างๆ ได้
  5. พยายามนึกธาตุแต่ละธาตุเป็นภาพต่างๆ อย่างเช่น แอปเปิล ฟุตบอล เป็นต้น จะเป็นภาพอะไรก็ได้ที่เมื่อนึกถึงธาตุนั้นแล้ว เราก็จะนึกถึงภาพนั้นขึ้นมา ถึงแม้จะดูเหมือนขัดกับสามัญสำนึก แต่การสร้างความเชื่อมโยงที่แข็งแรงจะช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้ง่ายขึ้น [5]
  6. ใช้ทัศนูปกรณ์ช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อหา [6] เราถูกฝึกมาให้อ่านหนังสือวิชาเคมีที่มีโมเลกุลเป็นภาพวาดแบบ 2 มิติ แต่อย่าลืมว่าวิชาเคมีนั้นเป็นโลก 3 มิติ ใช้โมเดล 3 มิติหรือฝึกนึกภาพโครงสร้างโมเลกุลต่างๆ ในรูปแบบ 3 มิติ
    • มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลจัดตั้งเว็บไซต์ชื่อว่า ChemTube 3D เว็บไซต์นี้มีภาพเคลื่อนไหวและโครงสร้างแบบโต้ตอบไว้สำหรับเรียนรู้เนื้อหาวิชาเคมีมากมาย เราสามารถเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตได้อีกด้วย [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

อ่านตำรา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกตำราเรียนที่มีคุณภาพและครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมด. อย่าเลือกหนังสือด้วยเหตุผลที่ว่าเนื้อหาในนั้นดูเหมือนอ่านง่าย เพราะเราอาจได้เรียนแค่ตัววิชา แต่ไม่เข้าใจหลักสำคัญของมัน [8] ถ้าต้องการมองหาตำราเรียนดีๆ ลองดูที่ร้านหนังสือของมหาวิทยาลัยและหาสิว่ามีเล่มไหนที่อาจารย์แนะนำบ้าง
  2. ฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาด้วยการฝึกแก้โจทย์ปัญหาวิชาเคมีที่พบเจอในตำรา โจทย์ปัญหาต่างๆ แทรกอยู่ในเนื้อหาของตำราเพื่อช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ฝึกแก้โจทย์ปัญหาต่างๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะได้คำตอบที่ถูกต้องและเข้าใจขั้นตอนการคิดหาคำตอบนั้น [9]
  3. เราต้องเข้าใจหลักต่างๆ ถ้ามีเนื้อหาตรงไหนที่ยังไม่เข้าใจ ให้ใช้เวลาศึกษาจนกว่าจะเข้าใจ ใช้ดรรชนีช่วยหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสงสัยก็ได้
    • ถ้าเรายังคงไม่เข้าใจเนื้อหาอยู่ดี ให้ลองหาติวเตอร์หรือขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่เก่งวิชาเคมี เราสามารถถามครูหรืออาจารย์สอนเคมีได้ด้วย ขณะที่อ่านตำราเคมี หากสงสัยตรงไหน ให้เขียนคำถามลงในกระดาษ แล้วค่อยถามคุณครูหรืออาจารย์ผู้สอนภายหลัง
  4. เมื่อเราเรียนรู้สูตรใหม่ๆ ถามตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าเราเข้าใจที่มาของสูตรเหล่านั้น การจำสูตรต่างๆ ไม่ช่วยให้เราใช้สูตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในห้องทดลองหรือระหว่างสอบ เมื่อเรียนรู้สูตรใหม่สูตรหนึ่ง ถามตัวเองด้วยคำถามดังนี้ [10]
    • สูตรนี้อธิบายระบบหรือความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
    • ตัวแปรแต่ละตัวคืออะไรและหน่วยของตัวแปรแต่ละตัวคืออะไร (หน่วยต่างๆ จะช่วยให้เรารู้ว่าต้องทำขั้นตอนใดต่อไป)
    • เราควรใช้สูตรนี้เมื่อไรและอย่างไร
    • สูตรนี้มีความสำคัญอย่างไร
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ทดลองในห้องแล็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การหาโอกาสใช้หลักการทางเคมีในห้องทดลองจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาวิชาเคมีมากขึ้น [11] บางคนพบว่าตนเองเข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น เมื่อลงมือปฏิบัติแทนการอ่านเนื้อหา
  2. พยายามเชื่อมโยงผลการศึกษาในห้องทดลองกับเนื้อหาในตำราและเอกสาร. ถ้าเราเข้าเรียนในห้อง การทดลองในห้องแล็บถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับบทเรียนและเนื้อหาที่อาจารย์บรรยาย ตั้งใจตอบคำถามก่อนการทดลองและหลังการทดลอง เพราะมีโอกาสที่ข้อมูลเหล่านั้นจะอยู่ในข้อสอบ
  3. ถึงอย่างไรเคมีก็เป็นวิชาที่ต้องทำการทดลองในห้องแล็บ หาโอกาสเรียนรู้จากการทดลองโดยตรง การทดลองในห้องแล็บจะทำให้เรามีโอกาสทบทวนความรู้เรื่องการวัดและสมการ แถมยังสนุกด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

สร้างนิสัยการเรียนที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทบทวนเนื้อหาทุกวันจะช่วยให้ความรู้ของเราแน่นขึ้น การทบทวนเนื้อหาเป็นระยะเวลาสั้นๆ ทุกวันจะได้ผลดีกว่าการทบทวนเนื้อหาวันเดียวก่อนสอบ [12]
    • นักกีฬายังฝึกฝนตนเองทุกวันเพื่อให้เก่งขึ้น เราเองก็ต้องทำแบบเดียวกันเพื่อจะได้เข้าใจและเก่งวิชาเคมีมากขึ้น
    • หลักวิชาเคมีต่างๆ เป็นพื้นฐานของกันและกัน ฉะนั้นถ้าเราไม่เข้าใจหลักวิชาเคมีหนึ่ง เราก็จะไม่เข้าใจหลักวิชาเคมีอื่นๆ ที่มีพื้นฐานมาจากหลักวิชาเคมีนั้นด้วย
  2. การบ้านวิชาเคมีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เราเรียนรู้หลักวิชาเคมีต่างๆ และสอบผ่านวิชานี้ได้ รวมทั้งอาจเป็นคะแนนส่วนสำคัญที่มีผลต่อเกรดของเราด้วย ถ้าเราไม่ทำการบ้านให้ครบ เราก็อาจพลาดโอกาสที่จะเข้าใจหลักวิชาเคมีต่างๆ และอาจสอบตกวิชาเคมีอีกด้วย ทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จและส่งให้ครบรวมทั้งตรงเวลาด้วย
    • ถ้าเราไม่เข้าใจโจทย์ข้อไหน ให้ขอเข้าพบคุณครูหรืออาจารย์ในเวลาว่างเพื่อจะได้สอบถามและขอความช่วยเหลือ
  3. ถึงแม้การเข้าชั้นเรียนวิชาเคมีระดับมหาวิทยาลัยดูเหมือนจะไม่เคร่งครัดนัก แต่การขาดเรียนไป 1 ครั้งจะทำให้เราเรียนตามเพื่อนไม่ทันและอาจทำให้เราเริ่มเรียนวิชาเคมีไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นเราต้องเข้าเรียนทุกครั้งและอย่าขาดเรียนยกเว้นมีเหตุฉุกเฉินหรือไม่สบายมากจนไม่สามาถเข้าเรียนได้
    • ถ้าเราต้องขาดเรียนในวันหนึ่ง ให้เตรียมขอยืมสมุดจดเนื้อหาของเพื่อนที่จะเข้าเรียนในวันนั้น แลกเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลกับเพื่อนในห้องช่วงต้นเทอมไว้ เราจะได้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ เมื่อมีปัญหาเรื่องการเรียน
    • อย่าลืมส่งอีเมลแจ้งอาจารย์ผู้สอนด้วยว่าเราต้องขาดเรียนในวันนั้น อาจารย์อาจให้เราทำแบบทดสอบในชั้นเรียนของวันนั้นที่ห้องพักอาจารย์แทนก็ได้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม เราสามารถเข้าพบ สอบถาม ปรึกษาและขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ได้ที่ห้องพักอาจารย์
  4. จดบันทึกเนื้อหา . การจดบันทึกข้อมูลสำคัญลงในกระดาษจะช่วยให้เราจดจำข้อมูลนั้นได้ ขณะที่กำลังเรียนอยู่ จดบันทึกหลักสำคัญทั้งหมดที่ได้จาก การฟังบรรยาย ลงในกระดาษหรือสมุด จดบันทึกหลักสำคัญที่ได้จากการอ่านตำราเรียนลงไปด้วย ถึงแม้เรารู้สึกว่าตนเองรู้อยู่แล้วก็ตาม แต่การจดบันทึกหลักสำคัญลงในกระดาษจะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ในภายหลัง
  5. สองหัวดีกว่าหัวเดียว การเรียนรู้จะง่ายขึ้นมาก หากมีเพื่อนร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา ถ้าเราไม่เข้าใจเนื้อหาตรงส่วนไหน เพื่อนอาจช่วยเหลือเราได้ด้วยการอธิบายเนื้อหาตรงส่วนนั้นให้เราฟัง ในทำนองเดียวกันเราเองก็อาจอธิบายเนื้อหาต่างๆ ให้เพื่อนฟังได้เพื่อทำให้ความรู้ของตนเองแน่นขึ้น
  6. คุณครูหรืออาจารย์จะมีช่วงเวลาให้เราเข้าพบได้ เข้าพบและถาม หากมีข้อสงสัยหรือมีส่วนใดของเนื้อหาที่เราไม่เข้าใจ คุณครูยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนอยู่แล้ว หากนักเรียนมีปัญหาเรื่องการเรียน [13] แค่อย่าโทรมาถามคุณครูกระชั้นชิดช่วงคืนก่อนสอบและคาดหวังคำตอบในทันที
    • อาจารย์อาจยังให้แนวข้อสอบเก่าแก่เราด้วย แนวข้อสอบเก่าจะช่วยให้เรารู้ว่าจะเจอข้อสอบ แบบไหน แต่เราจะไม่รู้เลยว่า ข้อไหน จะออกสอบบ้าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเครียด เมื่อทำผิดพลาด ความผิดพลาดเป็นแค่ส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้เท่านั้น ทุกคนต่างก็เคยทำผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น
  • วางแผนทบทวนบทเรียนไม่เกิน 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้าเลือกลงเรียนวิชาเคมี
  • นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่! การเรียนวิชาเคมีต้องใช้ความคิดเยอะ เราต้องนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ก่อนเรียนหรือทบทวนวิชาเคมีในวันถัดไป
  • เวลาทำข้อสอบ ให้เริ่มทำข้อซึ่งคะแนนมากที่สุดและให้เวลาตนเองทำข้อเหล่านั้นมากสักหน่อย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,795 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา