ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โฮโมโฟเบีย (Homophobia) คือ การเลือกปฏิบัติ ความกลัว หรือความเกลียดคนรักร่วมเพศ ซึ่งแสดงออกได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การใช้ความรุนแรง ความรู้สึกเกลียด หรือท่าทางที่แสดงออกถึงความกลัว [1] คนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มอาจมีอาการเกลียดหรือกลัวคนรักร่วมเพศ และสร้างสภาพแวดล้อมที่คนไม่เป็นมิตรต่อกัน โชคดีที่คุณสามารถเลือกที่จะไม่เป็นคนประเภทดังกล่าวได้ มันอาจใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงวิธีที่คุณมองโลก และแน่นอนว่าต้องใช้ความพยายามอย่างมาก อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเรียนรู้ที่จะเป็นคนใจกว้างมากขึ้นเพื่อสร้างสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขและปลอดภัยมากขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ย้อนดูความเชื่อของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะหยุดความรู้สึกเกลียดหรือกลัวคนรักร่วมเพศ นั่นแสดงว่าคุณได้สังเกตความรู้สึกหรือการกระทำบางอย่างของตัวเองที่ก่อปัญหาให้กับตัวคุณเองหรือผู้อื่นด้วย เขียนความรู้สึกหรือการกระทำที่ทำให้คุณรู้สึกอะไรบางอย่างเกลียดหรือกลัวคนรักร่วมเพศออกมา [2] ตัวอย่างเช่น:
    • ฉันรู้สึกกระอักกระอ่วนและโกรธเวลาที่เห็นคู่รักเพศเดียวกันจูบกัน
    • ฉันคิดว่ามันผิดที่พี่หรือน้องสาวของฉันชอบผู้หญิงด้วยกัน
    • ฉันรู้สึกว่าการที่ผู้ชายสองคนชอบกันมันขัดธรรมชาติ
  2. เมื่อคุณเขียนความรู้สึกนั้นๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกเกลียดหรือกลัวคนรักร่วมเพศออกมาแล้วก็ได้เวลาที่จะวิเคราะห์ว่าทำไมคุณมีความรู้สึกเช่นนี้ นี่เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการที่จะเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลง พยายามถามตัวเองว่า: [3]
    • ”ทำไมฉันถึงรู้สึกโกรธในสถานการณ์ [x] ใครหรืออะไรที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มันมีเหตุผลอะไรที่ทำให้ฉันรู้สึกแบบนี้”
    • ”นี่มันสมเหตุสมผลแล้วหรอที่รู้สึกแบบนี้ มีขั้นตอนอะไรที่ฉันจะทำตามจะได้ไม่รู้สึกแบบนี้มั้ย”
    • ”ฉันพูดถึงความรู้สึกเหล่านี้กับใครสักคนเพื่อจะระบุให้ได้ว่าทำไมถึงรู้สึกแบบนี้ได้มั้ยนะ”
  3. โดยมากแล้ว ความเชื่อต่างๆ ของเราจะมาจากพ่อแม่หรือพี่เลี้ยง เวลาที่คุณย้อนมองดูความรู้สึกต่างๆ พิจารณาดูว่ามันความรู้สึกเกลียดกลัวคนรักร่วมเพศเกิดขึ้นจากอะไร ถามตัวเองดูว่า:
    • ”พ่อแม่ของฉันรู้สึกเกลียดกลัวคนรักร่วมเพศ และความรู้สึกนึกคิดของพวกเขามีอิทธิพลต่อฉันรึเปล่านะ”
    • ”มีใครสักคนในชีวิตของฉันที่มีอิทธิพลทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีหรือไม่”
    • ”การศึกษา/ ศาสนา/ การศึกษาวิจัยของฉันทำให้ฉันรู้สึกเช่นนี้หรือไม่ และเพราะอะไร”
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

พิจารณานิสัยของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณได้มองย้อนดูแล้วว่ามีความรู้สึกแบบไหนบ้างที่เกิดกับคุณและรู้ว่าทำไมคุณจึงอยากเปลี่ยนนิสัยนั้น ให้คุณทำบัญชีนิสัยแย่ๆ ของคุณ ออกมา นั่นอาจทำให้คุณรู้สึกละอายใจกับการกระทำเมื่อครั้งก่อน แต่การซื่อสัตย์ต่อตัวเองนั้นดีที่สุดเสมอในการที่จะก้าวต่อไป พยายามและลองแจกแจงผลที่อาจจะเกิดตามมาออกมาเป็นข้อๆ [4] เขียนให้เฉพาะเจาะจงให้มากเท่าที่จะทำได้:
    • ”ฉันติดนิสัยชอบใช้คำว่า ‘เกย์’ ในการบรรยายสิ่งนั้นสิ่งนี้ ฉันคิดว่ามันอาจจะทำให้คนที่เป็นเกย์รู้สึกไม่ดีได้”
    • ”ฉันล้อ [x] ตอนเรียนมัธยมปลาย และเรียกเขาว่าเกย์ คำพูดนี้อาจทำร้ายจิตใจของเขา”
    • ”ฉันใจร้ายกับพี่/น้องสาวของฉันตอนที่เธอเปิดตัวกับครอบครัว ฉันได้ทำลายความสัมพันธ์ที่สำคัญในชีวิตไปเพราะความรู้สึกเกลียดชัง”
  2. ให้คุณเจาะจงให้มากเท่าที่จะทำได้ เมื่อระบุนิสัยที่ไม่ดีและความรู้สึกทางลบออกมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะพิจารณาด้านบวกบ้าง แจกแจงเป้าหมายที่คุณอยากจะไปให้ถึงออกมา [5] ตัวอย่างเช่น:
    • ”ฉันอยากจะเลิกใช้คำว่า ‘เกย์’
    • ”ฉันอยากจะขอให้คนที่ฉันเคยล้อยกโทษให้ฉัน”
    • ”ฉันอยากจะกลับมาคืนดีกับพี่/น้องสาวและขอให้เธอยกโทษให้ฉัน”
  3. คุณควรรับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงนิสัยแย่ๆ ให้ดีใช้เวลา ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่ามันกินเวลาประมาณหนึ่งเดือนในการที่จะสร้างนิสัยใหม่ขึ้นมา [6] คุณอาจทำผิดพลาดได้อีก คุณอาจจะกลับไปมีพฤติกรรมแย่ๆ อีก แต่เคล็ดลับคือให้ก้าวต่อไป และพยายามต่อไปเรื่อยๆ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ลงมือทำสร้างความเปลี่ยนแปลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่นิ่งเงียบเมื่อมีการแสดงความเกลียดและกลัวคนรักร่วมเพศ. คุณอาจเคยได้ยิน หรืออาจเคยพูดว่า “นั่นมันโคตรจะเกย์เลย!” นี่จัดว่าเป็นคำพูดที่ใจร้ายและน่าเจ็บปวดสำหรับชาว LGBT (กลุ่มเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กซ์ช่วล และคนข้ามเพศ) เพราะมันจัดว่าเป็นคำดูถูกเหยียดหยาม เมื่อคุณได้ยินคำพูดดังกล่าว ให้พยายามห้ามไม่ใครใช้คำพูดนี้ด้วยการบอกพวกเขาว่า:
    • ”คุณรู้มั้ยว่าคำนั้นมันมีความหมายว่าไง”
    • ”ทำไมคุณถึงใช้คำพูดแบบนี้”
    • ”ไม่คิดหรือว่าคำนี้มันทำให้คนอื่นเจ็บปวด”
  2. โต้ตอบคำพูดที่แสดงความเกลียดชังคนรักร่วมเพศ. แย่ตรงที่มันเป็นที่รู้กันว่าคำก่นด่าที่แสดงความเกลียดชังคนรักร่วมเพศพบได้บ่อยๆ ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย [7] เวลาที่ได้ยินคำก่นด่าหรือประโยคแสดงความเกลียดชังคนรักร่วมเพศ คุณต้องตอบกลับด้วยเหตุผลและด้วยความเคารพต่ออีกฝ่าย เวลาที่ได้ยินอะไรไม่ดีๆ เช่น “พวกเกย์เป็นพวกขัดต่อประสงค์ของพระเจ้า” หรือ “เกย์ทุกคนเป็นพวกชอบกินเด็ก” ให้ลองนำเทคนิคต่อไปนี้ไปใช้เพื่อรับมือกับคำพูดไม่ดีๆ โดยไม่มีปัญหา:
    • พูดโดยไม่ใส่อารมณ์. เมื่อคุณเอาอารมณ์มาใส่ในน้ำเสียงของคุณด้วย มันอาจทำให้คนอื่นไม่อยากจะใส่ใจกับคุณมากนัก ให้ใช้ข้อเท็จจริงและคุมสติเพื่อคนฟังได้รับสารคุณต้องการจะสื่อออกไป
    • อธิบายว่าสิ่งที่เขาพูดมันเต็มไปด้วยความเกลียดชัง บางครั้งคนเราก็พูดโดยไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ตนพูดสื่อความหมายบางอย่าง อธิบายว่าทำไมสิ่งที่เธอพูดมันแสดงความเกลียดชัง และบางทีเธอจะได้เข้าใจว่าวิธีที่เธอเลือกใช้มันผิด
    • บอกอีกฝ่ายว่าการเป็นเกย์หรือเลสเบี้ยนไม่ผิดแปลกตรงไหน ทัศนคติในด้านบวกนี้สามารถแสดงให้ผู้คนเห็นว่าคุณให้กำลังใจผู้อื่น
  3. การรังแกผู้อื่นเป็นปัญหารุนแรง หากคุณพบเห็น/ได้ยินคำด่าว่า คำพูดหรือการกระทำแสดงความเกลียดชังใครคนใดคนหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็นคนรักร่วมเพศหรือคนที่รักเพศตรงข้าม!) ให้ยืนหยัดเพื่อพวกเขาด้วยข้อความให้กำลังใจ จงมั่นใจและพูดว่า:
    • ”ฉันไม่ชอบเลยที่คุณพูดถึง [x] มันน่าเจ็บปวดมากนะ!”
    • ”ทำไมพูดหรือทำแบบนั้นล่ะ ถ้าเป็นคุณที่โดนบ้างล่ะ คุณจะรู้สึกยังไง”
    • ”ฉันไม่คิดว่าเราจะเพื่อนกันต่อไปได้ถ้าเธอยังคงจะพูดจาแบบนี้”
  4. ยังมีอีก 76 ประเทศบนโลกในขณะนี้ที่ยังมีกฎหมายที่ลงโทษคู่รักเกย์หรือเลสเบี้ยน [8] ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่เป็นการเลือกปฏิบัติและเต็มไปด้วยความเกลียดชังชาว LGBT ใช้เวลาเรียนรู้ความเจ็บปวดของผู้อื่นในอดีตเพื่อที่จะได้มุมมองด้านใหม่ว่ากลุ่มคนเหล่านี้ต้องเผชิญกับอะไรบ้าง
    • แทบจะทุกช่วงเวลาในประวัติศาสตร์มีการบันทึกถึงความเกลียดหรือกลัวคนรักร่วมเพศ เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพนาซีเยอรมันจับคนรักร่วมเพศเข้าค่ายกักกัน การเรียนรู้ข้อเท็จจริงจะช่วยให้ปรับความเกลียดสู่มุมมองใหม่ และบางทีมันอาจทำให้คุณเรียนรู้ที่จะอดทนอดกลั้นมากขึ้น
    • คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ผ่านหลายช่องทาง รวมถึง สารคดี พ็อดคาสต์ ตำรา และอินเตอร์เน็ต
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ขยายขอบเขตของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณเริ่มรู้สึกสบายใจขึ้นกับความรู้สึกของตัวเองแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะผลักดันตัวเองสู่ความเปลี่ยนแปลง พยายามพูดคุยมีบทสนทนากับคนทีเป็นเกย์ เคารพอีกฝ่ายและทำตัวเป็นมิตร และอย่าถามคำถามละลาบละล้วงเกี่ยวกับเพศของเขาเกินไป
    • แค่พูดคุยสนทนาตามปกติและพยายามเปิดใจรับคนที่คุณสนทนาด้วย
    • ลองถามคำถามกลางๆ เช่น: “เล่าเรื่องงานที่คุณทำให้ฟังหน่อย” หรือ “คุณชอบดูหนังแนวไหน” หรือ “ร้านอาหารโปรดของคุณคือร้านอะไร”
  2. เข้าร่วมการพบปะ เสวนาของกลุ่ม LGBTQ (กลุ่มเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กซ์ช่วล คนข้ามเพศ และเควียร์). มันยากที่จะเข้าใจผู้อื่นและเข้าใจว่าผู้อื่นถูกกระทำมาอย่างไรบ้าง.
    • เพื่อช่วยให้คุณเปิดใจให้กว้างขึ้น ลองไปร่วมพบปะ เดินขบวน สัมมนา หรือฟังการบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวกับสิทธิเกย์หรือเลสเบี้ยนโดยเฉพาะ เช่นเคย การเคารพผู้อื่นแม้มันจะขัดความรู้สึกนึกคิดของคุณเป็นสิ่งสำคัญ
    • หาสถานที่ที่มีการประชุมดังกล่าวได้จากใบปลิวตามมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน มหาวิทยาลัยมักจะมีกลุ่มสังคมที่มีความหลากหลาย และมักจัดการประชุม/ การบรรยาย/ การสัมมนาอยู่บ่อยครั้ง
  3. เมื่อคุณทำใจให้กว้างขึ้นและฝึกนิสัยที่ดีแล้ว ลองหาเพื่อนใหม่ที่เป็นคนรักร่วมเพศดู พูดคุยกับคนที่มีความสนใจและงานอดิเรกเหมือนกันกับคุณ และเป็นตัวของตัวเอง!
    • การหาเพื่อนที่เป็นคนรักร่วมเพศก็เหมือนกับการหาเพื่อนที่เป็นคนรักเพศตรงข้าม หาคนที่มีความสนใจเหมือนๆ กับคุณ และให้มิตรภาพงอกงามขึ้นด้วยตัวของมันเอง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มันไม่ใช่เรื่องแย่เลยหากความเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน มันอาจต้องใช้เวลา ให้คุณพยายามต่อไปเรื่อยๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,976 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา