ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เหล่าลูกเป็ดเพิ่งฟักออกจากไข่ และพวกมันก็ต้องการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทั้งอบอุ่นและปลอดภัยเพื่อที่จะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง หากคุณสามารถสร้างบ้านที่ปลอดภัยพร้อมให้อาหารและน้ำสะอาดอย่างเพียงพอต่อลูกเป็ดขี้เล่นของคุณได้ละก็ พวกมันจะเดินเป๋ไปมาและว่ายน้ำด้วยตนเองได้ก่อนที่คุณจะรู้ตัวเสียอีก มาเรียนรู้วิธีที่จะทำให้ลูกเป็ดของคุณได้กินอาหารที่พวกมันชอบ และอยู่อย่างสุขสบาย ปลอดภัยจากอันตรายด้วยกันเถอะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สร้างบ้านให้กับลูกเป็ด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากที่ลูกเป็ดตัวน้อยฟักจากไข่และใช้เวลากว่า 24 ชั่วโมงในการทำความเคยชินกับสภาพแวดล้อม พวกมันก็พร้อมแล้วล่ะที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในกล่องกก [1] คุณจะใช้กล่องพลาสติก กล่องกระดาษที่แข็งแรงหน่อย หรือตู้ปลาอันใหญ่ๆ ก็ได้สำหรับกกลูกเป็ด
    • กล่องควรจะมีฉนวนกันความร้อนที่แน่นหนาพอ เพราะเหล่าลูกเป็ดนั้นต้องการอยู่ในที่ที่อบอุ่น อย่าเลือกใช้กล่องที่มีรูอยู่ด้านใต้หรือตามผนังของกล่องเยอะ
    • หาขี้เลื่อยหรือผ้าเช็ดตัวผืนเก่าๆ มาปูไว้ที่พื้นของกล่อง พยายามอย่าใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือวัสดุที่มีพื้นผิวลื่น เพราะในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังฟัก ลูกเป็ดยังมีขาที่ไม่ค่อยมั่นคงดีนัก พวกมันอาจลื่นและหกล้มจนบาดเจ็บได้ง่ายหากเดินอยู่บนพื้นผิวเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์หรือพลาสติก
  2. ลูกเป็ดควรได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นมากในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกเพื่อให้เวลาพวกมันได้ปรับตัวให้ชินกับอากาศเย็นภายนอกไข่ คุณควรหาซื้อหลอดไฟจากร้านขายอุปกรณ์ช่างหรือร้านขายอาหารสัตว์มาติดตั้งที่ด้านบนของกล่องกกลูกเป็ด
    • ให้เริ่มโดยการใช้หลอดไฟขนาด 100 วัตต์ เพราะหลอดไฟดังกล่าวจะให้อุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับลูกเป็ด
    • คุณควรตรวจดูให้แน่ใจว่าจะมีบริเวณในกล่องที่อยู่ห่างจากหลอดไฟ ลูกเป็ดจะได้มีที่ให้อยู่เย็นๆ บ้างเวลาที่พวกมันต้องการ
    • คุณควรตรวจดูให้แน่ใจว่าหลอดไฟจะไม่อยู่ใกล้ลูกเป็ดจนเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกเป็ดรู้สึกร้อนเกิน และพวกมันอาจโดนลวกได้ถ้าเผลอไปแตะหลอดไฟ ถ้าคุณใช้กล่องกกที่มีลักษณะทรงเตี้ยๆ ละก็ ให้ติดตั้งหลอดไฟให้อยู่สูงขึ้นไปโดยอาจเอาไม้อัดหรือวัสดุที่แข็งแรงทนทานอื่นๆ มาค้ำ
  3. คุณควรตรวจดูตำแหน่งของหลอดไฟเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกเป็ดจะได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม
    • คุณควรปรับระดับความร้อนและปริมาณวัตต์ของหลอดไฟตามพฤติกรรมของลูกเป็ดเมื่อพวกมันเติบโตขึ้น
    • หากลูกเป็ดชอบเกาะกลุ่มกันอย่างแนบแน่นอยู่ใต้หลอดไฟอาจเป็นไปได้ว่าพวกมันกำลังหนาว คุณอาจวางหลอดไฟให้ใกล้ขึ้นหรือซื้อหลอดไฟที่มีวัตต์มากขึ้นมาใช้
    • ถ้าหากลูกเป็ดอยู่อย่างกระจัดกระจายกันและหายใจหนักๆ แสดงว่าพวกมันรู้สึกร้อนเกิน คุณอาจต้องวางหลอดไฟให้ห่างมากขึ้น หรือใช้หลอดไฟที่มีวัตต์น้อยลง ลูกเป็ดที่รู้สึกสบายจะอยู่นิ่งๆ อย่างอบอุ่น
  4. เมื่อลูกเป็ดโตขึ้น พวกมันจะต้องการความอบอุ่นน้อยลง ให้วางหลอดไฟให้ห่างขึ้นหรือเปลี่ยนไปใช้หลอดไฟที่แรงน้อยลงเมื่อพวกมันเลิกนอนข้างใต้หลอดไฟดวงนั้นแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ให้น้ำและอาหารแก่ลูกเป็ด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นำชามก้นตื้นไปวางไว้ในกล่องอนุบาลลูกเป็ดของคุณ พยายามหาชามที่ลึกพอให้ลูกเป็ดจุ่มจะงอยปากลงไปได้ แต่ไม่ลึกขนาดให้พวกมันจุ่มลงไปได้ทั้งหัว [2] พวกลูกเป็ดจะชอบล้างจมูกขณะที่พวกมันดื่มน้ำ แต่ถ้าคุณใช้ภาชนะที่ลึกเกินไปล่ะก็ พวกลูกเป็ดอาจปีนเข้าไปแล้วจมน้ำได้ [3]
    • เปลี่ยนน้ำและทำความสะอาดชามทุกวันเพื่อที่คุณจะได้มั่นใจว่าพวกลูกเป็ดจะไม่ป่วยจากการดื่มน้ำสกปรก
    • หากคุณกังวลว่าชามจะลึกเกินกว่าที่พวกลูกเป็ดจะดื่มน้ำได้อย่างปลอดภัย ให้ปูพื้นชามด้วยกรวดหรือลูกแก้ว จะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น [4]
  2. ให้อาหารเม็ดบี้แตกสำหรับเป็ดแรกเกิดแก่ลูกเป็ด. ลูกเป็ดจะไม่กินอาหารเลยเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังฟักออกจากไข่ เพราะพวกมันได้ดูดซึมสารอาหารมาอย่างเพียงพอแล้วจากไข่แดง หลังจากนั้น คุณควรให้อาหารเม็ดบี้แตกแก่เป็ด ซึ่งเป็นอาหารเม็ดละเอียดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารสัตว์ [5] คุณควรหาซื้อที่ใส่อาหารแบบพลาสติกมา เติมอาหารให้เต็ม แล้วนำไปวางไว้ในกล่องกก
    • ถ้าเหล่าลูกเป็ดดูลังเลที่จะกินอาหาร ลองเติมน้ำลงไปในอาหารเล็กน้อยเพื่อให้พวกมันสามารถกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น คุณอาจลองใส่น้ำตาลลงไปในน้ำเล็กน้อยในช่วงสองถึงสามวันแรกเพื่อให้พวกลูกเป็ดได้รับพลังงานอย่างเพียงพอและเริ่มต้นการทานอาหารได้อย่างไม่ลำบาก
  3. ให้ไข่แดงจากไข่เป็ดแก่ลูกเป็ดที่สภาพร่างกายอ่อนแอ. ลูกเป็ดที่มีสภาพอ่อนแอมากๆ อาจต้องการได้รับสารอาหารจากไข่แดงเล็กน้อยก่อนจะขยับไปกินอาหารเม็ดสำหรับเป็ดแรกเกิด ให้ไข่แดงบดละเอียดแก่ลูกเป็ดจนกว่ามันจะเริ่มสนใจรับประทานอาหารเม็ด [6]
  4. คุณควรตรวจดูให้แน่ใจว่าลูกเป็ดจะมีอาหารกินตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง พวกมันควรจะได้กินอาหารเมื่อใดก็ได้ที่หิวเพราะเป็ดจะโตเร็วมากในระยะนี้ พวกลูกเป็ดต้องการน้ำเพื่อให้กลืนอาหารได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นคุณควรเติมน้ำให้เต็มชามตลอดเวลา
    • หลังผ่านไปสิบวัน พวกลูกเป็ดก็พร้อมที่จะกินอาหารเม็ดสำหรับเป็ดรุ่น ซึ่งก็คล้ายกับอาหารเม็ดบี้สำหรับเป็ดแรกเกิด แค่เม็ดใหญ่กว่า
  5. หลังผ่านไปสิบหกสัปดาห์ พวกเป็ดจะโตเต็มที่และพร้อมที่จะกินอาหารสำหรับเป็ดโตเต็มวัย
  6. หลีกเลี่ยงการให้อาหารที่ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็ด. อาหารหลายชนิดที่มนุษย์กินได้ เช่นขนมปัง จะไม่สามารถให้สารอาหารที่เป็ดต้องการได้ และอาหารบางชนิดก็อาจทำให้เป็ดป่วยได้อีกด้วย [7]
    • แม้ว่าเป็ดจะให้ความสนใจอาหารเช่นขนมปังก็ตาม การกินขนมปังก็ไม่ได้ดีต่อตัวเป็ด
    • เป็ดสามารถกินผักหรือผลไม้หั่นบางเป็นอาหารว่างได้ แต่คุณควรให้อาหารเป็ดเป็นมื้อหลักอยู่ดี
    • อย่าให้อาหารสำหรับไก่แรกเกิดแก่ลูกเป็ด เพราะอาหารไก่ไม่ได้มีสารอาหารที่เหมาะกับเป็ด
    • อย่าให้อาหารผสมยาแก่เป็ด เพราะอาจทำลายอวัยวะภายในเป็ดได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เลี้ยงดูให้ลูกเป็ดเติบโตอย่างแข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็ดชอบว่ายน้ำ และพวกมันสามารถเริ่มหัดว่ายได้ตั้งแต่วันแรกที่ฟักออกมาจากไข่หากคุณยินยอมให้พวกมันทำ แต่อย่าให้พวกมันว่ายโดยไม่มีใครดูแล เป็ดวัยแรกเกิดนั้นร่างกายจะถูกปกคลุมด้วยขนอ่อน ซึ่งกันน้ำไม่ได้ และร่างกายของพวกมันในช่วงวัยนี้ก็เปราะบางเกินจะว่ายน้ำด้วยตัวเองคนเดียว [8]
  2. ให้เหล่าลูกเป็ดด้วยถาดสีของแปรงลูกกลิ้ง ถาดสีแปรงลูกกลิ้งถือเป็นอุปกรณ์ที่ดีสำหรับการทำสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับให้ลูกเป็ดหัดว่ายน้ำ [9] คุณสามารถให้การดูแลพวกมันได้อย่างใกล้ชิด และพื้นที่ลาดเอียงของถาดช่วยเหลือเหล่าลูกเป็ดให้สามารถขึ้นลงจากน้ำได้อย่างปลอดภัย
    • อย่าให้ลูกเป็ดว่ายน้ำนานจนเกินไป เพราะพวกมันจะรู้สึกเย็น เมื่อพวกมันว่ายน้ำเรียบร้อยแล้ว ให้เช็ดตัวลูกเป็ดเบาๆ แล้วนำลูกเป็ดไปวางไว้ในกล่องกกเพื่อให้ร่างกายพวกมันอบอุ่นขึ้น
    • คุณอาจให้พวกมันนั่งบนแผ่นทำความร้อนไฟฟ้าแล้วคลุมด้วยผ้าเช็ดตัวสักสองถึงสามนาที
  3. ปล่อยให้ลูกเป็ดว่ายน้ำโดยไม่มีใครช่วยเหลือ. เมื่อเหล่าลูกเป็ดถูกปกคลุมด้วยขนกันน้ำอย่างเต็มตัว ซึ่งเป็นขนของลูกเป็ดตัวเต็มวัย ก็ถึงเวลาแล้วที่พวกมันจะได้ว่ายน้ำโดยไม่มีใครคอยดู ขนเต็มวัยของเป็ดจะขึ้นเต็มตัวเมื่อเป็ดมีอายุ 9-12 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเป็ด
  4. คุณควรแน่ใจว่าเหล่าลูกเป็ดจะถูกดูแลอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ยังหัดว่ายน้ำและขนยังไม่ขึ้นเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาคุณปล่อยให้เหล่าเป็ดออกไปว่ายที่หนองน้ำนอกบ้าน เป็ดที่อายุมากกว่าซึ่งกำลังว่ายในหนองเดียวกันอาจฆ่าหรือทำให้เหล่าลูกเป็ดจมน้ำได้
  5. เป็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็ดที่ยังอายุน้อยเป็นเหยื่อชั้นดีสำหรับเหล่าสัตว์นักล่า คุณควรพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้ลูกเป็ดอยู่อย่างปลอดภัยจากสัตว์เหล่านั้น
    • หากคุณเลี้ยงเป็ดในโรงรถหรือยุ้งฉางนอกตัวบ้าน คุณควรตรวจดูว่าจะไม่มีสัตว์อื่นเข้าใกล้พวกมัน หมาป่า จิ้งจอก หรือนกนักล่าตัวใหญ่ๆ อาจทำร้ายลูกเป็ดได้หากคุณไม่ระวัง
    • ลูกเป็ดที่ถูกเลี้ยงในบ้านควรจะอยู่อย่างปลอดภัย ห่างจากสุนัขหรือแมว ซึ่งสัตว์เลี้ยงเหล่านี้อาจทำร้ายหรือเล่นอย่างรุนแรงกับลูกเป็ดของคุณ
    • เมื่อลูกเป็ดถูกย้ายจากกล่องกกไปเล้าที่ใหญ่ขึ้น คุณควรตรวจดูให้แน่ใจว่าจะไม่มีทางที่สัตว์นักล่าจะเข้าไปได้
  6. เว้นระยะห่างทางความสัมพันธ์กับเหล่าลูกเป็ด. คุณอาจจะรู้สึกอยากกอดกับเหล่าลูกเป็ดน้อยขนนุ่มน่ารัก แต่หากคุณใกล้ชิดกับลูกเป็ดมากเกินไป มันอาจจะติดคุณมากเกินไป เพื่อที่ว่าเหล่าลูกเป็ดจะโตขึ้นอย่างแข็งแรงและช่วยเหลือตนเองได้ คุณควรจะดูพวกมันเล่นด้วยกันเองอยู่ห่างๆ แต่อย่าไปร่วมเล่นกับพวกมันมากเกินไปนัก
  7. เมื่อเป็ดตัวใหญ่เกินกว่าจะอยู่ในกล่องกก ให้ย้ายเป็ดไปที่บ้านสุนัขหลังใหญ่ๆ หรือโรงเรือนที่มีประตูลงกลอน ให้อาหารเม็ดสำหรับเป็ดโตแก่พวกมัน และให้เวลาแก่เหล่าเป็ดสำหรับว่ายน้ำเล่นในหนอง คุณควรนำลูกเป็ดกลับเข้าเล้าหรือที่อยู่อื่นในตอนกลางคืนเพื่อให้พวกมันปลอดภัยจากนักล่า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าป้อนผลเบอร์รี่ หรือผลองุ่นแก่เป็ด
  • อย่าให้หัวหอม อาหารสำหรับนกป่าและนกเลี้ยง หรือขนมปังแก่เป็ด อาหารที่ดีสำหรับเป็ดได้แก่อาหารเม็ดบี้สำหรับเป็ดแรกเกิด ถั่วเขียว ข้าวโพด ถั่วลันเตา ถั่วลิม่า แครอทปรุงสุก ไข่ต้มสุก มะเขือเทศ จิ้งหรีด หนอน อาหารปลาเล็ก หญ้า นม และอาหารไก่งวง
  • หลังจากที่เป็ดสามารถเข้าไปอยู่ในหนองน้ำหรือแหล่งน้ำอื่น คุณอาจให้อาหารปลาแบบลอยน้ำได้ หรืออาหารสุนัขในปริมาณน้อยๆ เปลี่ยนอาหารหลักของมันให้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ปีกหรือนกน้ำที่ไม่เจือปนยา ซึ่งคุณสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายอาหารสัตว์
  • หากเป็ดของคุณป่วย ให้เรียกสัตวแพทย์หรือปรึกษาปัญหาทางเครือข่ายออนไลน์เพื่อหาวิธีรับมือกับอาการทันที
  • หากคุณมือสัตว์เลี้ยงอื่นเช่นสุนัขหรือแมว พยายามให้ลูกเป็ดอยู่ห่างจากพวกมัน
  • เวลาคุณลูบหัวเป็ด ให้ลูบอย่างเบามือ เพราะเป็ดมีกระดูกที่เปราะบางมาก
โฆษณา

คำเตือน

  • ควรเตรียมน้ำสะอาดไว้ข้าอาหารเสมอ เพราะเป็ดไม่สามารถกลืนอาหารได้หากไม่มีน้ำ
  • ห้ามให้ลูกเป็ดว่ายน้ำโดยไม่มีใครดูแล
  • ห้ามให้อาหารสัตว์ปีกที่มียาปนเปื้อนโดยเด็ดขาด
  • ห้ามให้ลูกเป็ดอยู่ข้างนอกโดยไม่มีคนเฝ้าดูแล เพราะสัตว์ป่าอาจทำร้ายมันได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กล่องกก
  • หลอดไฟกกขนาด 100 วัตต์
  • ฟางหรือวัสดุอื่นเช่นผ้าเช็ดตัวสะอาดสำหรับทำที่นอน
  • อาหารเม็ดบี้หรืออาหารเม็ดสำหรับเป็ดโตพร้อมถาดอาหาร
  • ชามสำหรับใส่น้ำเตี้ยๆ
  • ถาดใส่สีของแปรงลูกกลิ้ง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 78,591 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา