ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าหนูที่เลี้ยงไว้จะมีลูก หรือคุณบังเอิญเก็บลูกหนูที่ไหนมาเลี้ยงก็ตาม การดูแลลูกหนูตัวเล็กจิ๋วบอบบางก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ลูกหนูต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสมทันทีใน 2 - 3 ชั่วโมงแรกที่เกิดมา ถึงจะอยู่รอดได้ เพราะงั้นถ้าเจอลูกหนูไม่มีพ่อแม่ต้องรีบจัดการอย่างรวดเร็ว [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ช่วยแม่หนูดูแลลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    สังเกตพฤติกรรมแม่หนูว่าก้าวร้าวหรือไม่ใส่ใจหรือเปล่า. ถ้าลูกหนูยังมีแม่ แม่หนูมักจะดูแลลูกให้อยู่รอดปลอดภัยเอง แต่บางทีหนูตัวเมียก็ดูแลลูกไม่ทั่วถึง บางทีก็ทิ้งลูก หรือถึงขั้นกินลูกตัวเอง
    • ถ้าแม่หนูเลิกให้นมลูก หรือกินลูกตัวเอง ให้รีบแยกกรงทันที
    • ถ้าแม่หนูก้าวร้าวหรือไม่ยอมดูแลลูก คุณต้องเป็นฝ่ายดูแลให้อาหารแทน
  2. หาหนูตัวเมียมาเป็นแม่จำเป็นสักตัว เผื่อจะรับเลี้ยงเป็นลูกไปเลย [2] ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทั้งต่อร่างกายและจิตใจของลูกหนู แต่ถ้าลูกหนูอายุ 1.5 อาทิตย์ขึ้นไป จะเริ่มยากแล้ว
    • ให้รีบหาแม่ใหม่จากร้านขายสัตว์เลี้ยงหรือแหล่งเพาะพันธุ์
    • เอาวัสดุบุกรงของแม่ใหม่มาถูตามตัวลูกหนู จะได้ติดกลิ่น
    • เอาลูกหนูไปใส่ในกรงแม่ใหม่
    • เฝ้าระวังพฤติกรรมก้าวร้าว ส่งเสียงร้องผิดปกติ หรือทิ้งลูกหนู
  3. ถึงจะมีแม่จริงหรือแม่ปลอมคอยดูแล ลูกหนูเกิดใหม่ก็มักมีอาการท้องเสียและขาดน้ำอยู่ดี [3] ทั้ง 2 อาการมักเกิดควบคู่กันไป และอาจเป็นอันตรายถึงตายถ้าไม่ดูแล
    • ถ้าท้องเสียท้องร่วง ลูกหนูจะท้องบวมโต อ่อนแรง อึเหลวเหลือง [4]
    • ให้เปลี่ยนนมแม่หรือนมผงเป็นน้ำเกลือแร่สำหรับเด็กทารก
    • พาลูกหนูไปหาหมอ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ให้อาหารลูกหนู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นมผงสำหรับสัตว์เดี๋ยวนี้มีขายทั่วไปตามร้านและในเน็ต เช่น นมผงสำหรับลูกแมวหรือลูกหมา พวกนี้ใช้ป้อนลูกหนูได้ [5] นมผงของเด็ก (ที่ไม่มีธาตุเหล็ก) ก็ใช้ได้เหมือนกัน สุดท้ายคือนมแพะดิบไม่พร่องมันเนย เพราะสารอาหารสูง
    • ชงนมให้อุ่นๆ แล้วค่อยป้อน อย่าให้ลูกหนูกินนมร้อนหรือเย็นเกินไป
    • ถ้าเป็นสูตรเข้มข้นอาจจะต้องใช้น้ำเจือจางก่อนตามคำแนะนำที่ฉลาก
    • ตัวลูกหนูต้องอุ่นก่อนกินนม ไม่งั้นมันจะย่อยไม่สะดวก. หากเป็นเช่นนั้น นมจะเสียอยู่ในท้องทำให้ลูกหนูท้องเสียได้ คุณอุ่นตัวลูกหนูได้โดยการวางถุงร้อนที่ตั้งอุณหภูมิไว้เบาที่สุดสอดใต้ที่อยู่ของมัน [6]
  2. ให้นมด้วยกระบอกฉีดยาเล็กๆ ขวดสำหรับให้นมสัตว์ หรือเชือกว่าว. กระทั่งที่หยดยาก็ได้ ถ้าใช้กระบอกฉีดยาหรือขวดให้นม ให้ดูดนมเข้าไปตามปริมาณที่ต้องการ แต่ถ้าใช้เชือก ให้เอาเชือกจุ่มนมจนชุ่ม มีนมหยดจากปลายเชือก
  3. อย่าบีบกระบอกหรือขวดแรง ถ้าเห็นฟองนมโผล่มาจากจมูกลูกหนูให้หยุดป้อนทันที [7] ถ้าท้องของลูกหนูกลมเต่ง แสดงว่าอิ่มแล้ว เลิกป้อนได้
  4. ลูกหนูอายุ 0 - 1 อาทิตย์ต้องได้กินนมวันละ 6 - 8 ครั้ง ลูกหนูอายุ 1 - 2 อาทิตย์ต้องได้กินนมวันละ 5 - 6 ครั้ง ลูกหนูอายุ 2 - 3 อาทิตย์ต้องได้กินนมวันละ 4 ครั้ง และลูกหนูอายุ 4 อาทิตย์ต้องได้กินนมวันละ 3 ครั้งต่อวัน [8] ให้นมห่างกันครั้งละประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง และต้องให้นมตอนกลางคืนด้วย
  5. [9] ให้ใช้สำลีก้อนหรือนิ้วลูบเบาๆ "ตรงนั้น" จะมีฉี่ไหลออกมานิดๆ แต่ถ้าลูกหนูขาดน้ำ จะไม่มีอะไรออกมา ให้ลูบไปเรื่อยๆ จนไม่มีอะไรไหลออกมาอีก
  6. [10] ช่วงหย่านมวันแรกๆ ให้เตรียมอาหารเม็ดแฉะๆ ไว้นิดหน่อย โดยเอาน้ำพรมอาหารเม็ด จากนั้นใส่ในที่ที่ลูกหนูกินได้ง่าย
    • เดี๋ยวลูกหนูก็ไปแทะเล็มอาหารเม็ดเอง
    • พอหนูโตและแข็งแรงขึ้นแล้ว ให้กินอาหารเม็ดตามปกติ
  7. หาซื้ออาหารหนูจากร้านสัตว์เลี้ยงหรือตามเน็ต จะเป็นก้อนหรือเม็ดก็แล้วแต่ ให้เลือกสูตรที่มีโปรตีน 16% ไฟเบอร์ 18% และไขมันน้อยกว่า 4% หนูจะได้แข็งแรง [11]
    • ไม่ต้องคอยเอาน้ำพรมอาหารเม็ดแล้ว
    • ให้กินแอปเปิ้ล กล้วย บร็อคโคลี่ และขนมอื่นๆ ได้ด้วย แต่อย่าลืมว่าหนูกระเพาะเล็กมาก ห้ามให้กินเยอะไปเด็ดขาด
    • ให้หนูดื่มน้ำวันละ 3 - 7 มล. [12] โดยแขวนขวดน้ำสำหรับสัตว์ไว้ในกรง และเติมน้ำให้เต็มเสมอ
    • แต่ก่อนหนูจะได้น้ำที่ผสมในอาหาร แต่พอเปลี่ยนมาเป็นอาหารเม็ดแห้งๆ ขวดน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดที่อยู่ให้เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กรงต้องมีขนาดอย่างน้อย 1 ลูกบาศก์ฟุต (กว้าง x ยาว x สูง ประมาณ 30 x 30 x 30 เซนติเมตร) ต่อหนู 1 ตัว. ถึงจะยังเป็นลูกหนูก็ต้องกว้างประมาณนี้ ตามร้านคงมีกรงให้เลือกเยอะ แต่ขอให้เลือกกรงใหญ่กำลังดี
  2. อย่ามีช่องหรือรูให้หนูหนีไปได้ และเป็นพื้นราบแข็ง (ไม่ใช่ซี่กรง) ถ้ากรงพลาสติก ล้างทำความสะอาดบ่อยๆ อาจจะพังได้ เพราะงั้นให้เลือกที่เป็นเหล็กหรือกระจกแบบตู้ปลาจะทนทานกว่า
    • หนูแทะเก่งแน่นอน เพราะงั้นให้เลือกกรงที่ไม่มีอะไรยื่นออกมา โดยเฉพาะลวดหรือซี่กรง
    • ทำที่ลับไว้ให้หนูพักผ่อน เช่น กล่องเล็กๆ หรือแกนกระดาษ
    • ลังกระดาษนั้นใช้เป็นที่อยู่ชั่วคราวให้ลูกหนูได้ แต่พอเริ่มโตจะแทะเจาะกล่องออกไปแน่นอน
  3. พวกขี้เลื่อยหรือเศษกระดาษรีไซเคิลนี่แหละใช้ได้ [13] แต่ขี้เลื่อยห้ามเป็นเศษไม้สนหรือซีดาร์ ถ้าเลอะเทอะเมื่อไหร่ให้เปลี่ยนวัสดุบุกรงทันที ก็คือประมาณ 2 ครั้งต่อวัน และให้ล้างทำความสะอาดฆ่าเชื้อทั้งกรงทุก 3 - 4 อาทิตย์ [14]
  4. ลูกหนูจะได้อุ่นสบาย ถ้าร้อนไปก็คงต้องเปิดแอร์หรือพัดลม (อย่าไปจ่อกรง)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รักและดูแลเอาใจใส่มากๆ หยิบจับลูกหนูอย่างเบามือ ห้ามบีบเด็ดขาด!
  • ถ้ามีหนูตายให้รีบเอาออกจากกรง เพราะอาจทำลูกหนูที่เหลือติดเชื้อหรือเจ็บป่วยได้
  • รีบพาลูกหนูไปตรวจร่างกายกับคุณหมอแต่แรก
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าให้แมว หมา หรือสัตว์เลี้ยงอื่นมาป้วนเปี้ยน เดี๋ยวหนูจะถูกกิน
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • นมผง
  • นาฬิกาปลุก
  • แผ่นประคบร้อน
  • ชามสะอาด
  • ขวดเล็กๆ
  • พู่กันขนนุ่มละเอียด
  • คอตตอนบัด
  • เกลือแร่ (สำหรับเด็ก)
  • ตู้ปลา (ทำกรงหนู)
  • กระดาษทิชชู่
  • ผ้าขนหนูนุ่มๆ
  • กระดาษทิชชู่หนานุ่ม
  • แท่งไม้บอกวันที่
  • นมแพะหรือนมสูตรผสมเอง
  • ผ้าเช็ดตัวสะอาด
  • นมลูกแมว (เจือจางด้วยน้ำกลั่นปริมาณ 2 เท่า)
  • น้ำกลั่น

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 96,487 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา