ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ก่อนช่วงท้องแก่ที่ท้องของน้องหมาจะใหญ่ขึ้นจนเป็นที่สังเกตได้ การดูว่าน้องหมาท้องหรือไม่น้นเป็นเรื่องที่ดูได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดที่จะรู้ว่าตกลงน้องหมาท้องหรือไม่ท้องคือพาน้องหมาไปหาสัตวแพทย์ ยังไงก็ดี การสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและพฤติกรรมของน้องหมาก็มีประโยชน์ต่อการสังเกตว่าตกลงน้องหมาท้องหรือเปล่า เพราะน้องหมาที่ท้องจะแสดงอาการบางอย่างออกมาตั้งแต่ช่วงท้องอ่อน ระหว่างท้องและช่วงท้องแก่นั่นเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จุดสังเกตแรกๆที่จะทำให้รู้ได้ว่าน้องหมาท้องคือ น้องหมา “ชมพูขึ้น” ในที่นี้หมายถึงหัวนมของน้องหมาที่จะชมพูมากกว่าปกติ บวมเล็กน้อยและตั้งชันกว่าปกติอีกด้วย จุดสังเกตนี้จะปรากฏขึ้นหลังจากการปฏิสนธิได้ 2-3 สัปดาห์

    สัตวแพทย์พิพพา เอลเลียตเตือนว่า: “จุดสังเกตของการตั้งครรภ์หลายอย่างไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดเฉพาะเจาะจงและอาจตรงกับอาการป่วยได้ แทนที่จะปล่อยให้เสี่ยงกับอาการป่วยร้ายแรง จึงควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้ยืนยันการตั้งครรภ์ของสุนัขเสมอ”

  2. ร่างกายของน้องหมาที่ท้องจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรจนกว่าจะถึงช่วงที่สองของการตั้งท้อง ระหว่างสัปดาห์ที่4ถึง5 สะโพกของน้องหมาจะหนาขึ้นและช่วงท้องก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น
  3. เวลาที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณอาหารคือช่วงที่สามของการตั้งท้อง ช่วงท้องแก่นั่นเอง แต่ว่ามีเจ้าของน้องหมาหลายๆคนชอบเพิ่มปริมาณอาหารเร็วเกินไป ปริมาณแคลอรี่ส่วนเกินที่น้องหมาได้รับจะกลายเป็นไขมันสะสมที่ช่วงท้อง ทำให้เจ้าของอาจจะเข้าใจผิดได้ว่าน้องหมาท้อง คนธรรมดาไม่สามารถแยกออกได้ว่าท้องที่ใหญ่นั้นเป็นเพราะอ้วนหรือท้องกันแน่
  4. ในช่วงที่สามของการตั้งท้อง(สัปดาห์ที่6ถึง9) ท้องของน้องหมาจะกลมและบวมเป่ง ต่อมน้ำนมจะทำงานพร้อมผลิตน้ำนมและบวมออกมาอย่างเห็นได้ชัด
  5. ช่วงท้องแก่ คุณอาจจะเห็นลูกหมาขยับตัวไปมาอยู่ในท้องน้องหมา ถ้าคุณเอามือนาบไปกับสีข้างของน้องหมาขณะที่ลูกหมาดิ้นอยู่ คุณอาจจะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกหมาในท้องก็เป็นได้
    • อย่าผิดหวังนักล่ะถ้าหากคุณจับไปแล้วไม่รู้สึกถึงอะไรเลย นั่นอาจเป็นเพราะลูกหมาอยู่ถุงน้ำคร่ำในส่วนลึกของท้องน้องหมา ฉะนั้นมันเป็นไปได้ที่คุณจะสัมผัสไม่เจอตัวลูกหมา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าคาดหวังว่าน้องหมาคุณจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน. พฤติกรรมของน้องหมาที่ต้งท้องจะค่อยๆเปลี่ยนไปตลอดช่วงเวลาตั้งท้อง บางตัวอาจจะเงียบและเหนื่อยง่ายขึ้น แต่ว่าน้องหมาที่ไม่สบายก็จะเงียบลงเช่นกัน เพราะฉะนั้นความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมก็ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าน้องหมาท้องหรือไม่ท้อง [1] โดยทั่วไปน้องหมาจะแสดงพฤติกรรมปกติจนกระทั่งถึงช่วงท้องแก่
    • ในช่วงท้องแก่ ขนาดตัวของน้องหมาจะทำให้น้องหมาอุ้ยอ้ายและอยากนอนมากกว่าเดิม
  2. ช่วงท้องแก่ มดลูกของน้องหมาจะขยายใหญ่จนกินพื้นที่ในช่องท้องมาก ทำให้น้องหมาไม่สามารถกินอาหารมื้อใหญ่ๆได้ มันจึงอยากกินจุบจิบ กินเล็กกินน้อยบ่อยๆ [2]
  3. เมื่อน้องหมาใกล้จะคลอดลูก น้องหมาก็จะเริ่มทำรัง [3] มันจะเอาผ้าห่มหรือผ้าอื่นๆมากองรวมกันในที่เงียบๆ เพื่อเตรียมสถานที่ที่อบอุ่นและปลอดภัยสำหรับการคลอดลูกของมัน
    • เวลาที่น้องหมาจะทำรังคือตั้งแต่ช่วง2-3สัปดาห์ถึง2-3วันก่อนคลอด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รับการวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้พามันไปหาสัตวแพทย์ การพาน้องหมาไปหาสัตวแพทย์เป็นทางเลือกที่ดีที่จะคลายข้อสงสัยของคุณ เพราะสัตวแพทย์มีวิธีที่หลากหลายที่จะตรวจสอบการตั้งท้องของน้องหมาได้
  2. สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายน้องหมา โดยเฉพาะส่วนท้องที่สัตวแพทย์จะตรวจละเอียดเป็นพิเศษ [4] ไม่ว่าจะด้วยวีธีคลำตรวจ (สัมผัสจากภายนอกท้องของน้องหมา) บางครั้งสัตวแพทย์อาจจะสัมผัสได้ถึงมดลูกและรูปร่างของตัวลูกหมาได้ แต่อย่างไรก็ตาม การคลำตรวจเป็นเรื่องที่ยากกว่าที่คิดเพราะการตรวจแบบนี้สัตวแพทย์อาจจะวินิจฉัยผิดได้ว่าลูกหมาในท้องเป็นของเสียในลำไส้หรือของอย่างอื่นในทำนองเดียวกัน
    • ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือระหว่างวันที่ 28 - 35 หลังจากตั้งครรภ์ โดยก่อนหน้านั้นจะยากต่อการหาความแตกต่าง ส่วนหลังจากนี้อาจเกิดเข้าใจผิดว่าลูกสุนัขคือสิ่งอื่นเช่นอาหารที่อยู่ในท้องได้ [5]
  3. ในช่วงท้องแก่(สัปดาห์ที่6เป็นต้นไป) สัตวแพทย์สามารถใช้หูฟังตรวจการเต้นของหัวใจของลูกหมาผ่านท้องแม่หมาได้ แต่อย่างไรก็ดี การใส่หูฟังตรวจลูกหมาก็ทำได้ยากกว่าตรวจทารกในครรภ์ เพราะขนที่ขึ้นหนาทึบของน้องหมาและลักษณะท้องของน้องหมาที่กลม ไม่แบนเหมือนของคน [6]
  4. วิธีตรวจว่าน้องหมาตั้งท้องหรือไม่ที่ดีที่สุดคือให้สัตวแพทย์ตรวจเลือดน้องหมา เพื่อที่จะตรวจวัดระดับฮอร์โมนที่ชื่อว่าเรลาซิน [7]
    • ฮอร์โมนเรลาซินจะมีอยู่ในกระแสเลือดของน้องหมาหลังจากวันที่28ของการตั้งท้อง เพราะฉะนั้นแล้วหากเจ้าของพาน้องหมาไปตรวจเลือดก่อนหน้านั้นก็อาจจะได้ผลการตรวจที่ผิดพลาด คุณอาจจะเข้าใจว่ามันไม่ท้องทั้งๆที่มันท้องก็เป็นได้ [8]
    • หากผลตรวจออกมาว่ามีฮอร์โมนเรลาซิน ไม่ว่าจะก่อนช่วงวันที่28ของการตั้งท้องหรือไม่ก็สามารถยืนยันได้แล้วว่าน้องหมาของคุณตั้งท้อง [9]
  5. วิธีที่จะตรวจการตั้งท้องได้เร็วที่สุดคือการอัลตราซาวด์ เจ้าหน้าที่อัลตราซาวด์ที่ชำนาญจะสามารถตรวจพบลูกหมาได้ตั้งแต่วันที่16ของการตั้งท้องเป็นต้นไป [10]
    • ถ้าน้องหมาของคุณเชื่องพอ ก็ไม่จำเป็นต้องวางยาสลบก่อนการอัลตราซาวด์
    • เจ้าหน้าที่อัลตราซาวด์อาจจะต้องตัดขนที่ท้องของน้องหมาออก เพื่อให้อุปกรณ์อุลตราซาวด์สามารถแนบไปกับผิวน้องหมาได้ดียิ่งขึ้น [11]
  6. เมื่อการทำอัลตราซาวด์เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น การตรวจท้องผ่านการฉายเอกซเรย์ก็ลดความนิยมไป ปัจจุบันการฉายเอกซเรย์ตรวจท้องน้องหมานิยมทำเพื่อนับจำนวนลูกหมาในท้องว่ามีกี่ตัว
    • หากรู้จำนวนลูกหมาจะทำให้เจ้าของรู้ได้ว่าลูกหมาทั้งหมดได้คลอดออกมาอย่างปลอดภัยแล้วหรือไม่ ทั้งยังสามารถทำให้เจ้าของน้องหมารู้ได้ว่ายังมีลูกหมาค้างอยู่ในท้องแม่หมาหรือไม่ได้อีกด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

วินิจฉัยสัญญาณการตั้งท้องในช่วงเริ่มต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้องหมาของคุณอาจจะไม่แสดงอาการอะไรออกมาเลยในช่วง2-3สัปดาห์แรกของการตั้งท้อง (ช่วงนี้เป็นช่วงเริ่มท้อง) อาหารของน้องหมาควรให้ตามปกติ ที่สำคัญคือน้องหมาไม่มีอาการแพ้ท้องเหมือนที่คนเป็น
    • น้องหมาที่ตั้งครรภ์ก็มีอาการแพ้ท้องเหมือนคนนั่นแหละ กระนั้นก็จะไปเกิดเอาประมาณวันที่ 21 หลังการผสมพันธุ์ มันมักจะเป็นอยู่ 1-2 สัปดาห์ นอกจากนี้ในวันที่ 21 คุณยังสามารถตรวจดูสีของเหงือกซึ่งจะเป็นสีซีดแทนที่จะเป็นสีชมพูเหมือนปกติ นี่เป็นเพราะตัวอ่อนจะไปยึดติดกับรังไข่ทำให้เลือดไหลไปรวมที่ตรงนั้น เหงือกเลยจะซีดอยู่วันสองวัน นี่ไม่มีอะไรให้ต้องเป็นห่วง แต่ถ้านานเกิน 2 วันแล้วค่อยนำไปพบสัตวแพทย์
  2. บางคนรู้ว่าน้องหมาของตัวเองท้องก็เพราะว่าน้องหมาสงบเสงี่ยมกว่าปกติ แต่ว่าการสังเกตนี้ส่วนมากเป็นเพียงการคาดเดามากกว่าการพิสูจน์ความจริง ถึงแม้การท้องจะทำให้ระดับฮอร์โมนในตัวน้องหมาเปลี่ยนไป แต่อาการฮอร์โมนแปรปรวนของน้องหมาแต่ละตัวไม่เหมือนกัน
    • น้องหมาบางตัวอาจจะเงียบลงกว่าปกติ บางตัวอาจจะทำตัวน่ารักขึ้น เข้ามาคลอเคลียกว่าเดิม บางตัวอาจจะปลีกตัวไปอยู่เงียบๆตัวเดียว [12]
  3. ถีงแม้ว่าความเปลี่ยนทางอารมณ์และพฤติกรรมจะสามารถบอกได้ว่าน้องหมาตัวนั้นท้อง แต่ในขณะเดียวกันสัญญาณกำกวมเหล่านั้นก็สามารถบอกได้ว่าน้องหมาไม่สบายได้เช่นกัน ดังนั้นคุณควรจับตาดูน้องหมาของคุณด้วยว่ามีอาการป่วยอื่นๆด้วยหรือไม่ เช่น เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย ไอ คัดจมูก หรือมีสารคัดหลั่งที่อวัยวะเพศ
    • ถ้าน้องหมาของคุณได้รับการผสมพันธุ์แล้วเกิดอาการเบื่ออาหารในวันต่อมาหรือสัปดาห์ต่อมา อาการที่เกิดขึ้นนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งท้อง คุณควรพาน้องหมาไปหาสัตวแพทย์ นอกจากอาการเบื่ออาหารแล้วยังรวมไปถึงอาการมีสารคัดหลั่งที่อวัยวะเพศ (ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติแม้น้องหมาจะท้องก็ตาม) และอาการอาเจียนอีกด้วย [13]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณต้องแน่ใจว่าคุณสัมผัสท้องน้องหมาอย่างอ่อนโยน ไม่ว่าคุณจะแน่ใจหรือไม่แน่ใจว่าน้องหมาตั้งท้องหรือไม่ตาม เพราะคุณคงไม่อยากเสี่ยงทำร้ายลูกหมาในท้องหรอก
  • เมื่อน้องหมามีอายุครรภ์ถึงช่วงสัปดาห์ที่ 7-9 แล้ว ให้คุณเตรียมหาสถานที่พักที่อบอุ่นและปลอดภัย อาจจะเป็นภายในหรือภายนอกตัวบ้านของคุณก็ได้ และพร้อมรับมือกับสภาพอารมณ์และร่างกายที่จะเปลี่ยนแปลงได้เสมอของน้องหมาของคุณ
โฆษณา

ข้อควรระวัง

  • ระวัง! น้องหมาที่ไม่คุ้นเคยกับคุณหรือไม่ชินกับการสัมผัสอาจจะกัดคุณได้ อย่าให้เด็กหรือคนแปลกหน้าไปอยู่ใกล้กับ”รัง”หรือเขตลูกหมา
  • การท้องลมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติในน้องหมา หลายสัปดาห์ต่อมาหลังจากช่วงฤดูผสมพันธุ์ น้องหมาอาจจะแสดงอาการเหมือนตั้งท้องได้ เช่น หัวนมที่ใหญ่ขึ้น เจริญอาหาร เป็นต้น [14] เพราะฉะนั้นแล้วคุณควรพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าน้องหมาของคุณท้องหรือไม่

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Reproduction in the dog and cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall
  2. Reproduction in the dog and cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall
  3. Reproduction in the dog and cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall
  4. Reproduction in the dog and cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall
  5. Reproduction in the dog and cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall
  6. Reproduction in the dog and cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall
  7. Plasma levels of relaxin in pregnant and lactating dogs. Steinetz. Biol Repro. 1987. Oct, 37
  8. Plasma levels of relaxin in pregnant and lactating dogs. Steinetz. Biol Repro. 1987. Oct, 37
  9. Plasma levels of relaxin in pregnant and lactating dogs. Steinetz. Biol Repro. 1987. Oct, 37
  1. Veterinary diagnostic ultrasound. Nyland. Publisher: WB Saunders
  2. Veterinary diagnostic ultrasound. Nyland. Publisher: WB Saunders
  3. Reproduction in the dog and cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall
  4. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby
  5. http://www.petsource.org/doghealth/818-healtharticle.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 217,777 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา