ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สำหรับคนที่มีสวนเป็นของตนเองและเห็นความสำคัญของผึ้งต่อธรรมชาติคงอยากจะเลี้ยงพวกมันเอาไว้บ้าง ทุกวันนี้กล่องเลี้ยงผึ้งหรือรังผึ้งนั้น ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเหล่าผึ้งรวมถึงทำให้คนที่เลี้ยงผึ้งสามารถเก็บน้ำผึ้งจากรังได้โดยง่ายและยุ่งยากน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้กล่องเลี้ยงผึ้งหนึ่งกล่องจะประกอบไปด้วยฐานรัง แผ่นปิดด้านล่าง ตัวรัง (ส่วนเพาะเลี้ยง) กล่องเล็กๆ ที่เรียกว่าหีบเก็บน้ำผึ้งและฝาปิด ส่วนล่างของตัวรังผึ้งถูกแยกออกจากหีบด้านบนด้วยแผ่นกั้น เรามาเริ่มต้นการเลี้ยงผึ้งด้วยการสร้างกล่องเลี้ยงผึ้งกันเถอะ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

รู้จักส่วนประกอบต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่วนนี้เป็นฐานที่ยกรังขึ้นให้อยู่สูงเหนือพื้น และอาจมีลานบินให้ผึ้งร่อนลงมาเกาะติดอยู่ด้วย การสร้างกล่องนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ ‘ฐานรัง’ ที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ แต่คุณก็ยังต้องมีฐานสักแบบเพื่อดันหีบผึ้งของคุณให้อยู่เหนือพื้น คุณสามารถใช้โต๊ะหรือม้านั่งสักตัวที่นำมาต่อกับกล่องเลี้ยงผึ้งได้ หากคุณกำลังมองหาของในบ้านที่ใช้แทนฐานรังได้
  2. ส่วนนี้เป็นชิ้นส่วนแรกหรือชั้นแรกในกล่องเลี้ยงผึ้ง มันเป็นแผ่นไม้เรียบๆ ที่ใช้เป็นฐานของหีบผึ้ง แผ่นปิดด้านล่างนี้เป็นได้ทั้งแผ่นแข็งหรือแผ่นมุ้งลวด ซึ่งความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือแผ่นที่เป็นมุ้งลวดนั้นดีต่อการป้องกันศัตรูพืชทั้งหลายและยังเป็นการเพิ่มช่องระบายอากาศได้อีกเล็กน้อยด้วย ผึ้งจะบินเข้าออกจากทางเข้าที่อยู่ตรงแผ่นด้านล่างนี้
  3. ส่วนนี้เป็นไม้ขนาดเล็กที่กั้นทางเข้าด้านล่างบางส่วน ไม้ลดขนาดปากนี้ช่วยปกป้องอาณาจักรผึ้งเล็กๆ เหล่านี้ ได้ด้วยการป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชขนาดใหญ่หรือโจรเข้ามาได้
  4. ตรงตามชื่อของมัน คือกรอบไม้ที่มีคอนไม้เล็กๆ พาดอยู่จนกลายเป็นตะแกรงแบนๆ ตะแกรงนี้จะวางอยู่ระหว่างแผ่นด้านล่างกับส่วนเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดการระบายอากาศ ทำให้การเข้าออกส่วนเพาะเลี้ยงง่ายขึ้น และยังป้องกันเหล่าผึ้งจากการสร้างรวงผึ้ง ถึงแม้ว่าแผ่นตะแกรงจะเป็นเพียงส่วนเสริมที่เพิ่มเข้ามาในกล่องเลี้ยงผึ้งของคุณแต่มันก็คุ้มค่าที่จะทำเพิ่มถ้าทำได้
  5. ส่วนนี้เป็นกล่องขนาดใหญ่ที่ผึ้งจะสร้างรังข้างใน หีบใหญ่นี้เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งคุณจะต้องใช้ 1 ถึง 2 ชิ้นต่อกล่องเลี้ยงผึ้งหนึ่งกล่อง หีบใหญ่แต่ละอันจะมากับแผ่นกั้น 8 ถึง 10 แผ่น
  6. พวกนี้เป็นกรอบที่เสียบลงไปในหีบใหญ่เป็นแผ่นๆ แผ่นเหล่านี้ยึดฐานเอาไว้ ซึ่งก็คือไขผึ้งและฐานลวดที่พวกผึ้งใช้ในการเริ่มสร้างรังของตัวเอง คุณจึงต้องใช้กรอบ 8-10 อันขึ้นอยู่กับขนาดของหีบใหญ่ของคุณ
  7. คุณคงไม่อยากให้ผึ้งนางพญาวางไข่ลงในน้ำผึ้ง คุณจึงต้องเติมแผ่นกั้นนางพญาเข้าไปด้วย ส่วนนี้เป็นแผ่นตะแกรงที่มีรูขนาดเล็กที่ผึ้งแรงงานสามารถเข้าออกได้ แต่ก็เล็กเกินกว่าที่นางพญาจะผ่านไปได้
  8. หีบเก็บน้ำผึ้งซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับหีบใหญ่. เป็นส่วนที่ผึ้งใช้เก็บน้ำผึ้ง ส่วนนี้เป็นกล่องขนาดใหญ่ที่วางอยู่ด้านบนของหีบใหญ่อีกทีหนึ่ง โดยมีแผ่นกั้นนางพญาผึ้งสอดไส้อยู่ตรงกลางระหว่างสองชิ้นนี้ โดยปกติแล้วถ้าใช้หีบเก็บน้ำผึ้งที่ตื้นหรือมีขนาดปานกลางจะสะดวกที่สุด ไม่เช่นนั้นแล้วหีบเก็บน้ำผึ้งจะหนักเกินไปเมื่อต้องยกกล่องที่เต็มไปด้วยน้ำผึ้ง
  9. เป็นแผ่นกระดานที่ทำจากไม้หรือพลาสติกแล้วเสียบเข้าไปในหีบเก็บน้ำผึ้งในลักษณะตั้งตรง ส่วนนี้เป็นบริเวณที่ผึ้งสร้างไขผึ้งและน้ำผึ้ง โดยที่เราสามารถดึงมันออกจากหีบได้ กรอบเหล่านี้มักจะมีขนาด ‘สั้น’ หรือ ‘ยาวปานกลาง’ เพื่อให้เข้ากับขนาดของหีบเก็บน้ำผึ้งที่คุณใช้ และยังมีฐานที่คล้ายกับกรอบรวงของหีบใหญ่
  10. ส่วนนี้เป็นชั้นสุดท้ายในกล่องของคุณ เป็นฝาที่มีรูทางเข้าซึ่งวางไว้บนหีบเก็บน้ำผึ้ง ฝาปิดด้านในนี้มีสองด้าน ด้านหนึ่งสำหรับใช้ในฤดูใบไม้ร่วงกับฤดูหนาว และอีกด้านใช้ในฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อน [1]
  11. เป็นฝาเหล็กที่ใช้ป้องกันสภาพอากาศที่อาจรบกวนกล่องเลี้ยงผึ้งของคุณ ส่วนนี้เป็นฝาปิดบนสุดของกล่อง โดยปิดทับฝาด้านในอีกที่หนึ่ง [2]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

สร้างกล่องเลี้ยงผึ้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณมีตัวเลือกอยู่ 3 ทางเมื่อต้องการกล่องเลี้ยงผึ้งสักกล่อง หนึ่งคือซื้อกล่องสำเร็จรูปราคาแพง สองคือซื้อชิ้นส่วนต่างๆ แล้วนำมาประกอบเองเพื่อจะได้ใช้เงินน้อยลง หรือตัวเลือกที่สามคือสร้างทุกส่วนขึ้นมาเองโดยวิธีนี้จะประหยัดเงินไปได้มากกว่า 50% แต่ไม่ว่าจะเลือกทำวิธีไหน คุณควรซื้ออุปกรณ์จากคนขายผึ้งที่น่านับถือ เพราะการซื้ออุปกรณ์ราคาถูกมาใช้นอกจากจะทำให้กล่องอยู่ได้ไม่นานแล้ว ยังอาจส่งผลร้ายต่อเหล่าผึ้ง (และน้ำผึ้งของคุณ) อีกด้วย!
    • เลือกใช้ไม้ดิบเสมอ อาจเป็นไม้สนหรือไม้ซีดาร์ทั่วไปก็ได้ [3]
    • ไม่มีกล่องหรือหีบใดที่มีฝาปิดก้นกล่องหรือหีบ ดังนั้นคุณต้องซื้อไม้ให้เพียงพอต่อการสร้างขอบนอกเพื่อใช้ในการตั้งหีบหลายๆใบต่อกัน
    • อุปกรณ์บางชิ้น เช่นกรอบรวงและฝาชั้นนอกนั้น ไม่ได้สร้างกันง่ายๆ คุณอาจจะต้องขับรถออกไปซื้อ
  2. โดยจะมีด้านสั้น 2 ด้าน ขนาด 16.25 x 9.56 นิ้ว (41.28 x 24.28 เซนติเมตร) และด้านยาว 2 ด้านขนาด 20 x 9.56 นิ้ว (50.8 x 24.28 เซนติเมตร) ด้านทั้ง 4 จะมีข้อต่อรางลิ้นหรือข้อต่อหางนกตรงปลาย ตัดไม้ตามขนาดข้างต้นแล้วสร้างข้อต่อที่เหมาะสมตามแนวขอบ
  3. ขนาดของหีบจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการหีบ ‘ตื้น’ หรือ หีบ ‘ขนาดปานกลาง’ ความยาวและความกว้างของหีบเก็บน้ำผึ้งของคุณจะมีขนาดเท่ากับหีบใหญ่ (ด้านยาว: 20 x 9.56 นิ้ว และด้านสั้น: 16.25 x 9.56 นิ้ว) แต่ความสูงจะแตกต่างกันออกไป สำหรับหีบแบบตื้น กล่องของคุณควรสูง 5¾ นิ้ว ส่วนหีบขนาดกลางควรสูง 6⅝ นิ้ว เช่นเดียวกับหีบใหญ่ ให้ใช้ข้อต่อรางลิ้นหรือข้อต่อหางนกกับขอบหีบ [4]
  4. โดยใช้กาวทาไม้รุ่นกันน้ำเพื่อต่อหีบทั้งหมดเข้าด้วยกัน บีบกาวเป็นจุดเล็กๆ ที่แต่ละข้อต่อ แล้วเสียบลิ้นข้อต่อเข้าไปเพื่อประกอบกล่องให้เป็นรูปเป็นร่าง หลังจากนั้นจึงหาแท่นมารองกล่องขณะที่รอให้กาวแห้ง เมื่อกาวแห้งแล้ว จึงตอกตะปูขนาดเล็กเข้าไปสองสามดอกก็เป็นอันเสร็จสิ้นการประกอบหีบ [5]
  5. ซื้อหรือสร้างแผ่นปิดด้านล่างที่มาพร้อมกับไม้ลดขนาดปาก. แผ่นปิดด้านล่างนี้เป็นชั้นล่างสุดของกล่อง ซึ่งเป็นแค่แผ่นไม้ที่มีขอบตั้งขึ้นมา โดยที่ทั้งความยาวและความกว้างมีขนาดเท่ากับหีบต่างๆ แต่ตรงขอบจะสูงแค่ 0.375 นิ้ว สิ่งที่ติดอยู่ด้านหน้าของแผ่นนี้คือไม้ลดขนาดปาก ไม้นี้ต้องมีขนาด 0.75 นิ้ว (1.91 เซนติเมตร) สำหรับการเข้าออกของผึ้งในฤดูร้อน และ 0.38 นิ้ว (0.95 เซนติเมตร) ในฤดูหนาว
    • ปากทางเข้าที่ใหญ่กว่าปกติอาจจะทำให้มีหนูเข้ามาได้
    • ฐานรังบางชนิดที่ซื้อสำเร็จรูปมาอาจจะเป็นแบบที่กลับด้านได้เพื่อให้เหมาะแก่การเข้าออกของผึ้งตามฤดูกาลต่างๆ ฐานแบบนี้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งลงและยังลดความจำเป็นที่จะต้องมีที่เก็บฐานของฤดูอื่น
  6. จริงๆ แล้วคุณไม่จำเป็นต้องทาก็ได้ แต่คนเลี้ยงผึ้งส่วนใหญ่มักทาสีขาวที่ด้านนอกของหีบเพื่อสะท้อนแสงแดด ถ้าคุณตัดสินที่จะทาแล้วละก็ ให้ใช้สีขาวปลอดสารพิษที่ใช้ทากันภายนอกซึ่งจะทนต่อสภาพอากาศ แต่ห้ามทาด้านในหีบเด็ดขาดเพราะมันจะเป็นอันตรายต่อทั้งตัวผึ้งและน้ำผึ้งของคุณได้
  7. ส่วนนี้จะติดอยู่ภายในด้านบนของหีบใหญ่และป้องกันไม่ให้นางพญาเข้าไปในหีบเก็บน้ำผึ้ง ชิ้นส่วนนี้ไม่สามารถทำเองได้ที่บ้าน จึงต้องไปหาซื้อมาใส่ในกล่อง
  8. กล่องเลี้ยงผึ้งต้องมีฝาปิดสองชั้น ได้แก่ ชั้นในและชั้นนอก ฝาปิดชั้นในทำจากไม้และมีรูด้านบนเป็นทางเข้าออก ในขณะที่ฝาชั้นนอกทำจากเหล็กและปิดด้านบนสุดของกล่อง ฝาปิดชั้นบนควรจะมีส่วนที่ยื่นเลยด้านหีบออกมาและปิดฝาได้พอดี
  9. กรอบรวงนี้เป็นส่วนที่ผึ้งทั้งหลายจะใช้สร้างรังและไขผึ้ง คุณประกอบกรอบรวงขึ้นมาเองไม่ได้ นอกเสียจากว่าคุณจะสามารถผ่านขั้นตอนการประกอบลวดและฐานอันยุ่งยาก (ซึ่งมือใหม่ไม่ควรทำ) กรอบรวงทำจากทั้งไม้และพลาสติก แต่ทั้งสองอย่างนั้นทำขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน คุณต้องใช้กรอบรวงถึง 10 กรอบต่อหนึ่งหีบ และ 6-8 กรอบขึ้นอยู่กับว่าหีบเก็บน้ำผึ้งของคุณใหญ่แค่ไหน เสียบกรอบเหล่านี้ในลักษณะตั้งลงไปในกล่องจนกระทั่งลงล็อค
  10. เวลาที่คุณรอคอยมาถึงแล้ว! ในการที่จะประกอบกล่องขึ้นมานั้น คุณจะต้องเรียงทุกส่วนลงบนฐานเป็นชั้นๆ โดยเริ่มจากวางแผ่นปิดด้านล่างไว้ใต้สุด ตามด้วยแผ่นตะแกรง (ถ้ามี) แล้วต่อด้วยหีบใหญ่ ที่กั้นนางพญาผึ้ง หีบเก็บน้ำผึ้งและฝาปิด
    • ฐานรังจะทำให้รังผึ้งอยู่สูงกว่าพื้นเพื่อช่วยให้ด้านล่างของรังแห้งอยู่ตลอด ฐานรังทำมาจากอะไรก็ได้ที่สามารถค้ำรังไว้ หรือคุณจะใช้อันที่ซื้อมาแบบสำเร็จรูปเลยก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผึ้งเป็นแมลงที่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะสร้างรังผึ้งสักรัง ตรวจให้ดีว่าขนาดของชิ้นส่วนต่างๆ นั้นถูกต้อง เพราะรังที่มีช่องว่างมากเกินไปอาจทำให้ผึ้งสร้างรวงส่วนเกินขึ้นมา หรือถ้าช่องแคบเกินไปก็จะเป็นเหตุให้ผึ้งทิ้งรังไปได้
โฆษณา

สิ่งที่ต้องใช้

  • ชิ้นส่วนไม้สำหรับต่อรังผึ้ง
  • กาวทาไม้ที่ทนทุกสภาพอากาศ
  • ค้อน
  • ตะปู
  • หนังสือพิมพ์หรือแผ่นพลาสติก
  • สีทาไม้สีขาว
  • แปรงทาสี
  • แผ่นกระดานที่ปิดขอบด้านล่าง
  • ฝาปิดกล่อง
  • ฐานรังผึ้ง
  • กรอบรวง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 84,882 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา