ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การไปหาหมอฟันอาจจะเป็นความเจ็บปวดอย่างแท้จริงและขึ้นชื่อสำหรับใครหลายคน อัตราร้อยละของประชากรส่วนใหญ่กลัวการไปหาหมอฟันเสียด้วยซ้ำ [1] ถ้าคุณเป็นโรคกลัวหมอฟันหรือแม้กระทั่งหลีกเลี่ยงการไปหาหมอฟันเป็นประจำแล้วล่ะก็ คุณสามารถเอาชนะความกลัวของคุณได้โดยการระบุความกลัวเหล่านั้นและสร้างประสบการณ์ในทางบวกกับหมอฟันของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เข้าใจความกลัวของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่มีเหตุผลอะไรต้องอายที่คุณกลัวหมอฟัน หลายคนทั่วโลกกลัวสิ่งนี้เช่นกัน นี่จึงทำให้คุณไม่ได้รับการดูแลทางทันตกรรมที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพและความสามารถในการเข้าสังคมของคุณก็ได้ [2]
    • แนวทางปฏิบัติส่วนใหญ่แนะนำให้ไปหาหมอฟันปีละสองครั้งเพื่อรักษาสุขภาพในช่องปาก [3]
    • การไม่ได้ไปหาหมอฟันเป็นประจำอาจจะนำไปสู่โรคฟันผุ ฝี ฟันหักหรือหลุดหายไป และมีกลิ่นปาก ภาวะบางอย่างเหล่านี้อาจจะทำลายชีวิตทางสังคมของคุณ [4]
  2. บางคนอาจจะไม่เต็มใจยอมรับว่าพวกเขาเป็นโรคกลัวหมอฟัน แต่เพื่อที่จะเอาชนะความกลัวหมอฟัน ให้เขียนรายการของสิ่งที่ทำให้คุณวิตกกังวลที่คลินิกหมอฟันออกมา [5]
    • คุณอาจจะไม่ได้แม้แต่จะรับรู้ถึงความกลัวที่เฉพาะเจาะจงของคุณจนกระทั่งคุณเริ่มนึกถึงมัน [6] คุณอาจจะตระหนักว่าไม่ใช่ขั้นตอนการรักษาที่ทำให้คุณกลัว แต่เป็นที่ตัวหมอฟันเอง นี่เป็นความกลัวที่จะช่วยให้เอาชนะได้ง่ายๆ โดยเพียงแค่หาหมอฟันใหม่
    • เอารายการนี้ไปหาหมอฟันด้วยและหารือกับเธอเกี่ยวกับความกลัวของคุณ เธอน่าจะสามารถให้คำอธิบายที่มีเหตุผลสำหรับอะไรก็ตามที่จะทำให้คุณวิตกกังวลได้
  3. คุณมักจะเรียนรู้ความกลัวผ่านประสบการณ์หรือความทรงจำ [7] การระบุแหล่งที่มาของโรคกลัวหมอฟันของคุณอาจจะช่วยให้คุณใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อเอาชนะความกลัวหมอฟันของคุณได้
    • การนึกถึงประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจงที่อาจจะมีส่วนทำให้เกิดความกลัวหมอฟันและตอบโต้พวกมันด้วยประสบการณ์ในทางบวกจะสามารถช่วยทำให้คุณอยู่ในสภาพจิตใจเหมาะสมเพื่อเริ่มเอาชนะโรคกลัวของคุณได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณปวดฟันหรือปวดคลองรากฟัน ให้นึกถึงเหตุการณ์ที่หมอฟันชมเชยคุณว่ามีสุขอนามัยในช่องปากที่ดีหรือตอนที่คุณได้รับขั้นตอนการรักษาที่ไม่เจ็บ เช่น การขูดหินปูน เพื่อหักล้างความกลัวของคุณ [8]
    • ถ้าคุณไม่สามารถระบุประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจงอันเป็นที่มาของความกลัวของคุณได้ นั่นอาจจะมาจากความทรงจำหรือความกลัวทางสังคม เช่น เรื่องราวน่ากลัวเกี่ยวกับการทำฟันจากเพื่อนๆ หรือสมาชิกในครอบครัว
    • การนึกถึงที่มาของโรคกลัวหมอฟันสามารถช่วยให้คุณค่อยๆ เอาชนะความกลัวได้ทีละน้อย การยอมรับความกลัวของคุณอาจจะเป็นสิ่งเดียวที่คุณต้องการเพื่อเอาชนะพวกมันให้ได้ [9]
  4. รับรู้ว่าขั้นตอนการรักษาทางทันตกรรมได้พัฒนาขึ้นมาก. ก่อนที่คุณจะปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการไปคลินิกหมอฟันเพื่อช่วยให้เอาชนะความกลัวของคุณนั้น สิ่งสำคัญก็คือการเข้าใจว่าขั้นตอนการรักษาทางทันตกรรมนั้นได้พัฒนาขึ้นมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ยุคที่ใช้สว่านเจาะล้าสมัยและยาชาเข็มใหญ่อีกต่อไปแล้ว การเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการรักษาทางทันตกรรมอาจจะช่วยบรรเทาความกลัวของคุณได้ [10]
    • มีวิธีการใหม่ๆ ในการรักษาปัญหาทางทันตกรรม เช่น ฟันผุ มีการกดปุ่มหยุดเมื่อคุณต้องการ หรือแม้กระทั่งวิธีการเลเซอร์เพื่อกำจัดบริเวณที่ติดเชื้อ [11]
    • หมอฟันหลายคนยังทำให้คลินิกของพวกเขาดูเป็นคลินิกน้อยลงด้วยการใช้สีที่นุ่มนวลขึ้นและขจัดกลิ่นที่ปกติมักจะเกี่ยวข้องกับการทำฟันทิ้งไป [12]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การค้นหาหมอฟัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หมอฟันของคุณสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้คุณตลอดเวลาที่ไปพบ ถ้าเธอไม่เป็นมิตรและน่าดึงดูดใจ และมีแนวโน้มที่จะเฉยชาปราศจากอารมณ์ นี่ก็อาจจะทำให้ความกลัวใดๆ ที่คุณอาจจะมีแย่ลงไปอีก การหาหมอที่เหมาะสมสามารถช่วยให้คุณเอาชนะความกลัวหมอฟันได้อย่างสำคัญ
    • วิธีที่ดีที่สุดในการหาหมอที่ดีสำหรับคุณก็คือการถามเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว คนอื่นไม่น่าที่จะแนะนำหมอฟันให้ใครที่พวกเขาไม่รู้สึกสบายใจ
    • คุณยังสามารถอ่านบทวิจารณ์หมอฟันออนไลน์หรือในสื่อสิ่งตีพิมพ์ท้องถิ่น เช่น หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารได้อีกด้วย
  2. กำหนดเวลาเพื่อปรึกษากับบรรดาหมอฟันที่เป็นตัวเลือก. นัดกับหมอฟันที่มีศักยภาพเพื่อช่วยให้คุณพบคนที่เหมาะสม การพบและการหารือเกี่ยวกับสุขภาพและความกลัวของคุณกับพวกเขาอาจจะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจกับบุคคลที่เฉพาะเจาะจงที่สามารถจัดการความกังวลเกี่ยวกับการทำฟันของคุณได้
    • ถามคำถามหมอฟันที่เป็นตัวเลือกของคุณและหารือเกี่ยวกับความกลัวของคุณ การมีรายการความกลัวที่เฉพาะเจาะจงไว้ใกล้มือจะช่วยให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ลืมอะไร
    • ให้แน่ใจว่าหมอฟันจริงจังกับคุณและความกลัวของคุณ อย่ายอมรับคนที่ปฏิเสธคุณ ซึ่งสามารถทำให้ความกลัวของคุณเพิ่มมากขึ้นและอาจจะบ่งบอกว่าคนนั้นไม่ใช่คนที่อ่อนโยนหรือเห็นอกเห็นใจ [13]
  3. เมื่อคุณหาหมอฟันที่ทำให้คุณรู้สึกสบายใจได้แล้ว ลองนัดอย่างต่อเนื่อง เริ่มด้วยขั้นตอนง่ายๆ เช่น การขูดหินปูน และเคลื่อนไปยังขั้นตอนที่จริงจังมากขึ้นถ้าคุณทำได้ เช่น รักษาคลองรากฟันหรืออุดฟัน [14]
    • นี่จะช่วยให้คุณสร้างความสัมพันธ์ที่น่าเชื่อถือกับหมอฟันของคุณได้ [15]
  4. ถ้าคุณไม่สบายใจกับอะไร ให้บอกกับหมอฟันของคุณให้หยุดขั้นตอนการรักษาเพื่อช่วยให้คุณใจเย็นลง [16]
    • ยิ่งคุณไปพบหมอฟันและมีประสบการณ์ในทางบวกบ่อยขึ้นเท่าไร ยิ่งมีแนวโน้มว่าคุณจะรักษาสุขภาพในช่องปากของคุณและผ่านพ้นโรคกลัวหมอฟันของคุณได้มากขึ้นเท่านั้น [17]
    • นัดเวลาที่คุณไม่ต้องรอที่ห้องรอนานๆ การเป็นคนไข้รายแรกตอนเช้านั้นเป็นกลยุทธ์ที่ดี [18]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การจัดการความกลัวในระหว่างขั้นตอนการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างหมอและผู้ป่วยที่ดีนั้นคือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ [19] การพูดคุยกับหมอฟันของคุณ ก่อน ระหว่าง และหลังขั้นตอนการรักษาสามารถช่วยลดความกลัวของคุณได้ [20]
    • คุยกับหมอฟันของคุณก่อนขั้นตอนการรักษาเกี่ยวกับความกลัวหรือความกังวลใดๆ ก็ตามที่คุณมี [21] คุณยังอาจจะขอให้เธออธิบายขั้นตอนให้คุณฟังก่อนจะเริ่มได้อีกด้วย [22]
    • ขอให้หมอฟันของคุณคอยแจ้งให้คุณทราบตอนที่เธอกำลังทำตามขั้นตอน จำไว้ว่าคุณมีสิทธิ์ที่จะรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น [23]
  2. การประสบกับความกลัวนั้นอาจจะทำให้บุคคลนั้นๆ สูญเสียความมั่นใจและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเจอ การใช้กลวิธีทางพฤติกรรมการเขียนก่อนนัดของคุณอาจจะช่วยให้คุณมีต่อสู้กับสถานการณ์ที่น่ากลัวและลดความกลัวหมอฟันของคุณได้ [24]
    • การเขียนเป็นเทคนิคที่คุณสร้างกรอบความคิดการวางแผนหรือ "บท" สำหรับสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงและทำมันให้สำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกลัวการขูดหินปูนที่กำลังจะเกิดขึ้น ลองเขียนบันทึกและขยายให้เป็นแผนที่จะช่วยให้คุณควบคุมตัวเองระหว่างการพบหมอฟันได้ คิดถึงสิ่งที่คุณอาจจะพูดตอบคำถามหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการสื่อสารโต้ตอบของคุณ [25]
  3. ตีกรอบขั้นตอนการรักษาทางทันตกรรมในขอบเขตที่เรียบง่าย. ถ้าคุณกลัวการพบหมอฟันหรือขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง ให้ตีกรอบในขอบเขตที่เรียบง่าย การตีกรอบเป็นเทคนิคทางพฤติกรรมที่สามารถช่วยทำวิธีการที่คุณคิดและรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงให้เป็นรูปร่างโดยทำให้พวกมันดูเป็นเรื่องธรรมดาหรือไม่น่าสนใจอะไร [26]
    • ถ้าคุณกลัวเกี่ยวกับการขูดหินปูน คุณอาจจะตีกรอบใหม่เป็น "นี่เป็นขั้นตอนที่เร็วพอๆ กับการแปรงฟันของฉัน" [27]
    • การควบคุมหน่วยที่เล็กกว่าและสามารถจัดการได้มากกว่าจะช่วยให้คุณเอาชนะความกลัวได้ [28]
  4. การผ่อนคลายสามารถช่วยให้คุณมีประสบการณ์ที่น่าพอใจมากขึ้นที่คลินิกหมอฟันและอาจจะลดความกลัวของคุณได้ ตั้งแต่การฝึกการหายใจจนถึงการรักษาด้วยยา มีเทคนิคการผ่อนคลายต่างๆ ที่คุณสามารถใช้ในการจัดการโรคกลัวหมอฟันของคุณได้ [29]
    • หมอฟันหลายคนจะแนะนำให้ใช้ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ยาระงับประสาท หรือยาต้านความวิตกกังวล เช่น อัลปราโซแลม (Alprazolam) เพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลายในระหว่างที่คุณเข้าพบหมอฟัน [30]
    • หมอฟันบางคนจะให้ยาต้านความวิตกกังวลก่อนนัดถ้าคุณมีความวิตกกังวลอย่างรุนแรง [31]
    • ถ้าคุณกินยาต้านความวิตกกังวลใดๆ ที่หมอฟันของคุณไม่ได้กำหนดให้ ต้องแน่ใจว่าเธอรู้ก่อนที่คุณจะเริ่มขั้นตอนการรักษาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปฏิกิริยาระหว่างยาใดๆ ที่อาจจะเป็นอันตราย [32]
    • ตระหนักว่าการใช้ยาเหล่านี้ในระหว่างขั้นตอนการรักษาอาจจะทำให้มีค่าใช้จ่ายแพงขึ้น ซึ่งการประกันทันตกรรมอาจจะไม่ครอบคลุม
    • ลองฝึกหายใจเพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลาย คุณอาจจะหายใจเป็นจังหวะ หายใจเข้านับถึง 4 วินาที หายใจออกนับถึง 4 วินาที ถ้ามันจะช่วยได้ ให้คิดว่าคำว่า "ปล่อย" ในขณะที่คุณหายใจเข้า และคำว่า "ไป" ในขณะที่คุณหายใจออกเพื่อช่วยให้ความคิดของคุณปลดปล่อยความกลัวออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [33]
    • ถ้าจำเป็น ให้ทำเทคนิคการผ่อนคลายของคุณมากขึ้นเป็นสองเท่า [34]
  5. คุณอาจจะใช้สื่อต่างๆ หลายอย่างเพื่อช่วยหันเหความสนใจของคุณในระหว่างการเข้าพบหมอฟัน การฟังเพลงหรือดูโทรทัศน์ที่คลินิกหมอฟันติดตั้งไว้สามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายและอาจจะลดความกลัวของคุณได้ [35]
  6. พาเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวของคุณไปตามนัดด้วย. ลองขอให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวมากับคุณตามนัด เธออาจจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของคุณจากการตรวจและยังอาจจะช่วยให้คุณใจเย็นได้
    • ถ้าคุณกังวลมาก ลองถามหมอว่าเพื่อนของคุณสามารถเข้าไปในห้องตรวจกับคุณด้วยได้หรือไม่ การรู้ว่ามีอีกคนหนึ่งที่คุณไว้ใจได้อยู่ในห้องด้วยอาจจะช่วยให้คุณผ่อนคลายลงได้
  7. ไปหาหมอฟันเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางทันตกรรมที่ร้ายแรง. หลายคนกลัวหมอฟันเพราะว่าขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อนและมักจะเจ็บ เช่น คลองรากฟัน แต่การเข้ารับการขูดหินปูนและตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอนั้นจะไม่เพียงช่วยให้ตัวคุณเองเอาชนะความกลัวหมอฟันเท่านั้น แต่ยังป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรงอีกด้วย [39]
    • ให้แน่ใจว่าคุณดูแลสุขภาพช่องปากในชีวิตประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงที่จะต้องเข้ารับขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อน การแปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งและการใช้ไหมขัดฟันสามารถป้องกันปัญหาได้ในระยะยาว [40]
    • ยิ่งคุณได้รับการตรวจในทางบวกมากขึ้นเท่าไร คุณยิ่งสามารถเอาชนะความกลัวหมอฟันได้เร็วขึ้นเท่านั้น [41]
  8. ให้รางวัลตัวเองเพื่อให้การนัดเป็นเรื่องบวก. ให้รางวัลตัวเองด้วยสิ่งที่คุณอยากได้หรือด้วยการทำอะไรสนุกๆ หลังนัด ซึ่งนี่จะช่วยให้คุณเชื่อมโยงการไปหาหมอฟันเข้ากับรางวัลแทนความกลัว
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ให้ตัวเอง เช่น เสื้อสักตัวหรือรองเท้าสักคู่สำหรับการไปหาหมอฟัน
    • คุณอาจจะทำอะไรสนุกๆ อย่างการไปสวนสนุกหรือสวนน้ำในท้องถิ่นก็ได้
    • คุณอาจจะต้องจะหลีกเลี่ยงการให้รางวัลตัวเองด้วยขนมหวาน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดฟันผุและต้องไปหาหมอฟันมากขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รักษาทัศนคติในทางบวกไว้ จำไว้ว่าคุณไปหาหมอฟันเพื่อช่วยให้ฟันของเราสะอาด ไม่ใช่เพื่อทำให้คุณกลัว
  • ตอนไปหาหมอฟัน ให้แน่ใจว่าคุณใจเย็นและผ่อนคลาย ปล่อยให้หมอฟันทำสิ่งที่พวกเขาต้องทำ ท้ายที่สุดนี่จะทำให้ฟันของคุณสะอาดและสดชื่นโดยไม่มีฟันผุ หมอฟันไม่สมควรที่จะทำให้คุณกลัว
  • ถ้าคุณเป็นเด็ก หมอฟันอาจจะมีรางวัลให้ในตอนหลังเพื่อให้เป็นสิ่งที่คุณตั้งตารอ ดังนั้นแม้ว่าคุณอาจจะกลัวแต่คุณก็จะได้รับขนมในตอนหลังนะ
โฆษณา
  1. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  2. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  3. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  4. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  5. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  6. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  7. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  8. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  9. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  10. http://www.dentalfearcentral.org/help/
  11. http://www.dentalfearcentral.org/help/
  12. http://www.dentalfearcentral.org/help/
  13. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  14. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  15. https://www.psychologytoday.com/blog/the-athletes-way/201201/building-bulletproof-courage
  16. https://www.psychologytoday.com/blog/the-athletes-way/201201/building-bulletproof-courage
  17. https://www.psychologytoday.com/blog/the-athletes-way/201201/building-bulletproof-courage
  18. https://www.psychologytoday.com/blog/the-athletes-way/201201/building-bulletproof-courage
  19. https://www.psychologytoday.com/blog/the-athletes-way/201201/building-bulletproof-courage
  20. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  21. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  22. http://www.dentalfearcentral.org/help/sedation-dentistry/oral-sedation/
  23. http://www.dentalfearcentral.org/help/sedation-dentistry/oral-sedation/
  24. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  25. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  26. http://www.health.harvard.edu/blog/dental-fear-our-readers-suggest-coping-techniques-20100825327
  27. http://www.health.harvard.edu/blog/dental-fear-our-readers-suggest-coping-techniques-20100825327
  28. http://www.health.harvard.edu/blog/dental-fear-our-readers-suggest-coping-techniques-20100825327
  29. http://www.health.harvard.edu/blog/dental-fear-our-readers-suggest-coping-techniques-20100825327
  30. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  31. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm
  32. http://psychcentral.com/library/phobia_dentist.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,308 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา