ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ทำให้รู้สึกตื่นตัวและตื่นเต้นจนนอนไม่หลับบ้างไหม อาการตื่นเต้นอาจทำให้ตื่นอยู่ตลอดคืน หรือทำให้รู้สึกว่าไม่สามารถข่มตาหลับได้ การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจช่วยให้หลับได้ แม้จะกำลังพะวง (หรือหวาดกลัว) เรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ก็ตาม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทำเหมือนคืนอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเข้านอนแต่หัวค่ำอาจทำให้วิตกกังวลและกระวนกระวายมากขึ้น ผลการศึกษาแนะนำว่าการเข้านอนเวลาเดิมทุกคืนช่วยให้ร่างกายทำตามตารางเวลา พร้อมช่วยให้ยังคงหลับได้ดีและมีสุขภาพดี [1]
  2. ถ้าร่างกายร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป อาจเป็นการเพิ่มความตึงเครียดให้กับร่างกายทั้งที่นอนไม่หลับอยู่แล้ว ผลการศึกษาเรื่องการนอนหลับพบว่าอุณหภูมิห้องระหว่าง 60-67 องศาฟาเรนไฮต์ (หรือ 15.5-19.4 องศาเซลเซียส) คือช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการหลับฝันได้อย่างสบาย [2]
    • ดูว่าหน้าต่างจำเป็นต้องเปิดหรือปิด การเปิดปิดหน้าต่างมีผลทำให้ห้องร้อนหรือเย็นเกินไปก็ได้ ดูสิว่าห้องร้อนหรือเย็นเกินไปไหม แล้วค่อยตัดสินใจจะเปิดหรือปิดหน้าต่างก่อนเข้านอน
    • ลองใช้พัดลม เสียงพัดลมเป็นเสียงไวท์นอยส์ แถมให้ความเย็นสบายด้วย
  3. ถ้าเกิดกังวลมากไป การเอาแต่คิดทุกเรื่องที่ต้องทำในตอนเช้าจะทำให้ทุกอย่างแย่ลงเท่านั้น ให้ตระเตรียมการไว้ล่วงหน้าและทำสิ่งที่ต้องทำในตอนเช้า ไม่ว่าจะเป็นการบรรจุของ การทำความสะอาด หรือ ซักผ้า รีดผ้า ให้เสร็จก่อนหัวถึงหมอน
  4. แสงจะลดการผลิตเมลาโทนินซึ่งช่วยในการนอนหลับ หลีกเลี่ยงการดูทีวีและการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ตโฟนก่อนนอน [3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทำร่างกายและจิตใจให้สงบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้านอนไม่หลับ และตื่นเต้น หรือกังวลมากเกินไปจนไม่ง่วง ก็คงจะไม่สามารถปล่อยให้อาการนี้หายไปได้เอง ลองลุกขึ้นมาทำอะไรให้จิตใจหยุดฟุ้งซ่าน ร่างกายจะบอกให้เรารู้เมื่อมันเหนื่อย แล้วพอกลับมานอนอีกครั้งจะพบว่าหลับง่ายขึ้น [4]
  2. ดนตรีมีผลต่อสมองมาก และถ้ารู้สึกตื่นเต้นมากเกินไป การฟังดนตรีเบาๆ ช่วยได้ [5]
    • ถ้ามีอัลบั้มโปรดซึ่งช่วยทำให้จิตใจสงบลงได้ ลองฟังตอนนอนดู
    • ฟังเสียงธรรมชาติ อย่างเสียงน้ำตก หรือเสียงคลื่นทะเล จะช่วยนึกภาพของสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่สงบเงียบ
    • ลองฟังเพลงเศร้า ผลการการวิจัยแนะว่าเพลงเศร้าๆ สามารถทำให้ผู้ฟังรู้สึกสงบขึ้นและแม้แต่อิ่มเอมใจ จึงอาจช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับที่เป็นอยู่ [6]
  3. ถึงแม้บางคนเห็นว่าการเพิ่มอะดรีนาลีนด้วยการออกกำลังกายอย่างหนักจะทำให้นอนไม่หลับ แต่คนส่วนใหญ่หลับดีขึ้นหลังจากออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยผ่อนคลายความเครียดและทำให้รู้สึกสงบขึ้น จึงช่วยทำให้หลับสบายขึ้น [7]
  4. มีการทำสมาธิหลายแบบและหลายวิธี แต่การเลือกมาสักแบบหนึ่งที่เหมาะกับตนเองจะเป็นผลดี และสามารถทำให้ร่างกายกับจิตใจสงบลงได้ ถ้าเครียดมากเกินไปจนนอนไม่หลับ ลองเล่นโยคะ หรือทำสมาธิเพื่อหยุดใจไม่ให้กระวนกระวาย และช่วยผ่อนคลายร่างกาย [8]
    • จดจ่อกับลมหายใจเข้าออก สูดลมหายใจเข้าลึกๆ และค่อยๆ ปล่อยออกมาอย่างช้าๆ การหายใจอย่างมีจังหวะช่วยชะลออัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลง และช่วยให้หยุดคิดเรื่องที่ทำให้เครียด [9]
  5. จดจ่อกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เริ่มด้วยนิ้วเท้าและขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงศีรษะ วิธีนี้ช่วยเราไม่ให้คิดเรื่องที่ทำให้นอนไม่หลับ [10]
  6. ถ้ามีเรื่องที่ต้องทำหรือความคิดอันเลิศเลอในใจที่จะต้องนำมาใช้ภายหลัง จดไว้จะได้ไม่จดจ่อกับมันมากตอนพยายามนอนหลับ การพยายามจดจำภารกิจที่ยังไม่ได้ลงมือทำทุกอย่างนั้นไม่ช่วยเราหรอก และการเอาแต่คิดถึงภารกิจพวกนี้ตอนดึกอาจทำให้นอนไม่หลับ [11]
  7. การอาบน้ำฝักบัวจะช่วยให้ผ่อนคลาย แต่การแช่ตัวในอ่างอาบน้ำช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อดีกว่า และนักวิจัยพบว่าการแช่ตัวในอ่างอาบน้ำเป็นผลดีต่อจิตใจ [12] ไม่ว่าจะแช่ตัวในอ่างอาบน้ำ หรืออาบน้ำฝักบัวก็สามารถช่วยสงบจิตใจและผ่อนคลายร่างกายได้ทั้งนั้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ลองตัวช่วยจากธรรมชาติที่ทำให้หลับง่ายขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าจะดื่มนมอุ่นหนึ่งแก้ว ดื่มชาสมุนไพร (หรือชาแบบไม่มีคาเฟอีนอื่นๆ) หรือดื่มช็อกโกแลตร้อนๆ (ถึงแม้จะนึกขึ้นได้ว่ามีคาเฟอีนก็ตาม) การดื่มและจิบเครื่องดื่มเหล่านี้ทำให้รู้สึกมีความสุข อารมณ์ดีขึ้น และผ่อนคลาย [13]
    • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนเข้านอน ดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มสมุนไพรแทน
    • ถ้ามักจะตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำตอนกลางดึก อาจจะข้ามขั้นตอนนี้ไปเลย
  2. การสูดดมน้ำมันหอมระเหยและสารจากสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการผ่อนคลายอย่างลาเวนเดอร์อาจช่วยทำให้ร่างกายสงบ และช่วยทำให้นอนหลับตอนกลางคืนได้อย่างสบายขึ้น [14]
  3. ถึงจะไม่ได้รับการวิจัยอย่างละเอียดเหมือนพวกยาที่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ แต่อาหารเสริมก็อาจเป็นตัวช่วยในการนอนหลับ เมื่อใช้อย่างถูกวิธี
    • วาเลอเรี่ยนเป็นสมุนไพรทั่วไปที่ใช้ช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ มีการใช้สมุนไพรนี้มาหลายร้อยปีแล้ว [15]
    • เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายมนุษย์ผลิตขึ้นเอง การรับประทานเมลาโทนินเป็นอาหารเสริมอาจช่วยลดระยะเวลาเข้าสู่ภาวะหลับ และสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนตอนกลางคืนให้ดีขึ้น [16] แต่จำไว้ว่าแสงเป็นตัวการขัดขวางการผลิตเมลาโทนินของร่างกาย ฉะนั้นต้องหลีกเลี่ยงหน้าจอที่มีแสงจ้าก่อนนอน ถึงแม้จะกินเมลาโทนินเข้าไปแล้วก็ตาม
    • ปรึกษาหมอและผู้ดูแลหลักก่อนใช้ตัวช่วยในการนอนหลับใดๆ หรืออาหารเสริม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การอ่านหนังสือที่ชอบและเคยอ่านแล้วช่วยผ่อยคลายได้มากกว่าอ่านนวนิยายเรื่องใหม่ การอ่านอะไรก็ตามที่เราชอบและสนุกพอที่จะอ่านเป็นครั้งที่สอง หรือครั้งที่สามจะให้ความรู้สึกที่ต่างออกไปเมื่อได้กลับมาอ่านใหม่อีกครั้ง และไม่จำเป็นต้องอ่านให้จบก็ได้ เรารู้อยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะพบความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างกำลังเดินทางให้ถึงตอนจบ แทนที่จะอ่านเอาเรื่องอย่างเดียว
  • เข้าห้องน้ำก่อนเข้านอน ถ้าตื่นกลางดึกเพื่อไปเข้าห้องน้ำ เมื่อกลับมานอนใหม่จะหลับยาก
  • อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนภายในสองชั่วโมงของการเตรียมตัวนอน เพราะจะมีผลต่อการนอนในที่สุด คาเฟอีนเป็นตัวกระตุ้นให้ตื่นตัว
  • ทำอะไรที่คุ้นเคยและทำให้ผ่อนคลาย อย่าทำอะไรที่ไม่เคยทำ เพราะจะทำให้ตื่นเต้น
  • อย่าใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เพราะจะทำให้ตื่นตัวและหน้าจอที่แสงจ้ายับยั้งร่างกายไม่ให้ผลิตเมลาโทนิน ทำให้เราตื่นนานขึ้น
  • ไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดอยู่ใกล้ตัว เพราะอาจล่อตาล่อใจให้อยากใช้ ต้องปิดและวางไว้ไกลตัว
  • ตรวจสอบอุณหภูมิห้องไม่ให้ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เพราะอุณหภูมิมีผลต่อการนอนหลับ
  • ฟังดนตรีที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • หลับตาและปิดอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงดัง
  • ถ้าใช้วิธีไหนก็ไม่ได้ผล ให้ลองนึกภาพตัวเองทำอะไรที่ตั้งหน้าตั้งตาจะทำพรุ่งนี้ พร้อมกับหลับตาด้วย แล้วแค่ปล่อยตัวเองค่อยๆ หลับและฝันเรื่องที่น่าตื่นเต้นนี้


โฆษณา

คำเตือน

  • พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนตอนค่ำ คาเฟอีนเป็นที่รู้กันว่าขัดขวางการนอนหลับ แม้จะไม่ดื่มก่อนนอนเลยก็ตาม
  • อย่าดื่มอะไรหนึ่งชั่วโมงก่อนนอน หรือกินอะไรสามชั่วโมงก่อนนอน
โฆษณา

สิ่งของที่ต้องใช้

  • หนังสือ
  • เสียงดนตรี
  • เครื่องดื่มร้อนๆ
  • อ่างน้ำอุ่นหรือฝักบัวน้ำอุ่น
  • เตียงผ้าลินินที่เหมาะสม (อุ่นพอและเย็นพอ)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,942 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา