ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาหารเป็นพิษเกิดขึ้นได้เมื่อคุณรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหรือสารพิษอื่นๆ หรืออาหารที่เป็นพิษโดยธรรมชาติอยู่แล้ว อาการที่ทำให้ทรมานนี้จะอยู่สักสองสามวันแล้วมักจะหายไปเองเมื่อสาเหตุของอาการหายไปจากร่างกาย อย่างไรก็ตาม มันก็มีสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้คุณรู้สึกสบายตัวและทำให้หายจากอาการดังกล่าวได้ไวขึ้น ในกรณีที่อาการรุนแรง คุณอาจต้องไปพบแพทย์เพื่อดูอาการ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกว่าต้องใช้วิธีไหน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะรักษาอาการ สำคัญที่จะต้องระบุสาเหตุให้ได้ ลองนึกดูว่าในช่วง 4 ถึง 36 ชั่วโมงที่ผ่านมา คุณทานอะไรไปบ้าง ได้ไปลองทานอะไรที่ไม่เคยทานไหม ได้ทานอะไรที่รสชาติแปลกๆ เหมือนจะเสียหรือเปล่า ได้ทานอะไรร่วมกันกับเพื่อนหรือครอบครัวซึ่งก็มีอาหารอาหารเป็นพิษเหมือนกันหรือไม่ ต่อไปนี้คือสาเหตุที่มักจะก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษมากที่สุด:
    • อาหารที่มีแบคทีเรียอีโคไล ซาลโมเนลลา และแบคทีเรียชนิดอื่นๆ แบคทีเรียมักจะถูกทำลายเมื่ออาหารผ่านการเตรียมและปรุงอย่างเหมาะสม ดังนั้นอาหารเป็นพิษชนิดนี้มักเกิดจากการที่เนื้อไม่สุกดีหรือจากอาหารที่วางทิ้งไว้ไม่เข้าตู้เย็น [1]
    • ปลาที่เป็นพิษ เช่น ปลาปักเป้า ก็เป็นอีกสาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบทั่วไป เราไม่ควรนำปลาปักเป้ามารับประทาน เว้นแต่ว่าปลานั้นผ่านการปรุงจากพนักงานในภัตตาคารที่ผ่านการรับรองแล้ว [2]
    • เห็ดพิษตามป่าซึ่งหน้าตาดูเหมือนเห็ดทานได้ที่ดีต่อสุขภาพก็อาจเป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน
  2. อาหารเป็นพิษที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย โดยเฉพาะที่เกิดกับคนที่สุขภาพดีสามารถรักษาได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม เราอาจต้องไปพบแพทย์ทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่มาของอาหารเป็นพิษและอายุของผู้ป่วย ซึ่งการพบแพทย์โดยทันทีก่อนทำการรักษาอาการอาหารเป็นพิษอาจเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ [3] โทรหาแพทย์หากมีอาการเหล่านี้:
    • ผู้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษทานปลาหรือเห็ดที่มีพิษมา
    • ผู้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษอยู่ในวัยทารกหรือเป็นเด็กเล็ก
    • ผู้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษกำลังตั้งครรภ์
    • ผู้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษทานอายุมากกว่า 65 ปี
    • ผู้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษมีอาการรุนแรง เช่น หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้ จะเป็นลม หรืออาเจียนเป็นเลือด
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

บรรเทาอาหารอาหารเป็นพิษ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารเป็นพิษอาจมีการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งเป็นการทำงานตามธรรมชาติของร่างกายจะทำงานเพื่อขับพิษออก การทานอาหารที่เป็นของแข็งเข้าไปจะยิ่งทำให้มีอาการอาเจียนและท้องเสียมากขึ้น ทางที่ดีที่สุดคือเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ไปจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น
    • ไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้ว่าคุณควรเลี่ยงการทานอาหารที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ หากไม่แน่ใจว่ามันเกิดจากอะไรให้เลี่ยงการทานอะไรก็ตามที่ไม่ได้ปรุงสดๆ ก่อนที่คุณจะรับประทาน
    • หากคุณเบื่อที่จะทานน้ำแกง น้ำซุป ให้ทานอาหารง่ายๆ ที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะ เช่น กล้วย และข้าวขาวต้ม หรือขนมปังปิ้ง
  2. การอาเจียนและท้องเสียก่อให้เกิดการเสียน้ำ นั่นจึงสำคัญมากที่คุณต้องดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำชนิดอื่นๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 16 ถ้วยต่อวัน [4]
    • ชาสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งชามินต์ มีคุณสมบัติที่ช่วยบรรเทาอาการในกระเพาะอาหาร พยายามดื่มชาเปปเปอร์มินต์สักสองสามถ้วยเพื่อให้ไม่ขาดน้ำและบรรเทาอาการคลื่นไส้
    • น้ำจิงเจอร์เอลและเลม่อนหรือมะนาวโซดาก็ช่วยลดอาการสูญเสียน้ำและคาร์บอเนตช่วยให้กระเพาะฟื้นตัวได้ [5]
    • เลี่ยงการดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มอื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดการสูญเสียน้ำยิ่งกว่าเดิม
  3. หากคุณต้องสูญเสียสารอาหารจำนวนมากจากร่างกายไปกับการสูญเสียน้ำ คุณสามารถซื้อเครื่องดื่มเกลือแร่จากร้านขายยาเพื่อชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไป เกเตอเรด หรือ เครื่องดื่มยี่ห้ออื่นประเภทเดียวกันก็ใช้ได้เช่นกัน
  4. คุณอาจรู้สึกอ่อนแอและอ่อนเพลียหลังต้องเผชิญอาการต่างๆ จากอาหารเป็นพิษ นอนให้มากเท่าที่ต้องการเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น [6]
  5. การใช้ยาตามร้านขายยาเพื่อป้องกันอาการท้องเสียและอาเจียนอาจทำให้คุณหายช้าลง เพราะมันจะไปขัดขวางการทำงานตามธรรมชาติในการกำจัดต้นตอของอาหารเป็นพิษ [7]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันอาหารเป็นพิษ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างมือ ถ้วยชาม และเช็ดถูพื้นผิวบริเวณต่างๆ ในครัว. อาหารเป็นพิษมักมีสาเหตุจากแบคทีเรียซึ่งมาจากอาหารโดยผ่านทางมือที่ไม่ได้ล้าง ถ้วยชาม เขียง ช้อนส้อม หรือตามโต๊ะในครัว ใช้วิธีดังต่อไปนี้เพื่อป้องกันอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย:
    • ล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่ก่อนเตรียมอาหาร
    • ล้างถ้วยชาม ช้อนส้อมในน้ำอุ่นและสบู่หลังใช้งาน
    • ใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็ดโต๊ะครัว โต๊ะอาหาร เขียง และพื้นผิวอื่นๆ ในห้องครัวหลังเตรียมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ต้องใช้เนื้อดิบ
  2. อาหารดิบ เช่น ถุงเนื้อไก่หรือสเต๊กที่ยังไม่ได้ปรุงต้องเก็บแยกจากอาหารอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องปรุงสุกเพื่อป้องกันการปนเปื้อน เนื้อทุกชนิดและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมต้องเก็บในตู้เย็นทันทีที่คุณกลับมาจากตลาด [8]
  3. การปรุงเนื้อ โดยให้อุณภูมิภายในเนื้อสูงถึงระดับที่จะฆ่าแบคทีเรียได้จะช่วยป้องกันอาหารเป็นพิษ ให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าควรจะใช้อุณหภูมิเท่าไหร่กับเนื้อของคุณ และใช้เทอร์โมมิเตอร์สำหรับเนื้อเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิก่อนปรุงอาหารเสร็จ [9]
    • เนื้อไก่หรือสัตว์ปีกอื่นๆ ควรปรุงโดยให้ความร้อนถึง 73.9 องศาเซลเซียส (165 ฟาเรนไฮต์).
    • เนื้อบดควรปรุงโดยให้ความร้อนถึง 71.1 องศาเซลเซียส (160 ฟาเรนไฮต์).
    • สเต๊กเนื้อและเนื้ออบควรปรุงโดยให้ความร้อนถึง 62.8 องศาเซลเซียส (145 ฟาเรนไฮต์).
    • เนื้อหมูควรปรุงโดยให้ความร้อนถึง 71.1องศาเซลเซียส (160 ฟาเรนไฮต์).
    • เนื้อปลาควรปรุงโดยให้ความร้อนถึง 62.8 องศาเซลเซียส (145 ฟาเรนไฮต์).
  4. การออกเก็บเห็ดเป็นกระแสนิยมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แต่หากคุณไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำก็ควรเลี่ยงการทานเห็ดที่เก็บมาสดๆ แม้แต่นักวิทยาศาสตร์เองยังมีปัญหาในการแยกเห็ดที่ทานได้และเห็ดพิษบางสายพันธุ์หากไม่มีการทดสอบทางชีววิทยาเสียก่อน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเสี่ยงทานอาหารเก่าที่อยู่ในตู้เย็นมาสักพักแล้ว เมื่อไม่แน่ใจให้โยนทิ้งซะ!
  • ดูดน้ำแข็งหรือน้ำแข็งจากน้ำผลไม้เพื่อลดอาการคลื่นไส้และทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
  • พยายามเลี่ยงการทานอาหารนอกบ้านบ่อยเกินไป
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 43,033 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา