PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การแสดงความคิดเห็นเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้คุณได้รับความเคารพและมีตัวตนในโรงเรียนหรือที่ทำงาน แต่คุณก็อาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความคิดไม่ๆ ที่จะพูดหรือแบ่งปัน เริ่มมีส่วนร่วมในการอภิปรายด้วยการถามคำถามและขยายประเด็นที่คนอื่นพูด ตั้งเป้าหมายที่จะแสดงความคิดเห็นหรือแม้แต่เตรียมตัวว่าจะพูดอะไรล่วงหน้า นอกจากนี้ก็ให้จำไว้ว่า วิธีการพูดในที่ประชุมจะขึ้นอยู่กับประเภทของการประชุม เช่น เป็นการอภิปรายอิสระที่ใครจะพูดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ หรือว่าคุณต้องยกมือแล้วรอให้ถึงตาตัวเอง และเช่นเคยว่าคุณต้องดูแลตัวเองและตั้งสติเพื่อเตรียมพร้อมด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ทำให้คำพูดของคุณมีความหมาย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เตรียมประเด็นที่จะพูดไว้สัก 2-3 ประเด็นก่อนเข้าประชุม. การเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยการวางแผนประเด็นที่จะพูดเอาไว้ก่อนจะช่วยให้คุณมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ลองจดประเด็นที่คุณจะถามสัก 2-3 ประเด็น หรือแนวคิดที่คุณสามารถพูดขึ้นมาในที่ประชุมได้ ใช้โน้ตที่จดไว้เป็นแนวทางเมื่อคุณพร้อมแสดงความคิดเห็นแล้ว
  2. ถ้าคุณอยากพูดในที่ประชุมแต่อีกใจนึงก็อยากพูดให้จบๆ ไปด้วย ให้พูดเป็นคนแรก การพูดเป็นคนแรกจะทำให้คุณมีเวลาจับผิดหรือสงสัยในตัวเองน้อยลง หาจังหวะพูดเป็นคนแรกและสร้างบทสนทนาแทนที่จะเก็บความคิดเห็นไว้พูดทีหลัง [1]
    • พูดว่า “ผมอยากจะเริ่มการอภิปรายด้วยการเสนอความคิดของผม”
  3. คุณไม่จำเป็นต้องตะโกนหรือพูดขณะที่คนอื่นกำลังพูดเพื่อแสดงความมั่นใจ แต่พูดอย่างมีความหมาย แม้ว่าคุณจะไม่มั่นใจเลย ก็ให้แสดงความมั่นใจผ่านสิ่งที่คุณพูดและวิธีการพูด พูดชัดถ้อยชัดคำและพยายามอย่าใช้คำพูดที่ไม่มีความหมาย เช่น “เอ่อ” หรือ “อืม” [2]
    • อย่าลดทอนคำพูดหรือความคิดของคุณด้วยการพูดว่า “ผมไม่รู้นะครับ แต่…” หรือ “อาจจะฟังดูไม่เข้าท่านะครับ แต่…” แม้ว่าคุณจะรู้สึกไม่มั่นใจก็อย่าแสดงออกมา [3]
  4. ลองคิดว่ามีอะไรที่คุณสามารถเชื่อมโยงหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างเจาะจง คุณอาจจะอายุน้อยกว่าคนอื่นๆ ในที่ประชุมก็จริง แต่คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตลาดหรือมุมมองของกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นได้ ลองคิดดูว่ามีมุมมองเฉพาะที่คุณสามารถนำเสนอได้ไหม และพูดออกไป [4]
    • คุณอาจจะมีภูมิหลังครอบครัว อัตลักษณ์เชื้อชาติ หรือการศึกษาที่ไม่มีเหมือนคนรอบตัวคุณ นำสิ่งเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อสร้างมุมมองใหม่
  5. คุณไม่จำเป็นต้องพูดเยิ่นเย้อเพื่อให้แน่ใจว่าคนอื่นได้ยินหรือเข้าใจคุณ เน้นไปที่การพูดให้ชัดเจนและประหยัดถ้อยคำ ทำให้คำพูดของคุณเป็นที่จดจำ ไม่ใช่ทำให้คนอื่นเสียเวลา ค่อยๆ เรียบเรียงความคิดและมุมมอง แล้วพูดออกไปให้ชัดเจนอย่างมีประสิทธิภาพ [5]
    • เช่น เลี่ยงคำพูดที่ไม่มีความหมายอย่าง “ผมคิดว่า…” หรือ “ผมมีความคิดว่า…” และเข้าประเด็นเลย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

มีส่วนร่วมในการพูดคุย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่คุณอยากแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม คุณไม่จำเป็นต้องพูดอะไรที่ตรึงใจหรือฟังแล้วอ้าปากค้างก็ได้ คุณอาจจะเห็นด้วยกับคนอื่นๆ หรือบอกว่าคุณชอบความคิดของเขา เพราะไม่ว่าใครก็อยากให้คนอื่นเข้าใจและอยากได้รับคำชมกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการตอบรับของคุณอาจจะมีความหมายกับเขามากก็ได้ [6]
    • เช่น พูดว่า “ผมชอบความคิดของคุณอติกานต์นะ” หรือ “ผมว่าเป็นความคิดที่เยี่ยมมากเลย และเราก็ควรเริ่มลงมือเลยคุณรชนิศ”
  2. แสดงความคิดเห็นด้วยการหาคำอธิบายให้กระจ่างในสิ่งที่ยังไม่ชัดเจน คุณอาจจะขอให้ใครสักคนอธิบายความคิดเพิ่มเติมหรือขยายความในอีกทิศทางหนึ่ง นอกจากนี้คำถามยังช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในประเด็นนั้นมากขึ้น การถามคำถามทำให้คุณต้องตั้งใจฟังและมีส่วนร่วม [7]
    • พูดว่า “คุณช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ” หรือ “คุณหมายความว่ายังไงครับ”
  3. การมีส่วนร่วมในที่ประชุมไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องคิดอะไรสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง การแสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นการพูดอะไรง่ายๆ อย่าง “ดูเหมือนว่าทุกคนจะเห็นตรงกันในเรื่องนี้นะคะ เพราะฉะนั้นเราไปต่อกันเลยค่ะ” ถ้าคุณอยากเสริมสิ่งที่คนอื่นพูดไปแล้ว ก็บอกว่า “ดิฉันขอพูดเสริมจากคุณชัญญานุชนะคะ…” [8]
    • หรือคุณอาจจะพูดว่า “คุณจะพูดอะไรหรือเปล่าคะคุณคณิน”
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ตั้งใจฟังการอภิปราย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การจดบันทึกระหว่างการประชุมช่วยให้คุณรู้ว่าจะพูดแทรกเข้าไปอย่างไร และยังอาจช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจขึ้นด้วย นอกจากนี้การจดบันทึกยังทำให้เห็นว่า คุณตั้งใจฟังแม้ว่าคุณจะไม่ได้พูดก็ตาม และยังช่วยให้คุณจำได้ด้วยว่าใครพูดอะไรในที่ประชุมบ้าง
  2. ถ้าคุณอยากแสดงความคิดเห็นแต่ดูเหมือนจะไม่มีคำพูดผุดขึ้นมาเลย ให้ตั้งเป้าหมายว่าจะพูด เช่น พยายามแสดงความคิดเห็นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในการประชุมแต่ละครั้ง หรือแสดงความคิดเห็นให้ได้สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง รอจังหวะที่คนอื่นหยุดพูดและพูดขึ้นมา แรกๆ มันอาจจะรู้สึกแปลกๆ แต่ให้เวลาตัวเองได้ปรับตัวสักพัก ไม่นานคุณก็จะแสดงความคิดเห็นได้อย่างสบายใจมากขึ้น [9]
  3. ถ้าคุณมองต่ำและไม่สบตา หันหน้าหนี มัวแต่ดูโน้ต หรือดูประหม่า คนจะไม่ค่อยฟังคุณเท่าไหร่ ใช้มือสื่อท่าทางแทนที่จะล้วงกระเป๋าหรือประสานไว้ข้างหน้า ถ้าคุณยืนอยู่ให้หันปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้าและโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย โดยให้ระยะห่างระหว่างเท้าทั้งสองข้างเท่ากับความกว้างของสะโพก วิธีนี้จะทำให้เห็นว่าคุณมั่นใจและตั้งใจฟัง
    • แม้ว่าคุณจะรู้สึกไม่มั่นใจเลยก็ตาม แต่ร่างกายสามารถแกล้งทำเป็นมั่นใจและเรียกความสนใจจากคนในห้องได้
  4. การยกมือเป็นวิธีเข้าร่วมการสนทนาที่ง่ายที่สุดไม่ว่าจะเป็นการประชุมรูปแบบไหนก็ตาม ถ้าคุณหาจังหวะพูดไม่ได้สักที ให้ยกมือ วิธีนี้เป็นการบอกให้คนอื่นรู้ว่า คุณอยากพูดและอยากพูดเป็นคนถัดไป โดยเฉพาะถ้าคนอื่นกำลังพูดอยู่และคุณอยากจะพูดเสริมหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องนั้น ให้ยกมือขึ้นเร็วๆ เพื่อบอกว่า คุณอยากพูดเป็นคนถัดไปหรือเสริมสิ่งที่อภิปราย [10]
    • ยกมือขึ้นและสบตาใครสักคนเพื่อให้แน่ใจว่ามีคนเห็นคุณ
  5. ถ้ามีคนพูดประเด็นที่ต้องค้นคว้าหรือลงมือปฏิบัติเพิ่มเติม ให้พูดขึ้นมาในที่ประชุมและเสนอว่าจะทำติดตามเรื่องนี้ให้ ถ้าประเด็นนี้จำเป็นต้องขยายต่อในการประชุมครั้งถัดไป ให้เสนอตัวรับเรื่อง วิธีนี้จะทำให้คุณมีเวลาได้เตรียมตัวและยังช่วยเตือนให้คุณมีส่วนร่วมในการประชุมครั้งถัดไปด้วย [11]
    • เสนอตัวว่าจะรับช่วงติดตามและนำเสนอในการประชุมครั้งถัดไป วิธีนี้จะทำให้คุณมีเวลาเตรียมตัวและเตรียมสไลด์หรือแผ่นพับต่างๆ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

จัดการกับความประหม่า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เตรียมประเด็นหรือความคิดไว้ให้พร้อมเกริ่นในที่ประชุม การจดโน้ตเอาไว้ช่วยให้คุณรู้ว่าคุณอยากจะพูดอะไร นำสมุดติดตัวไปด้วยเพื่อให้คุณพร้อมพูดในสิ่งที่คุณอยากพูดได้อย่างมั่นใจ เตรียมตัวอย่างและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับคำถาม [12]
    • เช่น ถ้าการประชุมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ให้จดความคิดที่ช่วยทำให้คนวอกแวกน้อยลง
  2. ถ้าคุณรู้สึกประหม่า ไม่เป็นไรเลย อย่าทำเป็นไม่ประหม่า แต่ให้ยอมรับความรู้สึกเหล่านี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า คุณพร้อมที่จะทำเต็มที่ จำไว้ว่าความรู้สึกประหม่าหรือความเครียดนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่คุณสามารถใช้อารมณ์เหล่านี้ขับเคลื่อนให้คุณรู้สึกตื่นเต้นได้ [13]
    • บอกตัวเองว่า “ฉันตัวสั่นนิดหน่อย แต่ฉันสามารถเอาพลังนี้ไปใส่ในการนำเสนอผลงานได้”
    • การฝึกยอมรับอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์จะช่วยให้อารมณ์เหล่านั้นค่อยๆ หายไป
  3. การท้าทายความคิดเชิงลบเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะว่ามันก่อให้เกิดความกลัว คุณอาจจะสงสัยตัวเองหรือรู้สึกว่า ไม่ว่าคุณจะพูดอะไรมันก็ไม่ดีเท่าที่คนอื่นพูดหรอก ถ้าคุณมีความคิดเชิงลบเกี่ยวกับความสามารถของตัวเอง ให้เริ่มต่อสู้กับความคิดเหล่านั้น หยิบยกความคิด “แล้วถ้า…” การวิจารณ์ตัวเอง และความกลัวว่าจะทำผิดพลาดขึ้นมาท้าทาย คุณจะทำอย่างไรผลลัพธ์ที่แย่ที่สุดเกิดขึ้นจริงๆ ถ้าคุณคันปากอยากวิจารณ์ตัวเอง ให้ถามตัวเองว่ามีหลักฐานอะไรมาสนับสนุนคำวิจารณ์นั้น และคุณสามารถหาความคิดเชิงบวกมาแทนที่ความคิดนั้นได้ไหม [14]
    • เช่น ถ้าคุณคิดว่า “ฉันต้องทำพังแน่เลย” ให้ถามตัวเองว่า “ตอนไหนนะที่ฉันทำสำเร็จแม้ว่าฉันจะประหม่า ตอนนี้ฉันจะทำแบบนั้นอีกได้ยังไงนะ”
  4. หายใจลึกๆ . ในการผ่อนคลายร่างกายนั้น ให้คุณหายใจจากกะบังลมแทนที่จะเป็นหน้าอก อยู่ในท่าสบายแล้ววางมือข้างหนึ่งลงบนหน้าท้อง หายใจเข้าทางจมูกและสังเกตว่ามือกับหน้าท้องขยับขณะที่คุณหายใจเข้า หายใจออกทางปากและสังเกตว่าลมหายใจออกไปจากหน้าท้อง ทำซ้ำ 3-10 ครั้งจนกว่าคุณจะเริ่มรู้สึกผ่อนคลาย [15]
  5. ถ้าคุณกำลังจะมีประชุมใหญ่และรู้สึกประหม่า ให้ดูแลร่างกายให้ดีล่วงหน้า คืนก่อนเข้าประชุมให้นอนหลับพักผ่อนมากๆ และตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกว่าได้พักผ่อนเต็มที่ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและจำกัดปริมาณคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนและสารกระตุ้นอื่นๆ อาจทำให้ยิ่งวิตกกังวลได้ ดูแลตัวเองเพื่อให้แน่ใจได้ว่า คุณจะรู้สึกสบายใจในวันสำคัญ
    • ถ้าปกติคุณดื่มกาแฟทุกวันอยู่แล้ว อย่างดกาแฟทันทีในวันนั้นเพราะมันอาจทำให้เกิดอาการถอนได้ แต่ก็อย่าดื่มมากกว่าปกติแล้วกัน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,878 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา