ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเขียนสุนทรพจน์อำลาเป็นภารกิจที่น่าหนักใจไม่น้อย เพราะมันยากที่จะหาสรรคำพูดดีๆ มากล่าวในวันสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นพิธีจบการศึกษา วันเกษียณ หรือโอกาสอื่นๆ เพราะคุณจะต้องพยายามสรุปรวมประสบการณ์ ขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้อง และอวยพรสำหรับอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องพูดออกมาอย่างสง่างามและน่าฟัง แม้จะเป็นภารกิจที่ยาก แต่ถ้าหากคุณนึกทบทวนดีๆ คุณก็สามารถเขียนสุนทรพจน์อำลาที่สมบูรณ์แบบได้ไม่ยาก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกสิ่งที่จะพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองคิดถึงประสบการณ์โดยรวมที่คุณมี ณ สถานที่ที่คุณกำลังจะจากไป ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน โรงเรียน ตำแหน่งอาสาสมัคร หรือสถานที่ที่คุณเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลานาน พยายามคิดทบทวนว่าตอนที่อยู่ที่นั่นคุณเคยทำอะไรมาบ้าง และคุณจะเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาที่คุณอยู่ที่นั่นตั้งแต่ต้นจนจบอย่างไร [1]
    • ลองเขียนประวัติศาสตร์ช่วงเวลาที่คุณอยู่ที่นั่นออกมาเป็นเรื่องราว ไม่จำเป็นต้องเขียนแบบสละสลวยเพื่อให้สมกับเป็นสุนทรพจน์ แค่เขียนลงไปก่อนเพื่อช่วยให้คุณนึกถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณเคยทำมาได้ และช่วยให้คุณรู้ว่าอะไรที่มีความหมายกับคุณมากที่สุด
    • เรื่องราวของคุณอาจจะเริ่มต้นจาก “ผมเข้ามาทำงานที่นี่ตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆ และผมก็ไม่เคยย้ายออกมาอยู่ตัวคนเดียวมาก่อน ตอนนั้นผมขี้อายมากจนผมไม่มีเพื่อนเลยสักคนอยู่ 9 เดือน ปีต่อมาผมก็ได้เลื่อนตำแหน่งและมีความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับคนในแผนกใหม่ของผม”
    • คุณจะใส่ช่วงเวลาที่ยากลำบากลงไปด้วยก็ได้ แล้วค่อยแก้ไขทีหลัง คุณอาจจะเขียนลงไปว่า “ผมไม่ชอบเลยตอนที่เราต้องย้ายไปออฟฟิศใหม่” เวลาที่คุณแก้ไขสุนทรพจน์ เรื่องนี้ก็อาจจะกลายเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยตลกๆ หรือคุณก็อาจจะพูดประมาณว่า “แม้ในตอนนั้นที่เราต้องย้ายไปออฟฟิศใหม่ ผมก็อดสังเกตไม่ได้ว่าเพื่อนร่วมงานของผมก็พยายามทำตัวร่าเริงแม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก”
  2. พอคุณเขียนสรุปทั้งหมดออกมาแล้ว ให้นึกว่ามีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอะไรที่คุณจำได้จากช่วงเวลาที่คุณอยู่ที่นี่หรือเปล่า เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ว่านี้จะเป็นเรื่องตลกหรือซึ้งใจก็ได้ แต่ควรเป็นเรื่องสั้นที่เฉพาะเจาะจงที่ช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพชีวิตประจำวันพร้อมกับสื่อความคิดหรือความรู้สึกโดยรวมออกมาได้ด้วย [2]
    • เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ว่านี้อาจจะเริ่มต้นประมาณว่า: “ผมจำวันที่ 3 ของการไปโรงเรียนได้แม่นเลย ครูจัดที่นั่งให้สกลกับผมนั่งติดกันบนรถโรงเรียน แต่พอถึงวันที่ 3 คุณย่าผมก็เดินตามขึ้นไปบนรถโรงเรียนแล้วประกาศว่า ท่านมีเรื่องต้องคุยกับสกล…”
    • เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเป็นวิธีที่ดีที่คุณสามารถแสดงความขอบคุณต่อบุคคล หรือเพื่อยกตัวอย่างสิ่งที่คุณประทับใจเกี่ยวกับสถานที่นี้โดยรวมได้ เช่น เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในข้างต้นอาจจะปิดท้ายด้วย “...และแน่นอนว่าเขาไม่เคยทิ้งผมเลยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา” หรือ “...ซึ่งทำให้ผมได้รู้ว่า สุดท้ายแล้วชุมชนของโรงเรียนแห่งนี้นี่แหละที่เป็นสถานที่ที่ผมรู้สึกว่ามันคือบ้าน”
  3. สุนทรพจน์อำลาของคุณควรจะต้องแสดงถึงการมองโลกในแง่ดีประมาณนึง แต่ก็เป็นช่วงเวลาดีๆ ที่คุณควรจะนั่งคิดทบทวนถึงสิ่งที่คุณได้ทำตลอดระยะเวลาที่คุณอยู่ที่นี้และอะไรที่คุณจะคิดถึง แล้วคนอื่นๆ จะซาบซึ้งที่คุณได้ใคร่ครวญและแบ่งปันความรู้สึกเกี่ยวกับโอกาสนั้นๆ ให้คนอื่นได้รับรู้ [3]
    • คิดถึงสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณ หรือช่วงเวลาที่ช่วยให้คุณกลายเป็นคุณอย่างทุกวันนี้ สิ่งที่คุณอาจจะเขียนลงไปเพื่อย้ำเตือนความทรงจำก็เช่น “ตอนที่จักรยืดหยัดปกป้องผมตอนปี 1” หรือ “ตอนที่หัวหน้าเอาร่างเสนอโครงการของผมไปให้คณะกรรมการและผมได้รู้ว่า เสียงของผมมีความหมาย”
    • คิดถึงสาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเศร้าที่ต้องจากไป ซึ่งสิ่งนี้ก็อาจจะเป็น “ผมรู้ว่ากลุ่มคนที่คอยห่วงใยกันและกันเป็นสิ่งที่หาได้ยากมากๆ” หรือ “ผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากทุกคนที่นี่ ผมรู้สึกเสียดายที่จะต้องจากไปโดยที่ไม่มีทุกคนแล้ว”
  4. เป็นไปได้ว่าคนอื่นๆ จะยังอยู่ที่เดิมแม้ว่าคุณจะเป็นฝ่ายที่ต้องกล่าวสุนทรพจน์อำลา อวยพรสิ่งดีๆ ให้กับคนที่ยังอยู่ พยายามพูดออกมาอย่างจริงใจ จะหยอดมุกตลกสักมุกสองมุกลงไปด้วยก็ได้ถ้ามันไม่ได้ทำให้ใครไม่พอใจ [4]
    • คุณอาจจะอวยพรให้คนทั้งกลุ่มแบบรวมๆ เช่น “ผมมั่นใจว่า สุดท้ายแล้วปีหน้าพวกคุณทุกคนจะได้ไปแข่งขันระดับประเทศโดยไม่มีผมอยู่ในทีม”
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถอวยพรให้แต่ละคนได้ด้วย “คุณจงกลนี ผมขอให้คุณก้าวไปสู่ตำแหน่งรองประธานได้โดยง่ายนะครับ ผมรู้ว่าคุณเก่งอยู่แล้ว คุณรงคเพท โชคดีกับการดูแลทั้งแผนกอย่างราบรื่นนะครับ”
    • และคุณยังสามารถพูดถึงความหวังและความปรารถนาที่คุณมีให้ตัวเองได้ด้วย เช่น “ผมไม่รู้ว่ามีอะไรรอผมอยู่ข้างหน้า แต่ผมหวังว่าผมจะได้เจอคนที่มีเมตตาต่อผมเหมือนกับทุกคน”
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เขียนสุนทรพจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคุณเขียนเนื้อหาขึ้นมาแล้ว ก็ได้เวลาจัดลำดับเพื่อให้สุนทรพจน์ของคุณลื่นไหลไม่มีสะดุด ซึ่งวิธีที่ดีที่จะช่วยคุณได้ก็คือการเขียนโครงร่าง โครงร่างเป็นวิธีจัดระเบียบเนื้อหาเพื่อให้เป็นไปตามลำดับเหตุและผลที่ผู้ฟังหรือผู้อ่านสามารถติดตามได้ [5]
    • โครงร่างของคุณจะละเอียดแค่ไหนก็ได้
    • โครงร่างควรประกอบด้วยพื้นที่สำหรับบทพูดเปิด เนื้อหาของสุนทรพจน์ และบทสรุปแบบกระชับ
    • โครงร่างไม่ได้ประกอบไปด้วยเนื้อหาในสุนทรพจน์ทั้งหมด แต่จะมีแค่บุลเล็ตพอยต์กับบทสรุปในแต่ละส่วนเท่านั้น
  2. สุนทรพจน์ที่เริ่มจากมุกตลกหรือคำพูดตลกๆ จะดึงความสนใจของคนฟังได้ในทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุนทรพจน์อำลาที่คนฟังคิดว่ามันจะต้องแห้งแล้งและจริงจังมากๆ แม้ว่างานจะค่อนข้างเป็นพิธีการสักหน่อย แต่ให้พยายามเริ่มจากอะไรตลกๆ วิธีนี้จะเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีและช่วยให้คนอื่นๆ ฟังสุนทรพจน์ของคุณจนจบ [6]
    • บทพูดเปิดอาจจะเป็นมุกตลกที่รู้กันภายในหรือคำพูดปลุกใจที่ทุกคนที่อยู่ที่นั่นรู้อยู่แล้วว่ามันคืออะไร และสามารถสนุกไปกับเรื่องราวนี้ได้
    • ถ้าหนึ่งในเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คุณเขียนลงไปตลกหรือเจ๋งมากๆ อยู่แล้ว คุณก็สามารถใช้สิ่งนั้นเป็นบทพูดเปิดได้เช่นกัน
    • บางครั้งคำคมหรือคำพูดสร้างแรงบันดาลใจก็เหมาะใช้เป็นบทพูดเปิดเช่นเดียวกัน แม้ว่าคุณอาจจะอยากเก็บไว้เป็นบทพูดปิดท้ายมากกว่าก็ตาม
  3. เนื้อหาของสุนทรพจน์คือการที่คุณเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยและสรุปช่วงเวลาที่อยู่ที่นั่นให้คนอื่นฟังตามความเหมาะสม คุณอาจจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงเล่าความรู้สึกกว้างๆ ที่คุณมีต่อผู้คนและสถานที่ได้ด้วย [7]
    • เวลาที่พูดโดยทั่วไปหรือสรุปความ อย่าลืมว่าคุณจะต้อง “ทำให้เขาเห็น ไม่ใช่เล่าให้เขาฟัง” หมายความว่าโดยทั่วไปแล้วการเล่าแบบเจาะจงและให้รายละเอียดหรือยกตัวอย่างนั้นมักจะทำให้ผู้ฟังประทับใจได้มากกว่าการพูดแบบรวมๆ
    • ตัวอย่างของการ “ทำให้เขาเห็น ไม่ใช่เล่าให้เขาฟัง” ก็คือ “วันที่ฉันมาทำงานวันแรก ฉันสังเกตเห็นว่าคนในออฟฟิศครึ่งนึงอยู่ต่ออีกครึ่งชั่วโมงหลังเลิกงานเพื่อทำรายงานให้เสร็จ” แทนที่จะพูดว่า “ทุกคนที่นี่ทำงานหนักเป็นพิเศษเสมอ”
  4. วิธีการจบสุนทรพจน์เป็นสิ่งที่คนจะจดจำไปอีกนานแสนนานหลังจากสุนทรพจน์จบลงแล้ว ตัดสินใจเอาว่าคุณอยากจะจบสุนทรพจน์แบบตลกๆ หรือจริงจัง และแม้ว่าสุนทรพจน์ของคุณจะเป็นการเป็นงานเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่มุกตลกก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการพูดปิดท้ายเช่นกัน เพราะถือเป็นสิ่งที่ช่วยคลายความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี [8]
    • คุณสามารถค้นหาคำคมดีๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ตามหัวข้อ ซึ่งในนั้นจะมีคำคมสำหรับเกือบทุกโอกาส
    • ถ้าคุณมีฝีมือมากๆ คุณก็อาจจะปิดท้ายสุนทรพจน์ด้วยคำพูดตลกๆ ที่เชื่อมโยงกับมุกตลกหรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คุณเล่าในตอนต้นไว้ด้วยกัน
    • เช่น ถ้าคุณเริ่มต้นสุนทรพจน์ด้วยการพูดว่า “ดิฉันไม่มีทางลืมวันแรกที่ดิฉันมาที่นี่ได้อย่างแน่นอน ดิฉันคิดในใจว่าซวยแล้วตอนที่ดิฉันเปิดประตูเข้าไปแล้วเห็นว่าตัวเองมาสายไป 20 นาที” และคุณก็อาจจะปิดท้ายสุนทรพจน์ว่า “ดิฉันคิดว่าหมดเวลาสำหรับดิฉันแล้ว ดูสิ ห้าปีผ่านไป ดิฉันก็ยังสาย 20 นาทีเหมือนเดิม”
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

กล่าวสุนทรพจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเขียนสุนทรพจน์เป็นเพียงด้านหนึ่งของการนำเสนอทั้งหมด แต่คุณยังต้องฝึกพูดสุนทรพจน์ออกมาดังๆ ด้วย เพราะหลายครั้งสิ่งที่เราเขียนลงไปอาจจะพูดออกมาจริงๆ แล้วลิ้นพันกันก็ได้ [9]
    • ทบทวนส่วนที่ฟังแล้วสับสนหรือไม่ค่อยลื่นไหล เขียนโน้ตหรือปรับเปลี่ยนสิ่งที่มีประโยชน์เวลากล่าวสุนทรพจน์จริงๆ
    • ขณะท่องสุนทรพจน์ก็ให้จับเวลาไปด้วย
    • ซ้อมกล่าวสุนทรพจน์หน้ากระจกเพื่อให้คุณเห็นว่า คุณสามารถเงยหน้าขึ้นมาจากกระดาษโดยที่พูดไม่สะดุดได้บ่อยแค่ไหน
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะซ้อมพูดสุนทรพจน์ต่อหน้าเพื่อนสนิทแล้วขอคำติชมจากเขาก็ได้
  2. คุณอาจจะมีเรื่องราวต่างๆ มาเล่าให้ฟังมากมายแล้วแต่ระยะเวลาที่คุณทำงานอยู่ที่นี่และที่นี่มีความหมายกับคุณมากแค่ไหน แต่อย่าลืมว่าสุนทรพจน์นี้ไม่ใช่เวลาที่คุณจะมาเล่ารายละเอียดยิบย่อย จำไว้ว่าคนอื่นเขาต้องกลับไปทำงาน หรือมีอย่างอื่นที่เขาอยากกลับไปทำมากกว่า ถ้าคุณทำทุกอย่างได้อย่างถูกต้อง คุณก็จะสามารถกล่าวสุนทรพจน์ที่ทรงพลังได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ [10]
    • โดยทั่วไปสุนทรพจน์อำลาควรจะยาวประมาณ 5 นาที ในบางสถานการณ์ 10 นาทีก็พอรับได้ แต่ถ้ามากกว่านั้นจะต้องเป็นโอกาสที่พิเศษมากๆ เช่น การเกษียณราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด
  3. หลายคนประหม่าเวลาพูดต่อหน้าคนเยอะๆ มีเคล็ดลับต่างๆ มากมายที่จะช่วยให้คุณต่อสู้กับอาการสติแตกถ้าคุณรับมือกับมันไม่ได้จริงๆ อย่าลืมซ้อมกล่าวสุนทรพจน์เยอะๆ จากนั้นก็เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการยืนต่อหน้าคนเป็นกลุ่ม [11]
    • รู้ว่าตัวเองอาจจะทำอะไรผิดพลาด เตรียมใจรับความผิดพลาด อย่าด่าทอตัวเองถ้ามันเกิดขึ้น รับรู้ถึงความผิดพลาดแล้วไปต่อ หรือคุณอาจจะหัวเราะตัวเองก็ได้เพื่อให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลายขึ้น
    • สนใจคนที่ดูเหมือนจะเข้าถึงสุนทรพจน์ของคุณ ถ้าพวกเขาพยักหน้า ยิ้ม หรือจ้องคุณตาไม่กระพริบ ก็ให้พุ่งความสนใจไปที่พวกเขา เพราะพลังงานเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้คุณได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าไม่แน่ใจ ให้พูดในแง่บวกไว้ก่อน เพราะคนอื่นจะจดจำความรู้สึกดีๆ ไปอีกนานแสนนานหลังจากที่คุณจากไป
  • ถ้าคุณจะเล่นมุกตลกเกี่ยวกับคนอื่น คุณต้องแน่ใจว่ามันตลกจริงๆ และคนอื่นไม่ได้มองว่าคุณไปทำให้เขาขายหน้า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,774 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา