ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การสื่อสารที่ดี คือ หัวใจของความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพูดต่อหน้าคนฟังจำนวนมาก หรือเป็นเพียงแค่การพูดสื่อสารให้เพื่อนใหม่เข้าใจบางเรื่อง หากคุณอยากพูดให้ออกมาดูยอดเยี่ยมด้วยความมั่นใจ คุณต้องเชื่อในตนเอง และพูดช้าๆ อย่างระมัดระวัง รวมถึงมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองพูดด้วย ทั้งนี้ หากคุณอยากรู้วิธีการพูดอย่างชาญฉลาดและฟังดูน่าเชื่อถือ ก็เริ่มอ่านขั้นตอนแรกได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

พูดอย่างมั่นใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะพูด คุณต้องมั่นใจก่อนว่า ตัวคุณเองเชื่อในสิ่งที่พูดจริงๆ ไม่ว่าคุณตั้งใจจะพูดโน้มน้าวคนฟังเห็นถึงความยอดเยี่ยมของอัลบั้มเพลงใหม่ของแจ๊ส ชวนชื่น หรือพูดรณรงค์เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมในประเทศไทยว่าควรเป็นปัญหาอันดับหนึ่งที่รัฐบาลต้องเร่งแกไขก็ตาม ทั้งนี้ คุณไม่จำเป็นต้องพูดอย่างดื้อด้านหัวชนฝาเพื่อให้คนฟังคล้อยตาม หรือแสดงท่าทางเหมือนกับว่าคุณเชื่อในสิ่งที่ตนเองพูดเต็มร้อยโดยปราศจากความเห็นชอบหรือเห็นด้วยจากกลุ่มคนฟังก็ได้
    • ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับว่า คุณพูดอย่างไรต่างหาก เช่น หากคุณเกริ่นนำเริ่มต้นประโยคด้วยคำว่า “ฉันคิดว่า…” หรือ “แต่บางที…” เมื่อนั้น ไม่ว่าคุณจะพูดอะไรต่อไป ก็จะฟังดูไม่น่าเชื่อถือเหมือนกับการพูดออกไปเลยโดยไม่ต้องเกริ่นนำ
  2. อย่างน้อยที่สุด มันก็ดูสุภาพมากกว่า นอกจากนี้ การสบตายังช่วยให้ผู้อื่นสนใจฟังสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อมากขึ้น พยายามหาคนฟังที่มีหน้าตาดูเป็นมิตรหน่อย และมองไปที่เขาหรือเธอเป็นจุดโฟกัสสายตา เพื่อที่จะช่วยให้คุณมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น และช่วยให้คุณสื่อสารออกมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้นด้วย หากคุณก้มมองพื้น คุณจะไม่ดูมีความมั่นใจ หากคุณมองไปรอบๆ ขณะที่พูด คนฟังก็จะนึกว่าณไม่สนใจพวกเขาเพราะมีสิ่งอื่นที่น่าสนใจกว่า
    • สบสายตาผู้คนระหว่างที่คุณกำลังพูดกับพวกเขา คุณอาจจะมองไปที่อื่นสักพักบ้างก็ได้ เพื่อพักสายตา แต่โดยทั่วไปแล้ว คุณควรจดจ่ออยู่ที่สายตาของคนที่คุยด้วยเสมอ
    • หากคุณสังเกตเห็นคนฟังมีหน้าตางุนงงหรือสับสนขณะที่คุณพูด คุณอาจจะสงสัยว่าตนเองกำลังชื่อได้ดีพอหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรปล่อยให้คนฟังคนเดียวมาทำลายการพูดของคุณต่อหน้าคนอื่นๆ ในกลุ่ม
    • หากคุณกำลังพูดให้คนฟังกลุ่มใหญ่ฟัง ซึ่งอาจจะยากต่อการสบสายตาได้ทุกคน คุณควรโฟกัสไปที่การสบตากับคนแค่สองสามสลับไปมาก็พอ
  3. สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมความมั่นใจของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเวลาคุยกับคนอื่น ด้วยความมั่นใจมากขึ้น คนอื่นจะใส่ใจสิ่งที่คุณต้องการสื่อมากขึ้นด้วย คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกว่าตนเองสมบูรณ์แบบเพียงเพื่อที่จะชื่นชมตัวเองได้อย่างเต็มปากเต็มคำ หรือเพื่อที่จะรู้สึกทึ่งในตนเองหรอก ขอแค่เตือนตนเองไว้ถึงความสำเร็จที่คุณเคยทำมาทั้งหมด ด้วยหยาดเหงือ่และความพยายาม ลองมองกระจกและพูดถึงตนเองสักสองสามเรื่อง หรือเขียนเรื่องอันยอดเยี่ยมทั้งหมดที่คุณเคยทำออกมาก็ได้
    • หากคุณคิดไม่ออกว่าจะชื่นชมตนเองเรื่องอะไรดี คุณอาจจำเป็นต้องฝึกฝนการสร้างความมั่นใจให้ตนเอง คุณสามารถเพิ่มระดับความนับถือตนเองได้ด้วยการนึกถึงสิ่งที่คุณทำได้ดี ระบุข้อบกพร่องของตนเองออกมาเพื่อแก้ไข และใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณแคร์ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดีกับตนเอง
  4. ในชีวิตคุณอาจต้องมีการรับบทนักพูดต่อหน้าคนในที่สาธารณะบ้าง ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจดูน่าหวาดหวั่น ผลดีที่คุณจะได้รับจากการพูดดังกล่าว จะมากมายและอยู่เหนือความกลัวทั้งปวง การที่จะเป็นนักพูดที่ดีได้นั้น พยายามจดจำกลยุทธเหล่านี้เอาไว้ (จำแบบสั้นๆ จะได้ไม่เปลืองเนื้อที่สมอง):
    • เตรียมการอย่างเหมาะสม
    • ฝึกฝน
    • ใส่ใจผู้ฟัง
    • สังเกตภาษากาย
    • คิดและพูดอย่างสร้างสรรค์
    • รับมืออาการประหม่า
    • ศึกษาการพูดของตัวเองจากเสียงที่บันทึกเอาไว้ จะช่วยให้คุณพูดได้ดีขึ้นเรื่อย
  5. พยายามมาถึงสถานที่ให้เร็วหน่อย เดินสำรวจรอบๆ บริเวณดูและฝึกซ้อมการใช้ไมโครโฟนหรืออุปกรณ์ต่างๆ ไปพลางๆ ก่อน การรู้ล่วงหน้าว่าคุณจะพูดในบรรยากาศแบบไหน ยืนบริเวณจุดใด เวลาเดินไปมาขณะพูดจะรู้สึกอย่างไร และกลุ่มผู้ฟังจะดูเป็นอย่างไรบ้างนั้น สามารถช่วยผ่อนคลายความกังวลให้คุณได้ดีทีเดียว การเห็นภาพคร่าวๆ ล่วงหน้า มันย่อมดีกว่าที่จะเจอเรื่องประหลาดใจซึ่งอาจทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจ ในวันสำคัญของคุณ
    • หากคุณอยากเห็นภาพสถานการณ์ล่วงหน้ามากขึ้น คุณอาจจะไปสถานที่พูดดังกล่าวล่วงหน้าหนึ่งวันก่อนถึงวันพูดจริง เพื่อสัมผัสถึงบรรยากาศให้เต็มที่
  6. พยายามจินนาการให้เห็นภาพว่าตนเองกำลังพูดต่อหน้าผู้คน ให้เห็นว่าตนเองพูดอย่างเสียงดังฟังชัดและมั่นใจ รวมถึงเห็นภาพคนฟังกำลังปรบมือให้คุณด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณได้ ลองหลับตาและจินตนภาพตนเองในแบบที่มั่นใจและพูดได้ดีที่สุดต่อหน้าคนฟัง โดยมีภาพคุณกำลังทำให้พวกเขาตะลึงด้วยคำพูดบางอย่าง ทั้งนี้ หากคุณรู้สึกประหม่ากับการที่จะต้องพูดต่อหน้าคนกลุ่มเล็กลงมาหน่อย ก็ลองนึกภาพตนเองกำลังทำให้เพื่อนกลุ่มเล็กๆ ของคุณรู้สึกทึ่งด้วยการพูดของคุณ การฝึกจินตภาพให้เห็นสิ่งที่ตนเองต้องการทำให้เกิดขึ้น สามารถช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้ในการพูดจริง
    • ด้วยวิธีนี้ หากคุณกำลังจะขึ้นพูด พยายามจดจำสิ่งที่ตนเองฝึกจินตภาพเอาไว้ให้มั่น เช่นว่า คุณมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
  7. การรู้จักคนที่คุณกำลังจะพูดให้ฟัง สามารถช่วยให้คุณพูดได้อย่างมั่นใจมากขึ้น หากคุณกำลังจะขึ้นพูดต่อหน้าคนกลุ่มใหญ่ ก็ควรจะศึกษาว่าพวกเขาเป็นใคร มาจากไหน อายุเท่าไร และมีความเข้าใจในเรื่องที่คุณจะพูดมากน้อยเพียงใด คุณจะได้สามารถเตรียมคำพูดที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสม หากคุณกำลังจะพูดให้คนแค่หยิบมือเดียวฟัง ก็ควรจะรู้จักพวกเขให้ลึกซึ้งมากเท่าที่จะทำได้ รวมถึงระดับอารมณ์ขันและทัศนคติทางการเมืองของพวกเขาด้วย ซึ่งจะช่วยให้คุณพูดได้อย่างเหมาะสม (และหลีกเลี่ยงการพูดในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร)
    • สาเหตุหนึ่งที่ผู้คนมักประหม่าเวลาพูด เป็นเพราะพวกเขาไม่ชอบสิ่งที่ตนเองไม่รู้ นั่นคือเหตุผลที่คุณควรศึกษาหาข้อมูลล่วงหน้าให้ได้มากที่สุด
  8. ภาษากายมีส่วนสำคัญมากในการทำให้คุณดูเหมือนและรู้สึกมีความมั่นใจจริงๆ หากคุณอยากจะสื่อให้เห็นถึงความมั่นใจ อาจลองเริ่มจากท่าทางต่อไปนี้:
    • วางท่าทางให้ดูมีพลัง
    • หลีกเลี่ยงการห่อตัวในทุกกรณี
    • อย่าขยับมือแบบอยู่ไม่สุข
    • หลีกเลี่ยงการเดินไปมามากเกินไป
    • มองไปข้างหน้า อย่าก้มมองพื้น
    • สำรวจใบหน้าและร่างกายทุกส่วนให้มีความรู้สึกผ่อนคลาย
  9. เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ พยายามหาความรู้ในเรื่องนั้นให้มากกว่าที่คุณจะนำไปพูด หากคุณรู้เรื่องดังกล่าวดีจริงๆ คุณจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเวลาที่พูดเกี่ยวกับมัน หากคุณเพิ่งจะมาเตรียมตัวคืนเดียวก่อนขึ้นพูด จนเกิดความกลัวว่าจะตอบคำถามจากกลุ่มคนฟังไม่ได้ เมื่อนั้น แน่นอนว่าความมั่นใจของคุณย่อมไม่ได้เป็นบวกเท่าที่จะเป็นได้ คุณควรรู้ซึ้งในหัวข้อที่จะพูดให้ได้มากกว่าสัก 5 เท่าของเนื้อหาที่คุณจะนำไปพูดจริง นั่นย่อมจะทำให้คุณพร้อมพูดอย่างมั่นใจกว่า
    • หากคุณจะเผื่อเวลาไว้ให้คนฟังยิงคำถามหลังพูดเสร็จ คุณควรเตรียมตัวด้วยการให้เพื่อนๆ คุณ มาช่วยกันยิงคำถามยากๆ ใส่คุณ เพื่อช่วยคุณเตรียมพร้อมรับมือเมื่อถึงสถานการณ์จริง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พูดอย่างเหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดให้ดังมากพอที่ทุกคนจะได้ยินโดยทั่วถึงกัน. แม้ว่าคุณไม่ควรจะตะโกน คุณก็ควรจะพูดให้ดังมากพอ เพื่อที่คนฟังบางคนจะได้ไม่ต้องขอให้คุณพูดซ้ำอีก การพูดเสียงนุ่มเบาเกินไป จะทำให้คนฟังนึกไปว่าคุณขี้อาย หรือไม่มีความมั่นใจในเรื่องที่จะพูดมากนัก หรือคิดว่าคุณไม่ต้องการให้ใครได้ยินสิ่งที่คุณพูดนั่นเอง
    • เมื่อคุณพูดด้วยเสียงเบา ไม่เพียงแต่คนฟังบางคนจะไม่ได้ยินคุณ แต่มันยังเป็นการสื่อให้เห็นถึงท่าทางท้อถอยของผู้พูด ซึ่งตรงข้ามกับความมั่นใจ
    • ในทางกลับกัน คุณก็ไม่ควรพูดด้วยเสียงดังเกินไป จนดูเหมือนกับว่าพยายามเรียกร้องความสนใจเกินเหตุ คุณควรทำให้พวกเขาสนใจได้ด้วยเนื้อหาของสิ่งที่คุณพูดเท่านั้น
  2. พยายามอ่านมากๆ อ่านตั้งแต่หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ไปจึงถึงวรรณคดีสามก๊ก หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะยิ่งคุณอ่านมากเท่าไร คุณก็ยิ่งมีความรู้มาก และจะมีคำศัพท์เก็บไว้ให้เลือกใช้มากขึ้นด้วย คุณจะได้ทั้งคำศัพท์ วลี สำนวนต่างๆ ซึมซับเข้าไปในความจำโดยไม่รู้ตัว จนสามารถนำไปใช้เวลาพูดได้อย่างอัตโนมัติ การมีชุดคำศัพท์มากมายในหัวเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง หากคุณต้องการเป็นนักพูดที่ดี
    • นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องพ่นคำศัพท์เลิศหรูนับพันใส่คนฟังทุกครั้งในการพูดคุย หรือการสนทนาทั่วไปในชีวิตประจำวัน ขอแค่มีคำศัพท์โดนใจสักคำ ก็เพียงพอแล้วที่จะช่วยให้คุณดูฉลาดขึ้น โดยไม่ต้องดิ้นรนเกินไป
    • คุณอาจเตรียมสมุดจดบันทึกคำศัพท์ติดตัวเอาไว้ จดคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ได้พบเจอ เพื่อท่องและจดจำความหมายของมัน
  3. หากคุณต้องการพูดให้ได้อย่างเหมาะสม คุณไม่ควรเอาแต่พล่ามคำแสลงหรือใช้คำศัพท์บ้านๆ บ่อยเกินไป แน่นอนว่า หากคนฟังของคุณเป็นประเภทหนุ่มสาวอินดี้ คุณก็ไม่ควรที่จะพูดอย่างเป็นทางการหรือน่าเบื่อเกินไป แต่ยังไงคุณก็ไม่ควรพูดประมาณว่า “ไงครับพี่น้อง” หรือ “เกรียนสุดๆ เลยนั่น” หรือคำศัพท์อะไรประมาณนี้ที่แพร่หลายเป็นสมัยนิยมเฉพาะคนในบางกลุ่ม
    • แน่นอนว่า หากคุณแค่จะพูดคุยกับเพื่อนฝูง คำแสลงก็ถือว่าโอเค แต่หากคุณพูดให้คนฟังที่มีวุฒิภาวะหรือวัยวุฒิมากกว่านั้นฟัง ก็ควรหลีกเลี่ยงคำเหล่านี้ จะได้พูดออกมาดูดีและเหมาะสมหน่อย
  4. บางคนเหมาเอาว่า การหยุดพูดเป็นการแสดงความอ่อนหัด แต่มันไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป การหยุดในบางจังหวะเพื่อเรียบเรียงความคิดและเตรียมว่าจะพูดอะไรต่อไป ย่อมเป็นเรื่องที่เหมาะสม การพูดเร็วๆ รัวๆ หรือพูดเหมือนกำลังบ่นพึมพำอย่างเสียสติ จนอาจเผลอพูดเรื่องที่ไม่เหมาะสมออกไปต่างหาก ที่จะส่งผลเสียและทำให้คุณเสียใจได้มากกว่า ทั้งนี้ การพูดช้าลงหรือพูดอย่างรอบคอบ จะทำให้การหยุดพูดเป็นบางจังหวะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
    • หากคุณหยุดจังหวะการพูดด้วยการเอ่ยคำบางคำ (เช่น “อืม” หรือ “เอ่อ” ) ก็ไม่ต้องกังวลมากเกินไป มันเป็นปฏิกิริยาทั่วไปก่อนการเรียบเรียงคำพูดในหัวของคนเอง ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีโอบามา ยังพูดในลักษณะดังกล่าวอยู่บ่อยๆ ทั้งนี้ หากคุณรู้สึกว่าตนเองพูดแบบนั้นบ่อยเกินไป คุณก็ควรจะระวังตัวเองให้พูดแบบนั้นน้อยลงบ้าง แต่ไม่ต้องถึงกับห้ามใช้เลย.
  5. การใช้ท่าทางประกอบขณะพูด เป็นวิธีที่ดีในการพยายามสื่อเนื้อหาที่พูด แต่อย่าใช้มือหรือท่าทางประกอบมากเกินไป ไม่งั้นจะดูเหมือนคนประสาทเสีย ราวกับว่าแค่คำพูดมันยังไม่พอเลยต้องใช้ท่าทางอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ คุณควรวางมือไว้ข้างลำตัว และใช้มันในเฉพาะเวลาที่จำเป็นหรือเน้นใจความสำคัญเท่านั้น จะทำให้คนฟังเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการย้ำได้ดีมากกว่า
  6. ส่วนหนึ่งของการพูดอย่างเหมาะสม คือการตระหนักว่าอะไรที่ไม่จำเป็นต้องพูด คุณอาจจะคิดว่า คุณควรยกตัวอย่างเป็นสิบเพื่อให้คนฟังเข้าใจสิ่งที่คุณพูด แต่ในความเป็นจริง แค่หนึ่งหรือสองตัวอย่างก็มากพอแล้ว นอกจากนี้ สิ่งที่คุณพูดจะฟังดูมีน้ำหนักมากกว่าด้วย เพราะคุณเน้นการยกตัวอย่างที่ดีที่สุดเท่านั้น ไม่ใช่พ่นใส่คนฟังเป็นปืนกลจนพวกเขารู้สึกเอียน หากคุณกำลังกล่าวสุนทรพจน์ ทุกคำพูดย่อมมีความหมาย แม้กระทั่งการพูดคุยกับเพื่อนฝูงธรรมดา คุณก็ยังไม่ควรพ่นคำออกมามากเกินจำเป็น
    • หากคุณจะกล่าวสุนทรพจน์ ก็ควรเขียนมันออกมาและลองอ่านเสียงดังๆ ให้ตัวเองฟัง การทำเช่นนี้ จะช่วยให้คุณสังเกตได้ว่ามีการใช้ถ้อยคำใดซ้ำซ้อนเกินไปหรือไม่ หากมี ก็ควรตัดออกบ้าง
  7. คุณอาจคิดว่าการกล่าวย้ำประเด็นหลักแค่รอบเดียวก็เพียงพอ หรือคิดว่าคนฟังย่อมรู้ถึงประเด็นหลักที่คุณจะสื่อดีอยู่แล้ว หากคุณคิดเช่นนั้นล่ะก็ ผิดถนัดเลย หากคุณไม่ประเด็นหลักเพียงสองสามประเด็น เมื่อนั้น ไม่ว่าคุณจะพูดต่อหน้าคนหมู่มาก หรือเพียงต้องการสื่อให้เพื่อนในกลุ่มฟังระหว่างการโต้เถียง การเน้นย้ำประเด็นหลักของคุณอีกครั้ง โดยอาจจะเน้นหลังจากที่พูดจบทั้งหมดแล้วก็ได้ ย่อมช่วยเพิ่มน้ำหนักของใจความทั้งหมดและเสริมประเด็นหลักของคุณให้ชัดเจนได้มากขึ้นกว่าเดิมอีก
    • ลองเปรียบเทียบกับการเขียนเรียงความดูสิ คุณก็ต้องเน้นย้ำประเด็นหลักในช่วงท้ายแต่ละย่อหน้า รวมถึงในส่วนสรุปด้วยไม่ใช่เหรอ นั่นไงล่ะ การพูดก็ไม่ได้ต่างกันเลย
  8. ตัวอย่างที่สามารถเน้นใจความหรือจับใจคนฟังได้นั้น ถือเป็นของคู่กันในการพูดและสนทนาทุกประเภท ไม่ว่าคุณต้องการพูดรณรงค์เพื่อให้ผู้คนหันมาใช้พลังงานทดแทน หรือแค่พูดหว่านล้อมให้เพื่อนคุณยอมตัดใจเลิกกับแฟนซะก็ตาม คุณก็จำเป็นต้องนำเสนอข้อเท็จจริงเป็นตัวอย่างเพื่อให้พวกเขาเงี่ยหูฟัง โดยคุณอาจจะใช้ข้อมูลสถิติ เกร็ดประวัติ หรือเรื่องราวที่สามารถจับใจคนฟังได้อยู่หมัด มาเล่าประกอบ จำไว้ว่า คุณไม่จำเป็นต้องยกสถิตินับล้านมาหว่านล้อมคนฟัง มันอยู่ที่ว่า คุณสามารถใช้ตัวอย่างมาเชื่อมโยงกับประเด็นสำคัญ เพื่อให้ผู้คนจดจำได้มากแค่ไหนต่างหาก
    • คุณอาจจะยกตัวอย่างสักเรื่องสองเรื่อง เช่น หากเป็นการกล่าวสุนทรพจน์ คุณอาจยกมาเรื่องหนึ่งตอนเริ่ม และอีกเรื่องหนึ่งเอาไว้ปิดท้าย ก็ถือเป็นการสื่อประเด็นของคุณได้อย่างเหมาะสมพอดีแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ยกระดับตัวเองอีกนิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มด้วยการทักทายคนฟัง เพื่อช่วยทั้งซื้อเวลาให้ตัวเองและจะได้มีผ่อนคลายด้วย จากนั้น หยุดนิ่งสักพัก ส่งยิ้ม และนับถึงสามในใจ ก่อนจะเริ่มพูดต่อไป (คุณอาจนับว่า “หนึ่ง ศูนย์ๆๆ สอง ศูนย์ๆๆ สาม ศูนย์ๆๆ หยุด และเริ่มพูดได้) พยายามแปรเปลี่ยนความประหม่าให้เป็นความตื่นเต้นเชิงบวก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าวิธีไหนเหมาะกับคุณที่สุดด้วย บางคนอาจใช้วิธีดื่มชาสมุนไพรที่ช่วยให้ผ่อนคลาย (เช่น เป็ปเปอร์มินท์ หรือลาเวนเดอร์) บางคนใช้วิธีจิบน้ำดื่มทุกๆ 5 นาที ไม่ว่าวิธีไหนจะใช้ได้ผลก็ตาม จงใช้มันไปเถอะ
    • คุณจะหาวิธีการผ่อนคลายเวลาพูดคุยกับเพื่อนๆ ด้วยก็ได้ วิธีอะไรก็ตามที่ช่วยให้คุณสงบลงเวลาที่ประหม่า เช่น การบีบลูกบอลนิ่มๆ ที่เตรียมไว้ในกระเป๋า หรือการยิ้มให้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
  2. หมั่นฝึกพูดออกเสียงดังๆ โดยใช้อุปกรณ์ที่คุณจะใช้ในการพูดจริง ปรับแต่งตามความเหมาะสม ปรับปรุงการออกเสียงบางคำที่ไม่ถนัด ฝึกซ้อม หยุดพัก และหายใจลึกๆ คุณควรฝึกพูดโดยจับเวลาตามที่กำหนดและเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วย ยิ่งคุณฝึกฝนมากเท่าไร คุณก็จะยิ่งพูดได้ดีและเป็นธรรมชาติมากขึ้นเมื่อถึงเวลาจริง นอกจากนี้ ยิ่งคุณรู้เรื่องที่ตนเองจะพูดแม่นยำมากเท่าไร คุณก็จะยิ่งมั่นใจในเวลานั้นมากขึ้นด้วย
  3. หากคุณเกิดประหม่าหรือพูดผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่าไปดึงความสนใจคนฟังโดยไม่จำเป็นด้วยการพูดขอโทษ ขอแค่พูดต่อไปโดยไม่ต้องใส่ใจเดี๋ยวพวกเขาก็ลืมไปเอง การพูดว่า "โทษทีครับ ผมประหม่าไปหน่อย" หรือ "โอ๊ะ น่าขายหน้าจริงๆ" รังแต่จะทำให้คุณอับอายและอึดอัดเปล่าๆ คนเรามันผิดพลาดกันได้ คุณจึงไม่จำเป็นต้องย้ำความผิดของตนเอง นอกเสียจากว่าคุณจะมีชั้นเชิงในการหยอกล้อตัวเองให้คนฟังฮาได้
  4. หันเหความสนใจของคุณไปจากความกังวล และเน้นสนใจที่ใจความซึ่งคุณต้องการจะสื่อ รวมถึงที่กลุ่มคนฟังด้วย สิ่งสำคัญคือการทำให้คนฟังได้รับสาส์นที่คุณต้องการจะสื่อ ไม่ใช่พยายามพูดให้ดูเหมือนสตีฟ จ๊อบส์ หากคุณไม่หมกมุ่นกับตนเองมากเกินไป คุณจะประหม่าน้อยลง และเป็นเหมือนคนส่งข้อความมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความกดดันได้มาก ก่อนจะพูด พยายามเตือนตนเองเยอะๆ ว่า คุณต้องการจะสื่ออะไร และมันสำคัญกับคุณเพราะอะไร จะช่วยให้คุณเลิกกังวลว่าจะพูดเร็วเกินไปหรือมีเหงื่อออกเยอะจนคนอื่นเห็นหรือเปล่า
  5. โดยหลักการแล้ว คุณควรให้คำพูดเป็นเสมือนตัวแทนของคุณ ทั้งในแง่ความเป็นตัวคุณและข้อความที่คุณต้องการจะสื่อ การสั่งสมประสบการณ์จะทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นได้ อันเป็นกุญแจสำคัญของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าร่วมชมรมผู้ประกาศฯ สามารถมอบประสบการณ์ดังกล่าวให้คุณได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องใด แถมยังมีบรรยากาศที่เป็นมิตรให้คุณได้ผ่อนคลาย ขอเพียงคุณทำความคุ้นเคยกับการกล่าวสุนทรพจน์หรือพูดในงานรับเชิญต่างๆ บ่อยๆ ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการประสบความสำเร็จด้านการพูดแล้ว แม้ว่าคุณอาจจะมีเป้าหมายเพียงแค่อยากพูดต่อหน้าเพื่อนๆ หรือคนแปลกหน้าให้มั่นใจก็ตาม มันก็เหมือนทักษะอื่นๆ ในแง่ที่ว่า ยิ่งทำบ่อย ก็ยิ่งมั่นใจขึ้นนั่นเอง
  6. ตระหนักว่า คนอื่นก็อยากเห็นคุณประสบความสำเร็จ. คนฟังมักจะส่งแรงใจเชียร์ให้คุณพูดได้อย่างน่าสนใจ น่าติดตาม มีข้อมูลอัดแน่น และแฝงความบันเทิงไว้ด้วยอยู่แล้ว พวกเขาย่อมพร้อมในการส่งเสริมคุณ ดังนั้น พยายามนึกถึงสิ่งที่คุณต้องทำทั้งหมด ก่อนเริ่มการพูดและตระหนักให้ได้ว่า ไม่มีใครอยากเห็นคุณพูดผิดพลาดหรือตายน้ำตื้นหรอก ทุกคนอยากให้คุณได้ฉายแววออกมาอย่างดีที่สุด และคุณก็ควรคาดหวังสิ่งนั้นจากตนเองด้วย การพูดอาจจะเป็นเรื่องที่ดูน่ากลัว แต่ไม่ว่าคุณจะพูดต่อหน้าคนทั้งอัฒจรรย์หรือเพียงพูดในกลุ่มเพื่อนในห้อง แต่ทุกคนก็มักจะส่งแรงใจให้คุณอยู่แล้ว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การฝึกซ้อมสามารถทำให้คุณพูดได้ไร้ที่ติจริงๆ หากต้องกล่าสุนทรพจน์ใดๆ พยายามซ้อมล่วงหน้าเยอะๆ จะช่วยให้คุณพูดได้อย่างชัดเจนและมั่นใจเมื่อวันนั้นมาถึง
  • การหยุดระหว่างพูด อาจจะทำให้คุณดูเหมือนคนขี้ลืม หรือจำเรื่องที่จะพูดไม่ได้ แต่ในความเป็นจริง มันเป็นเทคนิคที่ช่วยดึงความสนใจจากคนฟังได้ หากคุณเห็นว่าคนฟังเริ่มไม่สนใจหรือคุณอยากจะเน้นย้ำบางประเด็น ก็ลองหยุดระหว่างพูดดูสิ
  • หากคุณเป็นคนขี้อายหรือไม่กล้าสบตาคนฟัง ก็อย่าฝืนไปมองตาพวกเขาเลย มันอาจจะทำให้คุณถึงกับเสียขวัญได้ คุณอาจจะมองข้ามหัวพวกเขาไปเลยก็ได้ แต่พยายามมองไปเรื่อยๆ อย่าหยุดสายตาไว้นิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้คนฟังนึกว่าคุณกำลังสนใจเรื่องอื่นขณะพูดและเลิกสนใจคุณ
  • หากคุณพูดให้ผู้ฟังที่มีแต่คนแปลกหน้า ลองจินตนาการถึงใบหน้าของบรรดาคนที่คุณรัก โดยเห็นภาพพวกเขากำลังให้กำลังใจคุณอยู่ก็ได้
  • หากคุณพูดกับกลุ่มผู้ชมและกลัวที่จะสบตาด้วย แค่ดูหัวกบาลของพวกเขาก็พอ! มันจะดูเหมือนคุณกำลังมองดูพวกเขาเลย แต่ต้องแน่ใจหน่อยนะว่าไม่มีใครไว้ผมทรงตลกจนอดใจหัวเราะไม่ไหว!
  • การแต่งกายให้เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ให้สวมชุดที่เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ อย่าไปกลัวถ้าจะแต่งให้เวอร์ขึ้นมาเล็กน้อย
โฆษณา

คำเตือน

  • จำไว้ว่า มีแค่เส้นบางๆ กั้นระหว่างความมั่นใจกับความยโสโอหัง ดังนั้น อย่าแสดงออกว่ามั่นใจอย่างโจ่งแจ้งเกินไป ไม่งั้นมันอาจจะดูเหมือนเป็นความยโสหรือมั่นใจเกินเหตุ ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการที่คนฟังรู้สึกว่า คุณคิดว่าความเห็นของตนเองดีกว่าของพวกเขา
  • นอกจากการสื่อความคิดเห็นของตนเองแล้ว อย่าลืมรับฟังความเห็นของผู้อื่นด้วย ไม่งั้นพวกเขาจะเห็นคุณเป็นคนหลงตัวเอง และคุณเองก็จะสูญเสียประโยชน์ที่จะได้รับจากการฟังความเห็นอันมีค่าของพวกเขาด้วย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,365 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา