ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณถูกขอให้เตรียมและกล่าวสุนทรพจน์ ถ้าคุณไม่เคยทำมาก่อน มันก็อาจจะดูน่ากลัวได้ แต่ไม่ต้องห่วง คุณจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการกล่าวสุนทรพจน์ในเวลาไม่นาน ถ้าคุณทำตามขั้นตอนเหล่านี้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

วางแผนสุนทรพจน์ของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกที่จะเฉพาะเจาะจงเพียงแค่ 1 หัวข้อ ดีกว่าที่จะพูดหลายๆ หัวข้อ
  2. คุณจะต้องพูดต่อหน้าเด็กหรือผู้ใหญ่? คุณจะพูดต่อหน้ากลุ่มคนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อของคุณ เลยหรือกลุ่มคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่คุณจะพูด? การเข้าใจกลุ่มผู้ฟัง จะช่วยให้คุณสามารถทำการพูดสุนทรพจน์ได้เหมาะสมต่อกลุ่มคน
  3. การพูดสุนทรพจน์ที่ดีคือการพูดที่ตอบสนองความต้องการของผู้ฟัง คุณพยายามจะทำให้ผู้ฟังหัวเราะรึเปล่า? คุณกำลังพยายามสร้างขวัญกำลังใจ หรือคุณกำลังใช้คำพูดที่เคร่งขรึมและตรงไปตรงมาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ฟัง? คำถามเหล่านี้จะเป็นการเตรียมอารมณ์และน้ำเสียงของสุนทรพจน์ของคุณ
  4. สุนทรพจน์ของคุณเหมาะสมหรับคนกลุ่มเล็กๆ หรือเหมาะสำหรับผู้ฟังกลุ่มใหญ่ๆ? คุณสามารถทำให้เป็นทางการน้อยลงหน่อยสำหรับผู้ฟังกลุ่มเล็ก แต่ทำสุนทรพจน์ของคุณให้เป็นทางการสำหรับผู้ฟังกลุ่มใหญ่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

เขียนสุนทรพจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนสรุปแค่ประโยคเดียวเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ. พยายามเขียนให้ดึงดูดคนฟังเพื่อที่เราจะได้ดึงความสนใจของพวกเขามา
    • ใช้คำคมหรือคำพูดโดนๆ. บางคนอาจเคยพูดคำพูดดีๆ หรือคำคมดีๆ ที่คุณนึกไม่ถึงเอาไว้แล้ว แต่อย่าลืมใส่เครดิตด้วยว่าคุณเอาคำพูดพวกนี้มาจากแหล่งไหน
    • ระมัดระวังถ้าจะเปิดสุนทรพจน์ของคุณด้วยการเล่นมุขตลก นอกเสียจากว่าคุณรู้ว่ากลุ่มผู้ฟังของคุณเป็นแนวไหน คุณอาจจะคิดว่ามุขตลกของคุณนั้นตลกดี แต่ผู้ฟังของคุณอาจจะคิดว่ามันไม่น่าตลกเลยหรือแม้กระทั่งอาจจะไม่พอใจ
  2. เลือกสิ่งที่จะมาสนับสนุนหัวข้อการพูดของคุณมาประมาณ 3 – 5 ข้อ. ควรแน่ใจว่าแต่ละข้อที่คุณเลือกมานั้นกระชับและตรงไปตรงมา
    • คุณสามารถเริ่มจากการหาข้อมูลตามแหล่งข่าวทั่วไป เช่น สารานุกรม หรือ วิพีเดีย แต่คุณจะต้องตรวจสอบสิ่งที่คุณได้มาอีกทีว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่ กับแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือมากขึ้นหลังจากที่คุณพอจะเข้าใจคร่าวๆ แล้วเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการ
    • เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของตัวเอง ถ้าคุณมีเรื่องเล่าในสมัยก่อนเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ของคุณหรือ เรื่องส่วนตัว สิ่งเหล่านี้จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีมาก แค่ทำให้เรื่องของคุณนั้นรวบรัดเพื่อที่เรื่องจะได้ไม่ยืดเยื้อและนั่นจะทำให้ผู้ฟังเริ่มไม่ตั้งใจฟังกัน
  3. ตัดสินใจว่าคุณจะเขียนคำสุนทรพจน์ของคุณออกมาเป็นแบบทางการเลย หรือจะเขียนแค่คร่าวๆ ลงในการ์ดของคุณ.
    • คุณสบายใจที่จะพูดถึงหัวข้อนี้แค่ไหน ถ้าคุณรู้เรื่องเกี่ยวกับหัวข้อนี้เป็นอย่างดี คุณก็สามารถพูดสดได้ง่ายๆ แค่ใช้การ์ดที่คุณจดเอาไว้ช่วยนิดหน่อย
      • ใช้การ์ด 1 ใบ สำหรับบทนำ ในการ์ดใบนี้ควรจะมีประโยคเปิดตัวของคุณรวมอยู่ด้วย
      • ใช้การ์ด 1 หรือ 2 ใบ สำหรับแต่ละหัวข้อที่คุณใช้มาเป็นตัวสนับสนุน จากนั้นให้ใช้การ์ด 1 ใบในการสรุปบทพูดของคุณ ซึ่งการสรุปจะโยงไปถึงประเด็นหลักสำคัญในการพูดของคุณ
      • เขียนประเด็นสั้นๆ หรือแม้แต่คำไม่กี่คำบนการ์ดของคุณ คำหรือประเด็นเหล่านี้ควรจะมีคำสำคัญที่จะคอยเตือนคุณว่าคุณต้องการพูดอะไร
    • ถ้าคุณรู้สึกไม่มั่นใจ หรือไม่รู้เกี่ยวกับหัวข้อเป็นอย่างดี ให้เขียนคำหรือประโยคออกมาอย่างที่คุณต้องการจะพูดเลย
  4. ตัดสินใจว่าคุณต้องการจะใช้อุปกรณ์ช่วยหรือเปล่า. คุณอาจจะใช้โปรแกรมเพรซี หรือ พาวเวอพอยต์สำหรับการนำเสนอไปพร้อมๆ กับการพูดของคุณก็ได้ หรือคุณอาจจะเลือกใช้แผนภูมิหรือกราฟก็ได้
    • ใช้สื่อวิดีโอให้น้อยที่สุด คุณต้องการให้ผู้ฟังสนใจการพูดของคุณ ไม่ใช่มองข้ามคุณไป
    • ควรแน่ใจว่าผู้ฟังจะสามารถมองเห็นและอ่านข้อความในพรีเซนเทชั่นของคุณได้อย่างชัดเจน ตัวหนังสือใหญ่เกินไปก็ยังดีกว่าใหญ่ไม่พอ
    • ตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในห้องที่คุณจะต้องใช้พูดสุนทรพจน์ ถ้าคุณต้องการอินเตอร์เน็ตหรือคุณต้องการจอฉายภาพ คุณก็ควรทำให้แน่ใจว่าในห้องนั้นมีอุปกรณ์พร้อมให้คุณ
  5. เตรียมคู่มือเอาไว้แจกเผื่อว่าหัวข้อของคุณมีรายละเอียดเยอะและเป็นข้อมูลทางเทคนิค. ในการทำแบบนี้คุณจะสามารถครอบคลุมถึงสิ่งที่คุณจะพูดได้มากขึ้น เพราะในระหว่างที่คุณพูด ผู้ฟังก็สามารถดูรายละเอียดจากในคู่มือที่คุณแจกและเก็บไปไว้ดูทีหลังได้อีกด้วย
  6. เขียนย่อหน้าคร่าวๆ เกี่ยวกับชีวประวัติของคุณ. ถ้ามีใครจะต้องแนะนำคุณก่อนที่คุณจะเริ่มกล่าวสุนทรพจน์ เตรียมข้อมูลที่ถูกต้องเอาไว้ให้เขาก็จะช่วยได้มาก
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ฝึกพูดสุนทรพจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณควรจะรู้ว่าสุนทรพจน์ของคุณจะใช้เวลานานเท่าไหร่ ถ้าคุณไม่สามารถจบการพูดสุนทรพจน์ของคุณได้ในเวลาที่กำหนดไว้ คุณอาจจะต้องทำให้เนื้อหน้าของคุณสั้นลงหรืออาจจะต้องเพิ่มเนื้อหาถ้ายังไม่พอ อย่าลืมที่จะเผื่อเวลาสำหรับช่วง ถามและตอบ ถ้าเห็นสมควร
  2. ฝึกมองไปที่ผู้ฟังเพื่อที่คุณจะได้เคยชินกับการที่จะไม่ต้องมองสิ่งที่จดเอาไว้บ่อยๆ
  3. หยุดซักพักระหว่างหัวข้อของสุนทรพจน์คุณเพื่อให้ผู้ฟังได้ทำความเข้าใจกับข้อมูลก่อน
  4. ทำสัญลักษณ์เอาไว้ในบทความของคุณด้วยปากกาหรือดินสอ. ถ้าคำที่คุณใช้นั้นดูไม่เป็นธรรมชาติตามแบบที่คุณต้องการ หรือประโยคนั้นดูแปลกเมื่อคุณพูดออกมา ให้คุณทำสัญลักษณ์เอาไว้และแก้ไขเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
  5. วิเคราะห์รูปร่างหน้าตาของคุณ, ท่าทางขณะพูดและการพูดจาของคุณ
    • ควรแน่ใจว่าท่าทางของคุณนั้นดูเป็นธรรมชาติ ไม่ดูมากเกินไป. อีกหนึ่งทางเลือกคือ อย่าเกร็งแขนคุณไว้ข้างตัวตลอดเวลาหรืออย่าวางมือของคุณไว้บนแท่นตลอดเวลา
    • ถ้าคุณฝึกสุนทรพจน์ให้เพื่อนฟัง พยายามอย่าปิดกั้นตัวเองจากคำวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์จากเพื่อนของคุณ
  6. ถ้าคุณฝึกซ้อมการพูดสุนทรพจน์หลายๆ ครั้งแล้วคุณจะรู้สึกมีความมั่นใจมากขึ้นเมื่ออยู่บนเวที
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ในวันที่คุณต้องพูดสุนทรพจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณต้องการดูมีอำนาจ ให้คุณเลือกใส่ชุดทำงานที่เป็นทางการ เลือกสีที่จะทำให้คุณดูดีขึ้น และหลีกเลี่ยงเครื่องประดับที่ดูเทอะทะ
  2. มั่นใจว่าคุณมีอุปกรณ์ทุกอย่างตามที่ต้องการ. นำสื่อต่างๆที่คุณต้องการแสดง, แท็บเล็ต หรือ แล็ปท็อป, และสำเนาคำพูดสุนทรพจน์ของคุณไปด้วย
  3. ถ้าคุณอยู่ในห้องเล็กๆ ลองให้ใครซักคนยืนอยู่ด้านหลังของห้องและคอยดูว่าเขาได้ยินเสียงของคุณหรือไม่ ถ้าอยู่ในที่ๆ ใหญ่ ให้ฝึกใช้ไมโครโฟนเพราะเสียงจะได้ไม่เบาเกินไปและไม่แปล่งเกินไป
  4. ควรแน่ใจว่าคอมพิวเตอร์, จอโปรเจคเตอร์, และขาตั้งรูปภาพใช้งานได้และอยู่ในที่ที่คุณเตรียมไว้เพื่อที่ผู้ฟังจะได้มองเห็น
  5. คุณควรจะวางคู่มือเอาไว้บนโต๊ะเพื่อที่ผู้ฟังหยิบไปหรือไม่ก็ส่งให้ผู้ฟังเองเลย
  6. ถ้าการพูดของคุณจะกินเวลานาน คุณจะต้องการน้ำเพื่อที่จะทำให้คอของคุณชุ่มชื้น
  7. ตรวจดูชุดของคุณทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และดูความเรียบร้อยของผม รวมไปถึงการแต่งหน้าของคุณ ว่าไม่มีเลอะ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ระหว่างการพูดสุนทรพจน์ของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
    • สบตากับผู้ฟังของคุณ ถ้าการสบตานั้นทำให้คุณเครียดเกินไป คุณสามารถมองให้สูงกว่าระดับศีรษะของผู้ฟังก็ได้ เช่น มองไปที่นาฬิกา หรือรูปภาพ
    • มองไปรอบๆ ผู้ฟังเพื่อที่พวกเขาจะได้รู้สึกว่าพวกเขามีส่วนร่วมด้วยในการพรีเซนนี้
  1. สารอดรีนาลีนธรรมชาติที่หลั่งออกมาเมื่อคุณอยู่ต่อหน้าผู้ฟัง อาจจะทำให้คุณรู้สึกอยากพูดให้เร็วขึ้น และใส่รอยยิ้มที่มั่นใจลงบนใบหน้าของคุณ
  2. ถ้าเกิดว่าคุณลืมสิ่งที่จะพูดต่อไป ให้คุณพูดแค่ขอบคุณ และเดินลงจากเวทีได้เลย ผู้ฟังของคุณจะเข้าใจมากขึ้นและคุณจะไม่ทำให้พวกเขาเสียความมั่นใจว่าคุณมีความรู้เพียงพอในเรื่องนี้หรือไม่
  3. ให้โอกาสผู้ฟังของคุณได้มีส่วนร่วมกับคุณก่อนที่คุณจะออกจากแท่นที่พูดหลังพูดจบ (ถามคำถามพวกเขา และให้พวกเขาได้ตั้งคำถามคุณซึ่งจะทำให้คุณได้พูดถึงในสิ่งที่คุณอาจจะลืมนึกถึงไป). สื่อกับผู้ฟังว่ารับรู้ถึงคำถามแล้วโดยการยิ้ม, พยักหน้าหรือโค้งเบาๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เสียงดังฟังชัด หลีกเลี่ยงความรู้สึกด้อย และนั่นจะเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ตัวคุณ
  • จงมั่นใจระหว่างพูดสุนทรพจน์ โดยการคิดว่าไม่มีใครทำได้ดีไปกว่าคุณ
  • มันจะดีกว่าถ้าคุณจะเลือกหัวข้อที่คุณถนัด เพราะมันจะทำให้คุณเครียดและวิตกกังวลน้อยลง
  • พูดด้วยความเชื่อมั่นและเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณพูด
  • จำเอาไว้ว่า การพูดสุนทรพจน์นานเกินไปอาจจะทำให้ผู้ฟังของคุณเบื่อซึ่งนั่นคือหายนะที่ร้ายแรง ควรพยายามทำให้สุนทรพจน์ของคุณรวบรัดและอยู่ในภายในเวลาที่กำหนด
  • หายใจเข้าลึกๆ หรือหยุดหลังจากจบประโยคเป็นระยะๆ การทำแบบนี้จะทำให้ผู้ฟังสนใจ
  • ถ้าคุณตัดสินใจว่าคุณจะอ่านเนื้อหาจากที่คุณพิมพ์มา ให้คุณพิมพ์มาตัวใหญ่ๆ และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ให้คุณใส่กระดาษไว้ในแฟ้มที่สามารถเปิดได้เพื่อที่จะได้สะดวกต่อการเปลี่ยนหน้า และไม่ทำให้กระดาษหาย หรือคุณอาจจะวางกระดาษ 2 แผ่นไว้ข้างๆกันโดยกระดาษแผ่นที่ต้องพูดก่อนอยู่ด้านซ้าย และแผ่นที่ต้องพูดต่อไปอยู่ทางด้านขวา ควรแน่ใจว่าคุณจะไม่ลืมที่จะเปลี่ยนหน้าเพื่อให้หน้าเดิมที่พูดไปแล้วไปดูด้านล่าง การทำแบบนี้จะไม่ทำให้คุณวางผิดที่ และก็อย่าลืมที่จะคอยมองผู้ฟังของคุณด้วยเพื่อที่จะทำให้พวกเขามีส่วนร่วมด้วยตลอดเวลา
  • คอยเตือนตัวเองให้คอยควบคุมเสียงตัวเองอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น คุณโฟกัสไปที่ผู้ฟังที่อยู่ด้านหลังและให้พูดโทนเสียงเหมือนว่าคุณกำลังพูดกับพวกเขาอยู่
  • อย่าไปกลัวว่าคุณอาจจะพูดผิด จงมั่นใจ และถ้าหากคุณรู้สึกว่าสุนทรพจน์ของคุณนั้นดูแตกต่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ภาษาหรืออะไรก็แล้วแต่ อย่าไปรู้สึกว่าด้อยกว่า แต่ให้รู้สึกถึงความใจเด็ดของตัวเอง
  • ไม่ต้องรู้สึกตึงเครียด เพราะว่าผู้ฟังจะคอยฟังคุณด้วยความสุภาพเพราะฉะนั้นคุณสามารถตั้งใจแน่วแน่อยู่กับการพูดของคุณได้ตลอดเวลา☺.
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าลืมที่จะเตรียมช่วงเวลาหลังจากคุณพูดเสร็จสำหรับการถามคำถามและตอบคำถาม ลองเตรียมคำถามบางคำถามที่ผู้ฟังอาจจะถาม และฝึกซ้อมตอบคำถามนั้น
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • บทพูดที่เขียนเอาไว้แล้ว หรือการ์ดที่เขียนเอาไว้
  • เพื่อน, ครู หรือคนในครอบครัวสำหรับการฝึกซ้อม
  • อุปกรณ์อัดวิดีโอ
  • คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตสำหรับการนำเสนองาน
  • แผนภูมิและขาตั้งสำหรับการนำเสนอ
  • ไมโครโฟนสำหรับใช้งานในห้องขนาดใหญ่
  • คู่มือ
  • น้ำซักแก้ว
  • กระจก
  • ชุดที่เหมาะสม

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 86,889 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา