ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจจะรู้ว่าคุณต้องทาครีมกันแดดขณะที่นอนเล่นที่ชายหาด อย่างไรก็ตาม แพทย์ผิวหนังได้ออกมาแนะนำว่าคุณควรที่จะใช้ครีมกันแดดทุกครั้งเมื่อออกไปข้างนอกเกิน 20 นาทีและแม้ว่าจะในถดูหนาวก็ตาม [1] คุณควรที่จะทาครีมกันแดดแม้ว่าแดดจะร่มหรือวันที่มีเมฆมาก แสงรังสี UV (ultraviolet) จากดวงอาทิตย์จะเริ่มทำร้ายผิวหนังของคุณแค่เวลาใน 15 นาที! [2] และอาจจะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเลือกครีมกันแดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. “SPF” ย่อมากจาก “sun protective factor (ค่าป้องกันแสงแดด)” ของครีมกันแดดซึ่งจะบอกว่ามันจะสามารถป้องกันรังสี UVB ได้นานเท่าไหร่ ค่า SPF จะบ่งบอกถึงจำนวนเวลาก่อนที่แดดจะเผาผิวหนังของคุณเมื่อคุณทาครีมกันแดดเทียบกับการที่ไม่ทาครีมกันแดดเลย [3]
    • ตัวอย่างเช่น ค่า SPF 30 จะมีความหมายว่าคุณสามารถอยู่กลางแดดได้นานกว่าการไม่ทาครีมกันแดดถึง 30 เท่าโดยที่แดดไม่เผา [4] ดังนั้น ถ้าโดยปกติแล้วผิวหนังของคุณจะโดนแดดเผาเมื่อคุณอยู่กลางแดดเป็นเวลา 5 นาทีขึ้นไป จากทฤษฎีดังกล่าว ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 จะทำให้คุณอยู่กลางแดดได้เป็นเวลา 150 นาที (30 x 5) ก่อนที่คุณจะโดนแดดเผา อย่างไรก็ตาม สภาพผิวหนังที่แตกต่างกันออกไป กิจกรรมที่ทำขณะอยู่กลางแดด และความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของครีมกันแดดที่ใช้ ซึ่งคุณอาจจะต้องใช้ครีมกันแดดมากกว่าคนอื่นๆ ก็ได้
    • ค่า SPF นั้นอาจจะไม่สามารถเชื่อใจได้ เพราะว่าค่า SPF สูงไม่ได้แปลว่าประสิทธิภาพการป้องกันจะสูงขึ้น ดังนั้น ค่า SPF 60 ไม่ได้แปลว่ามันจะกันแดดดีกว่าค่า SPF 30 เป็นสองเท่า โดยค่า SPF 15 สามารถกันรังสี UVB ได้ 94% ค่า SPF 30 สามารถกันได้ 97% และค่า SPF 45 กันได้ 98% ไม่มีครีมกันแดดใดที่สามารถกันรังสี UVB ได้ 100% [5]
    • สถาบันโรคผิวหนังของอเมริกา (American Academy of Dermatology) ได้แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 หรือสูงกว่า [6] ความแตกต่างของค่า SPF ที่สูงมากๆ ในครีมกันแดดนั้นไช่เรื่องที่สำคัญและไม่คุ้มค่าที่จะเสียเงินเพิ่ม
  2. เลือกครีมกันแดดที่เขียนว่า “broad-spectrum” หรือที่กันรังสี UVA. ค่า SPF บอกแค่ความสามารถในการกันรังสี UVB เท่านั้น ซึ่งเป็นรังสีที่ทำให้เกิดแดดเผา อย่างไรก็ตาม ดวงอาทิตย์นั้นปล่อยรังสี UVA ออกมาด้วย รังสี UVA สามารถทำให้ผิวเสียได้ เช่น ทำให้เกิดริ้วรอยแห่งวัย ริ้วรอยอื่นๆ และจุดด่างดำ [7] รังสีทั้งสองแบบสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนังได้ [8] ครีมกันแดดที่เขียนระบุว่า "broad-spectrum" จะป้องกันทั้งรังสี UVA และ UVB [9]
    • ครีมกันแดดบางยี่ห้ออาจจะไม่ได้เขียนว่า “broad-spectrum” ที่ผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม มันควรที่เขียนจะระบุว่าสามารถกันได้ทั้ง UVB และ UVA
    • ครีมกันแดดส่วนใหญ่ที่เป็นแบบ broad-spectrum จะมีส่วนประกอบทั้งสารที่ “ไม่ได้มาจากธรรมชาติ” เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ (titanium dioxide) หรือซิงค์ออกไซด์ (zinc oxide) และส่วนประกอบที่เป็นสาร “ที่มาจากธรรมชาติ” เช่น เอโวเบนโซน (avobenzone) ซิโนเซท (Cinoxate) ออกซิเบนโซน (oxybenzone) หรือออกทิวเมททอกซีซินนาเมท (octyl methoxycinnamate) [10]
  3. เพราะว่าร่างกายของคุณจะระบายน้ำออกมาทางเหงื่อ ดังนั้นคุณควรที่จะมองหาครีมกันแดดที่กันน้ำ นี่จะเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากถ้าคุณจะต้องทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงอย่างการวิ่งหรือปีนเขา หรือทำกิจกรรมใต้น้ำ [11]
    • ไม่มีครีมกันแดดที่เขียนว่า “waterproof (กันน้ำ)” หรือ “sweat proof (กันเหงื่อ)” เพราะในสหรัฐอเมริกา ครีมกันแดดไม่ได้รับอนุญาตให้เขียนว่า “waterproof” ได้ [12]
    • แม้ว่าจะใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำ ให้ทาซ้ำทุกๆ 40-80 นาทีหรือที่ระบุไว้ในฉลาก
  4. บางคนชอบใช้กันแดดแบบสเปรย์ ขณะที่บางคนชอบใช้แบบครีมหรือแบบเจลหนาๆ ไม่ว่าคุณจะเลือกครีมกันแดดแบบไหน ขอให้แน่ใจว่าได้ทามันอย่างหนาๆ จนเป็นการเคลือบผิวหนังของคุณ วิธีการใช้นั้นก็สำคัญพอๆ กันกับค่า SPF และปัจจัยอื่นๆ ถ้าคุณไม่ทาครีมกันแดดอย่างถูกต้อง ครีมกันแดดก็อาจจะไม่ได้ผล [13]
    • กันแดดแบบสเปรย์นั้นเหมาะที่สุดสำหรับการใช้บริเวณที่มีเส้นขน ขณะที่แบบครีมนั้นดีที่สุดสำหรับผิวแห้ง [14] กันแดดที่เป็นเจลหรือแอลกอฮอล์นั้นเหมาะกับผิวมัน [15]
    • คุณสามารถซื้อกันแดดแบบแท่งด้วยก็ได้ ซึ่งสามารถใช้ได้ดีเมื่อต้องการทากันแดดใกล้ดวงตา
    • โดยปกติแล้ว ครีมกันแดดกันน้ำจะเหนียว ดังนั้นมันอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในการทาก่อนแต่งหน้า [16] ใช้ครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าโดยเฉพาะ ซึ่งมันมักจะมีค่า SPF ในระดับที่สูงกว่า (SPF 15 หรือสูงกว่า) และโอกาสที่รูขุมขนอุดตันหรือสิวประทุนั้นจะน้อยลง
  5. กลับไปที่บ้านและลองใช้ปริมาณน้อยๆ ที่รอบข้อมือ. ถ้าคุณพบว่ามีอาการแพ้หรือมีปัญหาผิวหนัง ให้ซื้อครีมกันแดดแบบอื่น ทำขั้นตอนนี้ซ้ำจนกว่าจะเจอครีมกันแดดที่ใช่ หรือพูดคุยกับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่แพทย์แนะนำถ้าผิวของคุณอ่อนแอหรือแพ้ง่าย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การใช้ครีมกันแดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ระบุให้สารในครีมกันแดดนั้นสามารถออกฤทธิ์กันแดดได้อย่างน้อย 3 ปีนับจากวันที่ผลิต อย่างไรก็ตาม คุณควรที่จะรู้วันหมดอายุของมัน ถ้าเกิดว่ามันหมดอายุไปแล้ว ให้ทิ้งไปและซื้ออันใหม่ [18]
    • ถ้าครีมกันแดดของคุณไม่มีวันหมดอายุระบุไว้ ให้ใช้ปากกาที่ลบไม่ได้เขียนวันที่ซื้อมาที่ผลิตภัณฑ์ คุณจะได้รู้ว่าคุณใช้มันมานานเท่าไหร่แล้ว
    • ถ้าครีมกันแดดของคุณมีสิ่งที่เปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนสี แยกชั้น หรือความเข้มข้นไม่เหมือนแต่ก่อน มันเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าครีมกันแดดนั้นหมดอายุแล้ว
  2. สารเคมีในครีมกันแดดจะต้องใช้เวลาในการยึดเกาะกับผิวหนังของคุณเพื่อการปกป้องที่ดีที่สุด ทาครีมกันแดด ก่อน คุณออกไปข้างนอก [19]
  3. ข้อผิดพลาดข้อใหญ่ในการใช้ครีมกันแดดคือคุณไม่ใช้ให้เยอะพอ ผู้ใหญ่ควรใช้ครีมกันแดดประมาณ 1 ออนซ์ (28.4 กรัม) ประมาณ 1 ฝ่ามือหรือประมาณเต็มแก้วเล็กๆ 1 แก้ว เพื่อจะได้ทาครีมกันแดดได้ทั่ว [21] [22]
    • ในการทากันแดดแบบครีมหรือเจล ให้บีบมันลงฝ่ามือ และทาให้ทั่วผิวหนังที่จะโดนแสงแดด ถูครีมกันแดดให้ซึมไปในผิวหนังจนคุณไม่เห็นครีมสีขาวแล้ว
    • ในการใช้กันแดดแบบสเปรย์ ให้ถือขวดตรงๆ และสเปรย์ไปมาทั่วผิวหนัง ให้ฉีดสเปรย์เยอะๆ และทั่วๆ กัน ขอให้แน่ใจว่าลมไม่ได้พัดสเปรย์กันแดดไปก่อนที่สเปรย์จะเกาะสัมผัสผิวหนังของคุณ อย่าสูดดมสเปรย์กันแดด และระมัดระวังเมื่อใช้สเปรย์กันแดดที่ใบหน้าโดยเฉพาะกับเด็ก
  4. อย่าลืมทาบริเวณหู คอ และด้านบนฝ่ามือฝ่าเท้า และใช้ครีมกันแดดบริเวณแสกผมด้วย ควรทาครีมกันแดดทั่วบริเวณผิวที่จะโดนแดด [23]
    • อาจจะยากที่จะทาครีมกันแดดบริเวณที่เอื้อมถึงยากเช่น บริเวณหลัง ลองขอให้ใครบางคนช่วยทาให้ [24]
    • เสื้อผ้าบางๆ นั้นไม่ช่วยกันแดดมากนัก เช่น เสื้อยืดสีขาวมีค่า SPF แค่ 7 เท่านั้น สวมเสื้อผ้าที่ออกแบบมาเพื่อกันรังสี UV โดยเฉพาะหรือทากันแดดบริเวณที่สวมเสื้อผ้าด้วย [25]
  5. ใบหน้าของคุณต้องการครีมกันแดดมากกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกายเพราะมะเร็งผิวหนังจะเกิดที่ใบหน้าโดยเฉพาะที่จมูกหรือรอบๆ เครื่องสำอางหรือโลชั่นที่ใช้บนใบหน้าอาจจะผสมสารกันแดดมาด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณจะอยู่ข้างนอกเป็นเวลามากกว่า 20 นาที (เวลาที่อยู่ด้านนอกทั้งหมด) คุณอาจจะต้องทากันแดดที่ใบหน้าด้วย
    • กันแดดสำหรับใบหน้ามาในรูปแบบของครีมหรือโลชั่น ถ้าคุณใช้สเปรย์กันแดด ให้ฉีดสเปรย์ไปที่ฝ่ามือก่อน จากนั้นให้ทาที่ใบหน้า ให้หลีกเลี่ยงการฉีดสเปรย์กันแดดบนใบหน้าเท่าที่จะเป็นไปได้
    • สถาบันมะเร็งผิวหนังได้มีรายชื่อของกันแดดที่แนะนำสำหรับใบหน้า [26]
    • ใช้ลิปบาล์มหรือลิปที่มีสารกันแดดโดยมีค่า SPF อย่างน้อย 15
    • ถ้าคุณผมล้านหรือผมบาง อย่าลืมใช้กันแดดที่ศีรษะของคุณด้วย คุณควรสวมหมวกเพื่อป้องกันการทำร้ายจากแสงอาทิตย์ [27]
  6. งานวิจัยได้เผยว่าการทาครีมกันแดดซ้ำประมาณ 15-30 นาทีหลังจากที่ออกแดดแล้วจะเป็นการปกป้องมากกว่าการรออีก 2 ชั่วโมงเพื่อทาใหม่ [28]
    • เมื่อคุณทาซ้ำครั้งแรกแล้ว ให้ทากันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงหรือที่ระบุในฉลาก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เผชิญกับแสงแดดอย่างปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าคุณจะทาครีมกันแดดแล้ว คุณก็ยังต้องเผชิญกับแสงแดดรุนแรงอยู่ ให้อยู่ในที่ร่มหรือใช้ร่มกันแดดเพื่อป้องกันการทำร้ายจากแสงแดด [29]
    • หลีกเลี่ยงช่วงเวลา “ดวงอาทิตย์ขึ้นสูงสุด” ดวงอาทิตย์จะอยู่สูงที่สุดประมาณ 10 โมง และบ่าย 2 โมง ถ้าคุณสามารถทำได้ ให้หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดในช่วงเวลาระหว่างนี้ ให้หาที่ร่มถ้าคุณอยู่ข้างนอก [30]
  2. ไม่ใช่เสื้อผ้าทุกชิ้นจะเหมือนกัน เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวจะช่วงปกป้องผิวหนังของคุณจากแสงอาทิตย์ สวมหมวกเพื่อกันแดดที่ใบหน้าและเป็นการป้องกันหนังศีรษะจากแสงแดด [31]
    • เลือกผ้าที่ทอแน่นๆ และมีสีเข้มซึ่งจะป้องกันได้มากกว่า สำหรับผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง มีเสื้อผ้าแบบพิเศษที่ออกแบบให้กันแดดโดยเฉพาะ มีจำหน่ายที่ร้านค้าหรือทางออนไลน์
    • อย่าลืมแว่นตากันแดด! รังสี UV สามารถทำให้เป็นต้อได้ ดังนั้นซื้อแว่นที่กันรังสี UVB และ UVA
  3. การเผชิญกับแสงแดดโดยเฉพาะในช่วง “ดวงอาทิตย์ขึ้นสูงสุด”หรือช่วง 10 โมงถึง 2 บ่ายสองเป็นเรื่องที่อันตรายมากสำหรับเด็กๆ หาครีมกันแดดที่ผลิตให้เด็กหรือทารกโดยเฉพาะ ลองปรึกษากับกุมารแพทย์เพื่อดูว่าอะไรที่เด็กๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยบ้าง [32]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ซื้อครีมกันแดดแบบพิเศษสำหรับผิวหน้า ถ้าคุณมีผิวมันหรือมีแนวโน้มว่ารูขุมขนจะอุดตัน ให้มองหาครีมกันแดดสูตร “ปราศจากน้ำมัน (oil-free)” หรือ “ไม่อุดตันรูขุมขน (noncomedogenic)” มีครีมกันแดดที่มีสูตรพิเศษสำหรับผิวแพ้ง่าย
  • แม้ว่าคุณจะทากันแดดแล้ว ก็ไม่ควรเผชิญกับแสงแดด
  • ทากันแดดซ้ำหลังจากที่เหงื่อออก โดยทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงหรือที่ระบุที่ฉลาก ครีมกันแดดไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ “ทาครั้งเดียวจบ”
โฆษณา

คำเตือน

  • ไม่มีการทำผิวสีแทนใดๆ ที่ “ปลอดภัย” แสง UV จากเตียงทำผิวแทนหรือจากแสงแดดธรรมชาติสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ผิวสีแทนเหมือนทองนั้นอาจจะดูดี แต่มันก็ไม่คุ้มที่จะเอาชีวิตไปเสี่ยง


โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/best-sunscreen/art-20045110?pg=2
  2. https://www.aad.org/media-resources/stats-and-facts/prevention-and-care/sunscreen-faqs
  3. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/best-sunscreen/art-20045110?pg=2
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/best-sunscreen/art-20045110?pg=2
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/best-sunscreen/art-20045110?pg=2
  6. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/sunscreen-agent-topical-application-route/proper-use/drg-20070255
  7. http://www.skincancer.org/prevention/sun-protection/sunscreen/sunscreens-explained
  8. http://acaai.org/resources/connect/ask-allergist/Skin-Allergies
  9. https://www.aad.org/media-resources/stats-and-facts/prevention-and-care/sunscreen-faqs
  10. http://www.skincancer.org/prevention/sun-protection/sunscreen/sunscreens-explained
  11. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/sunscreen-agent-topical-application-route/proper-use/drg-20070255
  12. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/health-and-beauty/general-skin-care/sun-protection/how-to-apply-sunscreen
  13. http://www.skincancer.org/prevention/sun-protection/sunscreen/sunscreens-explained
  14. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/health-and-beauty/general-skin-care/sun-protection/how-to-apply-sunscreen
  15. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/health-and-beauty/general-skin-care/sun-protection/how-to-apply-sunscreen
  16. http://www.cnn.com/2012/07/10/living/guide-to-sun-safety/
  17. http://www.skincancer.org/products?SubCategoryId=3
  18. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/best-sunscreen/art-20045110?pg=2
  19. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11712033
  20. http://www.cdc.gov/cancer/skin/basic_info/sun-safety.htm
  21. https://www.aad.org/media-resources/stats-and-facts/prevention-and-care/sunscreen-faqs
  22. http://www.cdc.gov/cancer/skin/basic_info/sun-safety.htm
  23. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/expert-answers/baby-sunscreen/faq-20058159
  24. http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm309136.htm
  25. https://www.healthychildren.org/English/safety-prevention/at-play/Pages/Sun-Safety.aspx
  26. http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm309136.htm
  27. https://www.healthychildren.org/English/safety-prevention/at-play/Pages/Sun-Safety.aspx

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,347 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา