ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาที่มีใครสักคนขนานนามว่าคุณเป็น "ไอ้ขี้แย" พวกเขามักจะหมายความว่าคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง หรือคุณโศกเศร้าโดยไม่ได้มีเหตุผลเข้าท่ามารองรับเอาเสียเลย [1] นี่ไม่ใช่คำที่เหมาะจะใช้เรียกใคร แต่อย่ากังวลไป คุณสามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกให้ได้ผลดีกว่าเดิม เวลาตื้นตันใจ มันง่ายที่จะระเบิดออกและอยากร้องไห้ออกมา อย่างไรก็ดี คุณสามารถเรียนรู้บางเทคนิคที่จะช่วยกลั่นกรองความรู้สึก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และถ้าคุณเป็นพวกมีอารมณ์ฟูมฟายตลอดเวลา คุณอาจต้องมองหาสาเหตุที่อาจอยู่ลึกไปกว่านั้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รับมือกับอารมณ์ในระยะสั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แทนที่จะเน้นย้ำคิดอยู่แต่ในสิ่งที่กวนใจคุณ หาเวลาสักนิดมาเพ่งอยู่เฉพาะแต่ลมหายใจ หลับตาและนับถึงสี่ในขณะหายใจเข้า นับถึงสี่อีกครั้งในตอนหายใจออก ทุ่มเทสมาธิอยู่แต่กับลมหายใจแทนที่จะเป็นตัวปัญหา
    • วางมือไว้ที่ท้อง คุณควรรู้สึกว่าท้องขยายขึ้นตอนหายใจเข้า นี่เรียกว่าการหายใจด้วยกะบังลม และมันจะช่วยคุณสงบสติอารมณ์ลงได้
  2. ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว ใช้เวลาสักนิดบอกสิ่งที่รบกวนใจคุณอยู่ออกไปสามารถช่วยให้สถานการณ์คลายความสับสนลงได้ มันยังช่วยคุณระบุได้ว่าอะไรที่เป็นตัวกวนใจคุณจริงๆ [2]
    • คุยกับคนที่คุณเชื่อใจ. มันเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าคุณมีช่วงเวลาที่ยากลำบากหากคุณกังวลว่าเขาคนนั้นจะตัดสินคุณหรือเอาคุณมาล้อ ให้หาเพื่อน คนในครอบครัว ครู หรือผู้ให้คำปรึกษาที่คุณเชื่อใจได้มาเป็นผู้รับฟังความคิดคุณ
  3. บางที สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้น้ำตาเหือดหายไปก็แค่การถอยออกมาจากปัญหา ถ้าทำได้ ให้ลองเดินออกไปข้างนอกสักไม่กี่นาทีเพื่อออกมาจากปัญหาจริงๆ อีกอย่างการอยู่ข้างนอกยังช่วยลดความตึงเครียดของคุณลงมาด้วย [3]
    • บอกคนที่คุณคุยด้วยว่าคุณกำลังทำอะไรถ้าคุณอยากบอก คุณอาจพูดแบบ "ฉันขอพักก่อนตอนนี้ เดี๋ยวฉันจะกลับมาในอีกห้านาที"
  4. ถ้าคุณไม่สามารถถอยห่างออกมาทางกายได้แล้ว ลองปรับการเพ่งสติในใจใหม่ คิดถึงอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุข คุณอาจคิดถึงใครสักคนและช่วงเวลาความทรงจำอันแสนสุขที่มีร่วมกับเขา อีกทางคือลองนึกถึงสถานที่พักร้อนที่โปรด ให้เพ่งความคิดอยู่แต่ตรงนั้นเพียงอย่างเดียวสักหลายนาที พยายามรวบรวมรายละเอียดของความทรงจำวาดออกมาเท่าที่จะทำได้ [4]
  5. ระบุว่าอารมณ์ไหนที่กระตุ้นให้คุณหลั่งน้ำตา. ใช้เวลาสักพักคิดว่าจริงๆ แล้วคุณรู้สึกอะไร คุณโกรธหรือเปล่า หรือว่าเศร้า จริงๆ รู้สึกมีความสุขหรือไม่ มีอารมณ์มากมายที่กระตุ้นต่อมน้ำตา และการเริ่มระบุตัวมัน คุณก็จะตัดการหลั่งน้ำตาได้ง่ายขึ้นเพราะสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ตอนที่อารมณ์นั้นเริ่มก่อตัวขึ้น [5]
    • สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในตัว เช่น อาการโมโหอาจทำให้คุณหน้าแดงกล่ำ ร้อนรุ่ม หรือทำให้กล้ามเนื้อตึง อารมณ์เศร้าทำให้รู้สึก "จิตตก" หรือ "เอื่อยเฉื่อย"
  6. คุณมีสิทธิที่จะมีอารมณ์ความรู้สึก น้ำตานั้นเป็นสัญญาณของอารมณ์เหล่านั้น ถ้าคุณพบตัวเองกำลังร้องไห้ อย่าเพิ่งตำหนิตนเอง มันมีแต่จะทำให้ตัวคุณยิ่งเสียใจไปกว่าเดิม และไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย
    • ให้ลองยอมรับในตัวเองแทน ตัวอย่างเช่น ถ้ารู้สึกโกรธ บอกกับตัวเองว่า "ฉันกำลังโกรธนะ มันเป็นเรื่องธรรมชาติ ก็ต้องรู้สึกเช่นนี้อยู่แล้ว แต่ฉันสามารถควบคุมปฏิกิริยาต่ออารมณ์นี้ได้ ฉันไม่จำเป็นต้องร้องไห้"
  7. เวลาที่ผู้คนพูดไม่ดีใส่เรามันเจ็บปวดสิ้นดี นั่นอาจทำให้น้ำตารื้นขึ้นมาได้ จำไว้ว่าให้นึกถึงสิ่งที่คนอื่นพูดกับเราในแบบที่ไม่แรงเกินสำหรับตัวเอง
    • เช่น หากใครสักคนล้อทรงผมใหม่ของคุณ เป็นธรรมดาที่คุณต้องรู้สึกโกรธหรือเจ็บปวด พยายามเตือนตนเองว่าความคิดเห็นที่คนอื่นมีต่อคุณไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญคือสิ่งที่คุณรู้สึกกับตัวเองต่างหาก คุณอาจบอกว่า "ฉันรู้สึกเจ็บปวดที่เพื่อนๆ ล้อทรงผมใหม่ แต่ฉันชอบมันนะ ฉันไม่จำเป็นต้องรู้สึกไม่ดีแค่เพราะคนอื่นๆ ไม่ชอบมันหรอก"
    • บอกเรื่องดีๆ กับตัวเองหน้ากระจกทุกเช้า มันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในตนเอง ซึ่งจะช่วยให้คุณเก็บน้ำตาเอาไว้ได้ คุณแข็งแกร่งและชาญฉลาด และคุณทำอย่างนี้ได้อยู่แล้ว!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

จัดการความเครียดและอารมณ์ในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในบางครั้ง ความเครียดและอารมณ์ที่ล้นเกินอาจมาจากการพยายามทำอะไรหลายอย่างมากจนเกินไปจนไม่ได้ดีสักอย่าง เรียนรู้ที่จะตอบปฏิเสธเรื่องบางเรื่องเพื่อที่จะมีเวลาไปทุ่มเทในเรื่องอื่นแทน [6]
    • วิธีที่จะบอกว่า "ไม่" ที่ดีที่สุดคือทำให้มันเรียบง่าย นั่นคือ ไม่ต้องอธิบายยืดยาว แค่บอกว่า "ไม่ล่ะ เสียใจด้วย ฉันทำไม่ได้หรอก" คุณไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลว่าทำไมถึงไม่มีเวลามาทำอะไรสักอย่าง [7]
    • คุณไม่จำเป็นต้องตอบปฏิเสธไปเสียทุกอย่าง เช่น หากใครสักคนขอให้คุณช่วยอบคัพเค้กเพื่อขายในงานขนม คุณอาจบอกไปว่าตัวเองไม่มีเวลาทำ แต่เต็มใจอย่างยิ่งที่จะเป็นคนซื้อแทน [8]
  2. อย่าปล่อยให้ลิสต์ของที่ต้องทำยืดยาวท่วมตัว วางแผนทำสิ่งต่างๆ ให้เสร็จ เริ่มจากเรื่องที่สำคัญที่สุด และจัดตารางเวลาทำให้มันเสร็จ พอคุณเริ่มทำเรื่องต่างๆ เสร็จลงไป คุณจะเริ่มรู้สึกว่าความเครียดมันก็ละลายหายตามไปด้วย [9]
  3. การเขียนบันทึกสิ่งที่รู้สึกจะเป็นเหมือนการได้ระบายออกมา เมื่อทำไปนานๆ ก็ยังช่วยให้เรียนรู้ได้ว่าอะไรบ้างที่ทำให้คุณเสียใจ ซึ่งจะช่วยทำให้ไม่เจ็บเกินไปเวลาเจอเรื่องเช่นนั้น
    • ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน ถามตัวเองว่าช่วงขณะไหนที่คุณชอบและช่วงขณะไหนที่คุณไม่ชอบในวันหนึ่งๆ แล้วดูว่าในสถานการณ์ตอนนั้นกำลังอยู่ในอารมณ์ไหน
  4. การทำสมาธินั้นง่ายพอๆ กับการเรียนรู้ที่จะฟังลมหายใจ มันเป็นการถอยห่างออกมาจากโลก ดึงการเพ่งพินิจออกมาจากความเครียดและให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย [10]
    • ยกตัวอย่างเช่น การทำสมาธิรูปแบบหนึ่งคือการสวดมนต์ซ้ำไปเรื่อยๆ มนต์นั้นเป็นคำหรือถ้อยคำสั้นๆ ที่จะช่วยให้จิตใจไม่วอกแวก เช่น "โอม" อย่างไรก็ดี มนต์ของคุณอาจเป็นคำอะไรก็ได้ ให้เพ่งสมาธิไปที่การปลดปล่อยความคิด เน้นไปตรงการทวนถ้อยคำซ้ำแล้วซ้ำเล่า [11]
  5. งานอดิเรกเช่น การถักนิตติ้งหรือแม้กระทั่งการต่อภาพจิ๊กซอว์จะช่วยให้คุณถอยห่างออกมาจากอารมณ์ที่คุกรุ่น มันก็เหมือนกับการทำสมาธิที่จะช่วยทำให้จิตใจแจ่มใสขึ้น [12]
  6. การออกกำลังกายเป็นวิธีจัดการความเครียดที่ดีมาก อย่างหนึ่งคือมันทำให้คุณเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมการเคลื่อนไหว จนกลายเป็นการทำสมาธิรูปแบบหนึ่ง ช่วยให้คุณลืมว่ามีปัญหาอะไรลงได้ นอกจากนี้ มันยังเพิ่มระดับเอ็นดอร์ฟินส์ ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดีกับชีวิตอีก [13] ตั้งเป้าออกกำลังแบบแอโรบิค 150 นาทีต่อสัปดาห์ ถ้าคุณได้ออกกำลังกายมาจนอยู่ตัวระดับหนึ่งแล้ว [14]
  7. บางครั้งมันไม่ได้อยู่ที่ตัวคุณเลย หากแต่อยู่กับกลุ่มเพื่อนที่คุณคบหาด้วยต่างหาก คราวหน้าที่คุณถูกใครพูดให้เจ็บช้ำใจ พูดกับเขาโดยตรงเลย คุณไม่มีทางทำให้สถานการณ์มันดีขึ้นโดยไม่ได้พูดอะไรออกมาหรอก [15]
    • มันอาจเป็นเรื่องยากกว่าจะพูดหลุดปากออกมาได้ แต่คำพูดนั้นไม่จำเป็นต้องมีอะไรพิเศษซะหน่อย คุณแค่บอกไปว่า "สิ่งที่คุณ [ทำหรือพูด] นั้นมันทำให้ฉันรู้สึกแย่นะ และฉันคงต้องขอบคุณถ้าคุณไม่ทำเช่นนั้นอีก" [16]
  8. ถ้าคุณรู้สึกแย่โดยฝีมือผู้คนรายรอบตัวอยู่เป็นประจำ งั้นก็อาจถึงคราวต้องหาเพื่อนใหม่ แต่แน่นอน ให้โอกาสเพื่อนที่มีอยู่ได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงตัวก่อน กระนั้น ถ้าพวกเขายังคงทำให้เจ็บซ้ำเจ็บซาก บางทีอาจได้เวลาหาเพื่อนใหม่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ระบุต้นเหตุของน้ำตา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การถูกรังแก ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือตรงสนามเด็กเล่น ล้วนแล้วแต่ทำให้คุณอยากร้องไห้ทั้งนั้น [17] โชคดีที่ยังมีคนที่คุณจะหันไปขอความช่วยเหลือได้หากถูกรังแก สัญญาณของการถูกรังแกก็เช่น [18]
    • ใครบางคนใช้พลังหรืออำนาจที่เขามีเหนือคุณมาควบคุมคุณหรือทำให้คุณเจ็บปวด เช่น เด็กตัวโตกว่าผลักคุณไปมาที่โรงเรียน หรือใครบางคนใช้ข้อมูลส่วนตัวของคุณมาบังคับให้คุณทำโน่นทำนี่ที่คุณไม่ได้อยากจะทำ
    • การรังแกอาจทำให้คุณโดดเดี่ยวจากเพื่อนหรือทำให้คุณไม่สามารถทำอะไรที่โรงเรียนได้
    • การรังแกเป็นได้ทั้งทางกาย ทางวาจา หรือทางสังคม การรังแกทางกายก็อย่างการชกต่อย ผลักหรือแกล้งสะดุดให้ล้ม การรังแกทางวาจาก็เช่นพูดยั่วหรือประจานชื่อ การรังแกทางสังคมก็อย่างทิ้งคุณไปเฉยๆ บอกกล่าวคนอื่นไม่ให้คบหากับคุณ และจงใจทำให้คุณขายหน้า [19]
    • ถ้าเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นกับคุณเป็นประจำ คุณอาจถูกรังแกแล้ว
    • ปรึกษาพ่อแม่ คุณครู หรือผู้ให้คำปรึกษาที่ไว้ใจได้เพื่อขอความช่วยเหลือ อย่าพยายามเผชิญหน้ากับคนที่รังแกเราโดยตรง คุณอาจนำพาตัวเองตกอยู่ในอันตราย
    • แม้กระทั่ง "เพื่อน" ก็สามารถรังแกคุณได้ เพื่อนที่ดีนั้นจะมีไมตรีและคอยให้กำลังใจ การพูดหยอกเย้านั้นก็เพื่อความสนุกไม่ได้มีอะไรร้ายแรง และเพื่อนแท้จะหยุดทันทีที่คุณขอร้อง หากคุณรู้สึกแย่เวลาอยู่กับเพื่อนเป็นประจำ มันอาจเป็นสัญญาณว่าพวกเขาไม่ใช่มิตรแท้ของคุณแต่อย่างใด
  2. บางครั้งอารมณ์ที่แสดงออกมาให้เห็นภายนอกอาจเป็นการกลบบังบางสิ่งที่อยู่ลึกลงไปกว่านั้น พยายามผลักดันเพื่อดูถึงอารมณ์ที่ซ่อนอยู่เบื้องล่าง และดูว่าอะไรเป็นตัวก่อให้เกิดอารมณ์นั้นๆ บางทีคุณอาจร้องไห้ที่โรงเรียนเมื่อมีใครตำหนิคุณ แต่สิ่งที่รบกวนจิตใจจริงๆ อาจเป็นเรื่องที่มีกับแฟนก็ได้ หากคุณสามารถระบุสิ่งที่รบกวนจิตใจได้จริงๆ คุณสามารถพัฒนาขึ้นมาอีกก้าวในการทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เช่น เปิดอกคุยกับคนผู้นั้นซะ [20]
  3. การเครียดนั้นทำให้คุณรู้สึกถึงอารมณ์และแสดงออกมามากกว่าเดิม เช่น คุณอาจพบว่าจนเองรู้สึกเป็นกังวลหรือกระสับกระส่าย และก็พบตัวเองร้องไห้บ่อยกว่าเดิม [21]
    • คุณยังอาจรู้สึกกังวลมากขึ้น และพบตัวเองยิ่งโกรธชาวบ้านชาวช่องได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย [22]
    • คุณยังอาจมีอาการแสดงออกมาทางกาย เช่น นอนหลับยาก ปวดศีรษะ รู้สึกเหนื่อยขึ้นกว่าเดิม และอ่อนแอไม่สบายได้ง่าย [23]
  4. ถ้าคุณเป็นผู้หญิง น้ำตาอาจเกี่ยวข้องกับวงจรการมีประจำเดือนได้ ผู้หญิงบางคนอาจเกิดกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งมักจะเริ่มหนึ่งถึงสองสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน [24] อาการเหล่านี้จะทำให้คุณรู้สึกอารมณ์แปรปรวน ซึ่งรวมไปถึงการร้องไห้ง่ายขึ้น [25]
  5. อารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะหากมันเกิดขึ้นเป็นประจำนั้น อาจเป็นสัญญาณของอะไรบางอย่างที่ร้ายแรงกว่านั้นได้ เช่น เป็นไปได้ว่าคุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังหรือเป็นโรคประสาทแบบวิตกกังวลก็ได้ [26]
    • หากคุณรู้สึกว่าตนเองร้องไห้บ่อยเกินไปและคุณยังมีอาการอื่นประกอบด้วยมาเป็นเวลานาน ให้ปรึกษาแพทย์ อาการที่อาจมีความร้ายแรงก็เช่น เป็นกังวลไปเสียทุกเรื่อง รู้สึกกลัวหรือเกรงว่าจะมีอะไรแย่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา รู้สึกยึดติดกับชีวิต รู้สึกโศกเศร้าอย่างต่อเนื่อง หรือรู้สึกแย่กับตัวเองตลอดเวลา [27]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,476 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา