ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ถ้าใครฝันอยากมีรายการทีวีของตัวเองมานาน ตอนนี้ก็ทำได้ทันที แค่มี webcam กับสัญญาณอินเทอร์เน็ต! หรืออยากจะโชว์สกิลเทพเวลาเล่มเกม เกมเมอร์เดี๋ยวนี้ก็สตรีมเกมให้ดูกันสดๆ เยอะแยะ การไลฟ์ (ที่หลายคนเรียกไลฟ์สด) หรือ live stream ถือเป็นบทใหม่ที่น่าสนใจของโลกอินเทอร์เน็ต เรียกว่าขอแค่มีมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมที่ต่อเน็ตได้ ใครๆ ก็ไลฟ์ได้ทั้งนั้น
ขั้นตอน
-
หาเว็บที่ให้คุณไลฟ์ได้. จะไลฟ์ผ่าน webcam ได้ ต้องลงทะเบียนเว็บสำหรับไลฟ์ซะก่อน เว็บจะมี bandwidth สำหรับแชร์ไลฟ์กับคนอื่น หลายเว็บที่เรายกมา ให้คุณไลฟ์ได้แบบไม่ต้องกังวลเรื่องติดตั้ง encoder เว็บดังๆ ก็เช่น
- Ustream
- YouNow
- DaCast
- Livestream
- StreamLand
- Google+ Hangouts On Air [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
สมัครบัญชีผู้ใช้. เว็บ streaming พวกนี้ต้องให้คุณสมัครบัญชีผู้ใช้ใหม่ซะก่อน ทุกเว็บที่ว่ามามีบัญชีฟรีให้ใช้ และหลายเว็บก็มีบัญชีแบบเสียเงินด้วย ข้อดีคือไม่มีโฆษณากวนใจ แถมเพิ่มยอดวิวไปในตัว
-
ใช้โปรแกรมถ่ายทอดสดที่มีในเว็บ. แทบทุกเว็บให้คุณไลฟ์ได้เลยแบบไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรมพิเศษเพิ่มเติม แต่โปรแกรมไลฟ์ของบางเว็บก็ออกมาไม่ค่อยคุณภาพดีเท่าไหร่ ถ้าโหลดโปรแกรมสำหรับไลฟ์มาเองจะใช้ได้ดีกว่า ส่วนวิธีการก็จะต่างกันไปตามแต่ละเว็บ [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ล็อกอินเข้าบัญชี.
-
สร้าง channel หรือห้อง. หลายเว็บจะมีปุ่ม “Broadcast Now” หรือ “Go Live”
-
อนุญาตให้ Flash เข้าถึง webcam. ถ้าติ๊ก “Remember” หรือ “Always Allow” ไว้ ก็ทำแค่ครั้งแรกที่ไลฟ์ด้วยเว็บนั้น อาจจะต้องอัพเดทเวอร์ชั่นของ Flash ด้วย
-
เริ่มไลฟ์. พอเว็บสแกนเจอกล้องแล้ว ก็เริ่มไลฟ์ได้ตามสบายเลย
-
ดาวน์โหลดโปรแกรม broadcaster สำหรับไลฟ์แบบคุณภาพสูง. หลายเว็บจะมีโปรแกรมถ่ายทอดสดของตัวเองให้คุณดาวน์โหลดมาใช้กันได้ฟรี แต่จะใช้โปรแกรมนอกก็ได้ เช่น Flash Media Live Encoder หรือ Open Broadcaster Software ยังไงลองศึกษาข้อดี ข้อเสีย และวิธีใช้งานโดยละเอียดเพิ่มเติมในเน็ตดู
-
embed ไลฟ์ไว้ที่เว็บคุณเอง. พอตั้ง channel ของตัวเองแล้ว ก็เอาวีดีโอที่ไลฟ์ไปแปะหน้าเว็บตัวเองได้เลย โดยใช้โค้ด embed ที่มี แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณเข้าไปแก้ไขโค้ดของเว็บตัวเองได้เท่านั้น ถ้าเข้าไม่ได้ยังไงลองปรึกษาผู้พัฒนาเว็บของคุณดูโฆษณา
-
หาเว็บที่รองรับการไลฟ์ผ่านมือถือ. เว็บที่เราเลือกมาแนะนำปกติไม่ต้องลงทะเบียนก็ได้ แต่ก็ควรสมัครบัญชีก่อน จะได้ไลฟ์ฟรี ก่อนจะไลฟ์ได้ต้องมีคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อป แล้วทำตามขั้นตอนข้างล่าง แต่ใครไม่มีจะใช้มือถือแทนก็ได้ ว่าแล้วก็กด Start เพื่อเริ่มไลฟ์ได้เลย
-
เลือก Mobile camera. แล้วพิมพ์ชื่อ channel จากนั้นปรับแต่งตามต้องการ คุณเลือก large scale vs. low latency หรือเปิด/ปิดการอัดวีดีโอได้ จากนั้นกด Next
-
ติดตั้งแอพ streaming. มีให้ใช้กันทั้งใน Android และ iOS โดยจะมีลิงค์อยู่ในหน้านั้นเลย เสร็จแล้วให้สแกน QR code ด้วยแอพนี้ เพื่อเริ่มไลฟ์ทันทีแบบอัตโนมัติ
-
ดูไลฟ์ตัวเอง. ดูได้จากหน้า preview ในเบราว์เซอร์เลย จะ copy โค้ดในเบราว์เซอร์ไป embed เพื่อแสดงไลฟ์ไว้หน้าเว็บตัวเองด้วยก็ได้ แต่ต้องแก้ไขโค้ดของเว็บตัวเองได้ซะก่อน ถ้าไม่แน่ใจ ให้สอบถามผู้พัฒนาเว็บของคุณดูโฆษณา
-
ล็อกอินเข้า YouTube ด้วยบัญชีที่จะใช้ไลฟ์.
-
ล็อกอินแล้วให้ไปที่ . youtube.com/features .
-
คลิกปุ่ม . Enable ข้าง "Live events" . โดยบัญชีต้องอยู่ในสถานะ Good Standing (ไม่ถูกแบนหรือมีปัญหาอะไรอยู่)
-
อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน จากนั้นคลิก . I Agree เพื่อไปต่อ .
-
คลิกปุ่ม "Create Event".
-
กรอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการไลฟ์. เช่น ชื่อเหตุการณ์ คำอธิบาย และติดแท็กต่างๆ
-
กำหนดวันเวลา. คุณตั้งวันเวลาที่จะไลฟ์ล่วงหน้าได้ หรือจะเลือกไลฟ์ทันทีตอนนี้เลย
-
คลิกเมนู "Public" ให้ขยายลงมา เพื่อเลือก privacy options (ตัวเลือกความเป็นส่วนตัว). ถ้าเป็น Public events ก็คือเป็นสาธารณะ ใครก็หาเจอและเข้ามาดูได้ ส่วน Unlisted events คือเข้าชมได้เฉพาะคนที่คุณส่งลิงค์ไปให้ แต่ถ้า Private videos คือเป็นส่วนตัว จำกัดผู้ชม และดูได้เฉพาะคนที่ล็อกอินด้วยบัญชี Google+ เท่านั้น
-
เช็คให้ชัวร์ว่าเลือก "Quick" ไว้. เพื่อเปิด Google Hangouts on Air ที่ใช้แค่ plugin ของ Hangouts และ webcam ของคุณ ถ้าเป็นตัวเลือก "Custom" จะเหมาะกับงานเป็นทางการ และควรใช้โปรแกรม encoder แยกที่หามาเพิ่มเติมเอง ลองไปอ่านขั้นตอนหรือรายละเอียดในเน็ตดู
-
เช็ค advanced settings. คลิก tab "Advanced settings" แล้วตรวจทานตัวเลือกทั้งหมด ที่ปรับเปลี่ยนได้จะมี comment preferences (ค่าเกี่ยวกับคอมเม้นท์), age restrictions (จำกัดอายุ), statistics (สถิติ), broadcast delay (ให้ไลฟ์ช้ากว่าจริงเล็กน้อยเผื่อเกิดเหตุผิดพลาด) และอื่นๆ
-
คลิก "Go live now" เพื่อเปิด Google+ Hangouts. ถ้าไม่ได้ลง plugin ของ Google+ ไว้ จะมีขึ้นเตือนให้ติดตั้ง
-
รอจนวีดีโอ buffer เสร็จ. หน้าต่าง Hangouts จะเปิดขึ้นมา รวมถึง webcam ของคุณด้วย จะเห็นเปอร์เซ็นต์เริ่มเพิ่มขึ้น ทางด้านล่างของหน้าจอ พอเพิ่มถึงประมาณหนึ่ง ก็จะเริ่มไลฟ์ได้เลย
-
คลิก "Start broadcast" เพื่อเริ่มไลฟ์ แล้วคลิก "OK" เพื่อยืนยัน. คุณไลฟ์ได้นาน 8 ชั่วโมงด้วยกัน
-
คลิกตัวเลือก "Control Room" ใน Hangouts เพื่อจัดการผู้ชม. เป็นตัวเลือกที่ให้คุณ mute (ไม่ให้แสดงความเห็น) หรือบล็อกคนที่ก่อกวนออกไปจากห้องถ่ายทอดสดของคุณได้
-
แชร์และ embed ไลฟ์ที่หน้าเว็บ. คลิกปุ่ม "Links" ท้ายหน้าต่าง Hangouts เพื่อดูตัวเลือกแชร์และ embed จะมี URL สั้นๆ สำหรับแชร์ไลฟ์ของคุณผ่าน Twitter หรือโซเชียลมีเดียอื่นๆ รวมถึงมีโค้ด embed ให้เพิ่มวีดีโอไว้หน้าเว็บหรือบล็อกได้ง่ายๆ ด้วย
- วีดีโอจะขึ้นเด่นเป็นสง่าในหน้า YouTube Channel ของคุณเช่นกัน
โฆษณา
-
สมัครใช้เว็บ streaming. ถ้าจะสตรีมเกม ก็ต้องสมัครเว็บที่ใช้ host วีดีโอได้ซะก่อน โดยเว็บ host จะมี bandwidth และโปรแกรมแชทไว้ให้คนดู รวมถึง tools ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการสตรีมเกมของคุณ เว็บดังๆ ที่คนนิยมใช้สตรีมเกมก็คือ
- Twitch.tv
- Ustream.tv
- Twitch เป็นหนึ่งในเว็บที่สร้างมารองรับคนสตรีมเกมโดยเฉพาะ รับรองมีฐานผู้ชมมหาศาลที่รอคุณสตรีมเกม
-
ดาวน์โหลดโปรแกรม capture. จะสตรีมเกมได้ ต้องมีโปรแกรมสำหรับแคปและสตรีมหน้าจอคอม มีหลายโปรแกรมให้เลือกใช้กัน ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน แต่ 2 โปรแกรมฟรีที่ดีและดังคือ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- FFSplit
- Open Broadcaster
-
ติดตั้ง capture card (ไม่จำเป็น). ถ้าจะสตรีมจากเครื่องเกมคอนโซล เช่น Xbox One หรือ PlayStation 4 ก็ต้องติดตั้ง video capture card ในคอมซะก่อน เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้เชื่อมต่อกับระบบของเครื่องเกม เพื่ออัดวีดีโอจากเครื่องเกมโดยตรง จากนั้นคอมก็จะแคปวีดีโอและเสียงจากเครื่องเกมมาอีกที
- ถ้าคุณสตรีมเกมจากคอมก็ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้
- การติดตั้ง capture card ก็เหมือนกับ การติดตั้งการ์ดจอ (graphics card) เลย
-
เช็คก่อนว่าคอมแรงพอจะสตรีมเกม. เวลาสตรีมเกมที ต้องระดมทรัพยากรมาจากทั้งระบบ เพราะต้องเล่นเกมไปด้วย และสตรีมหรือถ่ายทอดสดไปด้วยในเวลาเดียวกัน Twitch แนะนำให้คอมที่จะสตรีมเกม มีสเปคหรือความต้องการระบบตามนี้ซะก่อน [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- CPU: Intel Core i5-2500K Sandy Bridge 3.3GHz หรือเทียบเท่า AMD
- MEMORY: 8GB DDR3 SDRAM
- OS: Windows 7 Home Premium หรือใหม่กว่า
-
พ่วงโปรแกรมกับบัญชี streaming. เปิด tab หรือเมนู Service ในโปรแกรมที่จะใช้สตรีม จากนั้นเลือกเว็บที่จะใช้สตรีมจากในรายชื่อที่มี โปรแกรมอย่าง FFSplit นั้นมีฟังก์ชั่นรองรับการใช้งานกับ Twitch โดยเฉพาะเลย
- ใส่ stream key จะใช้โปรแกรมสตรีมได้ ต้องพ่วงโปรแกรมกับบัญชี Twitch ผ่าน Stream Key ซะก่อน คุณหาคีย์นี้ได้ใน Twitch โดยคลิกปุ่ม Streaming Apps ในเว็บ Twitch แล้วคลิก Show Key จากนั้น copy/paste คีย์ที่ขึ้น ในช่องที่ถูกต้องของโปรแกรมสตรีม
- เลือกเซิร์ฟเวอร์ ใน FFSplit จะมีรายชื่อเซิร์ฟเวอร์ใน Service list ให้คลิกปุ่ม “Find Best Server” เพื่อสแกนหาเซิร์ฟเวอร์ที่ดีที่สุดตามตำแหน่งที่ตั้งของคุณโดยอัตโนมัติ
-
เลือกตัวเลือก encoder. ในเมนู Encoding คุณสามารถปรับแต่ง encoder settings ที่จะส่งผลต่อคุณภาพของวีดีโอและความเร็วในการสตรีมได้ หลายโปรแกรมและเว็บจะมี recommended settings หรือค่าที่แนะนำสำหรับเกมแต่ละประเภทและความเร็วอินเทอร์เน็ตของคุณ
-
ลองทดสอบสตรีมดูสัก 1 - 2 ครั้ง. จะได้จับทางได้ว่าต้องใช้โปรแกรมและเว็บสตรีมยังไง รวมถึงเป็นการเช็คว่าตั้ง encoding settings ได้น่าพอใจแล้วโฆษณา
-
ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม encoder. encoder เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลง inputs (กล้อง, capture card, ไมโครโฟน และอื่นๆ) ไปเป็นวีดีโอที่ไลฟ์ออนไลน์ได้ ปกติเว็บของ webcam จะมีโปรแกรม encoder ในตัว แต่ถ้าใช้โปรแกรม encoder ที่คุณเลือกเอง จะได้วีดีโอคุณภาพดี คมชัดกว่า แถมควบคุมปรับแต่งไลฟ์ได้มากกว่า ถ้าอยากไลฟ์แบบโปรๆ ต้องใช้โปรแกรม encoder ด้วย เช่น ไลฟ์แบบหลายมุมกล้อง หรือต้องการภาพและเสียงคมชัดเป็นพิเศษ มีหลายโปรแกรม encoder ให้คุณเลือกใช้ แต่ส่วนใหญ่เป็นแบบเสียเงิน ถ้าอยากได้ฟีเจอร์ครบครันที่สุด
- Open Broadcaster Software (OBS) เป็น encoder ฟรี แบบ open-source มีหลายฟังก์ชั่นขั้นสูงให้ได้ใช้ บทความวิกิฮาวนี้จะอ้างอิงการใช้งาน OBS เพราะเป็นโปรแกรมฟรีที่ครบเครื่องที่สุด OBS จะมาพร้อม configuration profiles ใช้ได้กับหลายเว็บ streaming ดังๆ
- Wirecast ก็เป็น encoder อีกตัวที่ติดตั้งและใช้กับเว็บ streaming ต่างๆ เช่น YouTube Live Streaming ได้รวดเร็วทันใจ แต่ถ้าเป็นเวอร์ชั่นฟรีจะใช้ได้เฉพาะมุมกล้องเดียว (single camera input) เท่านั้น
- Flash Media Live Encoder (FMLE) เป็นโปรแกรมของ Adobe ที่มีฟีเจอร์โปรๆ ให้ใช้เยอะแยะไปหมด แต่ข้อเสียคือราคาค่อนข้างแพง แต่ก็ใช้กับเว็บ streaming ต่างๆ ได้รวดเร็วทันใจเช่นกัน โดยโหลด FMLE profile ของเว็บนั้น
-
กำหนด connection speed. จะเป็นตัวกำหนด quality settings ของ encoder คนที่เข้ามาดูจะได้รับชมวีดีโอของคุณแบบลื่นไหล คุณทดสอบความเร็วเน็ตได้ที่ speedtest.net อย่าลืมจด connection speeds ไว้ เพราะเดี๋ยวต้องใช้ทีหลัง
- ลองอ่าน บทความวิกิฮาวนี้ ดู ถ้าอยากรู้วิธีเช็คความเร็วเน็ตเพิ่มเติม
-
เปิดเมนู Settings. คุณปรับแต่งค่าต่างๆ ทั้งหมดของ OBS ได้ในนี้
-
คลิก tab "Encoding". จะเห็น settings ต่างๆ ที่จะกำหนดคุณภาพไลฟ์ของคุณ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วเน็ตของคุณด้วย
- "Max Bitrate" ก็คือความเร็วสูงสุดของ encoder ค่านี้ต้องอยู่ประมาณ 1/2 ของ maximum upload rate เช่น ถ้าทำ speed test แล้วพบว่าความเร็วในการอัพโหลดสูงสุดคือ 3 mb/s (3000 kb/s) ก็ควรตั้ง maximum bitrate ที่ 1500 kb/s
- ตั้งค่า "Buffer size" ให้เหมือนกันกับ maximum bitrate
-
คลิก tab "Video". จะมีให้ตั้ง resolution และ framerate ของไลฟ์ แต่ settings พวกนี้จะขึ้นอยู่กับ upload speed ของคุณเป็นหลัก
-
ตั้งค่า "Base Resolution" ให้เท่ากับคอมของคุณ.
-
เปลี่ยน output resolution ในเมนู "Resolution Downscale". ต่อไปนี้คือ settings ที่แนะนำ อิงตาม maximum bitrate ของคุณ
- 1920x1080 (1080P) - 4500 kb/s
- 1280x720 (720P) - 2500 kb/s
- 852x480 (480P) - 100 kb/s
-
ตั้ง FPS ไว้ที่ 60 ถ้าเว็บอนุญาต. บางเว็บ streaming จะยอมให้แค่ 30 FPS แต่ YouTube และบางเว็บเริ่มขยับขยายให้คุณได้ถึง 60 FPS
-
คลิก tab "Broadcast Settings". เอาไว้ปรับแต่งการเชื่อมต่อกับเว็บ streaming
-
เลือกเว็บ streaming จากเมนู "Streaming Service". มีตั้งค่าไว้ให้หลายเว็บแล้ว ไม่ต้องมานั่ง copy/paste URL ให้เสียเวลา แต่ถ้าไม่เจอเว็บที่จะใช้ ก็ให้เลือก Custom แทน
-
ใส่ stream key/stream name. พอเริ่มไลฟ์ในเว็บที่เลือกใช้แล้ว จะได้คีย์เฉพาะมา ต้องเอาไป paste ในช่อง "Play PAth/Stream Key" เพื่อให้เว็บรับถ่ายทอดไลฟ์มาจาก encoder
-
ออกจากเมนู Settings.
-
คลิกขวาในช่อง "Sources" แล้วเลือก "Add Sources". เพื่อให้คุณเพิ่ม input sources หรือต้นทางของไลฟ์ได้
- ถ้าจะไลฟ์ผ่านคอม ให้เลือก "Monitor Capture"
- ถ้าจะไลฟ์ผ่าน webcam ให้เลือก "Video Capture Device"
- ถ้าจะสตรีมเกมผ่าน game capture card ให้เลือก "Game Capture"
-
เริ่มไลฟ์จาก encoder ก่อน. ก่อนจะเริ่มไลฟ์จาก interface ของเว็บ ให้เริ่มไลฟ์จากใน encoder ก่อน พอแน่ใจว่าทุกอย่างทำงานได้ด้วยดีแล้ว ก็ค่อยเริ่มส่งสัญญาณไปยังเว็บ streamingโฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.ibroadcastnetwork.org/blog/top-live-video-streaming-sites-for-internet-broadcasters
- ↑ http://www.ustream.tv/get-started
- ↑ http://www.pcgamer.com/2012/12/04/how-to-set-up-open-broadcaster-a-free-lightweight-livestreaming-application/
- ↑ http://help.twitch.tv/customer/portal/articles/792761-how-to-broadcast-pc-games
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,592 ครั้ง
โฆษณา