PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถึงยาปฏิชีวนะจะรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียได้เห็นผลชะงัดแค่ไหน แต่ไม่ค่อยอ่อนโยนกับกระเพาะสักเท่าไหร่ คนกินยาปฏิชีวนะเลยมักต้องเตรียมรับผลข้างเคียงอย่างอาการปวดท้อง อันเป็นผลมาจากการที่ยาปฏิชีวนะไปฆ่าแบคทีเรียดีในกระเพาะด้วย [1] วันนี้คุณมาถูกทางแล้ว เพราะบทความวิกิฮาวนี้จะมาแนะนำวิธีการลดความเสี่ยงเกิดอาการปวดท้องตอนกินยาปฏิชีวนะให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

กินยาปฏิชีวนะให้ถูกวิธี

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาคุณหมอสั่งยาปฏิชีวนะให้ จะแนะนำมาแบบเป๊ะๆ เลยว่าต้องกินตอนไหน ยังไง ก็ให้ทำไปตามนั้นอย่างเคร่งครัด จะลดโอกาสเกิดอาการปวดท้องได้ แถมคุณหมอมักจะแนะนำแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อลดผลข้างเคียงของยาด้วย
    • ข้อควรปฏิบัติก็เช่น ต้องกินยาปฏิชีวนะตอนไหน ถึงจะเกิดผลข้างเคียงกับกระเพาะน้อยที่สุด
    • ถ้าไม่มีคำแนะนำอื่นที่ฉลาก ให้เก็บยาปฏิชีวนะไว้ในที่แห้งและมืด
    • ยาปฏิชีวนะบางตัวก็ต้องเก็บในตู้เย็น แบบนั้นให้แช่ยาไว้ในช่องเก็บอาหารสด ห้ามเอาไปแช่ช่องฟรีซเด็ดขาด
  2. เช็คก่อนว่ายาปฏิชีวนะต้องกินหลังอาหารหรือเปล่า. ยาปฏิชีวนะบางตัวต้องกินอาหารก่อน เพราะอาหารจะปรับให้ฤทธิ์เป็นกลาง ช่วยป้องกันไม่ให้ยาปฏิชีวนะทำคุณท้องอืดหรือปวดท้อง ถ้าคุณหมอสั่งให้กินยาปฏิชีวนะหลังอาหาร ก็ต้องทำตามนั้นทุกครั้งที่กินยา ไม่งั้นปวดท้องแน่นอน [2]
    • แต่ยาปฏิชีวนะบางตัวก็ต้องกินตอนท้องว่าง ยาปฏิชีวนะประเภทนี้ก็เช่น ampicillin และ tetracycline ห้ามกินอาหารก่อนกินยาประเภทนี้ เพราะอาหารจะส่งผลต่อความเร็วในการออกฤทธิ์ของยา
    • ถ้าต้องกินยาปฏิชีวนะตอนท้องว่าง ให้กินยาก่อนอาหารเช้า โดยตั้งเตือนไว้ จะได้จำได้
    • ยาปฏิชีวนะบางตัว ถ้ากินคู่กับอาหารบางอย่าง จะทำให้ปวดท้องได้ เช่น ถ้ากินยา tetracycline กับผลิตภัณฑ์นมทั้งหลาย ก็ทำให้ปวดท้องได้ วิธีป้องกันไม่ให้กิน tetracycline (หรือยาตัวอื่นตระกูลเดียวกัน เช่น doxycycline และ minocycline) แล้วปวดท้อง คือต้องงดผลิตภัณฑ์นมจนกว่าจะเลิกกินยาปฏิชีวนะ
  3. เวลากินยาปฏิชีวนะต้องได้รับยาในปริมาณที่ถูกต้อง ห้ามน้อยไปหรือเกินขนาด ที่สำคัญคือระวังกินยาซ้ำสอง ถ้ากินยาน้อยกว่าปริมาณที่กำหนด จะทำให้แก้ติดเชื้อแบคทีเรียได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ถ้ากินยาเกินขนาดก็ทำให้ฤทธิ์ยามากเกินไป ทำให้ปวดท้อง อันตรายต่อร่างกาย [3]
    • ถ้าจำไม่ค่อยได้ว่ากินยาของวันนั้นไปแล้วหรือยัง ก็ต้องแขวนปฏิทินไว้แถวๆ ที่เก็บหรือกินยา พอกินยาปฏิชีวนะประจำวันเมื่อไหร่ ให้ใช้ปากกากากบาทหรือขีดฆ่าวันนั้นจากปฏิทิน แบบนี้ก็ไม่เผลอกินยาซ้ำแน่นอน
    • ปกติที่ซองจะเขียนไว้เลยว่าต้องกินยาปฏิชีวนะติดต่อกันนานแค่ไหน ถึงจะรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ผล ถ้าไม่กินยาตามหมอสั่งหรือคำแนะนำที่ซอง แบคทีเรียจะยังหลงเหลือในร่างกาย เกิดอาการติดเชื้อขึ้นมาใหม่ได้ รวมถึงอาจเกิดอาการดื้อยา ถ้ารักษาด้วยยาตัวเดิมอีกจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรหรือไม่ได้ผลเลย
  4. นอกจากต้านแบคทีเรียร้ายแล้ว ยาปฏิชีวนะก็อาจจู่โจมแบคทีเรียดีในร่างกายคุณด้วย พอแบคทีเรียดีถูกจู่โจม นั่นแหละคือตอนที่คุณปวดท้องขึ้นมา ต้องพยายามเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีให้กลับมาเป็นปกติ แบบนี้ถึงจะหายปวดท้อง [4]
    • โยเกิร์ตรสธรรมชาติแบบไม่หวานนี่แหละ แหล่งอุดมโพรไบโอติกส์ (probiotics) หรือแบคทีเรียดี ปกติถ้ากินโยเกิร์ตวันละถ้วยก็ได้ประโยชน์เพียงพอแล้ว แต่ถ้าอยู่ในช่วงกินยาปฏิชีวนะ แนะนำให้กิน 3 - 5 ถ้วยต่อวันเลย เพื่อดึงจำนวนแบคทีเรียดีกลับมาเป็นปกติให้ได้เร็วที่สุด พยายามเลือกโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต (live and active culture) จะดีที่สุด
    • กระเทียมเป็นแหล่งพรีไบโอติกส์ (prebiotics) ชั้นดี โดยโพรไบโอติกส์ (ที่พบได้ในโยเกิร์ต หรือซาวเคราท์ (กะหล่ำดอง) เป็นต้น) จะได้อาหารจากพรีไบโอติกส์ ถ้ากินกระเทียม 3 กลีบใหญ่ๆ ต่อวัน จะช่วยรักษาจำนวนแบคทีเรียดีไว้ในระดับที่เหมาะสม (แต่เรื่องกลิ่นปากนี่ช่วยไม่ได้จริงๆ)
    • อีกแหล่งที่อุดมแบคทีเรียดี ก็คือมิโสะ (เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น), ซาวเคราท์, คอมบูชา (ญี่ปุ่นอ่านคมบุฉะ) และคีเฟอร์ [5]
    • ช่วงกินยาปฏิชีวนะต้องลดน้ำตาล เพราะน้ำตาลทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
    • ช่วงกินยาปฏิชีวนะ แนะนำให้กินซุปไก่ จะดีต่อร่างกาย
  5. ปรึกษาคุณหมอถ้าเคยมีปัญหาหรืออาการใดตอนกินยาปฏิชีวนะ. ถ้าคุณเคยกินยาปฏิชีวนะแล้วปวดท้อง ก็ต้องปรึกษาเรื่องนี้กับคุณหมอ เผื่อคุณหมอจะแนะแนวทางปฏิบัติตัวหรือเปลี่ยนตัวยาให้ [6]
    • บางทีคุณหมออาจจะปรับโดสยาให้ ช่วยลดอาการปวดท้อง หรืออาจจะสั่งยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (antiemetic) ลดอาการท้องอืดไม่สบายท้อง และคลื่นไส้อาเจียน
    • ยาปฏิชีวนะบางตัวก็ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ถ้าสังเกตว่าเริ่มมีผื่นคันหลังกินยาปฏิชีวนะ ให้รีบไปหาหมอจะดีที่สุด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

แก้ปวดท้อง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คาโมไมล์ (Chamomile) เป็นเหมือนยาสมุนไพรอ่อนๆ ที่ช่วยต้านอาการอักเสบได้ ถ้าผนังลำไส้ระคายเคืองเพราะสูญเสียแบคทีเรียดีไปพร้อมๆ กับแบคทีเรียร้ายหลังกินยา ชาคาโมไมล์นี่แหละจะช่วยบรรเทาอาการให้สบายท้องขึ้นได้ [7]
    • ต้มน้ำให้เดือด แล้วเทรดถุงชาคาโมไมล์
    • ปิดฝากาหรือถ้วยชา แล้วแช่ถุงชาไว้ในนั้นประมาณ 15 - 20 นาที ยิ่งทิ้งไว้นานแค่ไหน ชาก็ยิ่งรสเข้ม แก่ขึ้นเท่านั้น
    • ถ้าขมไป ให้เติมน้ำผึ้งหรือสารให้ความหวานอื่นๆ สัก 1 ช้อนชา แต่ปกติชาคาโมไมล์ก็ค่อนข้างหวานอยู่แล้ว แม้ไม่ได้ปรุงรส
  2. ให้ใช้แผ่นประคบร้อนหรือขวดใส่น้ำร้อน ประคบคลายอาการปวดท้อง รับรองจะรู้สึกดีขึ้น ถ้าปวดท้องเพราะเป็นตะคริวหลังกินยาปฏิชีวนะ อุณหภูมิอุ่นๆ ที่แนบผิวจะช่วยให้รู้สึกดี ผ่อนคลายขึ้นได้ [8]
    • ถ้าไม่มีแผ่นประคบร้อนหรือถุงน้ำร้อน ให้หาผ้าอะไรที่เป็นถุงๆ (ถุงเท้านี่แหละเหมาะเลย) แล้วใส่ถั่วปินโต (pinto beans) แห้ง หรือข้าวสารลงไป แล้วปิดปากถุงให้มิดชิด (จะมัดปากหรือใช้ไม้หนีบก็ได้) แล้วเอาไปอุ่นในไมโครเวฟ 30 วินาที (หรือจนกว่าของข้างในจะจับแล้วอุ่นพอ)
    • อย่าให้อะไรที่คุณใช้ประคบร้อนเกินไป แค่สัมผัสแล้วรู้สึกอุ่นหรืออุ่นจัดก็พอ
    • หาที่ที่นอนราบได้สบายๆ แล้วประคบร้อนที่หน้าท้อง ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีขึ้นไป แล้วทำซ้ำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
  3. น้ำข้าวก็คือน้ำที่ได้จากการหุงข้าว ดื่มน้ำข้าวแล้วช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ เพราะเป็นเหมือนชั้นเคลือบปกป้องผนังกระเพาะไม่ให้ระคายเคือง [9]
    • วิธีทำน้ำข้าวดื่มเอง ก็คือหุงข้าว 1/2 ถ้วยตวง (ข้าวขาวธรรมดานี่แหละ) แต่ให้ใช้น้ำมากกว่าปกติ 2 เท่า อย่างถ้าหุงข้าว 1/2 ถ้วยตวง ก็ให้ใช้น้ำ 2 ถ้วยตวงด้วยกัน ผสมข้าวกับน้ำแล้วเอาไปตั้งไฟจนเดือด จากนั้นหรี่ไฟ แล้วตุ๋นต่อไป 20 นาที หรือจนกว่าข้าวจะนุ่ม
    • เททั้งข้าวและน้ำใส่กระชอน เก็บข้าวไว้เป็นอาหารรสอ่อนได้ เหมาะกับคนที่ปวดท้อง เท่านี้ก็กรองได้น้ำข้าวในชามหรือหม้อต้ม
    • เทน้ำข้าวใส่แก้ว แล้วดื่มตอนยังอุ่นๆ จะปรุงรสเพิ่มด้วยน้ำผึ้ง 1 ช้อนก็ได้
  4. ขิงช่วยคลายกล้ามเนื้อบุผนังลำไส้ ปกติคนก็นิยมกินแก้ตะคริวท้องอยู่แล้ว รากขิงก็แก้คลื่นไส้ได้ดี ลองจิบน้ำขิงอุ่นๆ ดู จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องหลังกินยาปฏิชีวนะได้ [10]
    • ให้ล้าง ปอก แล้วหั่นรากขิงหยาบๆ ชิ้นประมาณ 1 - 2 นิ้ว (2.5 - 5 ซม.) ต้มน้ำ 1 - 2 ถ้วยตวง แล้วใส่ขิงลงไป ยิ่งใช้น้ำเยอะ น้ำขิงก็ยิ่งรสอ่อน แต่ถ้าแช่ขิงทิ้งไว้นานหน่อย รสก็จะเข้มขึ้น
    • ต้มน้ำขิง 3 - 5 นาที แล้วแช่ทิ้งไว้อีก 3 - 5 นาที
    • ยกน้ำขิงลงจากเตา กรองเอาชิ้นขิงออก แล้วเทน้ำขิงที่เพิ่งชงร้อนๆ ใส่แก้วมัคหรือกาน้ำชา
    • ถ้าขมไป จะเติมน้ำผึ้งหรือสารให้ความหวานอื่นๆ สัก 1 ช้อนก็ได้ บางคนก็ว่าใส่เลมอนฝานลงไปสักชิ้นแล้วน้ำขิงรสชาติดีขึ้น ซึ่งก็ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอาการไม่ได้หนักหรือไม่จำเป็นจริงๆ พยายามอย่าใช้ยาปฏิชีวนะ เน้นว่าควรกินยาปฏิชีวนะเฉพาะตอนติดเชื้อแบคทีเรียจริงๆ ไม่งั้นยาปฏิชีวนะจะไปโจมตีแบคทีเรียดีตามธรรมชาติในร่างกายคุณ จนกลายเป็นอีกอาการขึ้นมา ที่สำคัญคือแบคทีเรียอาจกลายพันธุ์หรือดื้อยาปฏิชีวนะขึ้นมา พอถึงเวลาจำเป็นก็กินยาแล้วไม่หาย หายช้า จนคุณหมอต้องเพิ่มโดสยาเข้าไปอีก
  • ย้ำกันตรงนี้ว่ายาปฏิชีวนะใช้ฆ่าไวรัสไม่ได้ ถ้าเป็นหวัดหรือติดเชื้อไวรัส ก็ห้ามกินยาปฏิชีวนะ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่ากินยาปฏิชีวนะของคนอื่น ให้กินเฉพาะยาที่คุณหมอสั่งให้คุณเท่านั้น
  • ถ้ากินยาปฏิชีวนะแล้วปวดท้อง จนอยากกินยาตัวอื่นเพื่อบรรเทาอาการอีกที ต้องปรึกษาคุณหมอเจ้าของไข้ก่อน เพราะยาแก้ปวดบางตัวจะไปต้านกันกับยาปฏิชีวนะ ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,980 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา