ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องรู้ส่วนสูงของตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อต้องเลือกซื้อเสื้อผ้า แต่ถ้าโชคร้ายไม่มีใครคอยช่วย คุณก็ยังสามารถวัดส่วนสูงได้ด้วยตัวเอง เราไปอ่าน wikiHow ฉบับนี้เพื่อเรียนรู้วิธีกันเลยดีกว่า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้สายวัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รวบรวมอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องใช้ในการวัดส่วนสูง. อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้
    • สายวัด ไม้บรรทัด หรือไม้หลา
    • กระจก
    • ดินสอ
    • กล่องเล็กๆ หรือหนังสือเล่มหนาๆ
  2. โดยให้เลือกบริเวณที่มีลักษณะดังนี้
    • หาบริเวณที่มีพื้นเรียบโล่งและติดกับผนัง
    • หาบริเวณที่สามารถยืนเอาหลังพิงผนังได้
    • หาบริเวณที่สามารถใช้ดินสอเขียนสัญลักษณ์เล็กๆ ลงบนผนังได้
    • ยืนบนพื้นแข็งๆ ที่ทำจากคอนกรีต กระเบื้อง หรือไม้เนื้อแข็ง หลีกเลี่ยงพื้นที่ปูด้วยพรมหรือผ้าเช็ดเท้า
    • พยายามหาพื้นที่ที่ติดกับประตูหรือบริเวณมุมห้องเพื่อช่วยให้มีแนวสำหรับการวางสายวัด
    • พยายามหาตำแหน่งที่หันเข้าหากระจก จะได้ไม่ต้องใช้กระจกถือช่วย
  3. สิ่งที่จะต้องทำมีดังนี้
    • ถอดรองเท้าและถุงเท้า เราควรวัดส่วนสูงในขณะที่เท้าเปล่า เพราะรองเท้าหนีบ รองเท้าแตะ หรือแม้กระทั่งถุงเท้าก็มีผลต่อการวัดได้ทั้งสิ้น
    • ถอดทุกอย่างออกจากศีรษะ อย่าใส่หมวก ผ้าคาดผม หรือผูกหางม้า ให้ผมของคุณเรียบแบนเข้าไว้ [1]
    • ยืนเอาหลังพิงผนังและเท้าชิดกัน พยายามยืนให้ตรงที่สุด ให้ทั้งส้นเท้า หลัง ไหล่ และศีรษะชิดผนัง เก็บคางเข้าและมองตรงไปข้างหน้า [2]
  4. อย่าลืมเช็คด้วยว่าคุณสามารถเอื้อมมือไปหยิบสิ่งของที่ต้องใช้ในระหว่างที่กำลังวัดได้สะดวก
    • ถือกล่องไว้ในมือข้างหนึ่ง และใช้มืออีกข้างถือกระจกกับดินสอไว้
    • ยกกล่องใบเล็กๆ ตั้งไว้บนศีรษะ และดันเข้าหากำแพง
    • ส่องกระจกดูให้แน่ใจว่ากล่องอยู่ในแนวขนานกับพื้นและตั้งฉากกับผนัง เพื่อให้ได้มุมตามที่เราต้องการ และอย่าเผลอเอียงกล่องเป็นอันขาด เพราะจะทำให้การวัดคลาดเคลื่อนได้
  5. ต้องระวังอย่าเลื่อนกล่องหรือนิ้วในระหว่างขั้นตอนนี้
    • ทำเครื่องหมายลงบนผนังบริเวณก้นกล่อง จับกล่องให้อยู่กับที่และเลื่อนตัวออกมาจากใต้กล่อง (ถ้าทำได้)
    • พยายามวางนิ้วไว้ใต้กล่องและจับกล่องให้อยู่ที่ในระหว่างที่เลื่อนตัวออกมา
    • คุณอาจจะทำเครื่องหมายได้โดยไม่ต้องเลื่อนตัวออกมาจากตำแหน่งนั้น
  6. ใช้สายวัดวัดความยาวจากพื้นจนถึงเครื่องหมายที่ทำไว้ด้วยดินสอ. โดยวางสายวัดให้ชิดติดผนัง
    • ถ้าสายวัดสั้นเกินไปจนไม่สามารถวัดส่วนสูงทั้งหมดได้ ให้วัดให้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้ จากนั้นให้ใช้ดินสอทำเครื่องหมายไว้บนผนัง
    • จดค่าที่วัดได้ไว้
    • วัดต่อไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเครื่องหมายที่ทำไว้โดยใช้กล่อง
    • รวมค่าทั้งหมดที่วัดได้เข้าด้วยกันเพื่อหาค่าส่วนสูงของคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ไม้บรรทัดที่ทำขึ้นเฉพาะกิจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประดิษฐ์ไม้บรรทัดของคุณเอง โดยใช้ธนบัตร 100 บาท เชือก เทป และปากกามาร์กเกอร์. [3] หากไม่มีสายวัดหรือไม้บรรทัดมาตรฐานทั่วไป คุณก็ยังสามารถวัดส่วนสูงได้โดยใช้ไม้บรรทัดที่ทำขึ้นสำหรับใช้ชั่วคราว
    • คิดถึงวิธีการนี้เมื่อจำเป็นต้องรู้ส่วนสูงในทันทีแบบด่วนๆ และไม่มีเวลาหาไม้บรรทัด
    • แต่ให้จำไว้ว่า ค่าที่วัดได้จะเป็นเพียงค่าโดยประมาณ
  2. ใช้ธนบัตร 100 บาทเป็นตัวช่วยในการประดิษฐ์ไม้บรรทัด. การประดิษฐ์ไม้บรรทัดด้วยการวัดธนบัตร 100 บาทถือเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย เพราะธนบัตร 100 บาทของไทยจะมีความยาว 6 นิ้ว (ประมาณ 15 เซนติเมตร) [4]
    • วางธนบัตรไว้ข้างๆ เชือก ใช้มือกดให้ธนบัตรไม้บรรทัดของเราแบนราบกับพื้น
    • ใช้ปากกามาร์กเกอร์ทำเครื่องหมายบนเส้นเชือกให้ตรงกับส่วนปลายของธนบัตร ทำซ้ำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ความยาวรวม 180 เซนติเมตร
    • หากไม่มีธนบัตร 100 บาท ก็สามารถใช้ธนบัตรอื่นแทนได้เช่นเดียวกัน
  3. ใช้ไม้บรรทัดเฉพาะกิจของเราเหมือนอย่างที่ใช้ไม้บรรทัดปกติทั่วไป. ใช้เทปติดเชือกเข้ากับผนัง
    • ระวังอย่าให้เชือกขาด
    • ยืนตรง โดยให้หลังและเท้าชิดผนัง
    • ทำเครื่องหมายบนเชือกตรงจุดบนสุดของศีรษะ
    • ตรวจดูเชือกเพื่อหาค่าส่วนสูง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้เครื่องวัดส่วนสูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาเครื่องวัดส่วนสูง (stadiometer) เป็นตัวช่วยในการวัด. โดยสามารถหาเครื่องวัดส่วนสูงได้ตามสถานพยาบาลหรือฟิตเนสทั่วไป [5]
    • พยายามหาเครื่องวัดส่วนสูงที่เป็นแบบดิจิตอล (ถ้าทำได้) เพราะการใช้เครื่องวัดส่วนสูงแบบดิจิตอลจะทำให้ได้ค่าที่แม่นยำกว่า
    • มองหาเครื่องวัดส่วนสูงที่มีไม้บรรทัดและตัวเลื่อนแนวนอน ซึ่งสามารถปรับเลื่อนให้วางอยู่บนศีรษะได้
    • ลองพิจารณาถึงการขอให้คุณหมอช่วยวัดส่วนสูงให้โดยใช้เครื่องวัดส่วนสูง
  2. สิ่งที่จะต้องทำมีดังนี้
    • ถอดรองเท้าและถุงเท้า เราควรวัดส่วนสูงในขณะที่เท้าเปล่า เพราะรองเท้าหนีบ รองเท้าแตะ หรือแม้กระทั่งถุงเท้าก็มีผลต่อการวัดได้ทั้งสิ้น [6]
    • ถอดทุกอย่างออกจากศีรษะ อย่าใส่หมวก ผ้าคาดผม หรือผูกหางม้า และกดศีรษะเข้ากับเครื่องวัดเพื่อให้ผมเรียบแบน [7]
    • ขึ้นยืนบนแป้นเครื่องวัด โดยเอาหลังพิงผนังและเท้าชิดกัน พยายามยืนให้ตรงที่สุด ให้ทั้งส้นเท้า หลัง ไหล่ และศีรษะชิดผนัง เก็บคางเข้าและมองตรงไปข้างหน้า [8]
  3. ปรับเลื่อนแขนแนวนอนบนเครื่องวัดให้ตั้งอยู่บนศีรษะ. โดยสามารถปรับเลื่อนแขนขึ้นลงได้ [9]
    • ตรวจสอบว่าแขนแนวตั้งใช้การได้เป็นอย่างดีก่อนที่จะลงมือวัด
    • ให้จำไว้ว่า คุณอาจต้องพับแขนแนวนอนเข้าออกเพื่อให้แขนตั้งฉากกับพื้น
  4. เมื่อปรับแขนแนวนอนให้ถูกต้องแล้ว ให้ก้าวออกมาจากด้านใต้แขน และตรวจดูค่าที่วัดได้
    • ให้จำไว้ว่า ส่วนสูงของคุณจะปรากฏอยู่บนเสาแนวตั้งของเครื่องวัด
    • มองหาลูกศรที่ชี้ไปยังค่าวัดบนฐานของแขนแนวนอน
    • เครื่องวัดส่วนสูงแบบดิจิตอลจะแสดงค่าส่วนสูงบนหน้าจอเล็กๆ แทน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ควรวัดส่วนสูงในช่วงเช้า เพราะในระหว่างวัน กระดูกสันหลังของคนเราจะเกิดการหดตัวและทำให้เราเตี้ยลง คุณจึงควรวัดส่วนสูงในช่วงเช้าเพื่อให้ได้ค่าที่มีความแม่นยำและสมบูรณ์ [10]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 135,561 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา