ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การที่เรามีไข้ ก็หมายความว่าอุณหภูมิของร่างกายสูงเกินกว่าปกติ คือประมาณ 36.6 - 37.7 องศาเซลเซียส [1] หลายโรคหรืออาการเจ็บป่วยมักทำให้คุณเป็นไข้ เพราะฉะนั้นถ้ามีไข้เมื่อไหร่อาจเป็นสัญญาณบอกโรคหรืออาการที่ร้ายแรงกว่าโดยไม่รู้ตัว วิธีที่ใช้วัดไข้ได้แม่นยำที่สุดก็คือวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์ แต่ถ้าบังเอิญไม่มีพอดี ก็ยังพอมีวิธีที่บอกได้ว่าคุณไข้ขึ้น และควรไปหาหมอหรือเปล่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สังเกตอาการเมื่อมีไข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ใครๆ ก็ใช้วัดไข้กันเวลาไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ ก็คือเอามือทาบที่หน้าผากหรือคอว่าร้อนกว่าปกติหรือเปล่า [2]
    • ขอให้วัดไข้ด้วยหลังมือ เพราะผิวที่ฝ่ามือจะไม่ไวต่อความร้อนเท่าไหร่
    • อย่าไปวัดไข้โดยการจับมือหรือเท้า เพราะเวลาเป็นไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงแต่เท้ากับมืออาจจะเย็นแทน
    • ระลึกไว้ว่านี่เป็นแค่การวัดไข้เบื้องต้นและเฉพาะหน้าเท่านั้น บอกแน่ชัดไม่ได้หรอกว่าคนคนนั้นกำลังมีไข้สูงจนอันตรายหรือเปล่า บางคนพอมีไข้สูงตัวอาจจะเย็นและเหนียวเหนอะหนะก็ได้ ในขณะที่อีกคนอาจตัวร้อนเป็นปกติโดยไม่ได้มีไข้อะไร
    • ขอให้วัดไข้ด้วยวิธีนี้ในห้องที่ไม่ได้หนาวหรือร้อนเกินไป และอย่าวัดไข้เอาตอนเขาเหงื่อท่วม เพิ่งออกกำลังกายมาหยกๆ
  2. คนมีไข้มักแก้มและหน้าแดง แต่ก็อาจดูยากหน่อยถ้าคนคนนั้นผิวออกคล้ำ [3]
  3. พอเป็นไข้แล้วเรามักรู้สึกเหนื่อยๆ เนือยๆ หรืออ่อนแรงผิดปกติ ทำให้พูดหรือเคลื่อนไหวช้าลง หรือไม่อยากจะลุกจากเตียง [4]
    • เด็กที่มีไข้อาจบ่นว่ารู้สึกเหนื่อยหรือไม่มีแรง ไม่อยากออกไปเล่นข้างนอก หรือกินอะไรไม่ค่อยลง
  4. ปวดตัวตามกล้ามเนื้อและข้อนี่แหละอาการที่ขาดไม่ได้เวลามีไข้
    • นอกจากนี้เวลามีไข้ก็มักตามมาด้วยอาการปวดหัวเช่นกัน
  5. คนมีไข้มักเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่ายๆ ลองถามดูว่าหิวน้ำมากไหม หรือรู้สึกปากแห้งหรือเปล่า
    • ถ้าเขาฉี่ออกมาสีเหลืองเข้มจัด แปลว่าร่างกายอาจจะกำลังขาดน้ำ และท่าทางจะมีไข้
  6. คลื่นไส้ก็เป็นอีกอาการที่พบบ่อยเวลามีไข้ รวมถึงเวลาเป็นไข้หวัดใหญ่ ต้องสังเกตให้ดีว่าเขาคลื่นไส้หรืออาเจียน กินอะไรเข้าไปก็ออกมาหมดหรือเปล่า
  7. เวลาอุณหภูมิร่างกายเราขึ้นๆ ลงๆ แน่นอนว่าต้องรู้สึกหนาวสั่น แม้จะอยู่ในห้องที่อุณหภูมิปกติและคนอื่นๆ เขาก็รู้สึกสบายดีก็ตาม [5]
    • อาจรู้สึกสลับไปมา หนาวๆ ร้อนๆ เพราะพิษไข้ เวลาอุณหภูมิร่างกายเราขึ้นๆ ลงๆ แน่นอนว่าต้องรู้สึกหนาวสั่น แม้จะอยู่ในห้องที่อุณหภูมิปกติและคนอื่นๆ เขาก็รู้สึกสบายดีก็ตาม
  8. รับมือเมื่อเกิดอาการชักเพราะพิษไข้ ไม่เกิน 3 นาที. febrile convulsion หรือไข้ชัก มักเกิดกับเด็กก่อนหรือตอนเป็นไข้ ถ้ามีไข้สูงเกิน 39.4 องศา อาจถึงขั้นเห็นภาพหลอนด้วย [6] 1 ใน 20 ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบมักเกิดอาการชักระหว่างมีไข้สูง ถึงจะทรมานใจสำหรับพ่อแม่เวลาเห็นลูกชัก แต่อย่ากังวลเพราะไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อร่างกายอย่างถาวร คุณรับมือกับอาการไข้ชักได้โดย [7]
    • ให้เด็กนอนตะแคงข้างในที่โล่งหรือบนพื้น
    • แข็งใจอย่าอุ้มเด็กขึ้นมากอดตอนเด็กชัก และห้ามเอาอะไรใส่ปากเด็กเช่นกัน เพราะเด็กจะไม่ลิ้นจุกปากหรือกัดลิ้น
    • อยู่กับเด็กตลอด ถึงจะเลิกชักได้ 1 - 2 นาทีแล้วก็ยังต้องอยู่ใกล้ๆ
    • จับเด็กนอนตะแคงในท่าพักฟื้น (recovery position) หลังหยุดชัก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

มีไข้แบบไหนที่อันตราย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นำตัวเด็กส่งโรงพยาบาลทันทีถ้ามีอาการชักเกิน 3 นาที. เพราะแปลว่าเด็กอาจมีโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า จะแจ้งตำรวจ ศูนย์กู้ชีพ หรือเรียกรถพยาบาลมาก็ได้ ระหว่างนั้นให้อยู่กับเด็กตลอด และจับเด็กนอนในท่าพักฟื้น [8] ถ้าเด็กชักแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ก็ต้องรีบส่งตัวให้ถึงมือหมอโดยด่วนเช่นกัน [9]
    • อาเจียน
    • คอแข็ง
    • หายใจติดขัด
    • ง่วงนอนผิดปกติ
  2. ควรพาไปหาหมอถ้าอาการของลูกไม่ดีขึ้นหรือทรุดหนัก. ถ้าลูกอายุประมาณ 6 - 24 เดือน แต่มีไข้ 38.8 องศาขึ้นไป ต้องติดต่อคุณหมอประจำตัวด่วน ถ้าลูกอายุ 3 เดือนหรือเด็กกว่านั้น แต่มีไข้สูงเกิน 38 องศา ก็ต้องติดต่อคุณหมอเช่นกัน [10] นอกจากนี้ที่คุณควรทำ คือให้เด็กดื่มน้ำเยอะๆ และกล่อมให้เขานอนหลับพักผ่อน [11]
  3. ควรพาไปหาหมอถ้ามีอาการเจ็บปวดรุนแรงตรงหน้าท้อง เจ็บแน่นหน้าอก กลืนอะไรไม่ค่อยได้ และคอแข็ง. เพราะอาจเป็นอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและติดต่อกันได้ง่ายมาก [12] [13]
  4. ควรพาไปหาหมอถ้าคนเป็นไข้มีอาการกระวนกระวาย สับสน หรือเห็นภาพหลอน. เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น โรคปอดบวม (pneumonia) [14]
  5. ควรพาไปหาหมอถ้าฉี่หรือถ่ายเป็นเลือด รวมถึงน้ำมูกมีเลือดปน. เพราะอาจกำลังเป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรงกว่า [15]
  6. ควรพาไปหาหมอถ้าระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่แล้วจากโรคอื่นอย่างมะเร็งหรือเอดส์. เพราะถ้าไข้ขึ้นแสดงว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังแย่กว่าเดิม หรือมีอาการหรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ [16]
  7. ปรึกษาคุณหมอเรื่องโรคอื่นๆ ที่เป็นแล้วอาจมีไข้ร่วมด้วย. คนเรามีไข้ได้เวลาป่วยด้วยโรคอื่นๆ [17] เพราะงั้นให้ลองปรึกษาคุณหมอ เพราะอาจเป็นไข้จากโรคต่อไปนี้
    • ติดเชื้อไวรัส
    • ติดเชื้อแบคทีเรีย
    • เพลียแดด หรือผิวไหม้จากแดด
    • ข้ออักเสบ
    • เนื้องอกที่เป็นก้อนเนื้อร้าย
    • ใช้ยาปฏิชีวนะและยาความดันบางตัว
    • ฉีดวัคซีนบางตัวไป เช่น โรคคอตีบ โรคบาดทะยัก และโรคไอกรน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ลดไข้ด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีไข้ไม่เกิน 39.4 องศา ก็พักผ่อนอยู่บ้านดูแลตัวเองไป. เพราะการมีไข้แปลว่าร่างกายพยายามรักษาฟื้นตัว พอผ่านไปได้ 2 - 3 วันก็ไม่มีไข้แล้ว
    • ถ้าทำถูกวิธี คุณก็ลดไข้เองได้ง่ายๆ
    • ให้ดื่มน้ำเยอะๆ แล้วพักผ่อน บางทีก็ไม่ต้องกินยาด้วยซ้ำ แต่ถ้ากินยาก็จะทำให้สบายตัวมากขึ้น ให้กินยาลดไข้ที่มีขายทั่วไปนั่นแหละ เช่น แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน [18]
    • ไปหาหมอซะถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3 วัน และ/หรืออาการร้ายแรงกว่าเดิม
  2. ถ้าเด็กมีไข้แต่อาการไม่หนักมาก ก็ให้ดื่มน้ำมากๆ และนอนหลับพักผ่อน. เด็กและวัยรุ่นไม่ควรกินยาแอสไพริน เพราะอาจกลายเป็นโรคเรย์ซินโดรม (Reye's syndrome) ได้ [19]
    • ถ้าเด็กมีไข้ไม่เกิน 38.9 องศา คุณก็ดูแลให้หายดีได้เองเช่นกัน
    • แต่ถ้าไข้สูงนานเกิน 3 วัน และ/หรืออาการหนักขึ้น ให้รีบพาไปหาหมอด่วน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จุดสำคัญคือถ้าจะวัดไข้เองที่บ้าน ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์เพื่อผลลัพธ์ที่ชัดเจนและถูกต้องกว่า จุดที่เหมาะสำหรับวัดไข้ก็คือในรูก้นและใต้ลิ้น หรือจะใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบวัดไข้ในหูก็ได้ (tympanic thermometer) ถ้าเป็นที่ใต้รักแร้ อุณหภูมิจะไม่ค่อยแม่นยำเท่าไหร่ [20]
  • ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน แต่มีไข้สูงเกิน 37.8 องศา ให้รีบพาไปหาหมอด่วน
โฆษณา

คำเตือน

  • สุดท้ายแล้วการ "วัดไข้ด้วยหลังมือ" ก็เป็นแค่การวัดไข้คร่าวๆ เอาแน่อะไรไม่ได้ ถ้าคุณใช้หลังมือวัดไข้ตัวเองก็บอกไม่ได้ชัดเจน แต่ถ้าให้คนอื่นวัดให้ก็ไม่เป๊ะเหมือนกัน เพราะอุณหภูมิร่างกายของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป [21]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 68,042 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา