ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สีของอุจจาระสามารถบอกโรคภัยไข้เจ็บได้มากมาย รวมทั้งยังบ่งชี้ด้วยว่าอาจมีปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแล เลิกสงสัยสักทีว่าอุจจาระที่ออกมานี้เป็นสีอะไรกันแน่ เพราะการศึกษาวิธีการระบุสีอย่างเจาะจงจะทำให้คุณสามารถอ่านค่าสีของอุจจาระและอาจหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพเล็กๆ น้อยๆ ได้ นอกจากนี้คุณยังได้เรียนรู้อีกว่าเมื่อไหร่ที่คุณควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เรียนรู้ว่าสีของอุจจาระที่แตกต่างกันนั้นบ่งบอกถึงอะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่อาจเป็นสัญญาณว่ามีบางอย่างผิดปกติในระบบย่อยอาหาร อุจจาระสีดำและสีแดงสดอาจเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่ามีเลือดออกในลำไส้ หรืออาจจะมาจากปัญหาที่เล็กกว่าอย่างริดสีดวงทวาร [1]
    • เลือดที่ไหลออกจากลำไส้เล็กมักทำให้อุจจาระเป็นสีคล้ำหรือสีออกดำๆ แต่ถ้าเป็นเลือดที่ออกจากทางเดินอาหารส่วนล่าง (เช่น เลือดที่ออกจากริดสีดวงทวาร) มักจะทำให้อุจจาระเป็นสีแดงเลือด
    • นอกจากนี้ยังมีปัจจัยรองอื่นๆ เช่น อาหารและยาที่ทำให้อุจจาระเป็นสีดำและสีแดง แต่ถ้าคุณกังวลก็ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะดีที่สุด
  2. ดูว่าอุจจาระเป็นสีขาว สีเทา หรือสีอ่อนหรือไม่. น้ำดีทำให้อุจจาระมีสี เพราะฉะนั้นการที่อุจจาระไม่มีสีก็อาจจะบ่งบอกว่าอุจจาระไม่มีน้ำดี ซึ่งหมายความว่าอาจจะมีอะไรไปอุดท่อน้ำดี ซึ่งอาจบอกถึงปัญหาสุขภาพร้ายแรง ถ้าคุณสังเกตว่าอุจจาระเป็นสีขาวหรือสีอ่อน ให้ปรึกษาแพทย์ทันที [2]
    • อุจจาระสีขาวมักเกิดจากภาวะอุจจาระมีไขมันมาก (การขับไขมันออกมา) ซึ่งอาจบ่งบอกถึงปัญหาที่ตับอ่อน
  3. แม้ว่าอุจจาระอาจเป็นได้ตั้งแต่สีน้ำตาล สีเหลือง ไปจนถึงเขียวและก็ยังคงถือว่า “ปกติ” ดีอยู่นั้น อุจจาระสีน้ำตาลกลางเป็นอุจจาระที่ดีที่พบได้บ่อยที่สุด โดยสีที่ว่านี้เกือบจะเป็นสีเดียวกับช็อกโกแลตแท่ง [3]
    • กระบวนการที่ซับซ้อนภายในทางเดินอาหารทำให้อุจจาระกลายเป็นสีน้ำตาล โดยสีนั้นมาจากการที่โปรตีน โฮโมโกลบินแตกตัวเพื่อสร้างบิลิรูบินในตับ
  4. จำไว้ว่าอาหารบางอย่างอาจทำให้อุจจาระเปลี่ยนสีได้. สีของอาหารอย่างผักใบเขียวและแม้กระทั่งบีตก็อาจทำให้อุจจาระเปลี่ยนสีได้ ถือเป็นเรื่องปกติ เช่น การรับประทานผักใบเขียวอย่างคะน้าหรือปวยเล้งอาจทำให้อุจจาระกลายเป็นสีเขียว และถ้ารับประทานบีตก็อาจจะทำให้อุจจาระกลายเป็นสีออกแดงๆ ซึ่งไม่ต้องตกใจอะไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเพิ่งรับประทานอาหารเหล่านี้เข้าไป [4]
    • น้อยครั้งมากที่อุจจาระสีแดงจะบ่งบอกถึงปัญหาลำไส้ แม้แต่อุจจาระสีแดงสดก็อาจจะมาจากปัญหาเล็กน้อยที่พบได้ทั่วไปอย่างริดสีดวงทวาร
  5. จำไว้ว่าอาหารที่มีไขมันสูงบางครั้งก็ทำให้อุจจาระเป็นสีเหลือง. ถ้าคุณสังเกตว่าอุจจาระเป็นสีเหลือง (ภาวะอุจจาระมีไขมันมาก) ก็อาจเป็นสัญญาณของการไม่ดูดซึมไขมันในทางเดินอาหาร สาเหตุที่ทำให้ไขมันไม่ถูกดูดซึมมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณอุจจาระเป็นสีเหลืองมากกว่า 2 วัน ให้โทรศัพท์หาแพทย์ [5]
  6. ตัวยาหลายชนิดตั้งแต่วิตามินเสริมไปจนถึงยาแก้ท้องร่วงและยาตามแพทย์สั่งก็อาจทำให้อุจจาระเปลี่ยนสีได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติหากมีสาเหตุมาจากการใช้ยาเหล่านี้ เพราะฉะนั้นต้องอ่านคำเตือนหรือผลข้างเคียงบนฉลากของยาที่คุณรับประทานเป็นประจำด้วย [7]
    • อาหารเสริมธาตุเหล็กอาจทำให้อุจจาระเป็นสีเขียวหรือดำ ในขณะที่ Bismuth Subsalicylate (ยาแก้ท้องร่วงที่พบใน Pepto Bismol) ก็อาจทำให้อุจจาระเป็นสีดำได้เช่นเดียวกัน
  7. จำไว้ว่าเด็กทารกแรกเกิดมักจะขับถ่ายเป็นสีดำคล้ำ. ในช่วงแรกเกิด 2 – 3 วันแรก การที่คุณจะเห็นอุจจาระสีดำในผ้าอ้อมของลูกนั้นเป็นเรื่องปกติ และจะหายไปภายใน 2 – 4 วันหลังจากที่ทารกขับมีโคเนียมออกจากร่ายกายหมดแล้ว และหลังจากนั้นก็น่าจะเปลี่ยนไปเป็นสีเขียวคล้ายดินและมักจะออกเละๆ [8]
    • อึของทารกในช่วงดื่มนมแม่มักจะเละและเป็นสีเขียวหรือไม่ก็สีเหลือง ถือว่าปกติ
    • ทารกที่ดื่มนมผงอาจจะถ่ายเหลวเละเช่นเดียวกัน แต่ออกเป็นสีน้ำตาลมากกว่าเด็กที่ดื่มนมแม่ แต่ก็ถือว่าปกติเช่นเดียวกัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รู้ว่าเมื่อไหร่ต้องไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าการที่อุจจาระเป็นสีเหล่านี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอาหารหรือยา แต่สีเหล่านี้ก็อาจจะบอกว่ามีเลือดออกในลำไส้ ถ้าคุณมีเลือดปนอยู่ในอุจจาระหรือมีเลือดไหลออกมาขณะขับถ่าย ให้พบแพทย์โดยเร็วที่สุด [9]
    • ถ้าอุจจาระของคุณเป็นสีแดงสดหรือสีดำ และคุณเพิ่งรับประทายาแก้ท้องร่วง อาหารที่มีสีผสมอาหารสีแดง หรือเพิ่งเริ่มรับประทานยาตัวใหม่ ให้นัดพบแพทย์เพื่อยืนยันว่า สีอุจจาระไม่ได้บ่งบอกถึงอะไรร้ายแรง แพทย์จะทำการตรวจอุจจาระของคุณหลายวิธีเช่นการตรวจหาเลือดในอุจจาระเพื่อหาสาเหตุ
  2. เข้าใจว่าเป็นไปได้น้อยมากที่สีอุจจาระจะบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพร้ายแรง. ส่วนมากสีอุจจาระที่เปลี่ยนไปมักบ่งชี้ถึงอาการที่สามารถรักษาได้หรืออาจจะเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการรับประทานอาหาร แต่สีของอุจจาระที่เปลี่ยนไปไม่น่าจะทำให้คุณต้องเข้าห้องฉุกเฉินหรือแม้แต่ตกอกตกใจอะไร [10]
    • เช็กการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการรับประทานอาหารที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือผลข้างเคียงจากยาหากสีอุจจาระเปลี่ยนไปโดยฉับพลัน
  3. ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร ถ้าคุณไม่สบายใจเรื่องอุจจาระหรือการเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยอาหาร วิธีรักษาที่ปลอดภัยที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการขอคำแนะนำจากแพทย์ แพทย์สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีอะไรน่าเป็นห่วงหรือเปล่า หรือว่าเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป [11]
    • แม้ว่ามันจะน่าอายหรือคุณอาจจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจที่จะพูดเรื่องการขับถ่าย แต่คุณต้องอธิบายให้แพทย์ฟังหากคุณไม่สบายใจ การรู้จักระวังและขอความเห็นทางการแพทย์นั้นดีกว่าเสมอ
  4. พิจารณาว่ามีอาการทางร่างกายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสีอุจจาระหรือไม่. ถ้าสีที่เปลี่ยนไปเกี่ยวข้องกับการปวดท้องหรือท้องร่วงฉับพลัน เป็นต้น ก็อาจเป็นสัญญาณของบางสิ่งที่มากกว่าแค่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการรับประทานอาหาร ถ้าการเปลี่ยนของสีอุจจาระเกี่ยวข้องกับอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ให้พบแพทย์
    • เช่น การท้องร่วงเป็นสีดำหรือสีแดงอาจเป็นสัญญาณของอาการร้ายแรงและควรปรึกษาแพทย์ทันที [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาระบบย่อยอาหารให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำจะช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารทำงานได้ไม่สะดุดและง่ายขึ้น น้ำช่วยให้อุจจาระนิ่มและทำให้คุณไม่เจอปัญหาอย่างการท้องผูก นอกจากนี้น้ำยังช่วยดูดซึมสารอาหารบางชนิดจากอาหารที่คุณบริโภคเข้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย [13]
  2. การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพไม่ได้จำกัดอยู่แค่สิ่งที่คุณรับประทานเข้าไป แต่ยังรวมถึงว่าคุณรับประทานบ่อยแค่ไหนและเร็วแค่ไหนด้วย เพื่อให้ระบบย่อยอาหารของคุณทำงานได้อย่างราบรื่นมากที่สุด พยายามรับประทานอาหารช้าๆ อย่ารีบและอย่ารับประทานเร็วๆ เพราะอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้ พยายามรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ตลอดทั้งวันแทนการรับประทานมากเกินไปรวดเดียว [15]
    • แน่นอนว่าสิ่งที่คุณรับประทานเข้าไปนั้นสำคัญแน่นอน! ลองรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงอย่างผักและผลไม้ ในแต่ละมื้อพยายามให้มีผักอยู่ในจานครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ให้พยายามลดหรือจำกัดปริมาณอาหารจำพวกอาหารแปรรูปและแอลกอฮอล์ด้วย [16]
  3. การออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น โดยเฉพาะในแง่ของระบบย่อยอาหาร การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อในช่องท้องแข็งแรงขึ้นได้จริงๆ และกระตุ้นกระบวนการย่อยอาหาร ลองเดินเร็วหรือวิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ [17]
    • คุณสามารถเพิ่มการออกกำลังกายเข้าไปในกิจวัตรประจำวันได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ อย่างการเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือเลือกที่จอดรถไกลๆ แทนที่จอดรถที่อยู่ติดประตู
    • พยายามออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกปานกลางให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ หรือให้ได้ทั้งหมดสัปดาห์ละ 150 นาที
  4. สังเกตระดับ ความเครียด . ความเครียดทำให้ร่างกายมีปัญหาและเป็นสาเหตุของอาการต่างๆ มากมายในกระบวนการย่อยอาหาร ความเครียดทำให้ท้องผูก ท้องเสีย ปวดท้อง และแม้กระทั่งไม่อยากอาหาร ถ้าคุณมีความเครียดในระดับสูง พยายามหาวิธีคลายเครียดที่เหมาะกับคุณ เช่น ทำสมาธิทุกวันหรือจำกัดสิ่งที่มากระตุ้นความเครียดโดยไม่จำเป็น [18]
    โฆษณา

คำเตือน

  • พบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหากคุณกังวลเรื่องสีของอุจจาระ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 22,255 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา