ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในทางคณิตศาสตร์ ปริซึมสามเหลี่ยมคือรูปทรงเรขาคณิตที่มีหลายเหลี่ยม โดยมีรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่ขนานกันเป็นฐานและด้านสี่เหลี่ยมมุมฉากสามด้านประกอบกัน อย่าเอาไปสลับกับรูปทรงพีระมิดนะ วิธีการหาปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมนั้นก็ทำได้ง่ายๆ จากการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่เป็นฐานรูปใดรูปหนึ่ง แล้วนำไปคูณกับส่วนสูงของรูปทรง

  1. หาส่วนฐานและส่วนสูงของรูปสามเหลี่ยมรูปใดรูปหนึ่ง. ฐานของรูปสามเหลี่ยมทั้งคู่ของปริซึมสามเหลี่ยมจะมีขนาดเท่ากันอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงหาจากรูปใดก็ได้ เราต้องหาขนาดของฐานกับส่วนสูงของรูปสามเหลี่ยมก่อนโดยการวัดความยาวของด้านใดด้านหนึ่งและความยาวของเส้นที่ตั้งฉากกับเส้นนั้นด้วย แต่ถ้ามันเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากอยู่แล้ว ก็จะง่ายยิ่งขั้น แค่เอาด้านสองด้านที่กำหนดให้หาค่ามาได้เลย
    • สมมุติว่าเราจะหาปริมาตรของปริซึมที่มีสามเหลี่ยมสูง 3 ซม. และมีฐาน 4 ซม.
  2. การคูณเลขทั้งสองจำนวนที่หาได้จะเป็นขั้นตอนแรกของการหาพื้นที่ของฐานรูปสามเหลี่ยม ซึ่งจากปริซึมสามเหลี่ยมตัวอย่างนี้ เราจะคำนวณได้เป็น 3 ซม. x 4 ซม. = 12 ซม. 2 อย่าลืมเปลี่ยนเป็นหน่วยตารางเซนติเมตรด้วยล่ะ เพราะว่าเรากำลังหาพื้นที่อยู่นั่นเอง
  3. เพื่อหาพื้นที่ของฐานรูปสามเหลี่ยม ให้หารผลลัพธ์ด้วย 2 จึงออกมาเป็น 12 ซม. 2 /2 = 6 ซม. 2
  4. คูณผลลัพธ์ที่ได้ด้วยส่วนสูงของปริซึมสามเหลี่ยม. จากตัวอย่างสมมุติว่าส่วนสูงของปริซึมสามเหลี่ยมนี้หรือความยาวด้านใดด้านหนึ่งเท่ากับ 10 ซม. เราจะคูณความยาวนั้นด้วย 6 เพื่อหาปริมาตรทั้งหมดของปริซึมสามเหลี่ยม ซึ่งก็จะเท่ากับ 6 ซม. 2 x 10 ซม. = 60 ซม. 3 เวลาตอบอย่าลืมเปลี่ยนเป็นหน่วยลูกบาศก์ด้วยเพราะเรากำลังหาปริมาตรของรูปทรงนี้อยู่
    • เราได้เรียนรู้วิธีการหาปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมอย่างง่ายๆ กันแล้ว ซึ่งสามารถสรุปออกมาเป็นสูตรดังต่อไปนี้ 1/2 x พื้นที่ส่วนฐาน x ส่วนสูง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สูตรการหาปริมาตรปริซึมสามเหลี่ยมนี้ พูดง่ายๆ ก็คือการคูณส่วนฐานกับส่วนสูงเพื่อหาพื้นที่ส่วนฐาน จากนั้นจึงคูณผลลัพธ์ที่ได้ด้วยส่วนสูงของรูปทรงแล้วหารด้วย 2
  • หาพื้นที่ของฐานแล้วจึงนำไปคูณกับส่วนสูง
  • สำหรับรูปทรงพีระมิดทั่วไปนั้น ส่วนสูงเอียง ส่วนสูงเส้นเชื่อม และความยาวเส้นเชื่อมจะมีความเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีพีธากอรัส (เส้นเชื่อม ÷ 2) 2 + (ส่วนสูงเอียง) 2 = (ส่วนสูงเส้นเชื่อม) 2
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 63,465 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา